เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวหนังสือแบบเครียดๆWanderingBook
"นรกคือคนอื่น"
  • "Hell is other people."

    "Hell is other people."
    "นรกคือคนอื่น"
    -Jean Paul Sartre-

    ฌอง ปอล ซาร์ต มีสองขาหลักที่เป็นที่รู้จักกันดี ขาหนึ่งคือนักปรัชญาสายอัตถิภาวะนิยม อีกขาคือนักเขียน ทั้งสองขาถือว่าใหญ่โตไม่ด้อยกว่ากัน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมปี 2507 แต่เขาปฏิเสธ (จะเท่ไปไหน) แต่ก็เป็นการได้รับรางวัลนี้หลังอัลแบร์ กามูส์ ผู้เป็นทั้งเพื่อนและคู่แข่ง ที่คว้ารางวัลนี้ไปก่อนในปี 2500

    สารภาพว่าไม่เคยอ่านงานของซาร์ต ซึ่งนั่นก็ไม่เกี่ยวกับการชื่นชอบคำพูดนี้ มันคงสามารถตีความได้มากมาย ส่วนผมขอตีความแบบบ้านๆ ตรงตัวว่า นรกคือคนอื่น นั่นแหละ

    แต่ทำไม "นรกคือคนอื่น" สำหรับฌอง ปอล ซาร์ต?

    เป็นคำถามที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผมโพสต์ข้อความนี้ในเพจ แล้วมีผู้อ่านมาแสดงความคิดเห็นกันพอสมควร โดยมองว่ามันคือการโทษคนอื่น ไม่พิจารณาตัวเอง

    ถามว่าผิดหรือเปล่า?

    ไม่ผิด

    ไม่ใช่เพราะผมก็คิดแบบนั้น แต่เพราะมันเป็นเสรีภาพของเราที่จะคิดและตีความ

    ถึงกระนั้น ผมก็เชื่อด้วยว่า "นรกคือคนอื่น" น่าจะมีความหมายหรือนัยที่มากกว่าการแปลตามตัวอักษร ผมจึงไปค้นหาคำตอบจากผู้ที่คุ้นเคยกับปรัชญาอัตถิภาวะนิยมของซาร์ต

    และพบว่า "นรกคือคนอื่น" ยึดโยงกับ 'เสรีภาพ' ของตัวเราอย่างแน่นแฟ้น ซึ่งดูจะเป็นสิ่งที่ซาร์ตให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด

    เมื่อคนอื่นยืนขวางระหว่างตัวเรากับ 'เสรีภาพ' คนอื่นย่อมเป็นนรก นี่เป็นเพียงคำตอบแบบรวดรัดยวดยิ่ง

    ผมชวนอาจารย์รชฎ สาตราวุธ อาจารย์ภาควิชาปรัชญา มอ.ปัตตานี มาคุยเรื่องนี้ ผมรู้สึกสนุกทีเดียว แต่ไม่รู้จะสนุกคนเดียวหรือเปล่า ลองฟังดูครับ อาจจะเข้าใจซาร์ตมากขึ้นอีกนิด ตามลิงค์ข้างล่างนี้

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in