เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Social and History by Jack okKiattisak Wongliang
พลิกชะตา เจ้าชายสู้ชีวิต Chapter 2
  • ในปีพุทธศักราช 2456 พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ก็ได้เสด็จกลับประเทศไทยพร้อมกับหม่อม    เอลิซาเบธ เมื่อกลับมาแน่นอนคนเป็นพระราชมารดานั้นย่อมมีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง  ในแผ่นดินรัชกาลที่ 6 พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ได้เข้าทำงานในกระทรวงศึกษาธิการ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ อีกทั้งยังมีการเฉลิมพระนามเป็น ”พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์” สถาปนาพระยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมว่า “กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร” ในรัชกาลเดียวกันก็ได้เลื่อนขั้นเป็น “กรมขุนชัยนาทนเรนทร” 

    กระทรวงธรรมการ ต่อมา ถูกเปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2484 เป็น กระทรวงศึกษาธิการ ในระยะแรกนั้นจะดูแลเกี่ยวกับ ศาสนา การศึกษา    การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์

    นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย จนกระทั่งในพ.ศ.๒๔๖๐ ได้ก่อตั้งกรมมหาวิทยาลัย ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นชัยนาทนเรนทร เป็นอธิบดีพระองค์แรก         โปรดเกล้าฯให้โรงเรียนราชแพทยาลัยเป็น 1 ใน 4 คณะแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นามว่า “แพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” 

    ในปี พ.ศ. 2461 เปลี่ยนชื่อเป็น คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล (ปัจจุบันจากข้อมูล โรงเรียนราชแพทวิทยาลัย คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล เพราะแยกออกมาจากจุฬาฯในปี พ.ศ.2486) และปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาแพทย์เพิ่มระยะเวลาการศึกษาเป็น ๖ ปี 

    ภาพ โรงเรียนราชแพทยาลัย
    อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ จดหมายเหตุประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล 

    ด้วยความที่สนใจทางการแพทย์พระองค์จึงเป็นผู้โน้มน้าวและส่งเสริมให้เจ้าฟ้ามหิดลฯหรือสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมชนกให้ทรงสนพระทัยและศึกษาด้านการแพทย์อย่างจริงจัง เพื่อทรงนำมาพัฒนาด้านการแพทย์ของไทยจนได้รับการสถาปนาเป็น พระบิดาแห่งการแพทย์ 

    ภาพ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

    นอกจากนี้พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ยังเป็นผู้จัดตั้งการเรียนการสอนวิชาใหม่ ก็คือ การสอนด้านการปรุงยา โดยเรียกเป็น ”แผนกแพทย์ผสมยา” หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า "โรงเรียนปรุงยา" ในสังกัดโรงเรียนราชแพทยาลัย ตามคำขอของกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ(เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ) ที่ทรงปรารภว่า ตอนนี้มีแต่แพทย์รักษาโรคแต่ยังขาดแพทย์ปรุงยา เพื่อใช้ในกองทัพ  ดังพระดำรัสของพระองค์ที่ประทานแก่นักศึกษารุ่นแรก ความว่า 

    "....ผู้ที่จะออกไปมีอาชีพแพทย์นั้นจะปรุงยาขายด้วยไม่ได้ แพทย์มีหน้าที่เฉพาะการตรวจรักษาพยาบาลคนไข้เท่านั้น ส่วนผู้ที่สำเร็จวิชาปรุงยาก็ออกไปประกอบอาชีพปรุงยาและขายยา จะไปตรวจรักษาคนไข้ไม่ได้อาชีพ ทั้งสองนี้เป็นอาชีพที่ใกล้ชิดกัน แบ่งกันรับผิดชอบตามแบบอย่างในประเทศตะวันตกเขา..."

                          นักเรียนปรุงยาและคณาจารย์ถ่ายภาพร่วมกัน (รุ่น พ.ศ. 2456 - 2458) ที่มาภาพ Wikipedia

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ปทานุกรมของไทยได้กำหนดให้บัญญัติใช้คำว่า "เภสัชกรรม" แทนคำว่า"ปรุงยา" หรือ "ผสมยา" จึงได้มีประกาศกระทรวงธรรมการให้มีการเปลี่ยนชื่อแผนกเป็น "แผนกเภสัชกรรม"  โดยขึ้นตรงกับคณะแพทยศาสตร์ ต่อมาจึงแยกออกเป็นอิสระเป็นที่มาของ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์จึงยกย่องพระองค์ท่านว่า “บิดาของวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมแห่งประเทศไทย” นับได้ว่าพระองค์ได้ทำให้วิชาทางด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพในประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น

    โปรดติดตามตอนต่อไป 

    ติดตามเรื่องราวอื่นๆผ่าน Facebook page ตำนานเก่าเจ้านายสยาม 


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
พึ่งรู้วันนี้นี่เองว่าเภสัชกรรมมาจากรากศัพท์เดิมว่าการปรุงยา??