เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
YES, IT ISkoojunxxx
#1 หยุดพูดว่า เธอเข้าใจฉันเสียที !
  • วันนี้ไปอ่านบทความนึงมาและมีความรู้สึกว่ามันน่าสนใจมาก ๆ 
    จนคิดว่า ควรจะเอามาเขียนเก็บบันทึกไว้สักหน่อย บทความนี้ชื่อว่า...




    Why We Should All Stop Saying "I Know Exactly How You Feel"
    (ทำไมเราถึงควรหยุดพูดว่า "ฉันเข้าใจดีว่าเธอรู้สึกยังไง")
     


                 คุณเคยรู้สึกว่า คุณเล่าเรื่อง หรือระบายความรู้สึกอะไรให้ใครฟัง แล้วรู้สึกแย่กว่าเดิมไหม ? ทั้ง ๆ ที่เขาบอกว่า  ฉันเข้าใจเธอนะ แต่คุณกลับรู้สึกว่า ไม่อะ เขาไม่เข้าใจจริงๆว่าคุณรู้สึกยังไง ส่วนตัวเราคิดว่า มีใครหลายคนเคยประสบปัญหานี้นะ เพราะจริง ๆ เราก็เป็นหนึ่งในนั้น และเราก็เพิ่งรู้ว่ามันมีหลัก- การอะไรบางอย่างซ่อนอยู่ภายใต้ความรู้สึกเหล่านั้นด้วย...



    Often subtle and unconscious, conversational 

    narcissism is the desire to do most of the talking 

    and to turn the focus of the exchange to yourself.



             เคยไหม...ว่าบางครั้งคนเราก็พูดเข้าข้างตัวเองทั้งรู้ตัวและทั้งที่ไม่รู้ตัวในแทบ ๆ ทุกบทสนทนาที่เกิดขึ้น และนั่นทำให้บทสนทนาเกือบทั้งหมดกลายเป็นการมุ่งไปแต่ที่เร่ื่องของตัวเอง


              บทความกล่าวถึงรูปแบบของการโต้ตอบบทสนทนา 2 รูปแบบ คือ Shift Response (การโต้ตอบที่ดึงเรื่องเข้าสู่ตัวเอง) กับ Support Response (การสนับสนุนความคิดของคู่สนทนา) ถ้านึกภาพไม่ออก เราจะยกตัวอย่างง่าย ๆ ให้ดู 


    Example 1 : Shift Response

    สมศรี : วันนี้ทำงานมาเหนื่อยมากเลย

    สมใจ : ใช่ ๆ ฉันก็เหมือนกัน วันนี้ฉันก็งานเยอะมากเลย เจ้านายใช้งานหนักมาก


             คุณเคยตอบเพื่อนหรือใครแบบนี้ไหม ? ถ้าเคย...นั่นแปลว่าคุณน่ะ เริ่มดึงบทสนทนามาเป็นเรื่องตัวคุณเองแล้วล่ะ  และสุดท้ายบทสนทนาที่คุณไม่ได้เป็นคนเริ่มก็จะกลายเป็นพูดเรื่องของคุณเอง...


    Example 2 : Support Response

    สมศรี : วันนี้ทำงานมาเหนื่อยมากเลย

    สมใจ : หืม ? เกิดอะไรขึ้น ? เหลือต้องทำอะไรอีกบ้าง ?


                ความรู้สึกต่างกันไหม ? Example 2 นั้นจะแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนสิ่งที่คู่สนทนาของคุณเปิดเรื่องขึ้นมา และบทสทนาที่จะเกิดขึ้นต่อไปก็จะเป็นของคนที่เปิดเรื่องจริง ๆ





    We can craftily disguise our attempts to shift focus 

    — we might start a sentence with a supportive remark 

    and then follow up with a comment about ourselves.



            ในบทความเปรียบเทียบได้น่าสนใจมาก สมมติว่าคุณเล่นเกมส์ส่งรับ เมื่อฝ่ายนึงส่ง อีกฝ่ายก็ถูกบังคับให้รับโดยปริยาย และก็สลับตากัน แต่ในการสนทนาชีวิตจริง คนเรามักจะดื้อดึงไม่ยอมสลับตาในการรับส่งบทสนทนา...



             ในบทสนทนาบางครั้ง เราอาจจะเริ่มต้นพูดสนับสนุนรับสิ่งที่คู่สนทนาพูด และพอไปเรื่อย ๆ มันจะกลายเป็นการวกเข้ามาพูดเรื่องของตัวคุณเอง บางครั้งมันก็ไม่ได้แย่ ถ้าในการบทสนทนายังมีการรับส่งกันในระดับที่พอดี แต่บทวิจัยบทหนึ่งค้นพบว่า สิ่งที่พูดกันในการสนทนาส่วนใหญ่คือเรื่องที่เกี่ยวสิ่งที่ตัวเองพบเจอ เรื่องความสัมพันธ์ของตัวเอง หรือแม้กระทั่งเรื่องของบุคคลที่สาม




    น่าคิดใช่ไหม...ทำไมคนเราถึงเอาแต่พูดเรื่องของตัวเอง




               บทความกล่าวว่า การทำงานของสมองของเราคือเหตุผลหนึ่งของเรื่องนี้ สมองของเรารับฟังเรื่องที่คู่สนทนาพูดมา และพยายามจับคู่ข้อมูลเหล่านั้น กับสิ่งที่เราเคยประสบพบเจอมา ดังนั้นเมื่อสมองค้นเจอภาพเหล่านั้น สมองก็พยายามที่จะปรับ หรือเพิ่มเติมความทรงจำเหล่ากับสถานการณ์ปัจจุบัน...



    นั้นแหละ...ช่วงที่ปัญหากำลังจะเกิด



              แทนที่สมองจะช่วยในเราเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพอเจอมามากขึ้น ความทรงจำหรือประสบการณ์ของเราสามารถบิดเบือนมุมมองเหล่าไปได้เลยล่ะ....




    The more comfortable you are, 

    the more difficult it is to empathize with the suffering of another.




               ในบางครั้งที่เราอยู่ในสภาวะทางอารมณ์ที่ต่างจากคู่สนทนามาก ๆ มันจะกลายเป็นเรื่องยากที่เราจะเข้าใจในสิ่งที่คู่สนทนาเผชิญอยู่ ความเห็นของเรากับเรื่องนี้คือค่อนข้างเห็นด้วยนะ ความรู้สึกที่แตกต่าง ณ ขณะนั้น ทำให้มุมมองของคน 2 คนแตกต่างกันคนละมุม 


             ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ผลการสอบออกมา เพื่อนคุณสอบตก ในขณะที่คุณสอบผ่าน อารมณ์ของคุณและเพื่อนก็จะต่างกันแล้วล่ะ เพื่อนอาจจะมาบ่นกับคุณว่า 


    "มึง กุสอบตกว่ะ แม่งยากชิบหายวิชานี้" 

    "เห้ย มึง อย่าไปซีเรียส กุก็เคยตกวิชานี้ เดี๋ยวก็ผ่าน"


              คุณเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ไหม เคยฉุกคิดไหมว่า เห้ย มึงเข้าใจกุจริงป่าววะ นั่นคือตัวอย่างนึงของกรณีที่คน 2 คนที่อยู่ในสภาวะทางอารณ์ที่ต่างกัน ทำการสนทนากัน 


              การสนทนาดูไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไปแล้ว ฮ่า ๆ เราว่าเป็นบทความที่ดีและชวนให้คิดตามเลยนะ เพราะเราก็มีความเชื่อที่ว่า เราไม่รู้หรอกว่าคำพูดของคนเรา จะมีอิทธิพลต่อคนที่เราสนทนาด้วยมาก น้อย แค่ไหน 


                การแสดงออกทางความคิดเห็นบางครั้ง อาจจะต้องคิดให้รอบคอบก่อนพูด ช่วงหลัง ๆ เราก็เร่ิ่มจะพยายามมีสติก่อนพูด ก่อนแสดงความคิดเห็นมากขึ้น ในโลกที่โพสอะไรไปก็เสี่ยงกับการก่อดราม่าได้หมด ฉะนั้นการระมัดระวังคำพูดคงเป็นเรื่องนึงที่เราก็ควรที่จะใส่ใจนะ...






    ขอบคุณบทความดี ๆ : 

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in