เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
My First StoryPloy Nuanpajong
หลักการศึกษาพระไตรปิฎก ฉบับคนธรรมดาที่ไม่ใช่พระและยังมือใหม่
  • หลายๆ คนคงอยากจะศึกษาว่าศาสนาพุทธ แท้จริงแล้วสอนอะไร แล้วเราจะหาทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ หรือวิธีดับการเวียนว่ายตายเกิดยังไง ครั้นจะเสริ์ชในอินเตอร์เน็ตก็... ข้อมูลมีเป็นล้าน อ่านยากบ้าง ง่ายบ้าง ก็พยายาม อืมๆ ออๆ ไป มันก็ยังงงๆ เชื่อใครดี หลวงพ่อองค์ไหนดี อะไรยังไงดี?

    การอ่านพระไตรปิฎกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ไม่ใช่ความคิดเห็นใดๆ ดังนั้นเวลาอ่านเราจะเอาความคิดเห็น ความเชื่อ ความเข้าใจของเรา ไปตีความไม่ได้ จึงเป็นเรื่องยากมา ที่ใครจะเข้าใจ 
    ไม่ใช่ว่า เปิด > จิ้ม > อ่าน > เจอแล้วจะนำมาปฏิบัติได้ ต้องอ่านจนจบ (หลายๆ จบ) จนสามารถสรุปได้ 3 ประการว่า

     

    1. พระธรรมคำสอนสูตรนั้น ๆ เป็นพระธรรมคำสอนในส่วนที่เป็นผลการปฏิบัติ หรือเหตุของการปฏิบัติของพระองค์ท่าน

    2. คำสอนสูตรนั้น พระองค์ตรัสสอนผู้ใด สอนอริยบุคคล หรือสอนคนธรรมดาทั่วไป

    3. คำสอนสูตรนั้น ท่านตรัสเป็นคำย่อหรือคำเต็ม คำเต็มว่าอย่างไร

     ไม่อย่างนั้นเราจะเอาพระธรรมคำสอนไม่ถูกเหตุ ถูกผล ถูกบุคคล ไปปฏิบัติ 

    ผลออกมาจะเป็นเพียงแค่หลบทุกข์ชั่วคราว ไม่มีปัญญาดับทุกข์ได้

    ทุกวันนี้เราทำงานสาย material development และมีโอกาสได้ฟัง lecture ทุกๆ วัน จากบุคคลที่อ่านพระไตรปิฎกจบหลายๆ จบมากๆ โดยตรงค่ะ เราจึงนำข้อมูลเบื้องต้น (ที่สำคัญมากๆๆๆ นี้) ที่ได้จากท่านมาถ่ายทอดได้อ่านกัน 

    ถ้าเราเรียนธรรมไม่จบ แล้วเอาไปปฏิบัติ มันจะกลายเป็นความเห็นผิดอย่างละเอียดลึกซึ้ง เพราะเป็นเรื่องนามธรรมแก้ไขได้ยากมากกว่าผิดทางโลกมากมาย กว่าเราจะกลับตัวได้ เกือบเอาชีวิตไม่รอด เราเลยตั้งปนิธาน ตาม อ. เราว่า ผิดทางโลกผิดได้ แต่จะไม่ขอผิดทางธรรมเป็นอันขาด!!

    ดังนั้น ถ้าเราเลือกจะศึกษาพระไตรปิฎกจากใครก็ตาม หรือจะไปปฏิบัติธรรมที่ไหน อย่าลืมหลัก 3 ข้อด้านบน จำให้ขึ้นใจ เพราะถ้าปฏิบัติผิด ผลผิด ก็หมายความว่า เราเสียเวลาชีวิตมนุษย์ไปอีกชาติหนึ่งเลยล่ะค่ะ

    #อ่านพระไตรปิฎก #ปฏิบัติธรรมที่ไหนดี


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in