สวัสดีค่าทุกคน
คิดถึงไก่กันมั้ยคะ ( ͡° ͜ʖ ͡° )
วันนี้ไก่มาอีกแล้วกับเรื่องใหม่อย่าง 敬語 ค่ะ
ก่อนอื่นเลยถ้าท้าวความไปตอนที่ม.ปลาย 敬語 ที่เรารู้จักจะมี 3 ชนิดคือ
1. 謙譲語 = ถ่อมตัว เช่น ~いただきます
2. 丁寧語 = สุภาพ เช่น ~食べます
3. 尊敬語 = ยกย่อง เช่น ~召し上がります
ตามภาพด้านล่างใช่มั้ยคะ
แต่วันนี้ไก่ได้รู้อะไรใหม่ๆมาค่ะ ว่าจริงๆแล้วทางภาษาศาสตร์แบ่ง 敬語 ให้ละเอียดขึ้นได้อีก ตามภาพด้านล่าง
ตัวอย่างเช่น
1.太田先生いらっしゃいますか。
2.太田先生いらっしゃる?
ทั้งข้อ1และข้อ2ต่างก็เป็น尊敬語ใช่มั้ยคะ แต่ว่าแตกต่างกันตรงพูดกลับใครค่ะ
อย่างข้อ 1 คือเราคุยกับคนที่สูงกว่าเรา aka อจ รุ่นพี่ แล้วพูดถึง太田先生(บุคคลที่ 3)
ปกติพูดถึงอจเราต้องใช้尊敬形 อยู่แล้วใช่มั้ยคะ บวกกับคนที่เราคุยด้วยคือคนที่สูงกว่าเราจึงต้องใช้รูปสุภาพ 丁寧形 จึงออกมาเป็น 尊敬形+丁寧形
ตัวอย่างใกล้ตัวก็เช่นเราคุยอจในเอกถึงอจกนวเราคงไม่กล้าพูดแบบที่ 2 ใช่มั้ยคะ ༼ꉺ౪ꉺ༽
A: อคทน 先生、กนว 先生いらっしゃる?
ถ้าดูรูปภาพด้านล่างจะเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ
ส่วนข้อที่ 2 太田先生いらっしゃる? ใช้พูดกับใครล่ะ?
แน่นอนว่าเหมือนข้อที่ 1 ตรงพูดถึง 太田先生 จึงต้องใช้ 尊敬形 ส่วนคนที่พูดด้วยถ้าสังเกตจากด้านหลังจะเป็นว่า 普通形 ใช่มั้ยคะ จึงหมายความว่าคนที่เราคุยด้วยคือเพื่อน รุ่นน้อง คนที่ต่ำกว่าเรานั่นเองค่ะ จึงออกมาเป็น 尊敬形+普通形
ลองดูภาพด้านล่างเพิ่มเติมนะคะ
สรุป
- เวลาเราจะพูดถึงใคร(บุคคลที่ 3 )ให้เราดูจากระดับทางสังคมก่อนว่าควรใช้ 尊敬形、具体形 หรือ 謙譲形 กับเค้า
- หลังจากนั้นให้ดูระดับความสัมพันธ์ของเรากับคนที่กำลังพูดด้วยว่าต้องใช้ 普通形 หรือ 丁寧形
จบแล้วค่ะกับเรื่องที่ไก่อยากมาแชร์ในวันนี้
ไว้เจอกันโพสหน้านะคะ ( •̀ᴗ•́ )و ̑̑
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in