ยินดีต้อนรับทุกคนกลับสู่โพสต์รีวิวชีวิตมหาลัยของเรา ตอนนี้เกรดปี 2 เทอม 2 ได้ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ออกแบบอีก 1 อาทิตย์เปิดเทอมปี 3 ท็อปฟอร์มตลอดเลยรัฐศาสตร์) เราก็อยากมารีวิววิชาที่เรียนรวมไปถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เราได้รับจากเทอมนี้เนอะ สำหรับใครที่เพิ่งมาอ่านโพสต์นี้เป็นโพสต์แรก เราเรียนอยู่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ภาคความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือที่หลาย ๆ คนเรียกกันว่า "ไออาร์" เราเริ่มเขียนรีวิววิชาเรียนตั้งแต่ตอนอยู่ปี 1 เทอม 1 ไม่ใช่เพราะมีคนขอมา แต่เพราะอยากเก็บไว้เป็นความทรงจำของตนเอง และหวังว่าสิ่งที่เราเขียนจะช่วยเป็นแนวทางและเป็นประโยชน์ให้กับรุ่นน้องที่อยากหาข้อมูลหรือใครสักคนที่หลงเข้ามาอ่านไม่มากก็น้อย ถ้าใครอยากย้อนกลับไปอ่านของเทอมก่อน ๆ สามารถจิ้มได้จากลิงก์ด้านล่างนี้เลยนะคะ
->
รีวิวรัฐศาสตร์จุฬา ปี 1 เทอม 1: สาหัสอยู่แต่พอไปไหว
สำหรับเทอมนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นปี 2 เทอม 2 แต่ถ้าให้เราสรุปทั้งเทอมออกมาแบบสั้น ๆ ก็ขอเรียกว่าเป็นการ "ทดลองใช้ชีวิตปี 3 ตั้งแต่ปี 2"
อย่างที่เคยเล่าไปในโพสต์ก่อน ๆ คือภาคไออาร์จะ "เข้าภาค" (เริ่มเรียนวิชาบังคับภาค เพราะก่อนหน้านี้จะได้เรียนวิชาบังคับคณะเป็นการปูพื้นฐาน) อย่างเป็นทางการในตอนปี 2 เทอม 2 เนอะ ทำให้รุ่นพี่หลาย ๆ คนก็จะบอกว่าวิชาเรียนมันเริ่มหนักขึ้นนับตั้งแต่เทอมนี้เป็นต้นไป และถึงแม้ว่าปี 2 เทอม 2 มันจะหนักด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว แต่แน่นอนว่าเราจะสรรหาอะไรมาเพิ่มความหนักหนาสาหัสให้ตัวเอง 555555555 ล้อเล่น! คือวิชาของภาคไออาร์เทอมนี้มีตัวที่น่าสนใจเยอะมากกกกก เช่น นโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ นโยบายต่างประเทศแอฟริกา การเมืองโลกกับภาพยนตร์ และอีกมากมาย ซึ่งนอกจากวิชาบังคับภาคที่ต้องเรียนในแต่ละเทอมแล้ว เราต้องเก็บวิชาเลือกภาค 3 ตัวด้วยเนอะ (บางคนเรียกเสรีคณะ แต่เราเรียกว่าวิชาเลือกภาค เพราะมันคือวิชาเลือกของภาค 555555) ซึ่ง 1 ใน 3 ตัวต้องเป็นวิชาสัมมนา แปลว่าอีก 2 ตัวเราจะเอาไปลงอะไรก็ได้ที่มันเป็นวิชาของภาค แต่ถ้าตามอ่านมาตั้งแต่โพสต์ก่อนอาจจะจำได้ว่าเราได้เก็บวิชาความมั่นคงในการเมืองโลกจากปี 2 เทอม 1 เป็นวิชาเลือกภาคไปแล้ว แปลว่าเรามี slot วิชาเลือกภาคเหลือแค่ 1 ที่เท่านั้น ซึ่งพูดกันตรง ๆ เลยว่า มันเรียนไม่พออะ 5555555 เราเลยแก้ปัญหาด้วยการเก็บวิชาภาคไออาร์ตัวอื่นที่อยากเรียนเป็นเสรี จากที่ตอนแรกเสรี 2 ตัวจะเก็บเอาไว้ลงเรียนวิชานอกคณะสัพเพเหระที่สนใจ ตอนนี้คือเอาเสรีทั้ง 2 ตัวเอามาเรียนวิชาภาคตัวเองแทน
สรุปสั้น ๆ คือเทอมนี้นอกจากตัวบังคับ เราได้ลงวิชาภาคไปเพิ่ม 2 ตัว ตัวหนึ่งเก็บเป็นวิชาเลือกภาค อีกตัวเก็บเป็นเสรี แน่นอนว่าการเรียนวิชาบังคับคณะ 3 ตัว + วิชาบังคับภาค 1 ตัว + วิชาโท 1 ตัว + วิชาภาคตัวเองอีก 2 ตัวมันไม่ใช่เรื่องง่าย เราเคยถามพี่ปี 3 ว่าเจอเปเปอร์กี่ตัว พี่เขาตอบว่าประมาณ 10 ตัว และเทอมนี้เทอมเดียวเราเจอไปแล้ว 8 ตัว ใช่ค่ะ อ่านไม่ผิด 8 ตัวในเทอมเดียว 5555555555 นี่เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงเรียกเทอมนี้ว่าเป็นการทดลองใช้ชีวิตปี 3 ตั้งแต่ปี 2
มาเข้าเรื่องกันดีกว่า เทอมนี้วิชาบังคับมีทั้งหมด 4 ตัวด้วยกัน แล้วเราลงเพิ่มอีก 3 ตัว รวมทั้งหมดเป็น 7 ตัว 21 หน่วยกิตในเทอมนี้ เท่ากับว่าปี 2 เราเรียน 7 ตัวทั้งสองเทอมเลย หนักหนาสาหัสมากแต่ก็ผ่านมันมาได้แล้ว 555555555 โดยวิชาทั้งหมดที่เราลง ได้แก่
- วิชาบังคับ 4 ตัว
: วิชาบังคับคณะ 2 ตัว (Thai Foreign Relations in Modern World Politics, Introduction to Social and Political Theory)
: วิชาบังคับภาค 1 ตัว (International Politics in the 19th and 20th Centuries)
: วิชาบังคับคูลี่/สถาบันภาษา 1 ตัว (EAP II)
- วิชาที่ลงเพิ่มเอง 3 ตัว
: United States Foreign Policy (วิชาเลือกภาค)
: Global Politics Through Film (เสรี)
: Korean Business (วิชาโท)
ตามธรรมเนียมการรีวิววิชาของเราที่ทำมาทุกโพสต์ เราจะเริ่มการรีวิวด้วยวิชาที่ลงเพิ่มเองก่อนเพราะเรียนแล้วมีความสุขมากกว่าวิชาบังคับ (สัจธรรมชีวิต1 อะไรที่เราได้เลือกเองเราก็มักมีความสุขมากกว่าอะไรที่ถูกบังคับเสมอ 5555555555) แต่สำหรับเทอมนี้เรารู้สึกแฮปปี้กับทุกตัวเลยนะ ไม่มีวิชาไหนที่รู้สึกฝืนเรียน เราเรียนแล้วเรารู้สึกตัวเองได้อะไรกลับมาไม่มากก็น้อยเลย ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็ยังยึดรูปแบบเดิมที่รีวิววิชาลงเพิ่มเองก่อนวิชาบังคับ ดังนั้นเราก็ไปเริ่มกันที่วิชาที่เราลงเพิ่มเองตัวแรกก่อนเลย
1) 2402350 US FGN POLI (United States Foreign Policy)
- อาจารย์ผู้สอน: อ.กัลยา เจริญยิ่ง (KCY)
- ช่วงเวลาเรียน: วันจันทร์, 13:00-16:00 น.
- การตัดเกรด: ส่วนตัวคิดว่าอิงเกณฑ์
- การเก็บคะแนน: Participation 20% Midterm Paper 40% Final Paper 40%
- ความยากง่าย: ยากอยู่แต่ถ้าตั้งใจจริง ๆ ก็ไม่ยากเกินความสามารถ
- สังกัด: สังกัดภาคไออาร์
- เงื่อนไข: ไม่มีเงื่อนไข แต่ส่วนตัวแนะนำว่าควรเรียน Intro IR Sec 2 (ปี 2 เทอม 1) กับอ.กัลยามาก่อน หรือไม่ก็ไป sit in เซคของอาจารย์ให้พอคุ้นชินกับวิธีการสอนและวิธีการทำเปเปอร์
- ไม่ใช่นิสิตรัฐศาสตร์ ไออาร์ลงได้ไหม?: นิสิตไออาร์ นิสิตภาคอื่น นิสิตนอกคณะลงได้หมดเลยค่ะ
เปิดด้วยวิชาที่ลงเพิ่มเองที่ชอบที่สุดในเทอมนี้ ขอเล่า background ก่อนว่าตอนเราลงทะเบียนเรียนวิชานี้คือตอนที่สหรัฐฯ กำลังเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 46 พอดี แล้วตอนได้เริ่มเรียนก็คือตอนที่ Joe Biden ชนะการเลือกตั้งแล้ว ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เรา (และอีกหลาย ๆ คนในคลาส) เลือกเรียนวิชานี้เป็นเพราะเราอยากรู้ทิศทางของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลใหม่ รวมไปถึงแนวคิดหรือมุมมองต่าง ๆ ของสหรัฐฯ ด้วย เพราะสหรัฐฯ ก็เป็นประเทศมหาอำนาจเนอะ เราเลยมองว่าเราเองก็ควรที่จะเรียนเกี่ยวกับสหรัฐฯ จะได้รู้ว่าโลกกำลังจะเคลื่อนไปในทิศทางไหนยังไง แล้วอีกเหตุผลหนึ่งคือเราเรียนกับอ.กัลยามาตั้งแต่ Intro IR Sec 2 (ย้อนกลับไปอ่านรีวิวของปี 2 เทอม 1 ได้) แล้วเรารู้สึกว่าเราได้พัฒนาตัวเองเยอะขึ้นมาก ๆ แบบก้าวกระโดดพอได้มาเรียนกับอาจารย์ เลยเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เราตัดสินใจมาลงวิชานี้ตอนปี 2 เทอม 2 เพราะอยากเรียนกับอาจารย์อีก
พูดเรื่องวิธีการสอนของอาจารย์ก่อน สำหรับคนที่เรียน Intro IR Sec 2 กับอาจารย์มาก่อนแล้วก็จะบอกว่ามันเหมือนเดิมเลย คือมี Participation Point ที่เราต้องมีส่วนร่วมในคลาส โดยตอนสมัย Intro IR ด้วยความคนมันเยอะ ทำให้เราอาจจะได้ยกมือพูดนิดเดียว แต่ในวิชานี้ คลาสจะเล็กกว่าเดิมมาก ๆ (ไม่เกิน 40 คน ยิ่งช่วงท้าย ๆ ถอนจนเหลือประมาณ 20 คน) ทำให้เรามีโอกาสได้พูดเยอะขึ้น โดยอาจารย์จะเปิดให้เป็นช่วง Discussion ตอนต้นคาบก่อนเรียน ให้เรานำข่าวเกี่ยวกับสหรัฐฯ มาพูด หรือไม่ก็สรุปสิ่งที่ได้จากการอ่าน Reading ในแต่ละวีค ช่วงแรก ๆ ตอนพูดก็มีเสียงสั่น มือสั่น หายใจไม่ทั่วท้องเหมือนกัน แต่พอกดยกมือใน Zoom ทุกวีคแล้วเปิดไมค์พูดจนชินมันก็เลิกตื่นเต้นไปเอง 555555 สำหรับใครที่กลัวการมีส่วนร่วมในคลาสคือไม่ต้องกลัวเลยนะ มันอาจจะฟังดูพูดง่ายแต่เราเองก็เป็นหนึ่งในคนที่เคยไม่กล้ายกมือถามหรือมีส่วนร่วมในคลาสเหมือนกัน เคยกลัวว่าจะพูดผิด กลัวจะโดนอาจารย์ถามต่อแล้วเราตอบไม่ได้ แต่พอรวบรวมความกล้าแล้วลองดูครั้งหนึ่งก็จะพบว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิด แล้วหลังจากนั้นมันก็จะมีครั้งที่สอง สาม สี่ตามมาเรื่อย ๆ อีกอย่างคือสำหรับวิชานี้และวิชาอื่น ๆ ของอ.กัลยา คะแนน Participation ค่อนข้างสำคัญ มันสามารถเปลี่ยนเกรดได้เลยอะ ดังนั้นถ้าใครลงเรียนก็อยากให้พยายามยกมือมีส่วนร่วมนะ พูดสั้น ๆ แปปเดียวไม่ถึงนาทีก็ได้คะแนนแล้ว! จริง! (อาจารย์ไม่ดุ ถ้าเราพูดผิดเขาก็จะช่วยแก้หรือช่วยเสริมให้ด้วย ไม่ต้องกลัว!)
แล้วตามสไตล์อ.กัลยา คือหลัง Discussion ต้นคาบจบ อาจารย์ก็จะเลคเชอร์ยาว ๆ จนจบคาบ แต่ก่อนจะมาฟังเลคเชอร์ เราต้องไปอ่าน Reading ที่อาจารย์ Assign มาให้ในแต่ละสัปดาห์ก่อน ตกสัปดาห์ละประมาณ 20-50 หน้า (Reading ของอ.กัลยาเป็นภาษาอังกฤษล้วน) ถ้าเป็นเด็กไออาร์คือน่าจะชินกันแล้วแหละเพราะต้องอ่านเยอะแบบนี้ทุกวิชา 55555555 แต่ถ้ามาจากภาคอื่นหรือคณะอ่ื่นเราก็แนะนำว่าอาจจะต้องขยันอ่าน Reading กันนิดนึง คือโอเค มันสามารถไปตามอ่านเอาทีหลังได้ตอนใกล้ ๆ จะทำเปเปอร์ แต่เราว่าแบบนั้นมันซัฟเฟอร์อะ ถ้าเราอ่าน Reading มาก่อนเรียนแล้วรอฟังอาจารย์เลคเชอร์ เราก็จะได้เช็คว่าเราเข้าใจถูก/ผิดตรงไหนในคาบ แล้วถ้ามีคำถามอะไรก็จะได้ถามต่อเลย ซึ่งมันเวิร์คมาก ๆ แค่อาจจะเหนื่อยต้องอ่าน Reading หน่อยนึง
แล้วนอกจากจะเก็บคะแนนจาก Participation แล้วก็มีเปเปอร์ 2 ตัวเนอะ ระบบเหมือน Intro IR เป๊ะ ๆ เลย คืออาจารย์จะแจกโจทย์เปเปอร์ก่อนเดดไลน์ประมาณ 1 เดือน แล้วอาจารย์จะช่วยดู 2 พารากราฟแรกให้ ( [1] Introduction+Argument, [2] Outline) ถ้ามีอะไรก็สามารถเขียนอีเมลไปปรึกษาอาจารย์ได้ โดยการเขียนเปเปอร์ของอ.กัลยาคือให้ใช้แค่ Reading จากในคลาสกับเลคเชอร์ของอาจารย์มาอ้างอิง ห้ามหาข้อมูลจากข้างนอกมาเขียน โดยหัวข้อเปเปอร์อาจารย์จะกำหนดมาให้ประมาณ 4-5 ข้อแล้วเราเลือกทำหนึ่งข้อ และต้องใช้ Reading 3 หรือ 4 สัปดาห์เป็นขั้นต่ำในการอ้างอิงเปเปอร์ของเรา (ต้องดูว่าอาจารย์จะกำหนดยังไง)
แต่ถามว่าวิชานี้ต่างจาก Intro IR ตรงไหน ที่ต่างแน่ ๆ คือเนื้อหาเพราะมันคนละวิชากัน อีกอย่างคือตอนเรียน Intro IR กับอ.กัลยาคือทุกคนจะรู้กันเนอะว่าอาจารย์เขาสอนกระแสรอง (Critical / Non-traditional IR) พอมาเรียนวิชานี้เรารู้สึกว่ามันมี Aspect แบบ IR กระแสรองอยู่บ้าง (เปเปอร์มิดเทอมเราก็เลือกทำข้อที่ได้เขียนวิพากษ์ Mainstream IR Theories พอจับมาใช้อธิบายนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ 555555555) แต่ก็ไม่ได้ชัดเท่าสมัย Intro IR เพราะอย่างที่บอกว่าวิชานี้มันเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ อะ ดังนั้นถ้าใครยังชินกับการวิพากษ์รัว ๆ จากสมัย Intro IR ก็อาจจะต้องปรับตัวนิดนึง และอีกอย่างที่ต่างคือวิชานี้ไม่ใช่วิชา Intro แล้ว ดังนั้นสิ่งที่เราเรียนมันจะไม่ใช่แค่เบื้องต้น เช่นเดียวกับเกณฑ์การตรวจเปเปอร์ของอาจารย์ที่จะโหดขึ้นกว่า Intro IR ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจารย์ก็จะมีเกณฑ์และความคาดหวังสำหรับนิสิตปี 2, 3, 4 แตกต่างกันออกไป ไม่ใช่ว่าจะตรวจด้วยเกณฑ์เดียวกันทั้งหมด แต่สิ่งที่อยากจะบอกคือต้องพยายามกันนิดนึงอะ เพราะอาจารย์เขามองว่าเราไม่ได้เรียนตัวเบื้องต้นแล้ว งานที่เขียนออกมาก็ควรจะดีกว่าจากสมัย Intro IR เนอะ
เข้าเรื่องเนื้อหาวิชาเรียนกันดีกว่า จริง ๆ แล้วเนื้อหาที่อาจารย์สอนในแต่ละปีจะมีปรับเปลี่ยนนิดหน่อยขึ้นอยู่กับประเด็นที่อาจารย์หยิบมาสอน แต่ในปีที่เราเรียนเนื้อหาใหญ่ ๆ แบ่งออกเป็น 3 พาร์ท
- Part 1) Historical Context of US Foreign Policy: American Empire
- Part 2) Traditional Thoughts
- Part 3) Domestic Sources of US Foreign Policy
คือเราจะได้เริ่มเรียนตั้งแต่การเกิดขึ้นของอเมริกา จนค่อย ๆ ขยายอาณาเขตไปทั่วทวีปอเมริกาเหนือ จนถึงยุคที่มีสงครามในยุโรปแล้วอเมริกายึดนโยบาย Isolationism จนอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1, 2 กลายมาเป็นมหาอำนาจ แล้วเป็นตัวแทนของโลกเสรีในการสู้ในสงครามเย็น แล้วข้ามมาเจอกรอบแนวคิด 4 อย่างของนโยบายต่างประเทศอเมริกา (Wilsonian, Hamiltonian, Jeffersonian, Jacksonian) แล้วสุดท้ายคืออิทธิพลของการเมืองภายในหรือตัวแสดงภายในประเทศที่มีอิทธิพลต่อนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ
เอาจริง ๆ เราว่าถ้าเทียบกับเวลาที่มีและเนื้อหาที่ได้เรียนคือถือว่าครอบคลุมมากพอสมควรแล้วนะ คือด้วยความที่วิชานี้ไม่ใช่วิชาอเมริกันศึกษาหรือประวัติศาสตร์อเมริกา อาจารย์เลยไม่ได้สอน Context ของการปฏิวัติอเมริกาสมัยที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ (ตอนเรียนมีแตะบ้างแต่น้อย) แต่เราไปซื้อหนังสือ The American Revolution ของคุณพีรพงษ์ ฉายยายนต์ จากสำนักพิมพ์ยิปซีมาอ่านเพิ่มเติม ซึ่งก็ช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาวีคแรก ๆ ได้ดีเหมือนกันว่าประวัติศาสตร์อเมริกามีความเป็นมายังไง (คือ 1-2 วีคแรกเรากับเพื่อนค่อนข้าง Lost เพราะเราก็ไม่ได้รู้ลึกเกี่ยวกับอเมริกาขนาดนั้นก่อนที่จะมาเรียนวิชานี้ แต่พอซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านคู่กับการอ่าน Reading แล้วก็ฟังอาจารย์เลคเชอร์มันก็ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเยอะเลย)
อีกสิ่งหนึ่งที่อาจารย์ไม่ได้สอนและสามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ใน Syllabus คืออาจารย์ไม่ได้สอนเกี่ยวกับ Biden Administration อาจารย์เล่าให้ฟังว่าเพราะอาจารย์ต้องส่ง Syllabus ให้คณะตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้อาจารย์ก็ยังไม่สามารถวางเนื้อหาในส่วนนี้ได้ แต่ถึงอาจารย์จะไม่ได้สอนเกี่ยวกับ Biden Administration โดยตรง การที่อาจารย์ให้เรามี Discussion ตอนต้นคาบทุก ๆ สัปดาห์แล้วนำข่าวปัจจุบันเกี่ยวกับการเมืองสหรัฐฯ มาเล่าก็ทำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับทิศทางของรัฐบาลนี้ไปในตัว ทั้งจากข่าวที่เราไปหามาพูดแล้วก็ที่เราฟังคนอื่นในคลาสพูดด้วย ทำให้สุดท้ายแล้วเราเลยมองว่าสิ่งที่ได้รับจากวิชานี้มันก็ครอบคลุมมากเลย
พูดถึงหัวใจสำคัญของวิชาที่เรียนกับอ.กัลยาอย่างเปเปอร์บ้าง คือตอนปี 2 เทอม 1 เราได้มีโอกาสเรียนรวมกับพี่ปี 3, 4 จากวิชาความมั่นคงมาแล้วทำให้การเรียนรวมกับพี่ปีโต ๆ ในวิชานี้มันไม่ได้ทำให้เรารู้สึกกดดันแล้ว (เผลอ ๆ สนุกด้วยซ้ำ รู้สึกพี่เขามีมุมมองที่น่าสนใจดีเพราะแต่ละคนก็เจอวิชาหิน ๆ ผ่านการฝึกงาน ผ่านประสบการณ์กันมาเยอะแล้ว) แต่สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกกดดันคือการเขียนเปเปอร์เนี่ยแหละ (ไม่มีใครมากดดันนะ เรากดดันตัวเองทั้งนั้น) เพราะตอนไฟนอลเปเปอร์ของ Intro IR เราว่ารอบนั้นเราทำได้ดีมาก ๆ แล้ว และไม่คิดว่าตัวเองจะทำได้ดีเทียบเท่าหรือดีกว่านั้นอีกไหม พูดง่าย ๆ คือกลัวทำเปเปอร์ที่มาตรฐานตกไปส่งอาจารย์ 5555555 จำได้ว่าคืนวันก่อนที่หัวข้อมิดเทอมเปเปอร์วิชานี้จะออกคือเราเครียดมากจนนั่งร้องไห้เลย พอหัวข้อออกแล้วก็จิ้มข้อไม่ได้สักที ทำข้อนึงแล้วเปลี่ยนไปทำอีกข้อ แล้วรื้อโครงใหม่ วนซ้ำ ๆ แบบนี้อยู่ประมาณ 4-5 รอบได้ จนสุดท้ายเลือกข้อได้แล้วเขียน 2 พารากราฟส่งไปให้อาจารย์ดู อาจารย์ก็ส่ง Feedback กลับมาแล้วเรายังงง ๆ อยู่นิดหน่อยเลยขอนัดคุยผ่าน Zoom กับอาจารย์ แล้วหลังจากที่ได้คุยกับอาจารย์วันนั้นคือความกังวล ความเครียด ความกดดันที่แบกมาหายไปทั้งหมดเลย เราได้รู้ว่า Argument ที่เราเขียนออกมา (ตอนแรกไม่มั่นใจมาก ๆ ว่าโอเคไหม) มันมาถูกทางแล้ว แล้วก็ได้ปรึกษาอาจารย์เพิ่มเติมว่าควรใส่ประเด็นนู้นนี้เพิ่มไหม ทำให้ท้ายที่สุดมิดเทอมเปเปอร์มันออกมาค่อนข้างดี เราพอใจกับมันเลยนะ ถึงแม้จะยังมีจุดพลาดแต่เราก็รู้สึกมั่นใจมากขึ้น แล้วก็ได้รู้ว่าเราก็เอาเปเปอร์อยู่เหมือนกันนี่นา ตอนรอบไฟนอลเราก็แอบ Blank (อีกแล้ว 555555) เลยลิสต์สิ่งที่คิดออกกับไอเดียที่มีแล้วขอนัดคุยผ่าน Zoom เพื่อปรึกษาอาจารย์เหมือนกัน สุดท้ายก็เขียน Argument ส่งไปให้อาจารย์ดูแล้วได้รับ Feedback ที่ไม่คิดว่าชีวิตนี้จะได้รับคือเราไม่ต้องแก้ 2 พารากราฟเลย จำได้ว่าตอนเห็นอีเมลที่อาจารย์ส่งกลับมาคือเรานั่งร้องไห้เลยเพราะมันเกินคาดมาก
เราเจออ.กัลยาครั้งแรกตอน Intro IR คือเมื่อสิงหาคม 2563 ซึ่ง 2 พารากราฟแรกที่เราส่งให้อาจารย์ดูคือโดนแก้ตีว่า 50% ได้อะ ไม่ต้องเขียนใหม่ทั้งหมดแต่ก็ต้องรื้อเยอะเอาเรื่อง ส่วนตอนที่เราได้รับอีเมลนี้จากอาจารย์คือพฤษภาคม 2564 ประมาณ 8-9 เดือนหลังจากที่ได้ส่ง 2 พารากราฟแรกสุดไป มันทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองมาไกลมาก ๆ กับการเขียนเปเปอร์เลยนะ มองย้อนกลับไปแล้วภูมิใจมาก ๆ ที่เห็นพัฒนาการของตัวเอง แต่เราก็จะไม่หยุดแค่นี้หรอก ถึงอาจารย์บอกว่าไม่ต้องแก้ 2 พารากราฟ มันก็ยังพัฒนาให้ดีกว่านี้ได้อีก 55555555
อีกเรื่องเซอร์ไพรซ์คืออาจารย์เขียนชมนิสิตคนหนึ่งบนเฟสบุ๊ก ยาวหลายพารากราฟเลย เราเห็นโพสต์แล้วก็คิดในใจว่าคงเป็นเพื่อนเราแหละ แต่อยู่ดี ๆ อาจารย์ก็ทักมาบอกว่าให้ไปอ่านด้วยนะเพราะเขียนถึงเรา แล้วของานที่เราเขียนไปให้รุ่นน้องใน Intro IR ดูได้ไหม (+ ขอเปเปอร์วิชา Global Politics Through Film ไปอ่านด้วย 55555555) ซึ่งเราภูมิใจมาก ๆๆๆ ก็คือเอาเลยค่ะอาจารย์ เต็มที่ อยากเอาไปให้น้องดูกี่อันก็เอาไปได้หมดเลย แล้วอีกนิดคือจะปริ้นท์โพสต์ของอาจารย์มาแปะที่ผนังห้องแล้ว 55555555 ท้ายที่สุดมิดเทอมเปเปอร์เราได้ A-/B+ ส่วนไฟนอลเปเปอร์เราได้ A- เพียว ๆ ตัวเดียว (เปเปอร์ไฟนอลเราเลือกข้อที่ได้วางนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ หลัง Trump Administration เพื่อคงไว้ซึ่งอำนาจของสหรัฐฯ ในเวทีโลกต่อไป คอมเม้นของอาจารย์คือ "You should run for office" 5555555555)
คือเอาจริง ๆ เราไม่เคยมีความคิดอยากเรียนเกี่ยวกับสหรัฐฯ มาก่อนเลย สาเหตุเพราะตัวเราเองโทภาษาเกาหลีอยู่ ความสนใจส่วนมากเราอยู่ที่ฝั่งเอเชีย ไม่ได้สนใจฝั่งตะวันตกสักเท่าไร เคยคิดอยากต่อโทด้าน East Asian Studies / Korean Studies ไปเลยด้วย แต่พอได้มาลองเรียนวิชานี้ดูมันทำให้เรารู้ว่าโลกมันกว้างกว่าที่เราคิดมากอะ สหรัฐฯ มีอะไรน่าสนใจเยอะมาก แล้วการได้เรียนเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาอำนาจมันทำให้เราได้มุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับไออาร์เยอะจริง ๆ นอกจากนี้โจทย์เปเปอร์ทั้งสองตัวก็ให้อะไรเราเยอะเหมือนกัน อย่างตัวมิดเทอมเราได้ฝึกสกิลวิพากษ์ที่มัน Beyond จาก Intro IR มามาก และตัวไฟนอลเราต้องคิดว่าตัวเองเป็นประธานาธิบดีต่อจาก Trump แล้วต้องออกนโยบายต่างประเทศของตัวเองในด้านต่าง ๆ โดยที่ยังต้องคงความเป็นมหาอำนาจของสหรัฐฯ ให้ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้เหมือนเรารับบทคนวิพากษ์มาโดยตลอด พอต้องมาเป็นคนออกนโยบายเองเราก็ได้รู้ว่า เออ มันมีประเด็น Sentisive เยอะมากนะ แล้วเราต้องทำยังไงเพื่อรักษาผลประโยชน์ของคนอเมริกันภายในประเทศให้ได้ พร้อม ๆ กับที่รักษาบทบาทของสหรัฐฯ ในเวทีโลก แล้วยังต้องรับมือกับ Legacy ที่ Trump Administration ทิ้งเอาไว้อีก ซึ่งเราได้บทเรียนกลับมาเยอะจริง ๆ จากวิชานี้
ถามว่าแนะนำให้เรียนวิชานี้ไหม คือเราแนะนำนะ แต่ก็อยากให้เช็คตารางและดูวิชาอื่น ๆ ที่ลงเรียนในเทอมนั้น ๆ ด้วยว่าพอดูภาพรวมแล้วมันหนักเกินไปไหม ถ้าหนักเกินเราเชียร์ให้ลงตอนปี 4 เพราะมีเพื่อนเราหลายคนเหมือนกันที่อยากเรียนวิชานี้แต่สุดท้ายภาระงานหนักจนต้องถอนวิชานี้ไป รอไปเก็บเอาตอนปี 4 ที่ว่าง ๆ แล้วก็ได้ แต่อย่างเราคือคำนวณดูแล้วเราว่าเราไหว เราอยากฝึกเขียนเปเปอร์กับอ.กัลยาเยอะ ๆ ก่อนต้องไปเจอเปเปอร์รัว ๆ ตอนปี 3 แล้วเราอยากฝึกงานกับสถานทูตสหรัฐฯ ตอนปิดเทอมปี 3 ขึ้นปี 4 ด้วยก็เลยตัดสินใจเรียนตั้งแต่เทอมนี้ที่วิชาเรียนมันยังไม่หนักมากเกิน
เพื่อนเราชอบแซวว่าเราเป็น TA (Teaching Assistant) ของอ.กัลยา เพราะเรามักเขียน 2 พารากราฟส่งให้อาจารย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ แล้วเขียนเปเปอร์ของตัวเองเสร็จเร็วเลยมีเวลาไปช่วยเพื่อนคนอื่น ๆ ดังนั้นในฐานะ TA แบบปลอม ๆ ของอ.กัลยา เรามีคำแนะนำดังนี้ให้กับคนที่อยากเรียนและทำเปเปอร์กับอาจารย์
Photo by Robert Bye on Unsplash
[ How to: Taking classes with Aj. Kalaya]
(1) อ่าน Reading ก่อนเรียนทุกสัปดาห์ พยายามทำความเข้าใจให้ได้มากที่สุด แล้วเวลาอ่านแนะนำให้ใช้ไฮไลท์หลาย ๆ สี ตอนเราอ่านคือใช้ 3 สี สีแรกไว้ไฮไลท์ประเด็นที่ค่อนข้างสำคัญ/น่าสนใจ สีที่สองไว้ไฮไลท์ประเด็นที่สำคัญกว่าประเด็นแรก สีที่สามไว้ไฮไลท์ Argument ของ Reading นั้น ๆ มันคือการจัด Priority ของข้อมูลอะ ทำให้พอเราต้องทำเปเปอร์แล้วกลับมาทวน Reading ทั้งหมดใหม่ เราจะจำได้ว่าประเด็นไหนสำคัญ ประเด็นไหนน่าสนใจ ถึงแม้ว่าเราจะไม่รู้ล่วงหน้าว่าโจทย์จะออกมาเป็นยังไง แต่สุดท้ายพอโจทย์ออกมาแล้วเรามาย้อนอ่านสิ่งที่ตัวเองไฮไลท์คือมันช่วยเยอะมากในการดึงประเด็นต่าง ๆ มาใช้ในการตอบคำถาม
(2) เวลาอ่าน Reading พยายามหา Argument ของ Reading นั้น ๆ ให้เจอ อ่านแล้วคิดตามว่าผู้เขียนมีจุดยืนยังไงหรือต้องการจะสื่ออะไรแล้วอย่าลืมจดเก็บเอาไว้ มันช่วยเยอะมาก ๆ เวลาเราต้องย้อนกลับมาทวน Reading ตอนที่จะทำเปเปอร์ ถ้าไม่จดไว้ว่า Argument ของ Reading คืออะไรเราจะลืมว่า Reading นั้นพูดถึงอะไร = ต้องกลับไปอ่านใหม่ตั้งแต่ต้น = เสียเวลามาก ดังนั้นเพื่อ Save เวลาในการทำเปเปอร์และความง่ายต่อชีวิต จด Argument ของผู้เขียนเก็บเอาไว้เถอะค่ะ
(3) เวลาจะเริ่มคิด Argument แนะนำว่าให้ย้อนกลับไปทวน Reading ทั้งหมดใหม่ ไม่ต้องอ่านทุกตัวทุกบรรทัด แต่ Skim ผ่าน ๆ พร้อม ๆ กับดูที่เราสรุป Argument ของผู้เขียน + สิ่งที่เราไฮไลท์เอาไว้ แต่อย่าเสก Argument แบบไม่ทวน Reading เลย เพราะเราเคยลองมาทุกวิธีแล้ว ทั้งไม่ทวน Reading ทั้งทวนแบบลวก ๆ และทวนแบบคู่กับสิ่งที่เราจดกับไฮไลท์เอาไว้ ได้ข้อสรุปว่าวิธีสุดท้ายเวิร์คที่สุดจากทั้งหมด (obviously 55555555555) เพราะเราจะเก็บครบทุกประเด็น และเราจะเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดอย่างจริง ๆ ไม่ได้พลาดประเด็นไหนไป หรือเข้าใจประเด็นไหนผิดไปเพราะเราลืม
(4) อย่าทำอะไรวินาทีสุดท้าย อย่าไปเร่งเอาช่วงท้าย ๆ เพราะนอกจากเราจะลนเพราะเหลือเวลาไม่มากแล้วงานที่ออกมาก็จะดูลวก ๆ ด้วย โจทย์เปเปอร์ของอ.กัลยาไม่ได้ยาก แต่ก็ไม่ได้ง่ายถึงขั้นที่มองทีเดียวแล้วตอบได้เลย คำตอบมันซับซ้อน ดังนั้นเริ่มเนิ่น ๆ แล้วใช้เวลากับการทวน Reading แล้วคิด Argument ของตัวเองเยอะ ๆ
(5) มีอะไรให้คุยกับอาจารย์ สงสัยตรงไหนก็ถาม มีอะไรข้องใจเกี่ยวกับเปเปอร์ก็ขอเขาปรึกษาได้เลย สารภาพว่าเราเคยกลัวอาจารย์มาก ๆๆๆ ตอนสมัยปี 2 เทอม 1 เราขอเข้าไปปรึกษาอาจารย์ที่ออฟฟิศชั้น 9 (ตอนนั้นโควิดยังไม่หนักมากทำให้ไปเรียนที่คณะได้) แล้วก่อนเราจะเข้าไปคุยกับอาจารย์คือเรามือสั่นเหงื่อออกไปหมดเลย จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว กลัวมาก แต่พอผ่านมันมาได้แล้วก็อยากบอกว่า เอาจริง ๆ ถ้าเราอ่าน Reading มาครบ ลิสต์คำถามมาพร้อม รู้ว่าสิ่งที่เราเขียนไปใน 2 พารากราฟคืออะไรแล้วเราต้องการจะสื่ออะไร พูดง่าย ๆ คือถ้าเราเตรียมตัวมาดี อาจารย์เขาก็พร้อมช่วยเหลือและให้คำแนะนำอะ แล้วมีอะไรให้คุยกับอาจารย์ เชื่อเราเถอะว่าอาจารย์เขาพร้อมที่จะทำความเข้าใจนิสิต คืออาจารย์เขาต้องรับผิดชอบเด็กเยอะมาก เขาเลยไม่สามารถ Reach out หาทุกคนได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นถ้าเรามีอะไรก็จงเริ่มที่ตัวเรา Reach out หาเขาเถอะ จริง ๆ
(Bonus) ถ้าเป็นไปได้แนะนำว่าให้ทำเปเปอร์ภาษาอังกฤษกับอ.กัลยานะ ส่วนตัวทุกเปเปอร์ที่เราเคยส่งอาจารย์คือเขียนเป็นภาษาอังกฤษหมดเลย เพราะ Reading ทุกตัวที่เราอ่านมันเป็นภาษาอังกฤษอะ ทำให้การเขียนเปเปอร์เป็นภาษาอังกฤษมันจะง่ายกับชีวิตกว่ามาก ไม่ต้องมาแปลแล้ว Paraphrase อีกรอบ แล้วศัพท์หลายคำที่เรียนมันเป็นศัพท์เฉพาะที่แปลเป็นไทยยากอะ แต่ถ้าเราเขียนเปเปอร์ภาษาอังกฤษก็หมดปัญหาเรื่องแปลคำไปมา อ.กัลยาเองก็พูดว่าเขียนเปเปอร์ภาษาอังกฤษง่ายกว่าเขียนเปเปอร์ไทย ซึ่งเราเห็นด้วยมาก ๆ 555555555 อีกอย่างคือมันทำให้เราได้ฝึกสกิลภาษาอังกฤษของตัวเองด้วยอะ เหมือนเรียนอินเตอร์ทั้ง ๆ ที่เรียนภาคไทย ดังนั้นถ้าสามารถก็แนะนำให้เขียนเปเปอร์ภาษาอังกฤษนะ เชื่อเรา จริง
ทั้งนี้ทั้งนั้น วิธีที่ลิสต์ไว้ให้สามารถนำไปปรับใช้กับวิชาภาคตัวอื่น ๆ ได้เหมือนกัน หลักสำคัญที่เราใช้ในการเรียนวิชาภาคคือ
[ตั้งใจอ่าน Reading - ไฮไลท์สามสี - สรุป Reading - เริ่มทำงานเนิ่น ๆ - มีอะไรปรึกษาอาจารย์]
แล้วปี 2 ทำให้เรารู้ว่าการเรียนมหาลัยมันไม่ได้มีแค่เราตัวคนเดียวอะ แต่คนรอบข้างโดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนเขาก็พร้อมที่จะช่วยเหลือเราเสมออยู่เหมือนกัน ตอนเรียนวิชาอื่นเราสงสัยอะไรตรงไหนก็เขียนอีเมลหาอาจารย์วิชานั้น ๆ เขียนส่งไปจนอาจารย์จำชื่อได้ 55555555555 แต่นั่นแหละ มีอะไรก็พยายามคุยกับเขา ที่เราผ่านปี 2 เทอม 2 อันแสนหนักหน่วงมาได้ก็เพราะคำแนะนำและความช่วยเหลือจากอาจารย์หลาย ๆ คนเลย
และสุดท้ายวิชานี้เราก็ได้ A มา
2) 2402357 GLOBAL POL FILM (Global Politics Through Film)
- อาจารย์ผู้สอน: อ.กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ (KPW)
- ช่วงเวลาเรียน: วันศุกร์, 09:00-12:00 น.
- การตัดเกรด: อิงเกณฑ์, A 85
- การเก็บคะแนน: Attendance & Participation 10% Quiz 30% Midterm 25% Final 35%
- ความยากง่าย: ไม่เครียด ไม่กดดัน ไม่ยาก สนุกมากแถมยังได้ความรู้
- สังกัด: สังกัดภาคไออาร์
- เงื่อนไข: ไม่มีเงื่อนไข
- ไม่ใช่นิสิตรัฐศาสตร์ ไออาร์ลงได้ไหม?: นิสิตไออาร์ นิสิตภาคอื่น นิสิตนอกคณะลงได้หมดเลยค่ะ
- *หมายเหตุ: ปีเราอ.กรพินธุ์มาสอน แต่อ.บอกว่าจริง ๆ เจ้าของรายวิชานี้คืออ.สรวิศ ชัยนาม แต่ด้วยความที่ปีนี้อ.เขาลา อ.กรพินธุ์เลยมาสอนแทน แต่อ.ทั้งสองคนก็สอนดีทั้งคู่เลยนะ
มาถึงอีกวิชาที่เราชอบมาก ๆ ในเทอมนี้ ก็ตามตัวเลย Global Politics Through Film เราจะเรียนการเมืองโลกผ่านหนัง ขอเล่าก่อนว่าเรามาลงวิชานี้เพราะตอนปี 2 เทอม 1 ตอนเรียนวิชา Intro IR อ.กัลยาแนะนำให้มาลงเรียน อาจารย์โฆษณาเอาไว้ว่าถ้าเรียนจบแล้วจะดูหนังไม่เหมือนเดิมอีกเลย 555555555 แล้วเหมือนอาจารย์เขาเป็นคนร่างหลักสูตรเองอะ แต่คงเพราะรับผิดชอบหลายวิชาแล้วเลยไม่ได้สอนตัวนี้ ส่วนคนที่รับผิดชอบรายวิชานี้จริง ๆ คืออ.สรวิศ ซึ่งอ.สรวิศลาทั้งปีการศึกษานี้เลย ทำให้เราได้มาเรียนกับอ.กรพินธุ์! และเพื่อนในกลุ่มเราเคยเรียนกับอ.กรพินธุ์มาก่อนตอนสมัยวิชา Log Reas ตอนปี 1 เทอม 1 แล้วเราจะได้ยินเพื่อนพูดตลอดเลยว่าอาจารย์น่ารักมาก สอนดีมาก เราก็เลย อะ ตัดสินใจลงแบบไม่คิด ฉันต้องได้เรียนตัวนี้ 5555555555
โดยตอนที่เราเรียน อ.กรพินธุ์กำหนดธีมไว้เป็น "ภาพยนตร์ซอมบี้" ใช่จ้า ซอมบี้ครึ่งคนครึ่งศพแหละจ้าที่เราจะจับมาเรียนคู่กับประเด็นการเมืองกัน แต่จริง ๆ เหมือนว่าธีมแต่ละปีก็จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ นะ อ.กรพินธุ์บอกว่าตอนสมัยที่อ.สรวิศสอนปีก่อน อาจารย์เขาสอนในธีม "ทุนนิยมกับความรัก" ก็แนะนำว่าให้เช็คกับอาจารย์ผู้สอนเหมือนกันว่าเขาจะสอนในธีมไหนอะไรยังไง เพราะอย่างรอบนี้ที่เรียนเกี่ยวกับซอมบี้ก็มีเพื่อนบางคนที่ไม่ชอบซอมบี้แบบดูไม่ได้จริง ๆ ก็ต้องถอนไป
ส่วนเนื้อหาสำหรับธีมซอมบี้ถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้
- Part 1) Zombies and IR Theories: Global Threats, Strong State (Figures), and International Cooperation
- Part 2) Zombies and Global Uncertainties
- Part 3) Zombies as Allegories of Capitalist Exploitation
- Part 4) Zombies as Bare Life or Revolutionary Subjects?
- Part 5) Zombies and Thai Society
เอาความเห็นส่วนตัวคือเราเคยได้ยินเกี่ยวกับการนำซอมบี้มาใช้ศึกษาทฤษฎีหรือแนวคิดทางการเมืองมาก่อนเลยไม่ได้รู้สึกว่ามันว้าวจนเป็นยูเรก้าโมเม้นอะไรขนาดนั้น แต่สิ่งที่ประทับใจมาก ๆ สำหรับวิชานี้คือ 90% ของแนวคิดที่ได้เรียนมันคือสิ่งที่เราได้เรียนใน Intro IR ตอนปี 2 เทอม 1 อะ ซึ่งพูดกันตรง ๆ คือ Intro IR มีประมาณสิบล้านประเด็นได้ ประเด็นมันเยอะมาก ๆ จริง ๆ อะ 5555555555 ทำให้เราก็ไม่ได้เรียนแบบลงลึกทุกแนวคิดจนเข้าใจแบบถ่องแท้ แต่เราก็ได้กลับมาเจอแนวคิดเหล่านั้นใหม่ในวิชานี้ อะไรที่เราไม่เข้าใจก็ได้มาเข้าใจจริง ๆ ในวิชานี้ แล้วอ.กรพินธุ์เป็นคนถ่ายทอดเนื้อหาดีมาก บางแนวคิด (เช่นของฟูโกต์) เราพยายามเสิร์ชกูเกิลเพื่อทำความเข้าใจก็แล้ว อ่านใน Reading ก็แล้ว ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี แต่เจออาจารย์อธิบายไม่กี่นาทีคือเก็ตเลยอะ เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงชอบวิชานี้มาก ๆ
แล้วถ้าดูเนื้อหา คือวิชานี้เราได้เรียน IR แบบทั้งกระแสหลักกับกระแสรอง เปิดมาคาบแรก ๆ เราได้เรียนเกี่ยวกับ Mainstream IR theories อย่าง Realism, Liberalism แล้วหลังจากนั้นก็จะเข้าสู่พาร์ทกระแสรองที่วิพากษ์แบบรัว ๆ เลย เช่น วิพากษ์ทุนนิยม เจอแนวคิด Biopower and Biopolitics, Necropolitics, Bare Life, Politics of Contagion, Postcolonialism, etc. ในฐานะที่เป็นเด็กไออาร์คือเราว่าเนื้อหามันก็ครอบคลุมมาก ๆ ณ ระดับนึงเลย
อีกเรื่องที่ประทับใจสำหรับวิชานี้คือประทับใจหนังสือที่ได้อ่านในวิชานี้อะ หนังสือเล่มแรกที่อาจารย์ Assign ให้อ่านคือ Theories of International Politics and Zombies ของ Daniel Drezner เนอะ แล้วเรามีประวัติศาสตร์ (?) ร่วมกับหนังสือเล่มนี้มานานมาก ตอนสมัยที่เรายังอยู่ม.5 เราเริ่มรู้ตัวแล้วว่าเราสนใจไออาร์ เราเลยเดินเข้าไป Kinokuniya แล้วซื้อหนังสือเล่มนี้มาเพราะมันดูน่าสนใจดี แบบเห้ยการเมืองระหว่างประเทศกับซอมบี้อะ แค่อ่านชื่อก็น่าสนใจแล้วปะ ซึ่งเราก็อ่านจนจบเล่มเลย แต่ถามว่าเข้าใจทั้งหมดไหม ก็ไม่ เพราะตอนนั้นเรายังเป็นแค่เด็กม.ปลายคนนึง ไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับทฤษฎีไออาร์ จนพอเรียน Intro IR ตอนเทอมก่อน หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งใน Reading ที่อ.กัลยาให้อ่าน ซึ่งในตอนนั้นเราเข้าใจสิ่งที่ตัวเองอ่านมากขึ้น เรารู้แล้วว่าทฤษฎีไออาร์อันนั้นอันนี้คืออะไร Realism, Liberalism, Constructivism คืออะไร แต่มันก็ยังมีบางประเด็นที่ยังงง ๆ อยู่ จนพอได้มาอ่านหนังสือเล่มนี้เป็นครั้งที่ 3 ในวิชานี้ ในครั้งนี้เราเข้าใจเนื้อหาในหนังสือแบบเข้าใจแล้วจริง ๆ อะว่าเขาต้องการสื่ออะไร ทำให้เรามองย้อนกลับไปแล้วก็รู้สึกว่า เออ เรามาไกลเหมือนกันนะเนี่ย จากเด็กม.ปลายคนนั้นที่เริ่มสนใจไออาร์ อ่านจบแต่ไม่เข้าใจ มาสู่นิสิตไออาร์ที่เริ่มเรียนวิชาไออาร์ตัวแรก เข้าใจมากขึ้นแต่ก็ยังมึน ๆ และมาสู่นิสิตไออาร์ที่เรียนวิชาไออาร์มาหลายตัวแล้วและเข้าใจสิ่งที่ตัวเองอ่าน นั่นแหละ เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงประทับใจวิชานี้มาก เพราะมันทำให้เห็นเราว่าตัวเราเองโตขึ้นและพัฒนามาไกลมาก น้ำตาซึม
แล้วถามว่าวิชานี้ได้ดูหนังไหม คำตอบก็คือได้ดูจ้า มันต้องดูจ้า 5555555555 ด้วยความที่สถานการณ์โควิดมันเริ่มหนักขึ้นเรื่อย ๆ ตอนที่เราเรียนวิชานี้ ทำให้เราได้ไปเรียนที่คณะแค่สองครั้ง แต่ไม่ว่าจะเรียนคณะหรือเรียนออนไลน์ การเรียนการสอนก็เหมือนกันคือจะมีบางสัปดาห์ที่ได้ดูหนัง แบบเปิดคาบมาด้วยการดูหนังยาว ๆ แล้วอาจารย์จะให้เราแสดงความคิดเห็น หรือไม่ก็มี Quiz หลังจากดูหนังเสร็จ หลายคนอาจจะคิดว่าวิชานี้คงชิว ๆ ดูหนังเพลิน ๆ แต่เอาจริง ๆ มันไม่ได้ชิวขนาดนั้นอะ เราดูแล้วเราก็จดประเด็นที่เราเห็น เอามาวิเคราะห์อีก เผื่อจะเอาไปพูดตอน Discussion หรือเผื่ออาจารย์ Quiz งี้ แล้ววิชานี้คือ Quiz แบบไม่บอกล่วงหน้า ไม่มีให้ตั้งตัวมาก่อน แปลว่าเราต้องทบทวนเนื้อหาที่เรียนอยู่เรื่อย ๆ เคยเจอมาทั้ง Quiz เกี่ยวกับ Reading, หนัง, ความเห็น แล้วคะแนน Quiz มันตั้ง 30 คะแนน (5 ครั้ง ครั้งละ 6 คะแนน) ทำให้ถามว่าวิชานี้เป็นวิชาดูหนังชิว ๆ ไหม ก็คือไม่ชิวนะ ไม่เหมือนวิชาแบบสมัยมัธยม แต่มันก็ไม่ได้ถึงขั้นเครียดอะ แค่ว่าเราต้องตั้งใจเฉย ๆ
โดยสิ่งที่ได้จากวิชานี้คือได้สกิลการวิเคราะห์ วิพากษ์และจับรายละเอียดต่าง ๆ ในหนัง คือบอกก่อนเลยว่าเราเป็นคนวิเคราะห์หนังไม่เก่ง และเป็นคนดูหนังไม่เยอะด้วย แต่พอเรียนวิชานี้ด้วยความที่ตัด A 85 แล้วนอกจากจะมี Quiz 30% แล้วยังมี Participation 10% ทำให้เราต้องเข็นตัวเองให้พยายามวิเคราะห์หนังให้ได้ จะได้สามารถตอบใน Quiz รวมถึงสามารถกดยกมือแล้วเปิดไมค์ Discuss กับเพื่อนในคลาสได้ด้วย สัปดาห์แรก ๆ เราก็มึน ๆ งง ๆ อะ วิเคราะห์ไม่ค่อยเป็น ไม่รู้อะไรคืออะไร แต่ด้วยความที่วิชานี้มีเพื่อน ๆ พี่ ๆ จากคณะอักษรมาเรียนด้วย แล้วเขาโปรด้านการวิเคราะห์มากอะ ทำให้เราก็ดูเขาเป็นไกด์แล้วพยายามลองฝึกวิเคราะห์เองดูบ้าง แต่เอาจริง ๆ อันนี้เราคุยกับเพื่อนที่เรียนด้วยกัน เรารู้สึกว่าเด็กรัฐศาสตร์คือแม่นทฤษฎีมากนะ ครั้งไหนที่อาจารย์ถามเกี่ยวกับทฤษฎีคือเรากับเพื่อนตอบกันตลอด แต่พอถามเรื่องการวิเคราะห์หรืออะไรที่มันต้องใช้การตีความแล้วมักเป็นเด็กอักษรหรือนิเทศตอบกันมากกว่า 5555555555 แต่ก็ถือเป็นประสบการณ์ที่สนุกดี แล้วเราก็ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ จากการวิเคราะห์ของเพื่อนคณะอื่นเยอะมาก
(อันนี้อยากเล่าเรื่องราวที่ประทับใจแบบสั้น ๆ ตอนที่เราเรียน พอเอาซอมบี้มาจับกับทุนนิยมจะทำให้ซอมบี้เป็นเหมือนภาพแทนของชนชั้นแรงงาน แล้วมีพี่จากอักษรคนนึงเขาก็วิเคราะห์ต่อว่า ถ้างั้นแวมไพร์ก็เหมือนชนชั้นนำหรืออีลีท เพราะแวมไพร์มักอาศัยอยู่ในคฤหาสถ์หรือปราสาท มีฐานะดี เป็นผู้ดี ซึ่งต่างกับซอมบี้ที่ใส่เสื้อขาดรุ่งริ่ง สภาพดูไม่ค่อยได้ เรากับเพื่อนฟังแล้วแบบ โห 555555555)
ส่วนงานอีก 2 ชิ้นในวิชานี้คือ Midterm Paper + Final Paper ตอนมิดเทอมโจทย์ออก 1 อาทิตย์ก่อนเดดไลน์ โดยอาจารย์ให้เราคิดพล็อตหนังซอมบี้ของตัวเองแล้วลองวิเคราะห์พล็อตหนังของตัวเองโดยการเอาทฤษฎีกับแนวคิดที่ได้เรียนมาจับ ตอนเห็นโจทย์เรากับเพื่อนคือช็อคไปเลยอะ เพราะอย่างที่บอกว่าเด็กรัฐศาสตร์จะเซียนทฤษฎีกันมาก เราก็คาดหวังว่าโจทย์คงถามอะไรเกี่ยวกับทฤษฎีที่ได้เรียน สรุปคืออาจารย์ออกโจทย์แบบประยุกต์ผสมการใช้จินตนาการ หลังได้โจทย์มาคือนั่งเหม่อครึ่งชั่วโมงได้ 55555555 ถือเป็นงานที่ท้าทายมากเพราะเราห่างหายจากการเขียน Creative writing ไปนาน ตั้งแต่เข้าคณะมาก็เจอแต่ Academic writing แบบรัว ๆ แต่สุดท้ายเราก็ผ่านมันมาได้ด้วยดี ได้คะแนน 22.5/25 แบบงง ๆ เป็นคะแนนที่ดีที่สุดที่เคยได้รับมาตั้งแต่เรียนในคณะนี้มาเลยอะ แล้วได้รับคำชมจากอาจารย์ว่า "จินตนาการบรรเจิดดีค่ะ ชอบ" 5555555555
ส่วน Final Paper อาจารย์แจกโจทย์ตั้งแต่ใน Syllabus วิชาเรียนแล้ว คือจะให้เราเลือกหนังซอมบี้มาหนึ่งเรื่อง (ห้ามซ้ำกับที่ให้ดูในห้อง) แล้วนำแนวคิดที่ได้เรียนไปในวิชานี้มาวิเคราะห์ คือตอนแรกเราคุยกับเพื่อนเอาไว้ว่าเราจะไม่เลือกเรื่องแมส ๆ เพราะไม่อยากไปแย่งชิงกับใคร แล้วคือเราโทเกาหลีอะเนอะ เราก็อยากเลือกหนังซอมบี้เกาหลีเพราะมันเป็นภาษาที่เราเข้าใจอยู่แล้วพอต้องวิเคราะห์จะได้ไม่ยากมาก เราก็เลยตัดเรื่องแบบ Train to Busan (เป็นซอมบี้เกาหลีเรื่องเดียวที่เราไม่เคยดูเพราะกลัวร้องไห้ แต่รู้ว่าแมสมาก ยืนหนึ่ง ยืนมานาน) กับ Kingdom ออกก่อนเลยเพราะแมสมาก แล้วเล็งเรื่อง Rampant แทน
แต่มีวันนึงเรา Zoom คุยกับอ.กัลยาแล้วเล่าให้อาจารย์ฟังว่าเรามาลงเรียนวิชานี้ตามที่อาจารย์แนะนำนะ แล้วเขาสั่ง Final Paper ให้เขียนวิเคราะห์หนังซอมบี้ อ.กัลยาเขาก็พูดขึ้นมาเลยว่า "ทำเรื่อง Train to Busan สิคุณ มีมิติวิพากษ์ทุนนิยมเยอะ" 5555555555 อีกเรื่องที่อาจารย์แนะนำคือ Seoul Station (เหมือนอาจารย์เคยให้นิสิต Intro IR รุ่นนึงไปดูมาด้วย แต่ตัวนี้เป็นตัวที่บังคับให้ดูในคาบเลยไม่สามารถเอามาทำเปเปอร์ได้) แล้วหลังจากกดส่งมิดเทอมวิชานี้เสร็จ (เดดไลน์ตัวสุดท้ายพอดี) เราก็กดเข้า Netflix แล้วดู Train to Busan ต่อเลยทันที ซึ่งขนาดเตรียมตัวเตรียมใจมาแล้วว่าเรื่องนี้ร้องไห้หนักเอาเรื่อง พอดูจริง ๆ คือเราร้องไห้แบบไม่ไหวเลยอะ ฮือ แต่พอเทียบดูกับแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ที่เรียนในวิชานี้แล้วพบว่ามันเหมาะสำหรับการนำมาวิเคราะห์มาก เราเลยกลืนน้ำลายตัวเองเปลี่ยนใจมาเล็งหนังเรื่องนี้แทน (ซึ่งที่บอกไปข้างบนว่าอ.กัลยาขอเปเปอร์วิชานี้ไปอ่าน ก็คือขอไฟนอลเปเปอร์เรื่อง Train to Busan ที่อาจารย์เป็นคนแนะนำเราเองเนี่ยแหละ 5555555555)
แล้วอ.กรพินธุ์เขาจะให้ลงชื่อว่าตัวเองจะทำหนังเรื่องไหนเนอะ เราก็คือจ้องโทรศัพท์ทั้งวันว่าพี่ TA จะสร้างโพสต์ตอนไหน เราจะได้รีบไปลงชื่อว่าจะเอา Train to Busan ก็คือนั่งเฝ้าตั้งแต่ 8 โมงเช้า สุดท้ายพี่ TA สร้างโพสต์ตอน 5 ทุ่ม ก็คือหนูรอพี่ที่ท่าน้ำมานานมาก แต่ท้ายที่สุดก็กดลงชื่อได้เป็นคนแรกเลย (ก็สมควรที่เฝ้าโทรศัพท์ขนาดนั้น) ซึ่งเราได้คะแนน 33/35 จาก Final Paper พร้อมคอมเม้นจากอาจารย์ว่าให้ edit เล็กน้อยแล้ว "ส่งให้สื่อออนไลน์หรือวารสารแล้วเผยแพร่ในรูปของบทความ" ถามว่าร้องไห้ไหม ตอบเลยว่าไม่เหลือ 55555555555
แต่อย่างที่บอกไปว่าเปเปอร์ชิ้นนี้มันไม่ได้เกิดขึ้นมาจากเราคนเดียว มันเกิดจากคำแนะนำของอ.กัลยาที่ชวนให้เราวิเคราะห์เรื่อง Train to Busan เกิดจากความเอาใจใส่ของอ.กัลยาที่คอยถามเรื่อย ๆ ว่าเขียนเปเปอร์ไปถึงไหนแล้ว เป็นยังไงบ้าง แล้วให้คำปรึกษาดี ๆ และเกิดจากความช่วยเหลือของอ.กรพินธุ์ที่คอยเกลา คอยตอบคำถามเกี่ยวกับทฤษฎีต่าง ๆ กับเราอยู่เสมอ ทำให้เราไม่อยากเอาไปลงสื่อออนไลน์เพราะเรามองว่าถ้าไม่มีอาจารย์ทั้งสองคน มันก็เกิดงานชิ้นนี้ขึ้นมาไม่ได้ เลยตัดสินใจเอาลง minimore ของเราเองแทน ยังไงถ้าใครสนใจอยากไปอ่านที่เราเขียนวิเคราะห์ก็สามารถตามไปอ่านได้ที่
สุดท้ายวิชานี้เราได้ A มา
3) 2225312 KR BUS (Korean Business)
- อาจารย์ผู้สอน: อ.สุภาพร บุญรุ่ง (SBR)
- ช่วงเวลาเรียน: วันพฤหัสบดี, 13:00-16:00 น.
- การตัดเกรด: อิงเกณฑ์, A 85 (ไม่มั่นใจว่าเท่าไร แต่ไม่ถึง 90)
- การเก็บคะแนน: Attendance 10% Assignment 20% Midterm Exam 30% Final Exam 40%
- ความยากง่าย: ไม่ยากแต่ต้องขยันท่องศัพท์ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของการเรียนเกาหลี
- สังกัด: สังกัดสาขาวิชาภาษาเกาหลี
- เงื่อนไข: 2225202 KOREAN IV (ต้องเรียนเกาหลี 4 มาก่อน หรือถ้าไม่เคยลงเรียนเกาหลี 4 แต่อยากเรียนวิชานี้ก็ต้องติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนเพื่อขอลงเรียนค่ะ)
- ไม่ใช่นิสิตอักษร เอกเกาหลีลงได้ไหม?: ส่วนตัวเราเองก็เป็นนิสิตวิชาโทภาษาเกาหลี แต่ก็ติดต่อขอลงเรียนกับอาจารย์เลยลงได้ ตอนที่เราเรียนมีเรากับพี่อีก 1 คนจากคณะนิเทศที่เป็นเด็กวิชาโท ส่วนที่เหลือเป็นเด็กวิชาเอกหมดเลยค่ะ
วิชานี้ตอนเทอมที่เราลงเรียนเป็นวิชาเลือกสำหรับนิสิตเอกเกาหลี ปี 3 เนอะ แต่เราเองเป็นนิสิตวิชาโท แล้ววิชาโทเกาหลีตัวอื่นในเทอมนี้คือตารางชนกับวิชาบังคับ/วิชาเลือกที่เล็งเอาไว้หมดเลย เหลือตัวนี้ตัวเดียวซึ่งเราเองก็มองเอาไว้เหมือนกันว่าอยากเรียน เลยตัดสินใจส่งอีเมลคุยกับอ.สุภาพรว่าขอลงได้ไหม ซึ่งอาจารย์ก็บอกว่าขอรอดูจำนวนนิสิตวิชาเอกในคาบแรกของการเริ่มเรียนก่อนเพราะเขาให้ Priority นิสิตเอกก่อน เราก็โอเครอได้ แล้วพอวันแรกที่เริ่มเรียนนิสิตที่ลงทะเบียนจริง ๆ ก็ไม่เกินจำนวนที่ตั้งเอาไว้ แต่มีคนมาขอ Sit in เยอะมากนะ ส่วนคนขอลงวิชาโทคือมีเรากับพี่อีกแค่คนเดียว ซึ่งเอาจริง ๆ เหมือนอาจารย์จะยอมให้นิสิตวิชาโทมาลงในเคสที่ว่าเป็นปี 4 เท่านั้นด้วย (พี่อีกคนเขาปี 4) แต่เราก็บอกอาจารย์ว่าเคยส่งอีเมลไปขอแล้ว และเล่า Condition ของตัวเองให้เขาฟังแล้ว สุดท้ายอาจารย์ก็ยอมให้ลงทะเบียนได้
ตามชื่อเลย วิชานี้เรียนเกี่ยวกับภาษาเกาหลีสำหรับการใช้แบบธุรกิจ คือเรียนภาษาเกาหลีพวกศัพท์ที่ใช้ในองค์กร การทำงาน การทำธุรกิจ ติดต่อกับลูกค้า ชื่อมันฟังดูยากแต่ส่วนตัวว่าไม่ได้ยากขนาดนั้น แกรมม่าง่ายด้วยซ้ำ ส่วนมากเป็นตัวที่เคยเรียนมาแล้วทั้งนั้นเลย ส่วนที่ยากจริง ๆ คือศัพท์มากกว่าเพราะเยอะมาก แถมเป็นศัพท์แบบธุรกิจ ๆ ด้วย วิชานี้อาจารย์จะสอนแบบเลคเชอร์ยาว ๆ ตลอดทั้ง 3 ชั่วโมง มีเรียกให้นิสิตอ่านและแปลเพื่อเช็คชื่อไปในตัว แล้วคาบสุดท้ายก่อนการสอบมิดเทอมกับไฟนอล อาจารย์จะเชิญวิทยากรข้างนอกมาพูดเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรการทำงานในบริษัทเกาหลี มีวิทยากรที่มาจากทั้งบริษัทเกาหลีที่ตั้งอยู่ในไทย บริษัทเกาหลีแล้วทำอยู่เกาหลี รวมไปถึงคนที่เคยทำล่ามภาษาเกาหลีมาก่อนด้วย เราว่าตรงนี้มันค่อนข้างเป็นประโยชน์กับนิสิตวิชาเอกที่เรียนร่วมกับเรามากกว่า ส่วนเราในฐานะเด็กรัฐศาสตร์ก็ฟังได้เพลิน ๆ ถึงจะไม่ได้ไปทำงานสายนี้ในอนาคต แต่ก็คือว่าได้ความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับการทำงานเหมือนกัน และเอาจริง ๆ แล้วถ้าไม่มีโควิดคือเราจะได้เดินทางไปที่บริษัทนั้น ๆ เลยนะ แต่พอสถานการณ์โควิดเริ่มหนักขึ้นเรื่อย ๆ อาจารย์เลยเปลี่ยนให้วิทยากรบรรยายแบบออนไลน์แทน
Assignment 20% เป็นงานเดี่ยว งานไม่ยาก ทำแปปเดียวเสร็จ เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนในคลาส แบบเขียน 자기소개서 สำหรับสมัครงาน แล้วก็ให้วางแผนการทำ 광고 เอง แบบจะมีสโลแกนยังไง ตัวโฆษณาจะออกมาเป็นยังไง แล้วการสอบทั้งมิดเทอมกับไฟนอลก็เหมือนวิชาเกาหลีตัวอื่น ๆ อะ คือมีให้แต่งประโยค โยงคำศัพท์ มี 읽기 ไม่มี 쓰기 ยาว ๆ มีแต่เขียนตอบสั้น ๆ แล้วก็ไม่มี 듣기 ส่วนตัวว่าไม่ยากเลยถ้าท่องศัพท์มาดี แล้วอาจารย์จะบอกแนวข้อสอบให้ตั้งแต่คาบสุดท้ายแล้ว ไม่มีอะไรมาเซอร์ไพร์ซในข้อสอบแน่นอนไม่ต้องห่วง 55555555 ตอนมิดเทอมเราได้ 30/30 ส่วนไฟนอลไม่รู้คะแนน แต่มีนทั้งคลาสคือ 26/30 นะ ก็คือทุกคนเก่งอะ 555555555 ถามว่ากดดันไหมที่ต้องมาเรียนรวมกับนิสิตเอกเกาหลีแถมเราเป็นปี 2 คนเดียวในคลาส คือมันก็กดดัน แต่เรียนไปเรียนมาก็เริ่มชินเองอะ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ตอนเรียนวิชานี้อยู่ดี ๆ เราก็รู้สึกหมดไฟกับภาษาเกาหลีขึ้นมาดื้อ ๆ มันเป็นความรู้สึกที่น่ากลัวมากเลยนะ เพราะเกาหลีเป็นภาษาที่เราเรียนมานานมากและรักมาก ๆ ทั้งชีวิตไม่เคยคิดว่าวันหนึ่งจะหมดแพสชั่นกับการเรียนเกาหลีได้เลย แล้วอีกนิดคือจะเปลี่ยนใจจากโทเกาหลีไปเพียวภาคไออาร์แทนแล้ว แต่คิดไปคิดมามันคงเป็นเพราะเราเหนื่อยสะสมจากการเรียนหลาย ๆ วิชารวมกันมากกว่า
แต่สุดท้ายเราก็ได้ A จากวิชานี้มา
เข้าสู่พาร์ทวิชาบังคับกันบ้าง!
4) 2402222 INTL POL 19/20C (International Politics in the 19th and 20th Centuries)
- อาจารย์ผู้สอน: อ.สุรัตน์ โหราชัยกุล (SHK)
- ช่วงเวลาเรียน: วันศุกร์, 13:00-16:00 น.
- การตัดเกรด: ส่วนตัวคิดว่าอิงกลุ่ม
- การเก็บคะแนน: Attendance 10% Paper1 30% Paper2 30% Paper3 30%
- ความยากง่าย: ไม่ยาก แต่แนะนำให้ใส่ใจเยอะ ๆ กับการทำเปเปอร์ เพราะคะแนน 90% มาจากเปเปอร์หมดเลย ถ้าวิชา Intro IR ลงเซคที่ได้ทำเปเปอร์ (เซค 2 กับ 3) ก็น่าจะดีกว่า เพราะจะได้ฝึกการเขียนเปเปอร์ซึ่งมันได้เอามาใช้เยอะมาก ๆ ในวิชานี้
- สังกัด: สังกัดภาคไออาร์
- เงื่อนไข: ไม่มีเงื่อนไข
- ไม่ใช่นิสิตรัฐศาสตร์ ไออาร์ลงได้ไหม?: วิชานี้ไม่ได้อยู่ในตัวเลือกสำหรับนิสิตภาคอื่น/นอกคณะที่ต้องการโทไออาร์ แต่สามารถติดต่ออาจารย์ผู้สอนเพื่อขอเรียนได้ถ้าอยากเก็บตัวนี้เป็นวิชาโทไออาร์ค่ะ
- *หมายเหตุ: จำนวนเปเปอร์และวันเดดไลน์สามารถตกลงกับอาจารย์ได้เลยนะ คืออาจารย์เขาจะเอา syllabus ที่ร่างเอาไว้มาให้ดูในคาบแรกแล้วถามว่าอยากเปลี่ยนอะไรตรงไหนไหม อยากได้เดดไลน์ประมาณวันไหน คือเราสามารถ design ได้เองเลยเพราะอาจารย์เปิดโอกาสให้เราจัดการเองมากพอสมควร
วิชานี้เป็นวิชาบังคับภาคตัวแรกที่มนุษย์ไออาร์ทั้งหลายจะได้เรียน ถ้าตอน Intro IR เรียนเซค 1 มาก่อนเราว่าอาจจะไม่ต้องปรับตัวเยอะมาก แต่ในฐานะคนที่เรียนเซค 2 มาก่อน บอกเลยว่าคาบแรกคือรู้สึกอึดอัดมาก 55555555555 ไม่ใช่อึดอัดในทางที่ไม่ดีนะ แต่มันเพราะเราเคยชินกับการวิพากษ์ การตั้งคำถามกับทฤษฎีกระแสหลักมาตลอดอะ แต่พอต้องมาเรียนทฤษฎีกระแสหลัก เนื้อหากระแสหลักแบบเข้มข้น (เพราะอ.สุรัตน์ออกตัวตั้งแต่แรกเลยว่าเขาเป็น Realist) มันทำให้เรารู้สึกแบบ เอ่อ โอเค ตั้งสตินะตัวฉัน วิชานี้กระแสหลักนะ 55555555555 แต่อาจารย์เขาก็ดูเข้าใจนะ เราจำได้ว่าเปิดมาเขาก็ Acknowledge เลยว่ามีนิสิตที่อาจจะสนใจแนวคิดอื่น ๆ มากกว่าทฤษฎีกระแสหลัก แต่เราก็ควรได้เรียนอะไรที่มันหลากหลาย จะได้มีมุมมองที่กว้าง ๆ ไม่ใช่ว่าเรียนแค่แนวคิดที่ตัวเองสมาทานงี้ ซึ่งพอเรียนผ่านมาเรื่อย ๆ จนจบเทอมเราก็โอเคกับการเรียนวิชานี้มากขึ้นเรื่อย ๆ คือมันอึดอัดแค่คาบแรก ๆ แหละเพราะต้องปรับตัว แต่หลังจากนั้นก็รู้สึกไม่มีปัญหากับมันแล้ว
ตอนเราเรียนวิชานี้ ด้วยความที่โควิดมา คณะปิด ทำให้เรียนออนไลน์กันเกือบทุกครั้งเลย มีแค่ 2 ครั้งที่ไปเรียนที่คณะได้แต่หลังจากนั้นสถานการณ์ก็ทรุดตัวลงอีกเลยกลับมาเรียนออนไลน์เหมือนเดิม วิชานี้ไม่มีแจก Reading ให้อ่านในแต่ละสัปดาห์ แต่ให้หนังสือหนึ่งเล่มมาอ่านเลย มีแค่เล่มเดียว ซึ่งก็คือ Force and Statecraft: Diplomatic Challenges of Our Time พิมพ์ครั้งที่ 4 ของ Paul Gordon Lauren, Gordon A. Craig, Alexander L. George โดยอาจารย์ให้อ่านประมาณ 6 บทจากทั้งเล่มนะถ้าจำไม่ผิด ไม่ได้อ่านทั้งเล่ม แล้วก็ค่อย ๆ อ่านทีละบทก่อนมาเรียนก็ได้ ไม่ต้องเร่งอ่านรวดเดียวให้จบ เพราะอาจารย์ก็จะไปทีละหัวข้อ ๆ ซึ่งหัวข้อทั้งหมดที่เรียนมี 7 หัวข้อ ดังนี้
(1) The Emergence of Diplomacy and the Great Powers
(2) The Classical System of Diplomacy, 1814-1914
(3) The Diplomatic Revolution Begins, 1919-1939
(4) A Postwar System of Security: Great-Power Directorate or United Nations
(5) The Nuremberg Trials
(6) The Cold War
(7) The Evolving International System
เนื้อหาก็ตามชื่อวิชานะ คือเรียนเกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศในคริสตวรรษที่ 19 กับ 20 โดยอาจารย์จะปูพื้นฐานให้ตั้งแต่ต้นกำเนิดของการทูตตั้งแต่สมัยกรีกโรมัน มาถึงยุคที่เริ่มมีรัฐชาติ มาจนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเย็น ฟีลเหมือนเรียนประวัติศาสตร์เลยอะ ตอนแรกเราคิดว่าตัวเองเรียนวิชานี้แล้วคงจะเบื่อ แต่เอาเข้าจริงก็สนุกดีนะ ฟังอาจารย์พูดเพลินมาก 555555555555
อาจารย์เน้นสอนแบบเลคเชอร์ มีเรียกให้อ่าน/ตอบ/แปลบ้าง ซึ่งถ้าตอบได้ก็ตอบไป ตอบไม่ได้ก็บอกเขาไปว่าตอบไม่ได้ เพราะอาจารย์ก็ไม่ได้ว่าอะไร 555555555 อาจจะมีคนสงสัยว่าอาจารย์ให้หนังสือมาอ่าน แล้วถ้าสมมติอ่านไม่ทันก่อนมาเรียนจริง ๆ จะเป็นอะไรไหม คำตอบคือไม่เป็นอะไรนะ เพราะตอนที่อาจารย์เลคเชอร์คือเหมือนเอาเนื้อหาที่เราอ่านในหนังสือมาสรุปให้ฟังทีละประเด็น ๆ อีกทีอะ (ฟีลเดียวกับอ.กัลยาเลย แต่เราก็แนะนำให้อ่านมาก่อนเหมือนกัน เพราะมันทำให้ชีวิตง่ายขึ้นเยอะ 55555555) แต่ก็ไม่ใช่ว่าอาจารย์สรุปแค่เนื้อหาในหนังสือ แต่มันมีประเด็นนอกเหนือจากในหนังสือที่อาจารย์พูดเพิ่มด้วย ยังไงก็อย่าลืมตั้งใจฟังในคาบด้วยเหมือนกันนะ แล้ววิชานี้อาจารย์ไม่ได้สอนเต็ม 3 ชั่วโมง มีปล่อยก่อนประมาณ 30 นาทีงี้ แต่ถ้าสัปดาห์ไหนเนื้อหาเยอะก็อาจจะเกือบครบ 3 ชั่วโมงเหมือนกัน
วิชานี้ปีเราอาจารย์สั่งเปเปอร์ 3 ตัว โดยบอกหัวข้อให้รู้ตั้งแต่คาบแรกที่เรียน แล้วให้นิสิตคุยกันเองว่าโอเคไหม อยากปรับจำนวนเปเปอร์หรืออยากปักเดดไลน์กันวันไหน คือตกลงกันเองได้หมดเลย แต่อันนี้มันขึ้นกับแต่ละปีด้วยอะ เราถามพี่รหัสเรามา พี่เขาบอกว่าปีพี่เขา (รุ่น 71) มีเปเปอร์ตัวเดียว หัวข้อไม่เหมือนรุ่นเราด้วย แล้วเหมือนจะมีสอบ เพราะตอนนั้นโควิดยังไม่หนักมากเลยไปสอบที่คณะได้มั้ง คือต้องรอดูสถานการณ์รุ่นตัวเองด้วยอะว่าเป็นยังไง แต่ของรุ่นเราคืออาจารย์เสนอมาให้ทำ 3 ตัว ตัวละ 30 คะแนน ตอนแรกเพื่อนบางคนก็รู้สึกว่ามันหนักไป (ตอนแรกเราก็รู้สึกว่าหนัก 3 ตัววิชาเดียวคือเยอะมากนะเอาจริง ๆ 555555555) แต่อาจารย์ก็พูดทำนองว่า ไม่งั้นถ้าพวกคุณทำแค่ 2 ตัว มันจะตกตัวละ 45 คะแนนนะ ถ้าทำออกมาได้ไม่ดีเกรดก็คือไม่โอเคเลยนะ ทุกคนก็เลย โอเค 3 ตัวจ่ะอาจารย์ นัมเบอร์วัน แล้วรุ่นเราคือปักวันเดดไลน์เปเปอร์แต่ละตัวประมาณ 1-2 อาทิตย์ก่อนการสอบมิดเทอม/ไฟนอล ทำให้ไม่ต้องไปปั่นเปเปอร์ช่วงเดียวกันหมด
โดยเปเปอร์ของอ.สุรัตน์เนี่ย ถ้าใครเรียนการเขียนเปเปอร์กับอ.กัลยามาแล้ว จะบอกว่าใช้วิธีเดียวกันเลย คือพารากราฟแรกเป็น Introduction + Argument พารากราฟสองเป็น Outline พารากราฟถัด ๆ ไปค่อยเป็น Body แล้วก็สรุป แต่เนื่องจากอาจารย์แต่ละคนก็จะมีรูปแบบการเขียนเปเปอร์ที่ชอบที่แตกต่างกันออกไป เราจึงอยากมาแชร์ทริคการเขียนเปเปอร์กับอ.สุรัตน์ให้ได้คะแนนดี ๆ ซึ่งเป็นทริคที่เราใช้เขียนแล้วได้คะแนนสูงสุดมา (เล่าให้อ.กัลยาฟัง อาจารย์ said "เลิศคุณ เลิศ" 55555555555)
[ How to: Writing papers with Aj.Surat ]
(1) อย่างที่บอกไป คือโครงคร่าว ๆ ก็ใช้แบบเดียวกับที่อ.กัลยาเคยสอน ซึ่งเอาจริง ๆ วิธีที่อ.กัลยาสอนสามารถเอาไปใช้ได้กับการเขียนตอบทุกวิชาเลยนะ แต่ปรับนิดปรับหน่อย ไม่ต้องตาม 100% แค่ว่าหลักสำคัญคือมี Intro เพื่อปู Background เกี่ยวกับหัวข้อ + Argument ชัด + Outline บอกว่าเราจะแบ่งคำตอบยังไง + Body ตามที่วางไว้ใน Outline + สรุปรวบยอดทุกอย่างที่พูดมา
(2) ข้อนี้อาจารย์พูดเอง สิ่งที่อ.สุรัตน์ชอบเป็นพิเศษคือ Argument เราต้องตอบแบบชัดเจนเป็นข้อ ๆ อะ แบบสมมติโจทย์ถามว่าเพราะเหตุใดนักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระแสหลักถึงชอบระบบระหว่างประเทศแบบสภาเวียนนา เราก็ต้องบอกใน Argument ว่า
"สาเหตุที่นักวิชาการแบบสัจนิยมชอบระบบระหว่างประเทศแบบสภาเวียนนาประกอบไปด้วย 4 ประการด้วยกัน ดังนี้ (1) เพราะเวียนนาเป็นเมืองหลวงของออสเตรีย (2) เพราะแกงกะหรี่ญี่ปุ่นในโรงอาหารอร่อยมาก (3) เพราะวันนี้ฝนตกเลยไม่ได้พกร่มมา และ (4) เพราะคุณป้าที่ห้องสมุดบอกว่าห้ามเอาน้ำเข้าไป"
ส่วน Argument แบบที่อาจารย์โอเค แต่อาจจะไม่ได้คะแนนดีที่สุดคือ
"สาเหตุที่นักวิชาการแบบสัจนิยมชอบระบบระหว่างประเทศแบบสภาเวียนนาประกอบไปด้วยคือ เวียนนาเป็นเมืองหลวงของออสเตรีย แกงกะหรี่ญี่ปุ่นในโรงอาหารอร่อยมาก วันนี้ฝนตกเลยไม่ได้พกร่มมา และคุณป้าที่ห้องสมุดบอกว่าห้ามเอาน้ำเข้าไป"
เหตุผลเรา Make ขึ้นมาทั้ง 4 ข้อ เผื่อว่าอาจารย์เอาโจทย์ข้อนี้มา Reuse ใหม่แล้วเราจะได้ไม่เผลอเฉลยไป 555555 แต่พอจะเห็นความแตกต่างใช่ไหม อ.สุรัตน์เขาจะชอบแบบแรก เพราะมันชัดเจนว่ามีกี่ข้อ มีอะไรบ้าง เรียงไปเลย 1 2 3 4 อันนี้ไม่ได้บังคับว่าต้อง 4 ข้อนะ แต่แค่ว่าตอนตอบคือต้องบอกจำนวนข้อชัด ๆ แล้วใส่เลขข้อกำกับไปด้วย
(3) ข้อนี้อาจารย์ไม่ได้พูด แต่เราสังเกตเอาจากการเขียนเปเปอร์ส่งเขา คือเราใช้ฟอร์มตามแบบข้อ 2 เนอะ แล้วทุกเปเปอร์ที่เราทำส่งอาจารย์ เราใส่เหตุผล 4 ประการทุกครั้งเลย เทียบกับเพื่อนเราหลายคนที่ใส่เหตุผล 2-3 ประการ สิ่งที่เรากำลังจะสื่อคือ พยายามหาเหตุผลมาตอบคำถามให้ได้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้อะ อย่างเราคือหาได้มากสุด 4 แต่ถ้าสมมติเราหาได้เพิ่มอีกเราก็จะใส่ไปมากกว่าน้้น คือหัวข้อที่อาจารย์ให้มาจริง ๆ มันจะมีคำตอบข้อที่ Fixed ว่าต้องตอบแน่ ๆ แบบไม่ตอบไม่ได้ เช่นถ้าพูดถึงอาหารไทยต้องตอบต้มยำกุ้ง ปูผัดผงกะหรี่ แต่ไม่ใช่ว่ามันจะไม่มีคำตอบอื่นนอกเหนือจากคำตอบที่ Fixed เอาไว้แล้ว มันยังมีอีก แต่เราต้องพยายามวิเคราะห์สังเคราะห์เนื้อหาที่อ่านในหนังสือแล้วพยายามฟังสิ่งที่อาจารย์เลคเชอร์เผื่อจะปิ๊งไอเดียอะไรขึ้นมา ซึ่งถ้าเราสามารถตอบอะไรที่มันอยู่นอกเหนือจากคำตอบที่มัน Common ได้ อาจารย์เขาดูจะชอบเป็นพิเศษอะ เพราะเขาเคยพูดในห้องว่าเขาอยากอ่านความเห็นของพวกเรา อยากอ่านอะไรน่าสนใจ ๆ แล้วอาจารย์ให้เวลาเราทำเปเปอร์เยอะมาก ๆ ซึ่งมันสามารถเสิร์ชเน็ตได้อะ ดังนั้นเขาก็ไม่ได้อยากเห็นคำตอบธรรมดา ๆ ทั่วไป ๆ ที่กูเกิลเข้าไปก็เจอ ถ้าเราสามารถตอบอะไรที่มันน่าสนใจให้เขาได้และค่อนข้างแตกต่างจากคนอื่น ๆ คะแนนมันก็จะพุ่ง
(4) ข้อนี้อาจารย์พูดเอง คือเวลาเขียนสรุปให้เขียน 2 พารากราฟ อันนี้จะต่างจากอ.กัลยาและอาจารย์อีกหลาย ๆ คนที่สรุปมีพารากราฟเดียวจบ อ.สุรัตน์เขามองว่ามันมีความแตกต่างระหว่าง Summary กับ Conclusion คือในความคิดอาจารย์ Summary คือการที่เราสรุปหรือ Summarise เนื้อหาทั้งหมดที่เราพูดมา ส่วน Conclusion คือพารากราฟปิดที่เราอาจจะเสนออะไรใหม่ ๆ หรือทิ้งประเด็น หรือพูดอะไรที่มันจะเป็น Food for thought สำหรับพูดอ่าน (ถ้าเป็นอาจารย์หลาย ๆ คนเขาจะไม่อยากได้ Conclusion เพราะในหลาย ๆ ครั้งมันเป็นการเปิดประเด็นใหม่ แล้วสิ่งที่เขาต้องการจากเราคือแค่ให้เราสรุปสิ่งที่พูดมาเฉย ๆ แต่อ.สุรัตน์อยากได้ Conclusion ด้วย) ก็คือพารากราฟแรกของส่วนสรุปเป็นการเขียนสรุปรวบยอดสิ่งที่เราพูดมา ส่วนพารากราฟที่สองเป็นการเปิดไปสู่ประเด็นใหม่ให้ผู้อ่านคิดต่อนั่นเอง
(5) ข้อนี้อาจารย์ไม่ได้พูดเหมือนกัน แต่เราสังเกตได้ คือพยายามเขียน Introduction + Argument กับ Summary + Conclusion ให้ดี ใส่ใจกับสองส่วนนี้เยอะ ๆ เพราะนึกสภาพว่าอาจารย์เขาต้องตรวจเปเปอร์เด็กครึ่งร้อยคนที่เขียนตอบหัวข้อซ้ำ ๆ กันอะ ถ้าเราเขียนเปิดเฉย ๆ เขียนปิดก็เฉย ๆ คะแนนที่ออกมามันก็จะไม่ได้เยอะมาก แต่ถ้าเราสามารถ Grab attention ของอาจารย์ได้ตั้งแต่ตอนเปิดเปเปอร์ แถมทิ้งความประทับใจไว้ในตอนปิดเปเปอร์ มันจะทำให้เปเปอร์เราโดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ แล้วจะทำให้อาจารย์ให้คะแนนมากกว่าคนอื่นด้วย เอาง่าย ๆ คือเขียนยังไงก็ได้ให้อาจารย์จำ 5555555555
(6) อ้างอิงสำคัญนะ อ.สุรัตน์จะให้ทำแบบ Endnote (อ.กัลยา, อ.กรพินธุ์ให้ทำแบบ Footnote) อาจารย์เขาไม่ได้บังคับว่าให้ใช้การอ้างอิงแบบไหน แต่ส่วนตัวเราแนะนำให้ใช้ Chicago Manual of Style 17th Edition เพราะหลายวิชาก็ใช้แบบนี้หมด ก็ใช้ให้มันเหมือนกันทุกวิชาเลยจะได้ฝึกการทำ Citation ให้ชิน โดยแหล่งอ้างอิงเอามาได้ทั้งจากหนังสือกับเว็บไซต์ อาจารย์เขาไม่ได้ซีเรียสขนาดว่าห้ามเอามาจากเว็บไซต์เลย แต่อันนี้เพื่อนเราที่เคยเรียน Log Reas กับอาจารย์มาบอกว่า ถึงอ.สุรัตน์โอเคกับการใช้เว็บไซต์อ้างอิง แต่อาจารย์เขาอยากได้เว็บที่มีชื่อผู้เขียนระบุมากกว่า มันจะได้เช็คได้ว่าข้อมูลมาจากใครเนอะ ดังนั้นก็แนะนำให้พยายามเลี่ยงเว็บที่ไม่มีชื่อผู้เขียน เพื่อให้ข้อมูลที่เราใช้มันดูเชื่อถือได้แล้วก็มีที่มาที่ไป
หลัก ๆ ก็ประมาณนี้ ส่วนตัวเราชอบวิชานี้นะ จากตอนแรก ๆ ที่บอกว่ามันอึดอัด แต่เรียนไปเรียนมาก็สนุกดี เปเปอร์เราว่าไม่ได้หนักหนาสาหัสมาก ก็พยายามแบ่งเวลาดี ๆ ถ้าตั้งใจหาข้อมูล ฟังอาจารย์ในคาบแล้วเคาะ Argument ให้ได้เร็ว ๆ นั่งพิมพ์ประมาณ 3-4 วันก็เสร็จ แต่อาจารย์ตรวจเปเปอร์ให้เราค่อนข้างช้าเพราะอาจารย์มีสอนวิชาอื่นอีกหลายตัว คะแนนที่เราเคยได้คือเปเปอร์แรก 8.5/10 (28.333/30) ส่วนเปเปอร์สองกับสามไม่เคยประกาศคะแนน
แต่สุดท้ายก็ได้เกรด A มา
5) 2400117 THAI FGN REL (Thai Foreign Relations in Modern World Politics)
- ตอนเรียน: เซค 2
- อาจารย์ผู้สอน: อ.พวงทอง ภวัครพันธุ์ (PPP)
- ช่วงเวลาเรียน: วันอังคาร, 13:00-16:00 น.
- การตัดเกรด: อิงเกณฑ์, A 85
- การเก็บคะแนน: Quiz 20% Midterm Exam 30% Final Paper 50%
- ความยากง่าย: ยากปานกลางและแนะนำให้ขยันมาก ๆ ในการเรียนวิชานี้ คือมันยากในแง่ที่เนื้อหาเยอะ รายละเอียดเยอะ แนวคิดคอนเสปเยอะมาก ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจมันดี ๆ อะ แต่ถ้าตั้งใจเรียนในคาบแล้วขยันอ่านหนังสือตามที่อาจารย์สั่งก็ไม่มีปัญหา
- สังกัด: สังกัดคณะรัฐศาสตร์ ไม่สังกัดภาควิชา
- เงื่อนไข: ไม่มีเงื่อนไข
- ไม่ใช่นิสิตรัฐศาสตร์ลงได้ไหม?: ถึงแม้ว่าตัวนี้จะเป็นวิชาบังคับของคณะรัฐศาสตร์ แต่ส่วนตัวคิดว่าไม่ใช่นิสิตรัฐศาสตร์สามารถลงได้นะถ้าอยากเรียน แต่ต้องติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนประจำเซคที่เราสนใจอะ เพราะตอนปี 2 เทอม 1 เราก็เห็นนิสิตคณะอื่นมาลงเรียนวิชาบังคับคณะเราเหมือนกัน
- *หมายเหตุ: เซค 1 เรียนเวลาเดียวกันแต่สอนโดยอ.ปณิธาน วัฒนายากร (PWG)
เล่าก่อนว่าจริง ๆ แล้ววิชานี้มีเซคเดียวคือเซคที่สอนโดยอ.ปณิธาน แต่เหมือนว่าพี่ ๆ รุ่น 71 รวมรายชื่อแล้วยื่นเรื่องกับคณะเกี่ยวกับการสอนของอาจารย์เขา บวกกับที่อ.พวงทองต้องสอนวิชา SEA WRLD POL (Southeast Asia in World Politics) ตอนปี 3 เทอม 1 แต่อาจารย์เขาประสบปัญหาว่านิสิตยังไม่มีความรู้ที่สำคัญ ๆ เกี่ยวกับการต่างประเทศไทย ซึ่งมันควรจะได้เรียนในวิชา THAI FGN REL นี้ สุดท้ายอ.พวงทองเลยมาเปิดสอนอีกเซคในรุ่นเรา ประเด็นคือตอนแรกแบ่งจำนวนนิสิตเซคละ 150 คน แต่นิสิตมาลงเซคอ.พวงทองกันหมด เราเองก็เป็นคนหนึ่งที่ลงเซคอ.พวงทองไม่ติด ตอนเห็นผลการลงทะเบียนคือนั่งเหม่อเลย เพราะอ.พวงทองคือที่ปรึกษาเรา ยังไงเราก็อยากเรียนกับที่ปรึกษาตัวเองอะ แล้วเราอยู่ภาคไออาร์ มันจำเป็นต้องใช้เนื้อหาที่อ.พวงทองจะสอนไปต่อยอดในวิชาบังคับภาคปี 3 ที่ต้องเรียนกับอาจารย์อีก ดังนั้นถ้าไม่ได้เรียนกับอ.พวงทองคือเราแย่แน่ ๆ เลยส่งอีเมลไปคุยกับอาจารย์ ตอนแรกอาจารย์เขาให้ไปรวบรวมจำนวนนิสิตไออาร์ทั้งหมดที่ลงไม่ติดเพราะเขาก็อยากให้เด็กไออาร์ได้เนื้อหาจากวิชานี้แล้วเอาไปใช้ต่อในเทอมหน้า เราก็ไปรวมรายชื่อ แล้วก็ต้องไปคุยกับเจ้าหน้าที่ทะเบียนคณะ (ดุมากทุกคน ช่วยด้วย ฮือ) แต่สุดท้ายอาจารย์ก็ไปเดินเรื่องต่อแล้วเพิ่มจำนวนนิสิตมาเป็นเซคละ 240 คนได้ เราก็เลยได้เรียนเซค 2 ตามที่ต้องการ
อันนี้อยากแนะนำรุ่นน้องที่หลงเข้ามาอ่าน ถ้าสมมติวิชาที่เราอยากเรียน (ขอพูดแค่ในกรณีวิชาคณะนะ ไม่นับเจนเอดหรือเจนแลง) มันลงทะเบียนไม่ติด แต่เราอยากเรียนมาก ๆ คือให้เขียนอีเมลไปคุยกับอาจารย์พูดสอนเลย อย่าปล่อยผ่านแบบเออเดี๋ยวค่อยไปลงเทอมอื่นก็ได้ ไม่เอานะ โน ๆๆๆ มีปัญหาอะไรยังไงอีเมลไปเลย เพราะเทอมนี้จริง ๆ เราลงทะเบียนวิชานี้กับนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ไม่ติด ก็ต้องส่งอีเมลคุยกับอาจารย์ว่าอยากเรียน อาจารย์จะเพิ่มจำนวนนิสิตไหม หรือยังไง สุดท้ายที่เราลงเรียนทั้งสองวิชาได้ก็เพราะติดต่อหาอาจารย์ ดังนั้น! ถ้าอยากเรียนแต่ลงไม่ติดก็ส่งอีเมลหาอาจารย์เถอะนะทุกคน แต่เวลาส่งอีเมลก็อย่าลืมจั่วหัวให้ถูกต้อง เขียนเปิดว่า เรียนอาจารย์... บอกชื่อนามสกุล รหัสนิสิต ภาคอะไร คณะอะไร บอกให้ครบว่าทักมาทำไม อยากให้อาจารย์ช่วยเหลืออะไร แล้วลงท้ายอีเมลให้ถูกต้องด้วย อันนี้ค่อนข้างซีเรียสนะ แล้วอาจารย์คณะเราหลายคนก็ซีเรียสเรื่องมารยาทการเขียนอีเมลเหมือนกัน ดังนั้นก็อย่าลืมใส่ใจเรื่องนี้กันด้วยเหมือนกัน
ถามว่าวิชานี้ได้เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ก็คือได้เรียนเกี่ยวกับชายแดนไทย ลัทธิชาตินิยม การต่างประเทศไทยในยุคสงครามเย็น ทั้งสงครามเวียดนามกับปัญหากัมพูชา การต่างประเทศไทยในยุคหลังสงครามเย็น ปัญหาประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ โดยหนังสือที่ได้อ่านในวิชานี้ก็อาจเป็นหนังสือที่ทุกคนคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เช่น กำเนิดสยามจากแผนที่ ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ (Siam Mapped) เขียนโดย อ.ธงชัย วินิจจะกูล, การต่างประเทศไทยในยุคสงครามเย็น เขียนโดย อ.พวงทองเอง (สำหรับนิสิตไออาร์เดี๋ยวจะได้ใช้หนังสือเล่มนี้ต่อในวิชา SEA WRLD POL ด้วย), ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี เขียนโดยณัฐพล ใจจริง ก็คือมี Reading ที่ Assign ให้อ่านทุกสัปดาห์เลย สัปดาห์ละหลายชิ้นด้วย บางสัปดาห์มีวิดีโอหรือภาพยนตร์ให้ไปดูเหมือนกัน ส่วนมากเป็นภาษาไทยหมด แต่เอาจริง ๆ ส่วนตัวเราว่าเนื้อหาที่ต้องอ่านในวิชานี้หนักสุดจากทุกวิชาเลย ถึงแม้จะเป็นภาษาไทยและเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทย แต่แนวคิดหรือประเด็นหลาย ๆ อย่างมันใหม่สำหรับเรามาก สิบกว่าปีที่เรียนสังคมศึกษาและประวัติศาสตร์ตลอดช่วงชีวิตประถมและมัธยมแทบไม่ช่วยอะไรเราเลย ทำให้เราใช้เวลาเยอะมากกว่าจะเข้าใจแนวคิดที่ได้เรียนในวิชานี้ แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่เปิดโลกมาก ๆ เช่นเดียวกัน
แต่อย่าคิดว่ามี Reading เยอะแล้วไม่ต้องเรียน อ่านแค่ Reading แล้วไปทำ Quiz หรือทำข้อสอบก็ได้นะ แล้วก็อย่าคิดว่าฟังอาจารย์ในห้องอย่างเดียวโดยไม่ต้องตามอ่าน Reading ก็ได้ เพราะมันไม่ได้ 555555555 Quiz 20% คือมีสอบออนไลน์ 2 ครั้ง ให้เวลาแค่ 15-20 นาที แล้วโจทย์ประมาณ 20 ข้อ ถ้าไม่แม่นเนื้อหาจริง ๆ ก็ทำไม่ทันอะ แถมคำถามคือถามลึกยิ่งกว่ารากแก้วของต้นไม้ ซึ่งต้องทั้งอ่านหนังสือและฟังอาจารย์ในห้องมา ไม่งั้นก็จะโดนโจทย์หลอก ดังนั้นถ้าอยากทำได้ดีในวิชานี้ ได้โปรดฟังอาจารย์ในห้องและขยันอ่านหนังสือ เราเข้าใจว่ามันเหนื่อยเพราะเราเองก็เหนื่อยเหมือนกัน แต่เชื่อเราเถอะว่ามันไม่อยากเกินความสามารถ เข็นตัวเองให้ขยันอ่านหนังสือตั้งแต่ตอนนี้ พอขึ้นปี 3 ไปจะได้ไม่รู้สึกซัฟเฟอร์กับวิชาภาคมาก 5555555555
การสอบกลางภาคคือให้เวลา 3 ชั่วโมงในการทำ แจกโจทย์ตอนบ่ายโมงเป๊ะแล้วพิมพ์ตอบเลยทันที ให้ความยาวไม่เกิน 1,500 คำ รุ่นเรามีโจทย์ 2 ข้อให้เลือกทำข้อเดียว เพราะก่อนมิดเทอมเราเรียนไป 2 ประเด็นใหญ่ ๆ ตอนแรกอาจารย์จะออกแค่ข้อเดียวเกี่ยวกับสงครามเวียดนามด้วยซ้ำ แต่เหมือนเพื่อนถามว่าอาจารย์จะออกเรื่องภูมิกายากับชายแดนไทยที่สอนไปตั้งแต่คาบแรก ๆ ด้วยไหม อาจารย์ก็เลยออกข้อสอบเพิ่มให้อีกข้อเผื่อใครสนใจอยากทำข้อภูมิกายามากกว่า อันนี้เราว่ามันสามารถตกลงกับอาจารย์ได้นะ ถ้าสมมติรุ่นถัด ๆ ไปอาจารย์สอนหลายประเด็นแล้วเราไม่รู้ว่าอาจารย์จะเอามาออกไหมอะไรยังไงก็ลองถามเขาดู ในส่วนของตัวข้อสอบเราว่าไม่ยาก แต่ต้องตอบให้คำถามให้ครบ เพราะมีคำถามย่อยเยอะมาก แล้วต้องอ่าน Reading ตามที่อาจารย์สั่งมาด้วย ไม่งั้นตอบคำถามไม่ได้อะ ตอนมิดเทอมเราได้ 26/30 แล้วถ้าจำไม่ผิดคือท็อปเซค 27/30 นะ สำหรับการตอบข้อสอบอ.พวงทองไม่มีทริคอะไรเป็นพิเศษอะ แค่ว่าต้องตอบคำถามให้ครบ กระชับ เคลียร์ ("Comprehensive, concise and clear." - Aj. Puangthong, 2021) แล้วก็อย่าลืมตอบให้ถูกด้วย! 555555555 ดังนั้นอ่านหนังสือมาให้ดี ๆ ถ้าทำได้แบบนี้ก็ไม่ต้องห่วงแล้วเพราะอาจารย์เขาไม่ได้หวงคะแนนขนาดนั้น
ส่วนไฟนอลอาจารย์ให้ทำเปเปอร์ 3 หน้า โดยอาจารย์แจกโจทย์มาให้ 3 ข้อ เลือกทำข้อเดียว แต่โจทย์มันเป็นแค่โครงคร่าว ๆ อะ เราจะ Frame เปเปอร์เราให้ไปในทิศทางไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับเราเอง แต่อย่าลืมปรึกษาอาจารย์ก่อนว่าถ้าเราจะทำแบบนั้นแบบนี้อาจารย์จะโอเคไหม ซึ่งไฟนอลเปเปอร์ไม่ค่อยเกี่ยวกับสิ่งที่อาจารย์สอนในห้องหลังมิดเทอมเท่าไร ที่บอกว่าไม่เกี่ยวคือเนื้อหาหลังมิดเทอมอาจารย์จะสอนแบบคร่าว ๆ ว่าไทยหลังยุคสงครามเย็นเป็นยังไง แต่โจทย์เปเปอร์ที่ได้เราต้องหาข้อมูลต่อยอดจากที่อาจารย์ตอนในห้องไปอีกเยอะพอสมควร ส่วนตัวเราว่าไม่ได้ยากขนาดนั้นแต่มันต้องใช้เวลาในการหาข้อมูลเยอะพอสมควรเลยอะเพราะคำถามอาจารย์กว้างมาก โจทย์ปีเรา 3 ข้อมีเกี่ยวกับสามเสาหลักอาเซียน, ประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและการวิพากษ์วิจารณ์จากต่างประเทศ, ความสัมพันธ์ไทย-จีน-สหรัฐฯ หลังการรัฐประหารปี 2557 ส่วนตัวเราเลือกทำข้อสามเพราะเทอมนี้เราเรียนนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ อยู่เลยสามารถต่อยอดได้ง่ายแล้วไม่ต้องเริ่มหาข้อมูลใหม่ตั้งแต่ศูนย์เหมือนข้ออื่น ๆ โดยไฟนอลเปเปอร์เราได้ 42/50 มา มันดูเหมือนเยอะไหมนะ แต่เอาจริง ๆ คือโดนหัก 8 คะแนนแหนะ (ถ้าจะเก็บ A คือต้องเกิน 85 แปลว่าหายไปได้แค่ 15 คะแนน) แล้วไฟนอลเรายังมีจุดพลาดอยู่เหมือนกัน พออ่านสิ่งที่อาจารย์แก้มาแล้วก็แอบเซ็งตัวเอง 555555555 แต่อาจารย์ก็ให้คอมเม้นมาแหละว่าดีแล้ว แค่มีบางประเด็นที่เขียนให้มันคมชัดได้มากกว่านี้
อันนี้ไม่นับว่าเป็นทริค แต่เรียกว่าเป็นข้อควรระวังและใส่ใจให้มาก ๆ มากกว่า อ.พวงทองจะเคร่งกับการอ้างอิงเปเปอร์มาก ๆ (อาจารย์ทุกคนเคร่งเกี่ยวกับการอ้างอิงแหละ แต่จากที่สัมผัสมา เราว่าอาจารย์ที่ปรึกษาเราเคร่งสุดในบรรดาอาจารย์ทั้งหมดแล้ว 55555555 ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีและควรปฏิบัติตาม แค่อยากเตือนให้ใส่ใจมากเป็นพิเศษหน่อย) ถ้าเคยเรียน Intro IR เซค 2 มาก่อนเราว่าไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าใครยังไม่เคยได้ทำเปเปอร์แบบจริง ๆ จัง ๆ มาก่อนก็แนะนำให้ไปดูวิธีการอ้างอิงที่ถูกต้องมาดี ๆ นะ คือมันมีหลาย Style มาก เช่น APA, MLA, Chicago, etc. แต่ส่วนตัวแนะนำให้ใช้ Chicago Manual of Style 17th Edition มากที่สุด แล้วมันจะมีความต่างระหว่างการทำ Footnote/Endnote, Bibliography ก็ต้องดูว่าอาจารย์ให้ทำ Footnote หรือ Endnote แล้วต้องทำ Bilbiography ไหม เวลาอ้างอิงอย่าลืมเช็ค Form การอ้างอิงดี ๆ ดูว่าเราอ้างถูกประเภทไหม แบบมันเป็น Book, Chapter in Book, Journal, Website, etc. หรืออะไรยังไง แล้วถ้าเป็นหนังสือก็อย่าลืมระบุหน้าที่เราใช้อ้าง ถ้าเป็นเว็บก็อย่าลืมใส่วันที่เรา Access อะไรพวกนี้ด้วย เพราะถ้าอาจารย์ตรวจพบว่าเป็น Plagiarism คือศูนย์ทันทีเลยนะ
วิชานี้เราได้ A มา จากที่คำนวณดูแล้วคือได้ 86.5 ซึ่งหวุดหวิดเกือบหลุด A มาก (แต่คะแนนเราคือรองท็อปแล้วนะ เพราะทั้งเซคคะแนนสูงสุด 88 ซึ่งก็เฉียดฉิวเหมือนกัน แล้วคนได้ A คือเท่าหยิบมือ) ต้องขอบคุณตัวเองอะที่ทำครึ่งมิดเทอมเอาไว้ดี คำแนะนำสำหรับคนอยากเก็บ A วิชานี้คือพยายามเก็บควิซให้ได้เต็ม แล้วเตรียมตัวมิดเทอมดี ๆ เพราะไฟนอลเราว่าควบคุมคะแนนยากมาก เท่าที่ถาม ๆ เพื่อนมาคือคะแนนแต่ละคนไม่ได้แย่ แต่ก็สามารถเปลี่ยนเกรดได้เลยอะ ในขณะที่ควิซกับสอบมิดเทอมมันควบคุมได้ง่ายกว่ามาก ดังนั้นก็ทำให้เต็มที่นะทุกคน พยายามอุดจุดรั่วไหลให้ได้มากที่สุด ฮือ
6) 2400115 INTRO SOC POL THEO (Introduction to Social and Political Theory)
- อาจารย์ผู้สอน: อ.ไชยันต์ ไชยพร (CCP)
- ช่วงเวลาเรียน: วันพุธ, 13:00-16:00 น.
- การตัดเกรด: อิงกลุ่ม
- การเก็บคะแนน: Midterm Exam 40% Final Exam 60%
- ความยากง่าย: ยากปานกลางและแนะนำให้ฟังอาจารย์ตอนเรียน พยายามอย่าหลุด
- สังกัด: สังกัดคณะรัฐศาสตร์ ไม่สังกัดภาควิชา
- เงื่อนไข: ไม่มีเงื่อนไข
- ไม่ใช่นิสิตรัฐศาสตร์ลงได้ไหม?: ถึงแม้ว่าตัวนี้จะเป็นวิชาบังคับของคณะรัฐศาสตร์ แต่ส่วนตัวคิดว่าไม่ใช่นิสิตรัฐศาสตร์สามารถลงได้นะถ้าอยากเรียน แต่ต้องติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนประจำเซคที่เราสนใจอะ เพราะตอนปี 2 เทอม 1 เราก็เห็นนิสิตคณะอื่นมาลงเรียนวิชาบังคับคณะเราเหมือนกัน
- *หมายเหตุ: การเก็บคะแนน จำนวนข้อสอบ จำนวนเวลาในการสอบสามารถตกลงกับอาจารย์ได้เองเลย ด้วยความที่วิชานี้สอนเกี่ยวกับทฤษฎีความยุติธรรม อาจารย์ก็พยายามจะให้ในสิ่งที่ทุกคนควรจะได้ และไม่ให้ในสิ่งที่เราไม่ควรได้ 5555555555 อย่างรุ่นเรากลัวว่าจะทำมิดเทอมออกมาได้ไม่ดี เลยขออาจารย์เก็บมิดเทอม 40 คะแนนก่อน เพื่อดูว่าถ้าเขียนตอบแบบนี้ไปแล้วจะโอเคไหม พอเรารู้แนวแล้วจะได้ไปพัฒนาเอาตอนไฟนอลที่เก็บ 60 คะแนนได้งี้ แล้วตอนไฟนอลอาจารย์กำหนดมา 4 ข้อ 3 ชั่วโมงแล้วเพื่อนกลัวว่าจะทำไม่ทัน เลยเปิดโหวตแล้วไปคุยกับอาจารย์จนได้ข้อสรุปเป็น 4 ข้อ 4 ชั่วโมง ดังนั้นอย่าลืมคุยกับอาจารย์ด้วยนะถ้าเราไม่โอเคกับอะไรตรงไหน
วิชานี้เป็นวิชาบังคับคณะเนอะ ทฤษฎีทางสังคมและการเมือง เอาจริง ๆ คนที่ได้เปรียบในการเรียนวิชานี้คือนิสิตภาคปกครองเพราะเคยเรียนกับอ.ไชยันต์มาก่อนแล้ว และจะมีความรู้เกี่ยวกับพวกทฤษฎีหรือปรัชญาทำนองนี้กว่านิสิตอีกสามภาคมาก ๆ แต่ไม่ใช่ว่าภาคอื่นจะทำได้ไม่ดีนะ เท่าที่เราฟังจากรุ่นพี่มาคืออาจารย์ไม่ได้คาดหวังให้เด็กทุกคนต้องคิดหรือตั้งคำถามได้แบบบรรเจิดประหนึ่งเป็นจอห์น ล็อคกลับชาติมาเกิด เพราะอาจารย์เขาก็รู้อะว่ามันไม่ได้มีแค่เด็กปกครอง แต่อย่างน้อยตอนเรียนวิชานี้ก็อยากให้ทุกคนลองพยายามเต็มที่กับมันดู ถึงแม้ว่าเต็มที่มากที่สุดแล้วก็จะค้นพบว่าปรัชญาไม่ใช่ทางเลย (แบบเรา 5555555555) ก็ตาม
ในวิชานี้เราจะเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีความยุติธรรม (Justice) เป็นหลัก โดยหัวข้อหลัก ๆ ที่ได้เรียนมี ดังนี้ (1-2 ออกมิดเทอม ส่วน 3-6 ออกไฟนอล)
(1) ทฤษฎีความยุติธรรมของ John Locke
(2) ทฤษฎีความยุติธรรมของ Robert Nozick
(3) ทฤษฎีความยุติธรรมของ Ronald Dworkin
(4) ทฤษฎีความยุติธรรมของ Michael Wazler
(5) What is Enlightenment? ของ Immanuel Kant
(6) วัฒนธรรมทางการเมือง
ซึ่งจริง ๆ แล้ววิชานี้เองก็มี Reading ที่ให้อ่านเหมือนกัน เป็นหนังสือของ Adam Swift บทที่เกี่ยวกับ Social Justice แต่เราลองไปอ่านดูแล้วเราอ่านไม่เข้าใจ หลังจากนั้นก็เลิกอ่านแล้วฟังอาจารย์เอาอย่างเดียว แล้วก็ค้นพบว่ามันเวิร์คกว่าเยอะ 555555555 แนะนำว่าตั้งใจฟังอาจารย์ในคาบนะ คืออ.ไชยันต์เขาได้ฉายาว่าเป็น "โสเครติสคนสุดท้าย" เพราะเขาสอนแบบไม่เขียน น้อยครั้งมากจะมีสไลด์ เน้นพูดไปเรื่อย ๆ ชวนตั้งคำถามให้นิสิตตอบ ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่โสเครติสสอนลูกศิษย์ตัวเอง คือให้เรียนผ่านการพูดคุยและตั้งคำถามงี้ มันอาจจะยากพอสมควรเพราะวิชาอื่นอาจารย์สอนแบบเลคเชอร์กันหมดเลย สัปดาห์แรก ๆ เราจำได้ว่าเราเหนื่อยกับการเรียนวิชานี้มาก แต่เรียนไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็เริ่มชินแล้วก็จะจับจุดได้เองอะ
แล้วอาจารย์เขาจะมีเอกสารเสริมหรือบทความที่เขาเขียนเองให้อ่านเพิ่มเติม ส่วนตัวเราอ่านแค่ของครึ่งมิดเทอม ส่วนไฟนอลอ่านบ้างไม่อ่านบ้างเพราะครึ่งหลังงานวิชาอื่นเยอะมาก เลยไม่ได้แบ่งเวลามาให้วิชานี้เท่าไร แต่เราไม่ได้รู้สึกว่ามันจำเป็นต้องอ่านขนาดนั้นนะ คือมันเป็นเอกสารเสริมเฉย ๆ อะ ถ้าตั้งใจฟังอาจารย์ในคาบ พยายามคิดต่อเวลาอาจารย์ตั้งคำถามมาให้ อะไรประมาณนี้ก็โอเคแล้ว
อีกประเด็นที่สำคัญมาก ๆ คือตอนเรียนครึ่งแรกอะ แนวคิดของ Rawls กับ Nozick มันคนละทิศเลย คนแรกเน้นความเท่าเทียม (Egalitarian Liberalism) ส่วนคนหลังขวาแบบสุดโต่ง (Libertarian Liberalism) คือถ้าใครสมาทานแนวคิดฝ่ายซ้ายหรือถ้าบางคนโปรสังคมนิยมยังไงก็จะชอบ Rawls มากกว่าแน่ ๆ อะ แต่วิชานี้อาจารย์สอนอยู่บนพื้นฐานของเสรีนิยม แล้วมีคาบนึงอาจารย์ถามว่ารัฐบาลควรช่วยเหลือ The Least Advantage ที่ทำตัวเองไหม ถ้าตอบแบบ Rawls ก็จะบอกว่าต้องช่วย แต่ Nozick จะบอกว่าห้ามช่วย (ถ้างงตรงนี้ไม่เป็นไร ไว้กลับมาอ่านอีกรอบตอนเรียนถึงแล้วกันนะ 55555555) ซึ่งเพื่อนหลาย ๆ คนรวมถึงเราเองด้วยก็อยากให้รัฐช่วยคนกลุ่มนี้อะ แต่อาจารย์ก็พยายามหาเหตุผลมาแย้งว่าช่วยแล้วมันจะทำให้คนเสีย Self-esteem มันเป็นการเอาภาษีของคนทั้งประเทศไปช่วยคนที่ทำให้ตัวเองไปตกอยู่ในที่นั่งลำบากเองงี้ ฟังเพื่อนถกกับอาจารย์กันจนหัวร้อนอะ สุดท้ายพี่ TA มาเฉลยว่าในวิชานี้เราต้องยอมปล่อยแนวคิดฝ่ายซ้ายไปแล้วพยายามมองตามกรอบของเสรีนิยม เพราะถ้าเราถกกันจากสองมุมมองที่แตกต่างกันมันก็เหมือนคุยกันคนละเรื่องเดียวกัน แล้วก็จะคุยกันไม่รู้เรื่องสักที สรุปในสิ่งที่เรากำลังจะสื่อคือ มันเป็นเรื่องปกติที่จะเรียน ๆ ไปแล้วมีบางช่วงที่รู้สึกหงุดหงิด เพราะเราเองก็หงุดหงิดทุกคาบ 555555555 แล้วเวลาคิดหรือตอบข้อสอบคือให้พยายามมองจากมุมเสรีนิยมเข้าไว้ เพราะแนวคิดที่เราเรียนมันวางอยู่บนฐานเสรีนิยม ถ้าเราเอาแนวคิดอื่นมาโต้มันก็เหมือนคุยกันคนละเรื่อง แล้วเราเข้าใจว่ามันอาจจะยาก แต่ก็ทำให้เต็มที่อะ คิดซะว่าเราได้ถอดแว่นเดิมที่ใส่อยู่แล้วหยิบแว่นใหม่ที่เราไม่เคยชินมาใส่
ในส่วนของข้อสอบ ถามว่าคำถามยากไหม คือเราว่าไม่ยากนะ แต่ที่ยากคือจะตอบยังไงให้เป็นคำตอบที่อาจารย์อยากได้แล้วได้คะแนนดีมากกว่า ด้วยความที่รุ่นเราสอบแบบอยู่บ้าน พูดง่าย ๆ คือมัน Open book ได้ ทำให้โจทย์ที่เราได้ไม่ใช่โจทย์ถามแบบตรงไปตรงมาหรือเป็นโจทย์เช็คความจำ เช่น นักคิดคนนี้คิดว่ายังไงบ้าง แต่ได้เป็นโจทย์ที่ประยุกต์ขึ้นไปอีกขั้นอะ อย่างตอนมิดเทอมอาจารย์ให้เราไปดูรายการปัญญาปันสุขมาก่อนสอบ แล้วพอเจอโจทย์จริงคือถามว่า Rawls กับ Nozick จะเห็นด้วยไหม ไฟนอลก็คล้าย ๆ กันคือถามแบบประยุกต์ให้ยกตัวอย่างมาอธิบายแนวคิดของ Dworkin กับ Walzer งี้ แต่ถึงมันจะเป็นโจทย์ประยุกต์ แต่อาจารย์ก็จะพยายามใบ้ให้แล้วตอนสอนอะ ดังนั้นพยายามตั้งใจเรียนในคาบ เพราะคำถามและแนวทางการตอบมันก็คือสิ่งที่อาจารย์พูดนั่นแหละ แล้วถามว่าตอบยังไงถึงจะได้คะแนนดี ส่วนตัวเราก็ยังจับทางอ.ไชยันต์ไม่ถูกเหมือนกัน แต่เราคิดว่าอาจารย์ชอบคำตอบแบบที่แสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจเนื้อหาที่เรียนจริง ๆ อะ คือบางทีโจทย์มันถามแคบมาก แต่ถ้าเราตอบแบบพยายามโยงไปตอบเกี่ยวกับเนื้อหาอื่นที่เรียนแต่โจทย์ไม่ได้ถามตรง ๆ มันก็แสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจสิ่งที่เรียนและสามารถประยุกต์ใช้ได้ เห็นคนที่ตอบแนว ๆ นี้กันไปก็ได้คะแนนดีนะ แล้วก็ไม่ต้องห่วงเรื่องกระชับไม่กระชับ สามารถพิมพ์ไปได้เรื่อย ๆ เพลิน ๆ อ.ไชยันต์เขาไม่เคร่งเรื่องตอบกระชับหรือต้องการให้มัน Formal ขนาดนั้น พิมพ์เหมือนว่าเรากำลังนั่งคุยกับอาจารย์อยู่อะ ตอนเราตอบทั้งมิดเทอมกับไฟนอลคือปาไป 7 หน้าทั้งสองรอบเลย 5555555555
แล้วตอนมิดเทอมเราได้โจทย์ 2 ข้อ เวลา 3 ชั่วโมง ไม่มีลิมิตในการตอบ ส่วนไฟนอลมีโจทย์ 4 ข้อ เวลา 4 ชั่วโมง ลิมิตข้อละ 5 หน้า เท่าที่ลองถามรุ่นพี่มาเหมือนว่าโจทย์จะเปลี่ยนทุกปี แต่ถ้าเราเข้าใจเนื้อหาไม่ว่าโจทย์จะออกมายังไงก็ไม่ต้องกลัวหรอก ดังนั้นก็ตั้งใจฟังตอนอาจารย์สอนในห้องนะทุกคน พยายามอย่าหลุดนะวิชานี้
สุดท้ายเราได้เกรด A ซึ่งตอนมิดเทอมเราได้ 32/40 และไฟนอลได้ 51/60 (พี่ TA บอกว่าน่าจะรองท็อป) เอาจริง ๆ ก็ตกใจนิดหน่อย คือเรารู้แหละว่ามันคงไม่ออกมาแย่ แต่เราก็ไม่คิดว่าตัวเองจะทำได้ดีขนาดนี้ เกินคาดไปมาก ๆ 55555555555 (แต่เกรดน่ากลัวมากนะ มี D+/D เต็มเลย แบบ 10++ คน ฮือ เอาเป็นว่าตั้งใจฟังอาจารย์แล้วทำข้อสอบให้เต็มที่นะทุกคน)
7) 5500224 EAP II
- อาจารย์ผู้สอน: ขึ้นอยู่กับเซคที่เรียน
- ช่วงเวลาเรียน: ขึ้นอยู่กับเซคที่เรียน
- การตัดเกรด: อิงกลุ่ม
- การเก็บคะแนน: ขึ้นอยู่กับแต่ละปี ปีเราเจอโควิด เรียนออนไลน์ 100% ทำให้เกณฑ์ไม่เหมือนปีอื่น
- ความยากง่าย: ง่ายนะ แต่งานยิบย่อยมาก
- สังกัด: สังกัดสถาบันภาษา
- เงื่อนไข: EAP I
มาถึงวิชาสุดท้าย วิชาสนามอารมณ์ของเรา 55555555555 รอบนี้เราได้เรียนเซค 1 เหมือนเดิม ถ้ายังจำกันได้คือ EAP I กับ EAP II ตัดเซคจาก Performance ของเราในวิชา EXP ENG II (คะแนนภาพรวม) และ EAP I (คะแนนมิดเทอม) ตามลำดับ แล้วก็ได้เรียนกับอาจารย์คนเดิมด้วยก็คือ Peter โดยเนื้อหาใน EAP II แบ่งออกได้เป็น 3 บทหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่ Paraphrasing, summary writing, and controversial issues แล้ววิธีการวัดผลคือยิบย่อยมาก มีงานในหนังสือ มี Vocab Quiz มี Oral Presentation มีสอบอีก ที่เราไม่ใส่ในวิธีการเก็บคะแนนคือเพราะเราจำไม่ได้จริง ๆ อะว่ามันมีอะไรบ้าง แล้วแต่ละเซคก็เก็บคะแนนไม่เหมือนกันเลย อย่างเซคเรางานบางอย่างเหมือนให้ทำเป็นกลุ่มแล้วเก็บคะแนน(?) แต่เพื่อนบางเซคเหมือนทำเป็นงานเดี่ยว(?) แล้วเซคเราไม่ได้โดนสั่งงานถี่ขนาดนั้น แต่เห็นเพื่อนอีกเซคมีงานทุกสัปดาห์ เราก็แบบ เอ่อ งง 5555555555 เอาเป็นว่ามันก็จะเป็นวิชาที่วุ่นวายมาก ๆ วิชาหนึ่งเลย คำแนะนำคือพยายามเคลียร์งานวิชานี้ให้มันเสร็จเร็ว ๆ จะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นต่อ
แต่ถามว่าเราได้อะไรจากวิชานี้ไหม ถ้าพูดถึงในแง่การฝึกฝนสกิลภาษาอังกฤษ (ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของวิชานี้) ตอบเลยว่าไม่ได้อะไรเลย เขียนเปเปอร์ภาษาอังกฤษกับอ.กัลยายังได้ฝึกภาษาอังกฤษมากกว่าเรียนวิชานี้เลยอะ 555555555555 แต่สิ่งที่ได้คือได้ความรู้เกี่ยวกับการเมือง/ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในบางประเด็นที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อน เพราะเขาเอามาใส่ในหนังสือ ก็ถือว่ายังได้อะไรกลับมาบ้าง แต่ก็หวังว่าในอนาคตสถาบันภาษาและคณะจะช่วยพัฒนาให้วิชานี้มันมีมาตรฐานและช่วยฝึกสกิลภาษาอังกฤษให้กับนิสิตได้มากกว่านี้
สุดท้ายวิชานี้เราได้ A มา ก็ถือว่าปิดจ๊อบวิชาบังคับของสถาบันภาษา 4 ตัวได้อย่างสวยงาม
- - - - -
Reflection:
สรุปรวบยอดคือเทอมนี้เราได้เกรด 4.00 หรือที่เรียก ๆ กันว่าเอช้วน ซึ่งนี่ก็เป็นเอช้วนครั้งที่ 2 ของเรา ครั้งแรกสุดคือตอนปี 1 เทอม 2 ดู ๆ แล้วสงสัยเรามีดวงสมพงษ์กับเทอม 2 มั้ง พอเป็นเทอม 1 ทีไรชอบมีวิชาที่หลุด A ตลอด 5555555555
ในโพสต์ที่แล้วเราบอกว่าปี 2 เทอม 1 เป็นเทอมที่ทำให้เราค้นพบตัวเองอีกครั้งว่าเราชอบไออาร์จริง ๆ แล้วเราเองก็ทำทุกอย่างออกมาได้ดีกว่าที่คิด สำหรับปี 2 เทอม 2 เราว่าเทอมนี้เป็นเทอมที่ทำให้เรามั่นใจกับตัวเองมากยิ่งขึ้นว่าไออาร์คือสิ่งที่เหมาะกับเรา และทำให้เราเริ่มมองเห็นเส้นทางที่เราจะเลือกเดินต่อหลังเรียนจบ
อย่างที่เล่าไปว่าเทอมนี้เราเจอเปเปอร์หลายตัวมากเนอะ ทำให้เราได้มีโอกาสฝึกสกิลการเขียนเปเปอร์เยอะกว่าเพื่อนคนอื่น ๆ แล้วในขณะเดียวกัน เพราะประสบการณ์การเขียนเปเปอร์ที่เยอะกว่าเพื่อน ๆ เลยทำให้เราสามารถไปช่วยเพื่อน ๆ ในการเขียนเปเปอร์ได้ เอาจริง ๆ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2 เทอม 1 แล้วแหละที่เพื่อนชอบทักว่าเราเหมาะกับการกลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะ เพราะเราอธิบายเนื้อหาวิชาเรียนให้เพื่อนฟังแล้วเข้าใจได้ และคอยไกด์เพื่อนในการเขียนเปเปอร์อยู่เสมอ แต่ในตอนนั้นเราไม่ได้จริงจังกับคำพูดของเพื่อน แม้ว่าคนที่พูดจะเป็นเพื่อนที่สนิทกับเราและรู้จักเราดีมาก ๆ ก็ตาม แต่เรารู้สึกว่าหลาย ๆ อย่างมันเริ่มชัดขึ้นในเทอมนี้ อย่างวิชาอ.สุรัตน์ที่สั่งเปเปอร์ 3 ตัว สักประมาณ 2-3 วันก่อนเดดไลน์จะมีเพื่อนทักไลน์มาไม่ก็ขอโทรมาปรึกษาเราเรื่องการเขียนเปเปอร์ประมาณ 10 คนต่อเปเปอร์นึงได้ ซึ่งมันดูหนักใช่ไหม แต่ทุก ๆ ครั้งที่เราได้ช่วยเพื่อนเราไม่เคยรู้สึกเหนื่อยเลย เราเต็มใจที่จะช่วย ที่จะสอนเพื่อนด้วยซ้ำ อีกอย่างคือเรามีแพสชั่นในการเรียนไออาร์อะ ยิ่งเรียนยิ่งชอบ ยิ่งเรียนยิ่งมีไฟกับมันมากขึ้นทุกวัน แล้วพอเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ มันก็ไม่ใช่แค่เพื่อนที่เริ่มทักเราเรื่องการเป็นอาจารย์ แต่รุ่นพี่ รุ่นน้อง ที่บ้านเราเองก็ถามเหมือนกันว่าจบไปสนใจเป็นอาจารย์หรือทำงานด้านวิชาการไหม แล้วจุดที่พีคสุดคือตอนที่เราขอ Zoom กับอ.กัลยาเพื่อปรึกษาเรื่องการเขียนเปเปอร์มิดเทอม อันนั้นเป็นครั้งแรกสุดที่เราได้ Zoom กับอาจารย์แบบตัวต่อตัว ถึงแม้ว่าจะเคยเข้าไปคุยที่ออฟฟิศอาจารย์มาก่อนแล้วแต่มันก็แปปเดียว แล้วมีเพื่อนคนอื่นอยู่ด้วย แต่ครั้งนี้คือตัวต่อตัวจริง ๆ พอปรึกษาเรื่องเปเปอร์เสร็จ อาจารย์เขาก็บอกเราว่า "ฉันอยากให้คุณเป็นอาจารย์นะ แต่ฉันก็ไม่ได้พูดอะไรมากเพราะไม่อยากบังคับคุณ"
ความรู้สึกตอนนั้นคือเกือบร้องไห้เลย (แต่ฮึ้บเอาไว้ 555555555) เราก็ถามอาจารย์นะว่าทำไมเขาถึงคิดแบบนั้น เขาก็ให้คำตอบว่าเราเก็ต concept เร็ว อ่านหนังสือแตก เขียนงานออกมาโอเคงี้ แล้วก็ปรึกษาเขาต่อว่าจริง ๆ เราก็สนใจที่จะเป็นอาจารย์นะ แต่ลึก ๆ แล้วเราก็ยังอยากทำทูตอยู่เหมือนกัน เพราะเหตุผลแรกสุดที่ทำให้เราตัดสินใจอยากเรียนไออาร์ก็เพราะเราอยากเป็นนักการทูตอะ อาจารย์เขาก็ให้คำแนะนำว่าไปทำทูตก่อนแล้วค่อยมาเป็นอาจารย์ทีหลังก็ได้ (แล้วเอาจริง ๆ อาจารย์ที่คณะเราหลายคนเหมือนกันที่ทำแบบนี้ เช่น อ.ชูเกียรติที่สอนวิชาความมั่นคงเมื่อเทอมที่แล้ว) สุดท้ายนี้เราก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าในอนาคตมันจะเป็นยังไงต่อ เพราะนี่ก็แค่ครึ่งแรกของชีวิตในรั้วมหาลัย เรายังเหลืออีก 2 ปีเต็มในการเรียนวิชาภาคให้ลงลึกมากกว่านี้ ไม่รู้ว่าจนถึงตอนนั้นยังจะอยากทำทูตแล้วกลับมาเป็นอาจารย์อยู่หรือไม่ หรือเราไม่อยากเป็นอาจารย์แล้ว หรืออาจจะเปลี่ยนใจไปทำอย่างอื่นแทนเลยก็ได้ ก็ต้องรอดูกันต่อไปแหละ แต่อย่างน้อย ณ ตอนนี้เราก็รู้ตัวแล้วว่าเราสนใจอะไร เรามีแพสชั่นกับอะไร และพอเห็นภาพตัวเองคร่าว ๆ ในอนาคตแล้วว่าอยากทำอะไร
สุดท้ายนี้ ก็อยากพูดอีกครั้งว่าเราจะผ่านปี 2 เทอม 2 ที่เรียนออนไลน์ 99.99% (เพราะได้ไปเรียนที่มหาลัยแค่ 2 วัน) มาไม่ได้เลย หากไม่ได้รับความช่วยเหลือ ความเอาใจใส่จากอาจารย์ และกำลังใจดี ๆ จากเพื่อน ๆ ที่คอยมีให้กันเสมอ เทอมนี้เป็นเทอมที่หนักที่สุดตั้งแต่เราเคยเรียนมา แต่แม้มันจะหนักมาก ปี 2 เทอม 2 ก็เป็นเทอมที่น่าจดจำมาก ๆ สำหรับเราเหมือนกัน มีเพื่อนหลังไมค์ว่าอยากให้เขียนถึง ก็ขอใช้พื้นที่ตรงนี้ในการเขียนถึงเลยก็แล้วกัน ขอบคุณโอม เพลิน ตุลย์ แก๊งนโยเมกา-ฟิล์มที่แม้นาฬิกาจะบอกเวลาตี 3 แล้วก็ยังอยู่คุยกันทุกวัน (เพราะต่างคนต่างปั่นเปเปอร์) ขอบคุณกวาง ฟ้า รุ้ง แตงโมที่นัดกันกี่รอบ ทริปก็ล่มทุกรอบ แต่คนเหล่านี้ก็ยังเป็นต้นเหตุของเสียงหัวเราะให้แก่เราได้อยู่เสมอ และขอบคุณอ.กัลยา บุคคลสำคัญที่ทำให้เราเลิกเสียดายกับการตัดสินใจในอดีตและมีความสุขอยู่กับปัจจุบัน
ยังไงก็ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่าน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ และขอให้เป็นวันที่ดีค่ะ
sincerely,
themoonograph
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in