เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เด็กบ้าไปเซิร์นVichayanun Wachirapusitanand
Day 60: Poster sessions
  • วันนี้มีนิทรรศการโปสเตอร์ผลงานของ Summer students ครับ

    ก่อนจะไปนำเสนอผลงานใน Poster session เราจะต้องลงชื่อนำเสนอผลงานก่อน โดยส่งอีเมลไปแจ้งเขาว่าผมจะนำเสนอนะ ซึ่งนอกจาก Poster session เขาก็มี Student session ที่เป็นงานนำเสนอผลงานแบบ oral presentation ผมส่งอีเมลเพื่อลงทะเบียน Student session แต่เฉินลงทะเบียนไม่ทัน เลยต้องยอมไปลง Poster session แทน แถมยังบ่นอีกว่าทำไมผมไม่บอกเรื่องลงทะเบียนให้เร็วกว่านี้

    งานนี้จัดที่บริเวณชั้นลอยของตึก 500 และมีโปสเตอร์จำนวนหนึ่ง รวมไปถึงของเฉินและวินโดว์ด้วย ผมก็เดิน ๆ ดูไปเรื่อย ๆ และก็พบกับผลงานที่น่าสนใจมากมาย เอาเป็นว่าผมจะไล่เป็นหัวข้อละกันนะครับ

    - เริ่มที่ของเฉินก่อน งานของเขาคือการออกแบบระบบที่สามารถดึงข้อมูลจากเครื่องตรวจจับอนุภาคมาวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ ขนาดที่ว่าสามารถวิเคราะห์ข้อมูลให้เห็นเป็นฮิสโตแกรมสด ๆ เลย
    - ต่อมาเป็นของวินโดว์ เขาทำงานกับการทดลอง ALICE และงานของเขาคือการวิเคราะห์ตำแหน่งการวางอุปกรณ์ตรวจจับใน ALICE ให้มีประสิทธิผลสูงสุด
    - เพื่อนร่วมงานผมอีกกลุ่มหนึ่งวิเคราะห์การกระจายตัวของโปรตอนหลังจากอันตรกิริยาการชนที่เกิด top quark สองตัว ซึ่งเขาสนใจกรณีที่โปรตอนไม่หายไปจากการชน โดยอาศัยข้อมูลจากการทดลอง CMS และ TOTEM
    - อีกคนออกแบบเครื่องตรวจวัดสมบัติของไอโซโทปหายากของธาตุต่าง ๆ และใช้วัด Sn-100
    - อีกคนเขียนฟีเจอร์เพิ่มให้กับโปรแกรม ROOT ซึ่งเป็นโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติของเซิร์น
    - อีกสองคนวิเคราะห์ประสิทธิภาพจากรูปแบบการวางตัวของอุปกรณ์ตรวจจับอนุภาคในการทดลอง ATLAS แบบใหม่
    - อีกคนใช้ทฤษฎีกราฟวิเคราะห์รอยทางของอนุภาคที่ตรวจจับได้
    - ฯลฯ

    งานที่นำเสนอหลากหลายมากครับ ผมทึ่งกับงานที่ Summer student อย่างเรา ๆ สามารถทำได้ในเวลาสองเดือนกว่า ๆ จริง ๆ คราวนี้ความกดดันก็ตกอยู่กับผมแล้วครับว่า "เชี่ย กูจะทำได้แบบเขามั้ยวะ"

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in