TOKYO ART BOOK FAIR 2017
พอมาถึงหน้างาน จะมีบูทให้คนที่มารับแผนที่และถุงพลาสติก(เพื่อใช้ใส่ของที่ซื้อในงาน) ที่ออกแบบให้หิ้วและสะพายข้างได้ อีกสิ่งนึงที่ผมเรียนรู้จากการมาญี่ปุ่นคือ เขาจะพยายามชะลอจำนวนคนที่เข้าไปชมงานต่างๆไม่ให้คนเข้าไปเยอะเกินไปในทีเดียว ที่ต้องมาต่อแถวไม่ใช่เพราะต้องรอคิวแต่อย่างใด แต่เพราะต้องรอจังหวะที่จะเข้าไปนั่นเอง
มีบูทของศิลปินไทยด้วยนะ
ก่อนหน้านี้ผมได้มีโอกาสไปร่วมงาน Bangkok Art Book Fair ที่จัดขึ้นครั้งแรกที่ Bangkok City City Gallery และก็ประทับใจในศิลปินไทยที่นำหนังสือทำมือหรืองานศิลปะของตนมาวางขาย แต่ที่โตเกียวนี้ ใหญ่กว่ามากและก็มีการจัดการที่ดูจะเป็นงานขนาดกลาง(ไม่ใช่งานขนาดเล็กแบบบ้านเรา) ภายในงานมีศิลปินที่หลากหลายกว่า และศิลปินที่มาขายมีทั้งที่เป็นมือสมัครเล่นไปจนถึงมืออาชีพที่ขายของในราคาสูงขึ้น แต่ที่ผมรู้สึกเหมือนกันคือความเป็นมิตรของผู้คนในนี้ พวกเขานำของที่มีมูลค่าทางใจมาแบ่งปันและใช้เงินเป็นสิ่งแลกเปลี่ยน ผมไม่ได้รู้สึกถึงการตลาดหรือการทำธุรกิจ แต่เป็นบรรยากาศของชุมชนศิลปินที่มารวมตัวกันเพื่อค้าขายแลกเปลี่ยน ถึงแม้ว่านี่อาจจะเป็นอาชีพหลักของเขาก็ตาม ผมได้เห็นถึงรสนิยมของแต่ละคน การแต่งตัว กิจกรรมที่เขาชอบทำ ในเมืองไทยเองก็เริ่มมีกลุ่มคนแบบนี้เกิดขึ้น(หรืออาจจะมีมานานแล้วแต่ผมเพิ่งรู้) เช่นสตูดิโอทำภาพสกรีนมืออย่าง The Archivist หรืองานพิมพ์ Letterpress อย่าง Pianissimo Press หรือสตูดิโอทำงานกระดาษอย่าง Teaspoon หรือแม้กระทั้งศิลปินที่ได้ไปโชว์งานต่างประเทศมาหลายที่อย่าง Tae Parvit และอีกหลายๆท่าน
แคทซังมีข้อเสียอีกอย่างที่แก้ยังไงก็ไม่หาย เมื่อเธอเห็นสิ่งน่ารัก เธอจะแวะดู และเมื่อมีคนขายมาคุยกับเธอแบบเป็นมิตร เธอจะเกรงใจและซื้อมาตลอด จนบางครั้งผมต้องเบรคเธอเอาไว้(แต่มักจะไม่สำเร็จ)
นี่คือสิ่งที่เธอได้มาจากงาน
(บนซ้ายในกล่อง- แมวกวักทำจากน้ำตาล(แต่กินไม่ได้) เรียก Kinikato ทำโดย Chinastu Higashi
/ บนขวา-หนังสือของเล่นเด็ก Thaumatrope(ที่ดึงเชือกแล้วตัวกระดาษกลมๆจะหมุน รูปสองด้านดูเหมือนรูปเดียวกัน) โดย Emoto Kumiko / ซ้ายล่าง-พวงกุญแจArty โดย Misaki Kawai / กลางล่าง-เข็มกลัดเลียนแบบคุ๊กกี้ Fragola)
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in