เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
kumagumi X APP JP LINGkumagumi
4. marked/unmarked ② : "ภาพจำ" ของฉันและเธอ

  • クマグミ กลับมาแล้วค่า? ครั้งที่แล้วเราก็ได้พูดถึง “ภาพจำของภาษา” และอธิบายทฤษฎีเรื่อง ลักษณะเด่น (marked)/ ลักษณะไม่เด่น (unmarked) ไปแล้ว

    ใครยังไม่ได้อ่านตอนที่แล้วจิ้มเลยจ้า >> 3. marked/unmarked ① : เด่นไม่เด่นแล้วมันทำไม!

    ถ้ายังพอจำกันได้ในตอนท้ายเราได้พูดว่าลักษณะเด่น ลักษณะไม่เด่น (marked/unmarked) นั้นสามารถเปลี่ยนไปตามสังคมและยุคสมัยได้ ครั้งนี้เราก็นำตัวอย่างมาฝากทุกคนตามสัญญาแล้วค่า ทีนี้ก็จะได้เห็นกันชัด ๆ แล้วว่ามันต่างกันยังไง เย่ ๆ

    เอ้าแต่จะเริ่มแบบไม่มีควิซได้ไงล่ะเนอะ55555 มาลับสมองกันเต๊อะ ᕙ( • ‿ • )ᕗ
      
    Q: สีของ「お茶」ในภาพจำของคนญี่ปุ่น และ สีของ “ชา” ในภาพจำของคนไทยนั้น เป็นสีเดียวกันหรือไม่ และเป็นสีอะไร?
         A. เป็นสีเดียวกัน คือ สีเขียว
         B. เป็นสีเดียวกัน คือ สีน้ำตาล
         C. คนละสี「お茶」เป็นสีเขียว และ “ชา” เป็นสีน้ำตาล
         D. คนละสี「お茶」เป็นสีน้ำตาล และ “ชา” เป็นสีเขียว

    เฉลย : C. คนละสี「お茶」เป็นสีเขียว และ “ชา” เป็นสีน้ำตาล นั่นเองง ตอบกันถูกไหมเอ่ย
    .
    .
    .

    เห็นเฉลยแล้วใครถึงบางอ้อบ้างคะ55555 ถ้าใครพอจะคุ้นเคยกับการดื่มชาก็น่าจะตอบกันได้เนอะ ต่อไปเราไปดูกันดีกว่าว่าเหตุผลของคำตอบนี้คืออะไร?



    ?ภาพจำที่ต่างกันเพราะ “สังคม” และ “ภาษา”?

    นอกจากคำว่า “ข้าว” ที่เราได้ยกตัวอย่างไปในคราวที่แล้ว ก็มีคำว่า “ชา” และ “เนื้อ” ค่ะ ที่สังคมและภาษามีผลต่อภาพจำของแต่ละคน แล้วคำไหนเป็น ลักษณะเด่น/ไม่เด่น (marked/unmarked) ล่ะ?

    ไทย                   ญี่ปุ่น
    ชา = unmarked  ชาเขียว = marked    お茶 = unmarked  茶 = marked

    ในภาษาไทยถ้าเราพูดว่า “ชา” จะหมายถึงชาที่มีสีน้ำตาล เพราะฉะนั้นถ้าจะพูดถึงชาเขียวซึ่งไม่ได้มีสีน้ำตาลตรงกับที่คนส่วนมากเข้าใจจึงต้องเติม “เขียว” เข้าไปค่ะ ในขณะเดียวกัน คนญี่ปุ่นที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำก็จะรับรู้ว่า「お茶」หมายถึงชาเขียว เพราะฉะนั้นถ้าจะพูดถึงชาฝรั่งซึ่งมีสีอื่นก็ต้องเติม 紅 เข้าไปเพื่อให้รู้ว่า เห้ย นี่ไม่ใช่ชาเขียวนะ


    ไทย                    ญี่ปุ่น
    เนื้อ = unmarked  เนื้อหมู/เนื้อไก่ = marked  ไม่มี unmarked  肉/肉= marked

    ส่วนคำว่า “เนื้อ” ส่วนมากคนไทยจะเข้าใจว่าหมายถึงเนื้อวัวค่ะ (เช่น ถ้าเราพูดว่า “ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ” ก็คงไม่มีใครเข้าใจว่าเป็นก๋วยเตี๋ยวที่ใส่เนื้อหมู จริงไหมคะ5555) ดังนั้นถ้าไม่ได้พูดถึงเนื้อวัวก็ต้องเติม “หมู/ไก่/ปลา/ฯลฯ” เข้าไป และในทางกลับกัน ถ้าพูดว่า เฉย ๆ คนญี่ปุ่นจะไม่ได้นึกถึงเนื้อวัวเหมือนเราค่ะ เพราะคำนี้ไม่ได้เจาะจงว่าคือเนื้ออะไร ดังนั้นต้องเติม「豚/鳥/牛」เข้าไปด้วย เพื่อให้ได้ความหมายที่ครบถ้วนค่า



    ?️ภาพจำที่ต่างกันเพราะ “ยุคสมัย”?️

    ถัดมาเป็นความแตกต่างที่เรารู้สึกว่าใกล้ตัวมากค่ะ แต่บางคนอาจจะไม่เคยสังเกต เพราะถ้ารอบตัวเรามีคนที่ช่วงวัยต่างกัน เช่น คุณพ่อ/แม่ หรือคุณตา/ยาย ก็น่าจะเคยสื่อสารกันไม่รู้เรื่องเพราะ generation gap กันมาบ้างเนอะ5555

    อย่างคำว่า “3 โมง” ทุกคนเข้าใจว่าเป็นกี่โมงกันเอ่ย?

    เราเคยบอกคุณแม่ว่านัดเจอเพื่อน 3 โมง แต่แม่กลับถามว่า “ไปเช้าเลยหรอ” แว๊บแรกก็งงมากค่ะเพราะเราหมายถึง “บ่าย 3” อีกนิดพระอาทิตย์ก็ตกแล้วมันเช้าตรงไหน (แง55555) แต่จริง ๆ คือคุณแม่มีภาพจำว่า 3 โมงหมายถึง 9 โมงเช้า และภาพจำเรื่องเวลาที่ไม่ตรงกันของเรากับแม่ก็ยังทำให้เกิดความสับสนจนทุกวันนี้ค่ะ?

    ส่วนสาเหตุที่ทำให้ 9 โมงกลายเป็น 3 โมงได้ก็คืออ...

    ในสมัยก่อนจะนับเวลาแบบที่เรียกว่า “นาฬิกาหกชั่วโมง” ค่ะ คือจะนับเวลาด้วยเลข 1-6 หลังจากเลข 6 ก็จะเริ่มนับ 1 ใหม่ และลงท้ายด้วย “โมง/ทุ่ม/ตี” (เรียกตามเสียงของสิ่งที่ใช้ตีบอกเวลา ใครยังไม่เคยรู้เรื่องนี้ จิ้มจ้า >> โมง-ทุ่ม-ตี)

    ดังนั้น 7 โมงเช้าก็คือ “1 โมง” และ 8 โมงเช้าก็คือ “2 โมง” ไล่แบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนเที่ยงวัน แล้วก็เริ่มนับ 1 ใหม่ตอนบ่ายโมง วนไปแบบนี้จนครบทั้งวันค่ะ แต่พอเวลาผ่านไปก็มีการเปลี่ยนมาเรียกเวลาตามเลขบนหน้าปัดนาฬิกา แม้จะยังมีการเรียกแบบนาฬิกาหกชั่วโมงปนอยู่บ้าง การนับเวลาในปัจจุบันก็มีความแตกต่างกับในสมัยก่อนพอสมควรค่ะ ดังนั้นคนที่มีช่วงวัยต่างกันก็อาจจะมีภาพจำเรื่องการนับเวลาที่ต่างกันได้นั่นเอง

    (P.S. จริง ๆ แล้วในบางพื้นที่ก็ยังนิยมนับเวลาแบบนาฬิกาหกชั่วโมงอยู่นะคะ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็สามารถโยงกับความแตกต่างทางสังคมได้ด้วยค่า)


    ถ้านำมาโยงกับเรื่อง marked/unmarked ก็จะออกมาหน้าตาแบบนี้

    สมัยก่อน                  ปัจจุบัน
    3 โมง (9 โมง) = unmarked            9 โมง = unmarked
    บ่าย 3 โมง = marked             3 โมงเช้า = marked

    จะเห็นได้ว่า “3 โมง” ในสมัยก่อนเป็นคำที่ทุกคนเข้าใจตรงกันว่าหมายถึง 9 โมงเช้า แต่คนที่เกิดหลังจากช่วงที่ “9 โมง” เป็นที่แพร่หลายมากกว่า 3 โมง ก็จะมีภาพจำที่แตกต่างออกไป ทำให้การนับเวลาแบบนาฬิกาหกชั่วโมงเลยในปัจจุบันมักจะต้องเติมคำว่า “เช้า” เข้าไปเพื่อให้เข้าใจว่า "หมายถึงกี่โมงกันแน่" นั่นเองค่ะ
    .
    .
    .
    จบแล้วค่า สำหรับเรื่อง marked/unmarked ของเรา พอจะเข้าใจกันไหมเอ่ย ยังไงก็ลองเอาไปสังเกตคำที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้กันนะคะ แล้วถ้าใครเจอคำอื่น ๆ อีกอย่าลืมเอามาบอกกันด้วยน้า (หรือถ้าใครเคยเจอประสบการณ์ generation gap แบบเราก็เอามาเล่าให้ฟังได้เหมือนกัน55555)

    ไหน ๆ ก็พูดถึงชาแล้ว ขอตัวไปดื่มชาก่อนนะคะ?
    ใช่ค่ะ เราหมายถึงชานมไข่มุก5555555

    ขอบคุณทุกคนที่อ่านจนจบน้า おつかれさま~ ?

    クマグミ



    สรุปคำศัพท์

    お茶 (おちゃ)   = ชา
    紅茶 (こうちゃ)  = ชาฝรั่ง
    豚肉 (ぶたにく)  = เนื้อหมู
    鶏肉 (とりにく)  = เนื้อไก่
    牛肉 (ぎゅうにく) = เนื้อวัว


    Source:
    http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/018/206.PDF
    http://legacy.orst.go.th/?knowledges=โมง-ทุ่ม-ตี-๑-ตุลาคม-๒๕๕๑

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
k.l.k (@k.l.k)
คำว่า "ภาพจำ" ใช้แล้วเข้าใจง่ายตอนใช้อธิบายสังคม และวัฒนธรรม