Machine translation จะทำให้นักแปลตกงานกันหมด?
เมื่อพูดถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน บางทีเราก็อดกลัวไม่ได้ใช่มั้ยคะว่าคนในอาชีพของเราจะตกงานกันหมดรึเปล่า? ในแวดวงคนเรียนภาษาที่คิดอยากจะทำงานแปล ความกังวลแบบนี้ก็เกิดขึ้นบ่อยค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาโปรแกรมช่วยแปลหลายจ้าวที่แปลกันเก่งชนิดแซงหน้าคนกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น google translation, deepL
การที่หลายคนเริ่มกลัวว่า MT (Machine translation) จะเข้ามาแทนที่นักแปลก็ไม่แปลกนะคะ ลองคิดตามความเป็นจริง MTสามารถแปลภาษาได้ตั้งไม่รู้กี่ภาษา แถมคลังคำศัพท์ที่มีก็เยอะมหาศาล ถ้าอยากให้เรียนคำใหม่ ๆ ก็แค่ป้อนข้อมูลเข้าไป แปปเดียวก็เข้าใจได้แล้ว ไม่เหมือนคนเราที่กว่าจะเรียนแต่ละภาษาได้เก่งจนถึงขั้นแปลได้ก็กินเวลาหลายปี ถ้าจะเรียนคำใหม่ ๆ ก็ต้องไปนั่งท่องนอนท่องอีกหลายวัน ถ้าเป็นในจุดนี้แล้วล่ะก็—MTชนะขาด
ถ้างั้นMTคือคู่แข่งของนักแปลหรอ!?
ลึก ๆ แล้วเราอาจจะรู้สึกแบบนี้ เพราะความกลัวว่าอาชีพของเราจะถูกAIมาแทนที่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว MTไม่ใช่คู่แข่งของนักแปล แต่เป็นผู้ช่วยมือฉมังต่างหากค่ะ
หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่า นักแปลมืออาชีพไม่ต้องพึ่งMTอีกต่อไป ซึ่งคุณคิดผิดค่ะ!! ไม่ว่าจะมือโปรขนาดไหน MTก็เป็นคู่หูข้างกายเราเสมอ เพราะมีข้อดีที่สุดข้อหนึ่งคือ ช่วยทุ่นแรงของนักแปล นั่นเองค่ะ
ไม่ว่าเท็กซ์จะยาวขนาดไหน พอแปะลงไปปุ๊บ ไม่กี่วิก็ได้คำแปลออกมาเลย ผิดบ้างถูกบ้างก็แล้วแต่ความยากของเท็กซ์และความสามารถของ AI แต่การที่ในไม่กี่วิก็พอเก็ตสาระสำคัญของข้อความแล้วเนี่ย สะดวกสุด ๆ เลยใช่มั้ยละคะ
แต่แน่นอนว่า การที่คำแปลโดย MT เนี่ย มัน "ถูกบ้างผิดบ้าง" ก็เป็นปัญหาไม่น้อยเลยค่ะ และเป็นสาเหตุว่า ทำไมถึงต้องมีนักแปลที่เป็นคนนั่นเอง
ในฐานะนักแปล เราทำงานร่วมกับ AI ได้อย่างไรบ้าง?
เทคนิคสำคัญ 2 ข้อที่เราในฐานะนักแปลมนุษย์จะนำมาใช้ในการทำงานกับ MT ได้แก่ Pre-editing และ Post-editing ค่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่า 2 เทคนิคนี้เป็นอย่างไร
Pre-editing
Pre-editing คือ การปรับข้อความต้นทางเพื่อช่วยให้ MT แปลได้ง่ายขึ้นค่ะ ซึ่งเทคนิคนี้มีประโยชน์มาก ๆ เวลาใช้กับงานแปลที่ใช้ภาษาซับซ้อน หรือภาษาทางการมาก ๆ เช่น ภาษากฏหมาย หรือ terms of service ค่ะ เทคนิคการ Pre-editing มีอะไรบ้าง ตามมาดูกันค่ะ ⇙⇙
1. ใช้ประโยคเกริ่นล่วงหน้า
หรือเรียกว่า 前ぶれ文 นั่นเองค่ะ (前ぶれ แปลว่า เตือน/แจ้งล่วงหน้า) คือการช่วยให้ MT เข้าใจประเด็นสำคัญได้ง่ายขึ้นด้วยการเอาประโยคที่เป็นส่วนสำคัญหรือใจความมาแปะเกริ่นไว้ด้านหน้า
2. หั่นประโยคให้สั้นลง
ภาษาญี่ปุ่นมีความเป็นเอกลักษณ์คือ ยาวเฟื้อยได้เรื่อย ๆ เลยจ้าาา เช่นพวกรูป て ที่คนนิยมใช้ในเวลาพูด て、て、て กว่าจะจบคือผ่านไปสิบ て แต่ประโยคพวกนี้ พอเอาให้ MT แปลคืออ๊องเลย เพราะบางทีประโยคยาวเกินจน MT แยกไม่ออกว่ากริยาไหนใครเป็นคนทำ กลายเป็นว่าเติมประธานเข้ามาเอง หรือจับคู่ประธานกับกริยาตามใจฉันจนเพี้ยนไปหมด
วิธีช่วยเหลือ MT อย่างหนึ่งก็คือการแบ่งหรือทำให้ประโยคสั้นลงนั่นเองค่ะ ซึ่งอาจจะทำโดยการใส่คำเชื่อม ใส่(、)แบ่งวรรคตอน หรือย่อยประโยคยาวเฟื้อยให้เหลือเป็นประโยคสั้นหลายอันก็ได้ค่ะ
3. เอาประธานกับกริยามาใกล้ชิดกันอีกนิด
พอประธานกับกริยาอยู่ไกลกันเกินไป MT ก็จะทำให้เริ่มหลง ๆ งง ๆ หากริยาของประธานนี้ไม่เจอ หรือเจอกริยาแต่ไม่รู้ใครเป็นประธาน ดังนั้น การเรียบเรียงใหม่โดยเขยิบประธานไปใกล้กับกริยาก็จะช่วยแก้ข้อผิดพลาดตรงนี้ได้ค่ะ
4. ส่วนหลักกับส่วนขยายก็ต้องไม่ไกลกัน!
เช่นเดียวกันกับเทคนิคข้อ 3 ส่วนหลักกับส่วนขยายก็เอามาใกล้ ๆ กันจะดีกว่า เพราะภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะเป็น 前置型 (วางส่วนขยายไว้หน้า) ถ้าส่วนหลักกับส่วนขยายอยู่ห่างกันเกินไป ก็จะทำให้เครื่องเข้าใจผิด และแปลผิดเพี้ยนไปได้ค่ะ
Pre-edit กันเสร็จแล้ว แต่เอ๊ะ! งานแปลของเราของแปลก ๆ อยู่เลย
เนี่ยแหละค่ะ
ถึง MT จะฉลาดแค่ไหน แต่ก็ใช่ว่าจะแปลได้เลิศเลอจนเราตกกระป๋อง
ถึงต้องมีอีกเทคนิคที่เรียกว่า Post-editing นั่นเอง!
Post-editing
Post-editing คือ การปรับแต่งข้อความปลายทางเพื่อทำให้มั่นใจว่างานแปลของเราถูกต้องและแม่นยำค่ะ ถึงจะ pre-edit ไปแล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะพอนะคะ ในงานแปลเนี่ย มีหลายอย่างเลยที่สมอง AI สู้สมองของคนเราไม่ได้ ซึ่งเห็นชัดสุด ๆ คือ อรรถรส
สมมติเช่น เราอยากจะแปลสโลแกน [Have a Break. Have a Kit Kat]
ถ้าเราโยนเข้าเครื่อง จะได้มาว่า "หยุดพัก มีคิทแคท"
??????
ถ้าเกิดเราเป็นคนรับผิดชอบให้แปลสโลแกนแล้วส่งคำแปลแบบนี้ไปให้บอส
มีหวังโดนไล่ออกแหง ๆ 5555555
งั้นเราลองมาดูว่า คำแปลออฟฟิเชียลในภาษาไทยคืออะไร
"คิดจะพัก คิดถึงคิทแคท"
หลาย ๆ คนคงจะคุ้นด้วยใช่มั้ยคะ สโลแกนนี้
ลองนึกว่า ถ้า "หยุดพัก มีคิทแคท" เป็นสโลแกนจริง จะติดหูคนเราขนาดนี้รึเปล่านะ
เนี่ยนะเองคือเหตุผลว่าทำไมถึงต้องมีนักแปลที่เป็นคน
เพราะอะไรแบบนี้ MT ทำแทนเราไม่ได้นั่นเองค่ะ ( •̀ ω •́ )✧
พอได้เรียนเทคนิคทั้ง pre&post-editing ไปแล้ว หลังจากนี้ก็ต้องฝึกใช้เยอะ ๆ ให้ชิน เพราะน่าจะช่วยให้ชีวิตสบายขึ้น 5555 หวังว่าเทคนิคที่นำเสนอในบล็อกวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนเหมือนกันนะคะ~
#เรื่องเล่าท้ายคาบ สัปดาห์นี้ ขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้ค่ะ
ヾ(^▽^*)))
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in