สวัสดีค่า~(●ˇ∀ˇ●)
🖐 ทุกคนสบายดีกันมั้ยคะ? 🖐
ก่อนจะเข้าประเด็นวันนี้ มีเรื่องตลก ๆ จะมาเล่าให้ฟังด้วยแหละค่ะ
เรื่องมีอยู่ว่า ตอนสมัยม.ปลาย เพื่อน ๆ กลุ่มหนึ่งในห้องได้ไปแลกเปลี่ยนที่เกียวโตกันค่ะ
แน่นอนว่าได้ไปเที่ยวถึงญี่ปุ่น ทุกคนก็ดี๊ด๊าสุด ๆ เม้าสนั่นลั่นรถตู้กันเลย
แต่ในรถตู้นั้นไม่ได้มีแต่คนไทยน่ะสิ! มีเพื่อน ๆ ต่างชาติด้วยอีกหลายคน รวมถึงคนญี่ปุ่นด้วยค่ะ
ในขณะที่ชาวไทยเรากำลังคุยกันอย่างเมามันนั้นเอง ก็มีเพื่อนญี่ปุ่นคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่า—
「タイ人って仲がいいよね」
ชาวไทยเราก็ตาโตเลยสิคะ โอ้ เค้าชมว่าเราสนิทกันด้วยแหละ~ヾ(≧ ▽ ≦)ゝ
ก็เลยตอบไปอย่างไร้เดียงสาว่า
「ありがとう!」
ผลคือ กว่าจะรู้ว่าโดนเค้าหลอกด่าว่าพวกหล่อนพูดมาก น่ารำคาญจริง ๆ ! ก็ตอนที่เข้ามหาลัยกันแล้วค่ะ 5555555555555
ตอนนั้นน่าจะประมาณปี2 ที่ได้เรียนเรื่องการพูดอ้อม ๆ สไตล์คนญี่ปุ่น
ลองทายสิคะว่าคนแถวไหนในญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเรื่องการพูดอ้อม (aka หลอกด่า) ที่สุด?
ปิ๊งป่อง*:・゚✧
คนเกียวโตเองจ้า
แล้วเดอะแก๊งเพื่อนเราไปแลกเปลี่ยนที่ไหนกันคะ? เกียวโตน่ะสิ ถูกแจ็กพ็อตไปอีกกกก 55555555
พอเวียนมาเรียนเรื่องการพูดอ้อม ๆ อีกทีไร ก็อดนึกถึงเรื่องฮา ๆ นี้ไม่ได้เลยค่ะ
ก็เลยอยากเอามาตั้งประเด็นเขียนบล็อกเรื่อง การพูดอ้อมโลกของคนญี่ปุ่น
คนญี่ปุ่นน่าจะเป็นชาติหนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องการพูดอ้อมสุด ๆ เลยก็ว่าได้ ไม่ใช่แค่คนเกียวโตะนะคะ ประโยคพูดอ้อมบางประโยคก็ใช้กันบ่อยจนเป็นเรื่องธรรมดากันไปแล้วค่ะ ลักษณะการพูดอ้อมแบบนี้มีชื่อเรียกหลายแบบเลยค่ะ เช่น
遠回し、婉曲、間接的、差し障りない ค่ะ
แล้วทำไมต้องพูดอ้อมด้วยล่ะ?
เพราะคนญี่ปุ่นแคร์ความรู้สึกของผู้ฟังหรือคู่สนทนาตัวเองมาก ๆ ค่ะ ต้องเลือกสรรคำที่ไม่ทำร้ายจิตใจหรือความรู้สึกของผู้ฟัง แล้วไม่ใช่แค่ตอนพูดเรื่องเชิงลบนะคะ! บางครั้งเราอยากพูดด้วยความหวังดี แต่ก็ต้องระวังเช่นกัน เพราะคำพูดแม้จะเจตนาดีของเราอาจจะเผลอไปทำให้อีกฝ่ายลำบากใจก็ได้ค่ะ (เพราะกลายเป็นว่าเราไปบังคับให้อีกฝ่ายแบกเราความรู้สึกของเราแทน)
ดังนั้นคนญี่ปุ่นก็เลยเลือกเก็บความรู้สึกจริง ๆ เอาไว้ข้างใน แล้วเลือกพูดตามแบบที่คิดว่าจะไม่ทำให้อีกฝ่ายอึดอัดหรือไม่สบายใจแทนค่ะ
เราลองมาดูตัวอย่างการพูดอ้อม ๆ ที่เจอบ่อย และน่าสนใจในแต่ละสถานการณ์กันค่ะ!
1. ตอนให้ของคนอื่น
การให้ของคนอื่นเป็นสถานการณ์หนึ่งที่คนญี่ปุ่นระวังการใช้คำพูดมากเลยค่ะ ปกติแล้วเวลาเราให้ของ เราก็จะใช้คำสวย ๆ พรรณนาของที่เราให้ให้ดูดี คนรับจะได้ประทับใจใช่มั้ยคะ?
แต่ในกรณีคนญี่ปุ่นดันตรงกันข้ามเลยค่ะ เพราะเค้าดันกังวลไปว่า ถ้าเราพูดแบบนี้จะไปทำให้คนฟังลำบากใจ+คิดมากไปเสียนี่ "โอ้ไม่นะ เธอลำบากขนาดนี้เพื่อซื้อของมาให้ฉันเหรอ" กลายเป็นว่าเราทำให้เค้าเกรงใจเกินเหตุ+รู้สึกแย่ไปซะงั้น
เพราะงั้นคำเกริ่นก่อนให้ของยอดนิยมของชาวญี่ปุ่นเลยมักจะถ่อมตัวและของที่จะให้ค่ะ เช่น
- つまらないものですが
- お口に会えばいいのですが
- 心ばかりのものですが
2. ตอนปฏิเสธ
การปฏิเสธไม่ให้เสียน้ำใจอีกฝ่ายนี่ เอาจริง ๆ แล้วไม่ว่าวัฒนธรรมไหนก็มีเหมือนกันหมดนะคะ แต่สไตล์การปฏิเสธคนญี่ปุ่นเนี่ย บางจุดก็แหวกแนวเกินไปจนน่าปวดหัวจริง ๆ 😂 อย่างเช่น
- เวลาชวนคนไปเที่ยว แล้วได้คำตอบว่า「行けたら行くね」สรุปแล้วไปไม่ไป?? ความน่าปวดหัวนี้คนญี่ปุ่นเองก็เจอค่ะ เพราะเดาไม่ได้จริง ๆ ว่าจะไปมั้ย แต่ส่วนใหญ่ถ้าเจอประโยคนี้ คนมักจะอนุมานกันแล้วว่า "ไม่ไป" ค่ะ เพราะnuanceของประโยคนี้มันสื่อเป็นนัย ๆ ว่า 行けるけど行く気がない
- ส่วนมากตอนปฏิเสธ คนญี่ปุ่นมักจะเกริ่นเหมือนจะตอบรับ/ตอบตกลงไปก่อนค่ะ เช่น ขอบคุณที่เอาขนมมาให้นะคะ แล้วค่อยใส่เหตุผลที่ปฏิเสธลงไป แต่ช่วงนี้ท้องไส้ไม่ค่อยดีเลยค่ะ (最近胃の調子が悪くて)
3. ตอนตำหนิ/ตักเตือน
ประโยคที่เจอใช้ในสถานการณ์นี้ มีเยอะจนนับไม่ถ้วนเลยค่ะ หลายประโยคก็ใช้กันแพร่หลายจนเป็นที่รู้กันเองได้เลยว่าเค้าหมายถึงอะไร เช่น
- 良い時計してますね
เหมือนจะชมนาฬิกาใช่มั้ยคะ? แต่จริง ๆ กำลังบอกให้เรารู้ตัวว่าเธอเกินเวลาแล้วนะ ดูเวลาหน่อย - お茶漬け出しましょうか
อย่าเผลอไปตอบ はい เชียวล่ะ! เพราะเค้ากำลังบอกเป็นนัยว่า เธออยู่นานไปแล้วนะ กลับไปได้แล้ว
แต่แน่นอนว่าอาจจะไม่ใช่ทุกคนที่ใช้ประโยคเหล่านี้ในความหมายเหน็บแนมก็ได้นะคะ ยังไงก็ต้องดูน้ำเสียงและเจตนาของคนพูดด้วย แต่รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม เผื่อตอนโดนเค้าไล่จริง ๆ จะได้รู้ทันนะคะ 555555
4. ตอนบอกรัก
ไหน ๆ วันนี้ก็วันวาเลนไทน์แล้ว ขอโยงเข้าหน่อยแล้วกัน เราน่าจะได้ยินกันบ่อยใช่มั้ยคะว่าคนญี่ปุ่นขี้อาย เพราะงั้นบางคนก็ไม่กล้าพูดว่าชอบตรง ๆ ค่ะ หรือบางครั้ง กลายเป็นว่าการบอกชอบตรง ๆ ก็ธรรมดาเกิน ไม่กินใจเอาเสียเลย งั้นเรามาลองดูกันค่ะว่าประโยคบอกรักที่ไม่มีคำว่ารัก แต่หวานซึ้งไม่แพ้กันมีอะไรบ้าง
- ○○とずっと一緒にいたいな~
- 毎日のように○○が夢に出てくるよ!
- このまま時間が止まってくれたらいいのに
มีใครที่เคยโดนพูดประโยคพวกนี้ใส่ แต่ตอนนั้นไม่เก็ตสิ่งที่เค้าอยากสื่อบ้างมั้ยคะ? 🤣
พอนึกย้อนไปแล้ว ก็เริ่มอยากรู้ขึ้นมาเลยนะคะว่าคนญี่ปุ่นเค้าหงายเงิบกับคำตอบใสซื่อของเราบ้างมั้ย
ไม่รู้ถือว่าไม่ผิดค่ะ แต่ตอนนี้รู้แล้วก็ต้องจำให้ดี
ไม่ใช่แค่ตอนโดนพูดใส่ แต่ตอนเป็นฝ่ายพูดก็ต้องคำนึงถึงผู้ฟังมาก ๆ อย่าลืมใส่ประโยคเกริ่นและประโยคถ่อมตัว
เรื่องนี้น่าสนใจมาก เลยขอแบ่งเป็น 2 พาร์ท โดยพาร์ทหน้าจะพูดถึงการพูดอ้อมแบบฉบับชาวเกียวโตโดยเฉพาะ แถมเจาะประเด็นว่า ทำไมคนเกียวโตถึงชอบพูดอ้อม ด้วยค่ะ อาจจะไม่ยาวเท่าบล็อกนี้ ยังไงก็รอติดตามกันด้วยนะคะ(u‿ฺu✿ฺ)
#เรื่องเล่าท้ายคาบ สัปดาห์นี้ ขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้ค่ะ
ヾ(^▽^*)))
แหล่งอ้างอิง
https://cancam.jp/archives/539370
https://omocoro.jp/kiji/136981/
https://rennai-up.com/toomawashinikokuhaku-kotoba/
https://www.nippon.com/ja/news/fnn20190904001/
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in