สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับกลับมาสู่บล็อกที่แอบปล่อยร้างไปสองอาทิตย์กว่า 555 (ノ◕ヮ◕)ノ*:・゚✧
วันนี้กลับมาแล้วค่า☆⌒ และจะมาพูดถึงเรื่อง "การเป็นผู้ฟังที่ดี" กันค่ะ
ปกติเราจะโฟกัสกันที่การเป็นผู้พูดที่ดีกันใช่มั้ยคะ
แต่การเป็นผู้ฟังที่ดีเนี่ย ก็สำคัญไม่น้อยกว่าการพูดเลยนะ
เพราะงั้นในบล็อกวันนี้ เรามาลองเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันดีกว่าค่ะ ว่าสเต็ปง่าย ๆ สู่การเป็นผู้ฟังที่ดีมีอะไรกันบ้าง ヽ(✿゚▽゚)ノ
Steps สู่การเป็นผู้ฟังที่ดี
คีย์หลักของการเป็นผู้ฟังที่ดีมี 2 ข้อ ↴
■ ทำให้ผู้พูดรู้สึกดีกับการพูด/รู้สึกว่าพูดง่าย อยากพูดอีก
■ ทำให้บทสนทนาลื่นไหล
ในฐานะผู้ฟัง หน้าที่สำคัญของก็คือ ตั้งใจฟัง และพยายามแสดงให้ผู้พูดเห็นว่าเราเข้าใจและสนใจสิ่งที่เค้าพูด เมื่อผู้พูดเห็นเจตนาของเรา ก็จะทำให้บทสนทนาไม่ขาดตอน และดำเนินไปอย่างลื่นไหล ซึ่งวิธีไม่ยากในการเป็นผู้ฟังที่ดีมีดังนี้
① การใช้ あいづち
- あいづち หรือ คำขานรับ/ตอบรับผู้พูด เป็นสิ่งที่เจอบ่อยมากในภาษาญี่ปุ่น โดยเฉพาะพวกคำแสดงรีแอคชั่นต่าง ๆ อย่าง ねー、ほー、わー
- มี 2 ประเภทคือ 発話促進型あいづち (あいづちส่งเสริม เช่น うん、はい) และ 理解表示型あいづち (あいづちแสดงค.เข้าใจ เช่น なるほど)
② ตั้งคำถาม・แสดงความคิดเห็น
- บางทีการถามกลับ/แสดงความคิดเห็นก็เป็นการแสดงให้ผู้พูดรู้ว่า โอ้ คน ๆ นี้ตั้งใจฟังจริง ๆ สินะ หรือคน ๆ นี้สนใจสิ่งที่ฉันพูดสินะ ทำให้ผู้พูดกระตือรือร้นอยากจะพูดอีก
- แต่ก็ต้องระวัง!ด้วยว่า การตั้งคำถามหรือแสดงความเห็นของเราเนี่ยถูกกาลเทศะมั้ย แล้วก็ต้องไม่ลืมที่จะรักษามารยาทและความสุภาพด้วย
- นอกจากนี้ จังหวะก็สำคัญนะ บางทีเราเว้นเงียบไปนาน ผู้พูดก็อาจจะคิดว่า เราไม่มีอะไรพูดแล้ว แต่เราดันสวนถามไป อาจจะกลายเป็นว่าเราไปแทรกผู้พูดซะงั้น ถ้ามีคำถามหรืออยากแสดงความเห็น แต่จังหวะมันไม่ได้ ก็เก็บเอาไว้รอตอนที่ผู้พูดพูดจบแล้วดีกว่า ห้ามแทรกเด็ดขาดนะ!
③ การใช้ オウム返し
- オウム返し คือ การทวนสิ่งที่ผู้พูดพูดออกมา หรือการเอาคีย์เวิร์ดสำคัญจากสิ่งที่ผู้พูดพูดมาพูดซ้ำ เช่น A「最近引っ越ししたんですよ」B「え、引っ越しされたんですか?」
- การใช้เทคนิคนี้ จะแสดงให้ผู้พูดรับรู้ว่า เราตั้งใจฟังอยู่นะ
④ การใช้ 感情表現
- การใช้ 感情表現 อย่างเหมาะสมเป็นวิธีสำคัญที่ช่วยแสดงถึงอารมณ์ร่วมของผู้ฟัง เช่น ตอนตกใจ 「え、本当!?」หรือตอนดีใจ 「それすごいね!」
- วิธีนี้สำคัญมาก ๆ เพราะอารมณ์ร่วมของผู้ฟังจะส่งผลต่อความกระตือรือร้นอยากพูดของผู้พูด ลองนึกภาพถ้าเราไปเม้ากับเพื่อน แต่เพื่อนแค่พยักหน้าเฉย ๆ ไม่แสดงอารมณ์อะไรเลย เราก็คงไม่อยากพูดต่อ หรืออาจจะกลัวว่า เรื่องที่เราพูดน่าเบื่อรึเปล่า
4 วิธีที่เอาไปปฏิบัติตามได้ไม่ยากนี้น่าจะสนใจมาก ๆ ไม่ใช่แค่บทสนทนาระดับกันเอง แต่แม้กระทั่งการสนทนาระดับทางการก็ยังเอาไปใช้ได้ เพราะฉะนั้น เราเลยคิดว่าเป็นข้อมูลที่พอเรียนแล้ว ก็อยากจะเอามาเขียนบล็อกเพื่อเผยแพร่ต่อมาก ๆ ค่ะ
หลังจากนี้เอง เราก็จะลองเอาไปปรับใช้เหมือนกัน ซึ่งส่วนตัวเราคิดว่า จุดที่ยากที่สุดคือ การหาจังหวะใช้ あいづち เนี่ยแหละ บางทีก็ไม่รู้จริง ๆ ว่าคนพูดจะหยุดพูดตรงไหน หรือที่เค้าเงียบไปเนี่ย พูดจบรึยังนะ
#บ๊ายบายสำหรับบล็อกนี้ค่า(^^ゞ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in