เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
สาระมีอยู่จริงTanwalai Yoongkieo
Minority Influence
  •            การตัดสินใจในปัจจุบัน เรามักจะเลือกใช้วิธีการโหวตหรือการตัดสินจากประชาธิปไตยเป็นหลัก โดยเลือกคำตอบจากเสียงส่วนมาก และละเลยเสียงส่วนน้อย

    แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าคำตอบนั้นเป็นคำตอบที่ถูกต้อง ? เราเชื่อเสียงข้างมากได้จริงๆหรือ ? 


    หากเราเชื่อและสนใจแต่เสียงข้างมาก ถ้าอย่างนั้นเสียงส่วนน้อยจะมีไปทำไม?

              ในบางครั้งเสียงส่วนมากอาจไม่ได้ถูกเสมอไป บางทีการที่เรายอมรับฟังเสียงส่วนน้อย เราอาจจะได้รับรายละเอียดเพิ่มเติม และตัดสินใจได้อย่างถูกต้องมากกว่าการที่สนใจเพียงแต่เสียงส่วนมาก 


     ตัวอย่างที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ คือหนังเรื่อง 12 Angry Men  

              12 Angry Men เป็นหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการตัดสินคดีฆาตกรรม ซึ่งมีเด็กชายอายุ 18 ปีถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ฆ่าพ่อตัวเอง เด็กชายคนนี้เกิดและเติบโตในสลัมและเสียแม่ไปตอนอายุ 9 ขวบ ในการตัดสินคณะลูกขุนลงคะแนนให้เสียงตัดสินผิด : ไม่ผิด เป็น 11 ต่อ 1 ในตอนแรก ซึ่งการตัดสินจะสิ้นสุดได้ต่อเมื่อคะแนนเสียงเป็นเอกฉันทน์เท่านั้น แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไร ลูกขุนคนที่โหวตให้เด็กชายไม่ผิดก็ยังคงยืนหยัดในความคิดและความเชื่อตัวเอง ไม่ยอมคล้อยตามเสียงส่วนมาก พร้อมทั้งเสนอข้อมูลประกอบเหตุผลการเลือกของเขา จนสุดท้ายเขาซึ่งเป็นเสียงส่วนน้อยกลับทำให้เสียงส่วนใหญ่เปลี่ยนใจได้


           
             จากเหตุการณ์ในหนังที่เกิดขึ้นนี้ เราเรียกมันว่า "อิทธิพลของเสียงส่วนน้อยหรือ Minority Influence" นั่นเอง
             
              Minority Influence (Moscovici , Lage & Naffrechoux ,1969)  คืออิทธิพลของคนกลุ่มน้อยที่สามารถทำให้คนส่วนใหญ่คล้อยตามได้ โดยที่เสียงส่วนน้อยนี้จะต้องเป็นกลุ่มคนที่ยืนหยัดในความคิดของตนเองและมีข้อมูลที่มีเหตุผลและน่าเชื่อถือ 


    Key is consistency  

                คนที่เป็นเสียงส่วนน้อยมักจะยอมเปลี่ยนความคิดของตัวเองไปตามเสียงส่วนมาก จะเห็นได้ว่าในสังคม เสียงส่วนน้อยที่มักจะโอนอ่อนไปตามคำพูดของคนอื่น เมื่อออกมาแสดงความคิดเห็น มักจะถูกมองข้ามโดยคนส่วนมาก ในทางตรงกันข้าม หากคนส่วนน้อยกลุ่มนั้น ยังคงยืนหยัดในความคิดของตัวเอง และมีเหตุผลรองรับที่มากพอ เสียงส่วนมากก็มักจะรับฟังความคิดเห็นของคนกลุ่มนี้ ซึ่งเราเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า Minority Influence  

                เสียงส่วนมากมักจะสามารถชักจูงให้คนอื่นเห็นร่วมกับพวกเขาได้ ด้วยความที่เสียงส่วนมากนี้ เมื่อมาอยู่ในสังคม ก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานของสังคม (Normative Social Influence)  ทำให้ผู้คนที่เห็นด้วยกับความคิดนี้ กล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองออกมาอย่างชัดเจนและเปิดเผย 


              ในทางตรงกันข้าม กลุ่มคนที่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคนกลุ่มน้อย จะไม่กล้าแสดงความคิดเห็นออกมาอย่างชัดเจน เพราะกลัวว่าคนอื่นๆจะมองว่าเราแตกต่างไปจากบรรทัดฐานของสังคม 

              ดังนั้นเสียงส่วนน้อยที่จะสามารถเข้ามาอิทธิพลได้ จะเป็นกลุ่มคนที่มีข้อมูลหรือความคิดเห็นที่แปลกใหม่ มีเหตุมีผล ที่กลุ่มเสียงส่วนมากไม่เคยทราบมาก่อน (Informational Social Influence)  และไปกระตุ้นให้พวกเขากลับไปคิดทบทวนความคิดเห็นของตนเองอีกครั้งอย่างระมัดระวัง จนในที่สุดแล้วพวกเขาก็ตระหนักถึงความสำคัญของความคิดเห็นส่วนน้อย และนำความคิดเห็นเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้



               ในหนังเรื่องนี้มีลูกขุนหมายเลข 8 เป็นเสียงส่วนน้อย เขาเป็นเพียงคนเดียวที่ออกเสียงว่าเด็กชายผู้นั้นไม่ได้กระทำผิด ท่ามกลางเสียงส่วนใหญ่ที่คิดว่าเด็กชายนั้นเป็นคนที่ฆ่าพ่อของตนเอง


            ในตอนแรกลูกขุนคนอื่นๆต่างพยายามโน้มน้าวให้เขาเปลี่ยนความคิด โดยไม่สนใจที่จะรับฟังความคิดเห็นของลูกขุนหมายเลข 8 ก่อน แต่เขาก็ยังคงยืนหยัดในความคิดของตน ซึ่งตรงกับคุณสมบัติของคนกลุ่มน้อยที่จะสามารถมีอิทธิพลต่อเสียงส่วนมากได้
           ไม่เพียงเท่านั้น ลูกขุนหมายเลข8ยังได้เสนอหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ซึ่งทำให้ลูกขุนคนอื่นๆกลับไปคิดทบทวนความคิดของตนเองอีกครั้ง (Informational Social Influence)


              จนในที่สุด ลูกขุนคนอื่นๆก็เปลี่ยนความคิดมาคล้อยตามลูกขุนหมายเลข 8 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเสียงน้อยก็สามารถมีอิทธิพลได้ โดยเราจะเรียกปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ว่า Minority Influence


              จากหนังเรื่องนี้ทำให้เราเห็นว่า บางครั้งเสียงส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป เพราะเสียงส่วนใหญ่อาจจะเกิดจากการคล้อยตามกันของหมู่คณะโดยไม่ได้พิจารณาถึงเหตุผลให้ดีก่อน ในทางตรงกันข้ามเสียงส่วนน้อยอาจจะมีเหตุผลที่ถูกต้องมากกว่า 
             ในที่สุดแล้ว เราจึงควรที่จะรับฟังเสียงทั้งสองฝ่าย โดยเลือกพิจารณาที่เหตุและผล ว่าสิ่งใดถูกหรือผิด มากกว่าที่จะคล้อยตามผู้อื่น  

            

    เมื่อเรามีความคิดบางสิ่งที่คิดว่าถูกต้อง แต่กลับไม่เป็นไปตามสิ่งที่คนส่วนใหญ่คิด เราก็ควรแสดงความคิดเห็นนั้น พร้อมทั้งให้เหตุผล ไม่ใช่ปล่อยผ่านและยอมคล้อยตามคนส่วนใหญ่เพียงเพราะไม่กล้าพอ... '





เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
kt_exq (@kt_exq)
เป็นบทความที่ดีมากค่ะ บรรทัดฐานส่วนใหญ่คือเสียงส่วนมาก จึงทำให้เสียงส่วนน้อยไม่กล้าเเสดงความเห็นเพราะเกรงความเเตกต่าง สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมในปัจจุบันซึ่งบางครั้งการยอมรับฟังความเห็นจากเสียงส่วนน้อยอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยเล็กๆที่สนับสนุนความเเม่นยำเเละถูกต้องเพิ่มมากขึ้น เกิดการคิดทบทวนเเละนำมาประยุกต์ใช้อย่างที่กล่าวมาข้างต้น
kcykhbd_ (@kcykhbd_)
บทความดีมากๆเลยค่ะ เปิดโลกมากๆบางทีเราสนใจเสียงข้างมากแต่ลืมเสียงข้างน้อยไป
Kob Oz (@kob_32645)
เห็นด้วยค่ะ บทความน่าสนใจและอ่านง่ายด้วย
Tam Leelapong (@fb1636077773072)
บทความดีมากๆเลยค่ะ เนื้อหาน่าสนใจและเขียนได้เข้าใจง่าย ตัวเนื้อหาเองก็สะท้อนสังคมได้ดี ชอบการที่วิเคราะห์จากภาพยนตร์ เพราะทำให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นและสามารถเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในสังคมได้โดยตรง
Panna Pun (@panna_pun)
บทความน่าสนใจมากเลยค่ะ เขียนดีมากๆเลย
Chanikarn Bam (@fb1484843548234)
บทความนี้เข้าใจง่าย เปิดมุมมองใหม่ๆ เป็นบทความที่ดีมากเลย
xxxabcdxyz (@xxxabcdxyz)
อ่านแล้วได้มุมมองใหม่ๆที่เราละเลยไป ทำให้เรากลับมาคิดว่าจริงๆเวลาที่เราเป็นเสียงส่วนน้อย เราก็ยังควรมีจุดยืนและเหตุผลอยู่ ไม่จำเป็นต้องคล้อยตามเสียงส่วนใหญ่เสมอไป
riner_p (@riner_p)
เป็นบทความที่สะท้อนสังคมในปัจจุบันมากค่ะ ส่วนมากเราจะสนใจเฉพาะเสียงข้างมากกัน ทำให้เราละเลยกับความคิดเห็นจากเสียงส่วนน้อยไป
ppapapang (@ppapapang)
เห็นด้วยค่ะ เสียงส่วนมากอาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป เราควรเคารพรับฟังเสียงส่วนน้อยด้วย เป็นบทความที่ดีมากๆเลยค่ะ
shampoopatranit (@shampoopatranit)
อ่านเข้าใจง่ายดีค่ะ เขียนได้น่าสนใจ
muama_nita (@muama_nita)
จริงที่สุดค่า
natthawikan (@natthawikan)
ชอบมากๆ มีเหตุผลและเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เห็นในสังคม
Shifa Hayeehma (@shifa_2539_)
ชอบค่ะ อ่านแล้วทำให้ฉุกคิดเลยว่าทุกวันนี้เราละเลยเสียงส่วนน้อยไปทั้งๆที่ เสียงของพวกเขาอาจจะถูกต้องมากกว่า ทำมาอีกนะคะ :)
2017-04-22 20:1
memeeisissssss (@memeeisissssss)
ชอบบบ น่าสนใจมาก
Mon's Monday (@mon-funny-)
เป็นบทความที่น่าสนใจ และเข้าใจได้ง่ายมากเลยค่ะ รออ่านเรื่องต่อไปอยู่นะคะ :D