เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
CHINAhunhans26
ยุคสมัยราชวงศ์ของจีน
  • ราชวงศ์ฉิน (221-206 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จีนยุคจักรวรรดิ



    นักประวัติศาสตร์นิยมเรียกประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ ราชวงศ์ฉิน ถึง ราชวงศ์ชิง ว่าเป็นจีนยุคจักรวรรดิ ถึงแม้ว่าราชวงศ์ฉินจะมีอายุเพียงแค่ 12 ปี แต่พระองค์ได้วางรากฐานสำคัญของอารยธรรมชนเผ่าฮั่นไว้เป็นจำนวนมาก เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เสียนหยาง (咸陽) (บริเวณเมืองซีอานปัจจุบัน)

    พระเจ้าฉินสื่อหวงตี้ต้องการบังคับประชาชนให้ใช้มาตรฐานที่กำหนดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้การรวมประเทศสมบูรณ์ จึงเลือกใช้วิธีค่อนข้างบีบคั้นและรุนแรงด้วยการประหารเหล่าปัญญาชนที่ต่อต้านคำสั่งของพระองค์และสานุศิษย์ขงจื๊อ นอกจากนั้นยังออกคำสั่งเผาหนังสือในความครอบครองของขุนนางและชาวบ้านซึ่งมิใช่มาตรฐานของพระองค์ทั้งหมด แล้วเร่งเผยแพร่มาตรฐานของแผ่นดินโดยเร็ว

    สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของราชวงศ์ฉินคือ กำแพงเมืองจีน ซึ่งเป็นการต่อแนวกำแพงเก่าให้เป็นปึกแผ่น ฉินซีฮ่องเต้สร้างแนวปกกันพวกป่าเถื่อนจากทางเหนือโดยการสร้างกำแพงต่อเชื่อมกำแพงเดิมที่อยู่เดิม จากการก่อสร้างของรัฐต่าง ๆ สมัยจ้านกั๊ว การก่อสร้างนี้ทำให้กลายเป็นกำแพงขนาดยาวนับหมื่นลี้ จึงเรียกกำแพงนี้ว่า “กำแพงหมื่นลี้” ผลงานอื่นๆ ได้แก่ระบบกฎหมาย การเขียนหนังสือ ระบบเงินตรา เป็นต้น

    ฉินซีฮ่องเต้เปิดศึกกับกษัตริย์ของรัฐ ทั้ง 6 ประเทศในลุ่มน้ำเหลือง คือ หาน (韩) จ้าว (赵) เว้ย (魏) ฉู่ (楚) เยียน (燕) และฉี (齐) ในที่สุดการผนึกรวมรัฐต่างๆเป็นมหาอำนาจทาง ทหาร เศรษฐกิจ สังคม กล่าวคือมีการใช้ภาษาเขียนภาษาเดียวคือจีน มาตราชั่งตวง วัด การเงิน เป็นหน่วยเดียวกันทั่วประเทศ มีระบบความกว้างของถนนกว้างสำหรับรถม้า 2 คันสวนกันได้ ทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้แต่กำแพงเมืองจีน อนุญาตให้ประชาชนมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน จากเดิมที่ดินทั้งหมดเป็นของพระราชา ฉิน หาน จ้าว เว้ย ฉู่ เยียน และฉี ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จและการปกครองแบบรวบอำนาจที่ศูนย์กลาง (ยกเลิกระบบอ๋อง (กษัตริย์) ครองประเทศราช)

    หลังจากพระเจ้าฉินสื่อหวงตี้สวรรคต เกิดความวุ่นวายขึ้นในราชวงศ์ ทำให้เกิดกบฏมากมาย หลิวปังสามารถรบชนะราชวงศ์ฉินได้ แต่เซี่ยงอี้ถือโอกาศยึดอำนาจ แต่หลิวปังก็รบชนะได้และสถาปนาราชวงศ์ฮั่น

  • ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ. 220)



    เมื่อเล่าปังเอาชนะเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) โดยมีราชวงศ์ซินของอองมังมาคั่นเป็นระยะสั้นๆ ก่อนที่จะเกิดการฟื้นฟู ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวงอู่) โดยย้ายนครหลวงไปที่เมืองลั่วหยาง

  • ราชวงศ์ซิน (ค.ศ. 9-23)



    ราชวงศ์ซิน มีเป็นราชวงศ์สั้นๆ ผู้ก่อตั้ง คือ อองมัง ทรงได้อำนาจมาจากการปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดิฮั่น เมื่อเสด็จสวรรคต ราชวศ์ฮั่นก็ฟื้นฟูกลับขึ้นมาอีกครั้ง

  • ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 23-220)




    ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ที่ถูกกู้ขึ้นมา หลังถูกอองมังยึดอำนาจ เป็นราชวงศ์ฮั่นดังเดิม แต่ย้ายเมืองหลวงไปลั่วหยาง

    ช่วงเสื่อมของฮั่นตะวันออก เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) ขึ้นใน ค.ศ. 184 (พ.ศ. 727) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคขุนศึก หลังจากนั้นได้มีอาณาจักรสามแห่งตั้งประชันกัน โดยเรียกว่า ยุคสามก๊ก เป็นที่มาของวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก

    เนื่องจากความเจริญของชนชาติจีนในยุคราชวงศ์ฮั่น คนจีนจึงเรียกตัวเองว่าเป็น "ชาวฮั่น" สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

  • ยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220-280)



                          http://th.wikipedia.com

    เป็นยุคที่แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 3 ก๊ก โดยมีก๊กของ เล่าปี่, ก๊กของ โจโฉ และก๊กของ ซุนกวน ซึ่งต่างรบแย่งชิงความเป็นใหญ่ในแผ่นดินมังกรทอง เริ่มจากการที่พระเจ้าเหี้ยนเต้ ถูกบุตรชายโจโฉขับออกจากบัลลังก์ แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 3 แคว้น

    ค.ศ. 263 (พ.ศ. 806) ก๊กเล่าปี่ล่มสลาย

    ค.ศ. 265 (พ.ศ. 808) ก๊กโจโฉถูกขุนศึกภายในชื่อ สุมาเอี๋ยน ยึดอำนาจ และสุมาเอี๋ยนก่อตั้งราชวงศ์จิ้น และเริ่มครองราชย์ในนามราชวงศ์จิ้น

    ค.ศ. 280 (พ.ศ. 823) ก๊กซุนกวนล่มสลาย สุมาเอี๋ยนครองแผ่นดินจีนได้สมบูรณ์

  • ราขวงศ์จิ้น


    ราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265-317)



    สุมาเอี๋ยน (司马炎) สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตี้ ก่อตั้งราชวงค์จิ้นตะวันตกใน ปีคริสต์ศักราช 265 (พ.ศ. 808) แทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือโจโฉ เมื่อถึงปีค.ศ. 280 (พ.ศ. 823) จิ้นตะวันตกปราบง่อก๊กลงได้ รวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น ยุติยุคสามก๊กลง ราชวงศ์จิ้นได้เปิดรับเผ่านอกด่านทางเหนือเข้ามาเป็นจำนวนมาก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนู หลิวหยวน(刘渊)ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่า ฮั่นกว๋อ(汉国)ภายหลังหลิวหยวนสิ้น บุตรชายชื่อหลิวชง (刘聪)ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้ (晋怀) เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา


    ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420)



    การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้ สถาปนา ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420 หรือ พ.ศ. 860-963) ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้นของชนเผ่าต่างๆ 16 แคว้น โดยเรียกยุคนี้ว่า ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น เป็นยุคสั้นๆ ที่เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของชาวจีนเชื้อสายต่างๆ

  • ราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ. 420-581)




    หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265 – 316 หรือ พ.ศ. 808-860) ภาคเหนือของจีนก็ตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่าของยุค 16 แคว้น จวบจน ค.ศ. 386 หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียนเปยได้สถาปนาแคว้นเป่ยวุ่ย (北魏)และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง (ปัจจุบันคือเมืองต้าถงในมณฑลซันซี) ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือใน ค.ศ. 439 (พ.ศ. 982)

    เมื่อถึงปีค.ศ. 581 (พ.ศ. 1124) หยางเจียนปลดโจวจิ้งตี้(周静帝)จากบัลลังก์ สถาปนาราชวงศ์สุย (隋)จากนั้นกรีธาทัพลงใต้ ยุติสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้เป็นผลสำเร็จ

    เพิ่มเติม ทางฝ่ายเหนือก่อนที่ราชวงศ์จิ้นจะพบจุดจบ ทางเผ่าอนารยชน เผ่าเชียง เผ่าซวงหนู เผ่าตี เผ่าเซียนเป่ย (ที่แบ่งออกเป็น ตระกูลมู่หยงและตระกูลทัวปา) หลังจากฝูเจียนอ๋องแห่งแคว้นเฉียนฉินพ่ายแพ้ที่แม่น้ำเฝ่ยสุ่ย ก็เริ่มอ่อนแอลง โดยได้มีการกล้าแข็งขึ้นของกลุ่มที่เหลือ และฝูเจียนได้ตายโดยน้ำมือของเหยาฉัง และทางแดนเหนือ (ที่ว่านี้เป็นแดนที่อยู่เหนือ แม่น้ำแยงซีเกียง) ก็เป็นการช่วงชิงกันระหว่ง มู่หยงย่ง เหยาฉัง มูหยงฉุย (ตระกูลทัวปาเริ่มก้าวขึ้นมาอย่างเงี้ยบๆ) โดยมูหยงฉุยกวาดล้าง มู่หยงหย่งก่อน แล้ว โดนทัวปากุยทำให้พ่ายแพ้ โดยตามประวัติศาสตร์แล้ว ทัวปากุยเป็นโจรปล้นชิงม้ามาก่อนที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในแดนเหนือ

    อีกฝ่ายทางใต้นอกจากทัวปากุยทางแดนใต้ ต้องเริ่มจากการชนะศึกที่แม่น้ำเฝยสุ่ยของทัพจิ้น และผู้ปรีชาของจิ้นอันได้แก่ เซี่ยอานมหาเสนาบดี และจอมทัพเซี่ยเสียน ล้มตายลง ทางทัพของซุนเอินได้ก่อหวอด บวกกับทัพแดนจิงโจวของหวนเศียน ได้ทำการก่อกบฏ โดยมีวีรบุรุษในตอนนั้น หลิวอวี้ที่พากเพียรจากทหารตำแหน่งเล็ก ๆในกองทัพเป่ยพู และได้ไต่เต้าขึ้นจนเป็นผู้นำในกองกำลังเป่ยพู และภายหลังได้บีบให้ตระกูลซือหม่า สละบัลลังก์ และได้ก่อตั้งราชวงศ์ใต้ที่มีชื่อว่าราชวงศ์ซ่ง และได้ยกทัพตีชิงแดนเหนือแต่เกิดเหตุ หลิวมู่จือคนสนิทเสียชีวิตระหว่างที่กำลังบุกตีขึ้นเหนือ

    หมายเหตุเนื่องจากการพ่ายแพ้ของฝูเจียน ทำให้การรวมแผ่นดินล่าช้าไปเกือบสองร้อยปี

  • ราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618)




    สุยเหวินตี้ฮ่องเต้ ได้รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรสคือสุยหยางตี้ไม่มีความสามารถ ทำให้ซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผู้ปกครองหัวเมืองต่างตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งอำนาจกัน ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาลเช่นกัน (พ.ศ. 1124 - 1160) (ค.ศ. 581-617)

    ภายหลังการรวมแผ่นดินของราชวงศ์สุย สภาพสังคมโดยรวมได้รับการฟื้นฟูจากภาวะสงคราม มีการเติบโตด้านการผลิต เกิดความสงบสุขระยะหนึ่ง สุยเหวินตี้ ได้ดำเนินการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยยุบรวมเขตปกครองในท้องถิ่น ลดขนาดองค์กรบริหาร รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ฮ่องเต้กุมอำนาจเด็ดขาดทั้งในทางทหาร การปกครองและเศรษฐกิจ โดยมีขุนนางเป็นเพียงผู้ช่วยในการบริหาร

  • ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907)




    หลี่หยวน (หลี่เอียน) หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือที่แดนไท่หยวน และได้บุตรชายคนรองหลี่ซื่อหมิน ทำการชนะศึกอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน (เมืองฉางอันเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ อาทิ ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์จิ้นตะวันออก) ผู้นำของแค้วนถังได้สถาปนาตัวเองเป็นอิสระจากสุยหยางตี้ และได้ชัยชนะเด็ดขาดจากแคว้นอื่นๆ ในที่สุด ภายหลัง โอรสองค์รองหลี่ซื่อหมินยึดอำนาจจากรัชทายาท หลี่เจี้ยนเฉิง และโอรสองค์ที่สามหลี่หยวนจี๋ ในเหตุการณ์ที่ประตูเสียนอู่ สุดท้ายหลี่เอียนสละราชสมบัติ หลี่ซื่อหมินขึ้นเป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ และเริ่มยุคถัง ซึ่งรุ่งเรืองเทียบได้กับยุคฮั่น เป็นยุดที่มีความรุ่งเรื่องทั้งทางด้าน แสนยานุภาพทางทหาร การค้า ศิลปะ ๆลๆ มีนครหลวงฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ราชวงศ์ถังมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชวงศ์ฮั่นมาก นอกจากจักรพรรดิถังไท่จงแล้วในสมัยถังนี้ยังมีจักรพรรดิถังสวนจง ซึ่งในสมัยของพระองค์กวีรุ่งเรื่องมาก นับว่าในสมัยของพระองค์ยังเป็นยุดรุ่งเรื่องและเสื่อมลงเพราะปลายสมัยของพระองค์ ทรงลุ่มหลงหยางกุ้ยเฟย ไม่สนใจในราชกิจบ้านเมือง และในระหว่างได้เกิดฮ่องเต้หญิงคนแรกของประเทศจีน ซึ่งก็คือ พระนางบูเช็กเทียน อานลู่ซานแม่ทัพชายแดนจึงก่อการปฏิวัติและยึดเมืองหลวงฉางอานเป็นป็นผลสำเร็จ ทำให้ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมตั้งแต่บัดนั้นราชวงศ์ถังมีระยะเวลาอยู่ช่วงราวๆ พ.ศ. 1161-1450 (ค.ศ. 618-907)

  • ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร (ค.ศ. 907-960)




    ตอนปลายราชวงศ์ถังมีการก่อกบฏประชาชนตามชายแดน ขันทีครองอำนาจบริหารบ้านเมืองอย่างเหิมเกริม มีการแย่งชิงอำนาจกัน แม่ทัพจูเวิน (จูเฉวียนจง) สังหารขันทีทรงอำนาจในราชสำนัก แล้วสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุด บรรดาหัวเมืองต่างๆมีการแบ่งอำนาจกันเป็นห้าราชวงศ์ สิบอาณาจักร คือ ราชวงศ์เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น และโจว โดยปกครองแถบลุ่มน้ำฮวงโหติดต่อกันมาตามลำดับ ส่วนเขตลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงกับดินแดนทางใต้ลงไปเกิดเป็นรัฐอิสระอีก 10 รัฐ รวมเรียกว่า สิบอาณาจักร การแบ่งแยกอำนาจปกครองยุคนี้ขาดเสถียรภาพ ชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยความลำบากยากแค้น ต่อมา เจ้าควงอิ้น ผู้บัญชาการทหารองครักษ์ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจวตั้งตนสถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเป็น พระเจ้าซ่งไท่จู่ แล้วปราบปรามรวมอาณาจักรเรื่อยมา จนกระทั่งพระเจ้าซ่งไท่จง ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ปิดฉากสภาพการแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดลงสำเร็จโดยใช้เวลาเกือบ 20 ปี

  • ราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1279)



    ปีค.ศ. 960 (พ.ศ. 1503) เจ้าควงอิ้นหรือพระเจ้าซ่งไท่จู่ สถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเหนือ เมืองหลวงอยู่ที่ไคฟง (มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) รวบรวมแผ่นดินจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวสำเร็จ แล้วใช้นโยบายแบบ “ลำต้นแข็ง กิ่งก้านอ่อน” ในการบริหารประเทศ ปฏิรูปการปกครอง การทหาร การคลัง อันมีประโยชน์ในการสร้างเสถียรภาพแก่อำนาจส่วนกลาง แต่ส่วนท้องถิ่นกลับอ่อนแอ เมื่อต้องทำสงคราม ย่อมไม่มีกำลังต่อต้านศัตรูได้ อำนาจการใช้กระบวนการยุติธรรมถูกควบคุมโดยส่วนกลาง

  • ราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368)




    ยุคนี้ประเทศจีนถูกปกครองโดยชาวมองโกล นำโดย หยวนชื่อจู่ (หรือกุบไลข่าน) ซึ่งโค่นราชวงศ์ซ่ง ตั้งราชวงศ์หยวน หรือราชวงศ์มองโกลขึ้น ยุดสมัยนี้ได้มีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายเช่น มาร์โคโปโล มีการพิมพ์ธนบัตรจีนขึ้นครั้งแรกมีการส่งกองทัพรุกราน ชวา เวียดนาม ญี่ปุ่น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

    สมัยนี้อาณาเขตมีขนาดใหญ่มาก ว่ากันว่าใหญ่กว่าอณาจักรโรมถึง4เท่า หลังจากกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ ชนชั้นมองโกลได้กดขี่ชาวจีนอย่างรุนแรง จนเกิดกบฏ และสะสมกองกำลังทหารหรือกลุ่มต่อต้านขึ้น ช่วงปลายราชวงศ์หยวนจูหยวนจางได้ปราบปรามกลุ่มต่างๆ และขับไล่ราชวงศ์หยวนออกไปจากแผ่นดินจีนได้สำเร็จ

  • ราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1644)



    ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ของจีนสถาปนาโดยจูหยวนจาง (จักรพรรดิหงหวู่) เมื่อปีค.ศ. 1368 (พ.ศ. 1911) จู หยวนจาง หรือจักรพรรดิหมิงไท่จู่ ปฐมกษัตริย์องค์ของราชวงศ์ครองราชย์ที่[เมืองนานกิง] และได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น 31ปีแห่งการครองอำนาจ จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้เสริมสร้างระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐเผด็จการแบบศักดินาให้เข้มแข็งขึ้นอย่างสุดความสามารถ จักรพรรดิหมิงไท่จู่ประหารขุนนางผู้มีคุณูปการ ฆ่าผู้คนที่มีความเห็นที่ไม่เหมือนพระองค์ เพิ่มอำนาจของจักรพรรดิให้มากขึ้น ปราบปรามอิทธิพลที่ต่อต้านพระองค์ หลังจากจักรพรรดิหมิงไท่จู่สวรรคตแล้ว จักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นพระราชนัดดาองค์หนึ่งได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาไม่นาน จูตี้ ผู้เป็นปิตุลาของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นได้ลุกขึ้นต่อสู้และโค่นอำนาจรัฐของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินลง จูตี้ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหมิง เฉิงจู่หรือจักรพรรดิหยุงเล่อ ในปีค.ศ. 1421 (พ.ศ. 1964) จักรพรรดิหย่งเล่อได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองหนานจิงไปยังกรุงปักกิ่ง

    แม้รัฐบาลของราชวงศ์หมิงจะเสริมระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐให้มากขึ้นก็ตาม แต่มีจักรพรรดิหลายองค์ไม่ทรงพระปรีชาหรือไม่ก็ทรงพระเยาว์เกินไป ไม่สนพระทัยการบริหารประเทศ อำนาจจึงตกอยู่ในมือของเสนาบดีและขันที พวกเขาทุจริตคดโกงและขู่เข็ญรีดเอาเงิน ทำร้ายขุนนางที่ซื่อสัตย์ กิจการบริหารบ้านเมืองเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ความขัดแย้งในสังคมรุนแรง ช่วงกลางสมัยราชวงศ์หมิงจึงเกิดการลุกขึ้นต่อสู้ของชาวนาหลายครั้งหลายหนแต่ถูกปราบปรามลงได้

    ในสมัยราชวงศ์หมิง เคยมีนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชื่อจางจวีเจิ้ง สามารถคลี่คลายความขัดแย้งกันทางสังคมและกอบกู้การปกครองของราชวงศ์หมิงด้วยวิธีดำเนินการปฏิรูป เขาปรับปรุงระบบขุนนาง พัฒนาการเกษตร ซ่อมแซมแม่น้ำและคูคลอง และได้รวมภาษีอากรและการกะเกณฑ์บังคับต่างๆให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ช่วยลดภาระของประชาชนลงไปได้บ้างระดับหนึ่ง

    ในสมัยราชวงศ์หมิง การเกษตรพัฒนามากขึ้นกว่ายุคก่อน การทอผ้าไหมและการผลิตเครื่องเคลือบดินเผามีความก้าวหน้ารุ่งเรือง การทำเหมืองเหล็ก การหล่อเครื่องทองเหลือง การผลิตกระดาษ การต่อเรือเป็นต้นก็มีการพัฒนาอย่างมาก การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างประเทศมีบ่อยครั้ง เจิ้งเหอซึ่งชาวไทยเรียกกันว่าซำเปากงได้นำกองเรือจีนไปเยือนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาทั้งหมดกว่า30ประเทศถึง7ครั้งตามลำดับ แต่หลังช่วงกลางราชวงศ์หมิงเป็นต้นมา จีนถูกการรุกรานจากหลายประเทศรวมทั้งญี่ปุ่น สเปน โปรตุเกสและเนเธอร์แลนด์เป็นต้น

    ในสมัยราชวงศ์หมิง เศรษฐกิจการค้าก็ได้พัฒนาเริ่มปรากฏเป็นเค้าโครงของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ในช่วงต้นราชวงศ์หมิง จีนมีที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ไม่มีเจ้าของจำนวนมากมาย จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้รวบรวมคนพเนจร ลดและงดภาษีอากรให้พวกเขา ทำให้จำนวนชาวนามีที่นาทำเองเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆทางเกษตรเช่นใบยาสูบ มันเทศ ข้าวโพดและถั่วลิสงเป็นต้นก็ได้มีการนำเข้ามาในจีน ในสมัยราชวงศ์หมิงงานหัตถกรรมประเภทต่างๆเช่น เครื่องเคลือบดินเผาและสิ่งทอเป็นต้นได้พัฒนาถึงระดับค่อนข้างสูง โดยเฉพาะกิจการทอผ้าไหม มีเจ้าของโรงงานผลิตสิ่งทอที่มีเครื่องปั่นด้ายจำนวนหลายสิบเครื่อง และ”ช่างปั่นทอ”มีฝีมือที่รับจัดตามสั่งโดยเฉพาะขึ้นแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเริ่มต้นขึ้นแล้ว ในสมัยราชวงศ์หมิงมีสินค้าหลากหลายชนิด การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าเป็นไปอย่างคึกคัก ในสถานที่ที่มีผลผลิตอุดมสมบูรณ์และการคมนาคมสะดวกได้ก่อรูปขึ้นเป็นศูนย์การค้าทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เกิดเมืองใหญ่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองเช่นปักกิ่ง นานกิง ซูโจว หังโจว กว่างโจว เป็นต้น

    ในสมัยราชวงศ์หมิง ระบอบสอบจอหงวนนิยมสอบการเขียนบทความแบบแปดตอน วรรณกรรมเรื่องยาวในสมัยราชวงศ์หมิงมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่น ”ซ้องกั๋ง” “สามก๊ก” “ไซอิ๊ว” “จินผิงเหมย” หรือ เรื่อง”บุปผาในกุณฑีทอง”เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อเขียนและบทประพันธ์ที่มีลักษณะคลาสสิกต่างๆเช่นสารคดี”บันทึกการท่องเที่ยวของสวี เสียเค่อ”ในด้านภูมิศาสตร์ “ตำราสมุนไพร”ของหลี่ สือเจินในด้านแพทยศาสตร์ “ชมรมหนังสือวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตร”ของสวี กวางฉี นักเกษตรศาสตร์ “ “เทียนกุงไคอู้”หรือ”สารานุกรมเทคโนโลยีด้านการเกษตรและหัตถกรรม”ของนายซ่งอิ้งซิง นักวิชาการด้านหัตถกรรม “สารานุกรมหย่งเล่อ”ซึ่งเป็นชุมนุมรวมเอกสารและวิทยานิพนธ์เป็นต้นก็ล้วนประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิงทั้งสิ้น

    ช่วงปลายราชวงศ์หมิง สภาพการผูกขาดที่ดินรุนแรงมาก พระราชวงศ์และบรรดาเจ้านายที่ได้รับการแต่งตั้งมีที่ดินกระจายอยู่ทั่วประเทศ ภาษีอากรของรัฐบาลก็นับวันมากขึ้น ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นต่างๆของสังคมก็นับวันรุนแรงขึ้น มีเสนาบดีและขุนนางบางคนพยายามจะคลี่คลายความขัดแย้งในสังคมให้เบาบางลง และเรียกร้องให้ยับยั้งสิทธิ พิเศษของเสนาบดีขันทีและเชื้อพระวงศ์ทั้งหลาย เสนาบดีเหล่านี้เทียวบรรยายวิชาการและวิพากษ์วิจารณ์การเมืองจึงถูกเรียกกันว่าเป็น”พรรคตงหลินตั่ง” แต่แล้วพวกเขาก็ต้องถูกเสนาบดีขันทีและขุนนางที่มีอำนาจโจมตีและทำร้าย ซึ่งยิ่งทำให้สังคมวุ่นวายมากยิ่งขึ้น

    การต่อสู้ในชนบทก็ทวีความรุนแรงขึ้น ในปีค.ศ. 1627 (พ.ศ. 2170) มณฑลส่านซีเกิดทุพภิกขภัย แต่ข้าราชการยังคงบีบบังคับให้ประชาชนจ่ายภาษี จนทำให้เกิดการลุกขึ้นต่อสู้ ประชาชนที่ประสบภัยเป็นพันเป็นหมื่นรวมตัวขึ้นเป็นกองทหารชาวนาหลายกลุ่มหลายสาย จนปีค.ศ. 1644 (พ.ศ. 2187) กองทหารชาวนาบุกเข้าไปถึงกรุงปักกิ่ง จักรพรรดิฉงเจินซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงต้องผูกพระศอสิ้นพระชนม์

    ซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงมีการส่งกองเรือออกเดินทางจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปจนถึงแอฟริกา โดยท่านเจิ้งเหอและบันทึกที่ชาวอังกฤษเชื้อสายจีนเขียนไว้บางฉบับ บอกไว้ว่ามีหลักฐานแสดงว่าจีนเดินทางไปอเมริกาก่อนโคลัมบัส

  • ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1912)




    ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1912 หรือ พ.ศ. 2187-2454) บุกเบิกและสร้างราชวงศ์ชิงตั้งแต่ ค.ศ. 1582-ค.ศ. 1912 โดย เผ่านูรฮาชี (แมนจูเลีย) สมยานามกษัตริย์ ชิงไทจงฮ่องเต้ จักรพรรดิบนหลังม้า ปฐมกษัตริย์ชื่อ จักรพรรดิหวงไท่จี๋ ,ซุนจื่อ และคังซี และจักรพรรดิบัลลังก์เลือด หย่งเจิ้น (องค์ชายสี่),จักรพรรดิเจ้าสำราญ เฉียนหลง (หลานหงษ์ลิ) ศึกล่าบัลลังก์ทอง เจี่ยชิ่ง และเต้ากวง

    มีจักรพรรดิรวมทั้งสิ้นในราชวงศ์ 13พระองค์ ซึ่ง จักรพรรดิ ปูยี เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และเป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนสถาปนาเป็นระบบสาธารณรัฐ เป็นราชวงศ์ของ เผ่าแมนจูเลีย (ชนเผ่ามองโกลเลีย มีชนเผ่าถึง 2,000-3,000เผ่า) เป็นชนต่างชาติทางเหนือที่เข้ามาปกครองประเทศจีน ต่อจากราชวงศ์หมิง ซึ่งภายหลังเกิด "ศึกกบฏราชวงศ์หมิง" ภายในประเทศจีน โดยกบฏเปิดประตูเมืองให้แมนจูเลียเข้ายึดครอง ทำให้ได้รับสมยานามกษัตริย์ ชิงไทจงฮ่องเต้ เพราะเข้ายึดเมืองได้โดยไม่ต้องลงจากหลังม้า เป็นราชสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง,การตรวจตราข้อบังคับของสังคม,ศาสนา และ การค้าทางเรือที่รุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งก็ว่าได้ คือ การให้ชายจีนไว้ผมหางเปียและใส่เสื้อแบบแมนจูเลีย คือ ปิดแขนเสื้อและขา เลียนแบบสมัยราชวงศ์ถังเก่า พร้อมประคำ 500เม็ด และต้องนับถือพุทธจีน ที่แตกต่างไปจากเดิมคือมีประคำ 500เม็ด และเริ่มนับถือศาสนาพุทธจีนที่เจริญรุ่งเรืองมากยุคหนึ่ง

    เพื่อบ่งบอกถึงอารยธรรมชนเผ่าของตนว่ามีศาสนาและอารยธรรมยาวนาน (ตั้งแต่สมัย เจง กิสข่าน เรืองอำนาจบุกยึดไปถึงแดนตะวันตกในระหว่างเดินทางพบ ขงจื้อ) ในราชสำนักยังคงมีขุนนางตำแหน่งที่สำคัญๆถือกำเนิดขึ้นด้วย คือ "ขันที" และ เสนาบดีฝ่ายซ้าย "ตงชิงอ๋อง" และ เสนาบดีฝ่ายฝ่ายขวา "กังชิงอ๋อง" อีกทั้งยังมีระบบศาลที่คานดุลอำนาจกัน และ ระบบการว่าราชการที่เจริญที่สุดถอดแบบจากราชสมัย "ราชวงศ์ซ่ง" คล้ายระบอบการปกครองของประเทศไทยในรัชสมัยรัชกาลที่5 คือ ระบบเวียง ระบบวัง ระบบคลัง และระบบนา และ ยังมีการแบ่งลักษณะการปกครองออกเป็นหัวเมืองๆทั้งหมด 18มณฑลในประเทศจีน โดยทั้งหมดขึ้นตรงต่อ "จักรพรรดิราชวงศ์ชิง".

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Supawan Sung Jaroen (@fb1015713547331)
ณ จุดนี้ปี 2019 สนุกมาก เข้าใจง่าย กระทัดรัดได้ใจความ ขอบคุณมากมาย