เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บริหารการเงินแบบใสใสตาโต B.E.
บทที่ 6.1 การวางแผนเกษียณสำหรับข้าราชการ

  • ในบทความที่แล้ว เราได้กล่าวถึง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 
    ซึ่งเป็นกองทุนที่สนับสนุนการวางแผนเกษียณ สำหรับข้าราชการ
    แต่การปล่อยให้กองทุนสร้างผลตอบแทนไป โดยไม่มีการบริหารหรือวางแผนที่ดี
    อาจจะทำให้ผลตอบแทนที่ได้ไม่เพียงพอ สำหรับการใช้จ่ายภายหลังการเกษียณ

    ในบทความนี้ จะกล่าวถึง
    ข้อดีของการออมเพิ่ม และข้อดี-ข้อเสียของการปรับแผนการลงทุนจากแผนหลักเป็นแผนสมดุลตามอายุ

    ในบทความนี้ จะไม่กล่าวถึง
    การเลือกว่าจะรับบำเหน็จหรือบำนาญว่าเลือกแบบใดดีกว่ากัน
    ซึ่งในส่วนนี้ แต่ละคนมีปัจจัยในการตัดสินใจแตกต่างกัน


    1. ทำไมถึงควรออมเพิ่ม
    จากการที่ กองทุน กบข. กำหนดให้สมาชิกออมขั้นต่ำ 3% ของเงินเดือน 
    แต่สมาชิกสามารถออมเพิ่มได้ถึง 15% ของเงินเดือน
    โดยที่รัฐรับว่าจะสมทบให้ 3% ของเงินเดือน  
    ในส่วนนี้ แปลว่า

    ถ้าเงินเดือนเรา 100 บาท และเราออมขั้นต่ำ 3% เราจะมีเงินในกองทุนนี้เพิ่มขึ้นเดือนละ 6 บาท
    แต่อีกกรณีที่เราออมเต็มที่ 15% เราจะมีเงินในกองทุนนี้เพิ่มขึ้นถึงเดือนละ 18 บาท
    ซึ่งต่างกันอยู่ 3 เท่า

    ผลจากข้อสรุปข้างต้น
    ถ้าคน 2 คนอายุเท่ากัน เงินเดือนเท่ากันตลอด และลงทุนในแผนเดียวกัน 
    โดยกำหนดสัดส่วนการออมเงินต่างกัน คนแรกออม 3% ส่วนอีกคนออม 15% นั่นจะ
    ทำให้ เมื่อเกษียณอายุราชการ สองคนนี้ จะมีเงินในกองทุนต่างกันถึง 3 เท่า
    หากคนแรกมีเงินในกองทุน 1 ล้านบาท คนที่สองจะมีเงินในกองทุนถึง 3 ล้านบาท

    มีต่อหน้า 2


  • 2. การบริหารกองทุนด้วยแผนการลงทุนสมดุลตามอายุ

    2.1 แผนการลงทุนของ กบข. มีอะไรบ้าง
    แผนการลงทุนของ กบข. มีด้วยกันทั้งหมด 5 แผน  ซึ่งแต่ละแผนขึ้นอยู่กับความสามารถ
    และความยินยอมในการรับความเสี่ยงของแต่ละคน ได้แก่
    @ แผนหลัก - ความเสี่ยงระดับปานกลางและคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ
    @ แผนผสมหุ้นทวี - เหมาะสำหรับสมาชิกที่มีความรู้เรื่องการลงทุนและสามารถยอมรับความเสี่ยง
    @ แผนตราสารหนี้ - เหมาะสำหรับสมาชิกที่ต้องการความเสี่ยงต่ำ
    @ แผนตลาดเงิน - เหมาะสำหรับกับสมาชิกที่มุ่งเน้นการคุ้มครองเงินต้น
    @ แผนสมดุลตามอายุ - บริหารเงินทุนและปรับความเสี่ยงโดยอัตโนมัติจนสมาชิกเกษียณอายุ

    2.2 แผนสมดุลตามอายุมีนโยบายอย่างไร
    สำหรับแผนสมดุลตามอายุเป็นแผนที่ทาง กบข. บริหารเงินทุนและปรับความเสี่ยงโดยอัตโนมัติ
    โดยปรับให้สอดคล้องกับความสามารถในการรับความเสี่ยงตามอายุของสมาชิก

    หากสมาชิกมีอายุน้อยก็จะมีสัดส่วนในการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง มากกว่าสมาชิกที่อายุมาก 
    โดยที่สมาชิกไม่ต้องแจ้งปรับแผนการลงทุนทุกปี
    ทั้งหมดนี้ มีเป้าหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ สมาชิกได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นในระยะยาว

    ดังนั้นถ้าหากสมาชิกมีอายุน้อยและต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงมากกว่าแผนหลัก 
    แผนสมดุลตามอายุจึงเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง ทั้งในด้านความสะดวกและการบริหารผลตอบแทน 

    2.3 ทำไมสมาชิกที่อายุน้อยจึงควรลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง
    สามารถตอบเป็นข้อๆ โดยสรุปได้ ดังนี้
    1. สมาชิกที่อายุน้อย จะมีเงินออมในกองทุนน้อย ดังนั้นหากเกิดการขาดทุนก็จะขาดทุนไม่มากนัก
    2. แม้สมาชิกที่อายุน้อยจะขาดทุน แต่ก็ยังมีเวลาในการเก็บออม เพิื่อสะสมให้เงินออมกลับมาเท่าเดิม
    3. ตามทฤษฎี การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเป็นระยะเวลานานพอ เช่น 15 ปี หรือ 20 ปี จะทำให้โอกาสขาดทุนจะลดลง

    2.4 ทำไมสมาชิกที่อายุมากจึงไม่ควรลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง
    ในข้อนี้ สามารถเดาได้ว่า คำตอบ คือ น่าจะตรงข้ามกับข้อ 2.3 นั่นคือ
    1. สมาชิกที่อายุมาก จะมีเงินออมในกองทุนมาก ดังนั้นหากเกิดการขาดทุนเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์
    ก็จะทำให้เสียเงินออมไปเป็นจำนวนเงินที่มากด้วย
    2. ถ้าสมาชิกที่อายุมากเกิดขาดทุน ก็จะไม่มีเวลาในการสะสมเงินออม ให้กลับมาเท่าเดิมได้อีก
    3. สินทรัพย์เสี่ยงมีการแกว่งของผลตอบแทนสูง หากขาดทุนต่อๆ กันเป็นระยะเวลาเพียง 2-3 ปี
    อาจจะทำให้ขาดทุนได้ถึง 50%

    2.5 ถ้าแผนสมดุลตามอายุมีข้อดีขนาดนั้น แล้วทำไมรัฐไม่ให้ทุกคนลงทุนแผนสมดุลตามอายุ
    (หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ในกรณีไหนที่ไม่ควรลงทุนในแผนสมดุลตามอายุ)
    ตามที่เกริ่นตั้งแต่ย่อหน้าแรกว่า แต่ละแผนลงทุนที่สมาชิกเลือกขึ้นอยู่กับความสามารถและความยินยอมในการรับความเสี่ยงของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งความสามารถและความยินยอมในการรับความเสี่ยงนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น ความรู้ความเข้าใจในการลงทุนหรือทัศนคติในการลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเลือกแผนการลงทุนอีกด้วย


    หากท่านใดมีข้อสงสัย 
    ต้องการสอบถามเกี่ยวกับเรื่องการวางแผนการเงิน 
    ทั้งเรื่อง การวางแผนภาษี การวางแผนเกษียณ ทุนการศึกษาบุตร 
    สามารถติดต่อได้ที่ Inbox




เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in