เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
I READ YOU A LOTilysm
Review | The Fault In Our Stars
  • The fault in our stars by John Green






                        ก่อนอื่นเลย รีวิวนี้จะพยายามไม่อวย (ยากจัง) เพราะว่าThe fault in our stars เป็นภาพยนตร์เรื่องโปรดของเราเกือบจะตลอดกาล (เพราะยังไม่เจออะไรที่ทำให้ประทับใจเกินกว่านี้) บางคนอ่านแล้วเบ้หน้าแน่ๆว่าทำไม Overrated จัง แต่เราก็ชอบอยู่ดี มันประทับใจ เราร้องไห้ตอนดูหนักมากกกกกกกกกกก ไม่ว่าจะเพราะหนังทำออกมาดี หรือเราเซ้นซิทีฟกับเรื่องความเป็นความตายนี่แหละ เข้าเรื่อง! หลังจากดูจบรีบไปสอยหนังสือ เพื่อมาดองกับกองฝุ่นที่บ้าน จนได้ฤกษ์เปิดอ่านจริงๆจังๆเสียที… ก็ไม่ได้มีปัญหากับสไตล์การเขียนหรือการดีลกับความง่วงมากเพราะเป็นแฟน John Green อยู่แล้ว และอย่างที่คิด อ่านจบก็ยกให้เป็นงานเขียนที่ดีที่สุดของเขา สำหรับเราน่ะนะ

     


    "That's the thing about pain. It demands to be felt"


    เรื่องย่อ

                    Hazel Grace Lancaster เด็กสาวอายุ 16 ปี ใช้ชีวิตอยู่กับโรคมะเร็งเกี่ยวกับปอด เธอจำเป็นต้องต่อถังออกซิเจนกับตัวเองตลอดเวลา ทำให้การอยู่อย่างเด็กปกติเป็นเรื่องยาก พ่อแม่คะยั้นคะยอให้ Hazel เข้าร่วม Support Group เพื่อสร้างสังคม และเพื่อรับกำลังใจจากผู้ป่วยที่รอคอยความตายเหมือนกัน ณ ที่นั่นเองที่เธอได้เจอ Augustus Waters เด็กหนุ่มวัย 17 ปี ผู้สูญเสียขาข้างหนึ่งไปเพราะมะเร็ง ทั้งสองเข้ากันได้อย่างรวดเร็ว จุดพลิกผันดำเนินมาถึงเมื่อ Augustus ได้อ่าน An Imperial Affliction หนังสือเล่มโปรดของ Hazel และส่งจดหมายไปหา Peter Van Houten นักเขียนเจ้าของผลงาน อีกฝ่ายตอบกลับมา พร้อมแนะนำให้ทั้งสองไปหาเขาที่ Amsterdam, Netherlands และระหว่างนั้นเองที่มีเรื่องไม่คาดฝันมากมายเกิดขึ้น

     



    "I fell in love the way you fall asleep. Slowly and then all at once"



    มีสปอยล์พอสมควร


    ตัวละคร

    “เฉลียวฉลาดอย่างเหลือเชื่อ ถ้อยคำลึกซึ้ง และถ่ายทอดความจริงที่โหดร้ายได้อย่างหน้าชื่นตาบาน”

                    แม้เรื่องราวจะหม่นหมอง แต่ตัวละครไม่ได้อมทุกข์เลย Hazel มีลักษณะเป็นผู้หญิงฉลาด พูดจาเหน็บแนม อาจจะด้วยความที่เธอใช้เวลากับหนังสือมาก และการเติบโตมาพร้อมๆโรคมะเร็ง ปลูกฝังให้ Hazel เคยชินกับมัน มองโลกตามความจริง เธอทำให้เรื่องความเป็นความตายกลายเป็นเรื่องปกติ (ทั้งๆที่มันก็ปกติ แต่เรากลับรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องใหญ่เอง) มีความเข้ากันแปลกๆกับ Augustus เด็กหนุ่มสุดฮอต มีอารมณ์ขัน และมีความคิดโตกว่าอายุไม่แพ้กัน ความรักของทั้งสองไม่ได้หวานเลี่ยนหรือมีฉากกุ๊กกิ๊กอมยิ้มกริ่ม ไม่เลย บทสนทนาของทั้งสองเป็นการหยอดทื่อๆ ที่อุดมไปด้วยปรัชญา ความฝัน และความจริงที่เจ็บปวด

                    สิ่งที่เราชอบที่สุดดูเหมือนจะเป็นการที่ทั้งคู่ผลัดกันทำอะไรให้กันและกัน โดยไม่ต้องเน้นย้ำว่า ‘โอเค ฉันจะทำสิ่งนี้ให้เธอนะ’ แต่มันเป็นไปตามธรรมชาติ Gus มอบ Wish ของเขาให้กับ Hazel ส่วน Hazel อยู่ดูแล Gus จนช่วงสุดท้ายของชีวิต ประทับใจที่สุด (และคิดว่าหลายๆคนก็น่าจะประทับใจฉากนี้นี่แหละ) คือการเขียน Death eulogies หรือสุนทรพจน์ในงานศพให้แก่กันและกัน ในฉากจำลองงานศพตนเองของ Gus ความรักของทั้งสองมันชัดเจนมาก ลึกล้ำมาก มากเกินกว่าคนในวัยเดียวกันกับทั้งสองจะประสบพบ อย่างที่ Hazel ชอบพูดนั่นแหละ ‘Some infinities are bigger than other infinities’ ความรักของทั้งคู่ก็ยิ่งใหญ่กว่าความรักของ Teenagers ทั่วไปเช่นกัน

                    มีแวบหนึ่งที่คิดขึ้นมาว่า ‘แบบนี้ Hazel จะอยู่ยังไง? ถ้าเราเป็น Hazel เราก็อยากจะเห็นแก่ตัวตายไปก่อน Augustus เหมือนกัน เราอยากให้ Augustus ได้พูดสุนทรพจน์ของเขาในงานศพของเรา’ และ Augustus ก็ไม่ได้ทำให้เราผิดหวัง ชอบความรอบคอบของ Augustus มากๆ ที่เขียนสุนทรพจน์เตรียมไว้แล้ว เราว่ามันสรุปความสัมพันธ์ของทั้งสองได้ เพราะเข้าใจกันและกัน จึงทำแบบนี้ เพราะไม่อยากให้อีกฝ่ายเจ็บปวด จึงทำแบบนี้ และทั้งเรื่องก็ดำเนินไปในรูปแบบนี้เสมอ แม้กระทั่งเวลาที่ Hazel โกรธที่ Augustus เอาแต่สนใจว่าตนเองจะมีใครจดจำหรือไม่ มันก็เป็นความโกรธที่ซ่อนความเข้าใจ เพราะเข้าใจ จึงพูดให้ได้สติ ไม่อยากให้อีกฝ่ายเจ็บปวด จึงพูดให้รู้ว่า จะสนใจคนอื่นไปทำไม ในเมื่อมี Hazel ที่ยินดีจะจดจำ Augustus ไปตลอดชีวิตที่เหลือ




    "It would be a privilege to have my heart broken by you"

                    อยากจะตะโกนใส่หน้า Augustus มากจริงๆว่า ‘You might not be loved widely. But you are loved deeply. That’s the thing you should be grateful for’

                    โดยสรุปก็คือ ตัวละครมีความเข้าถึงยาก แต่มีความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง มีทุกข์ มีสุข และถ่ายทอดแง่มุมความคิดเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคมะเร็งออกมาได้ดีมาก จนดีเกินความจริง เพราะสุดท้ายความเจ็บปวดมันเยียวยาไม่ได้ ไม่สามารถปลงตกได้ แต่ตัวละครได้มอบความหวังสำคัญ นั่นคือ แม้เราจะไม่อยู่แล้ว แต่เราจะยังอยู่ในใจคนที่รักเราเสมอ โคตรตกหลุมรัก Hazel และ Augustus แต่ไม่อยากใช้คำว่าสงสาร—เพราะรู้ว่าทั้งคู่ไม่ต้องการความสงสาร ทั้งคู่ต้องการความเป็นปุถุชนทั่วไป ต้องการให้ผู้คนปฏิบัติกับพวกเขาอย่างเท่าเทียม ไม่ใช่ปฏิบัติเหมือนพวกเขาแตกต่าง ปฏิบัติเหมือนพวกเขาเปราะบางและต้องได้รับการปลอบประโลมตลอดเวลา เพราะพวกเขารู้ดีแก่ใจอยู่แล้วว่าพวกเขาอยู่ใกล้ความตาย

                    ขอเปรียบเทียบกับเวอร์ชั่นภาพยนตร์นิดนึง เราคิดว่านักแสดงแสดงเก่งก็จริง แต่เป็นการ Cast บทที่ไม่เหมาะสมเท่าที่ควรในหนังสือ ทั้งคู่อายุแค่ 16-17 แต่ในหนังทั้งคู่ดูแก่กว่าวัย (ขอโทษแฟนๆเชลีนและแอนเซลแรงT v T) ซึ่งมันมีผลมาก มันทำให้ Hazel ดูอมทุกข์ ดูน่าสงสาร ดูเป็นผู้ใหญ่ ทั้งที่ในความคิดเรา หนังสืออยาก Represent ความดีพของความคิดเด็กคนหนึ่งที่ Deal กับโรคมะเร็งเป็นอย่างดีมากกว่า มีอารมณ์ขันแบบ Sarcastic ไม่ได้ดูอมทุกข์ขนาดนั้น อาจจะคิดเรื่องความตายบ่อยจริง แต่ไม่ได้ดูกำลังจะตาย ในขณะที่เวอร์ชั่นหนังเป็นแบบนั้น ส่วนแอนเซลก็เหมือนกัน เขาไม่เหมือน Augustus เท่าไหร่เลยในเรื่องบุคลิก หน้าตา แต่ถ้าเรื่องฝีมือการแสดงเรายอมใจให้ทั้งสองจริงๆ คือมีความ The fault ในอีกแบบนึงอะ เรียกน้ำตาได้เหมือนกัน T_T

     


    "You don't get to choose if you get hurt in this world. But you do have some say

    in who hurts you. I like my choices. I hope she like hers"



    เนื้อเรื่อง

    “เบสิก เดาได้ มีอารมณ์ขัน เศร้าสร้อย แหลกสลาย และรอให้ขบคิด”

                    เนื้อเรื่องนี่คนหลายคนอาจจะออกปากเลยว่า Cliché… เป็นพล็อตที่รู้ๆกันอยู่ว่าจะดำเนินไปยังไงอะ ยกเว้นเราผู้ดูหนังกี่เรื่องๆก็ไม่เคยเดาล่วงหน้า orz แต่ด้วยความที่รู้เนื้อเรื่องทั้งหมดแล้ว พอมาอ่านหนังสือ เราจะเห็นเป็นฉากๆเลยโดยไม่ต้องอ่านละเอียด สิ่งที่ดูดให้เราจมดิ่งได้คือปรัชญาที่สอดแทรกเอาไว้เยอะมาก ใน Dialogue นึงมีประเด็นที่ต้องแตกย่อยเต็มไปหมด บางทีอ่านแล้วก็ไม่เข้าใจทั้งหมดหรอก ลึกล้ำเหลือเกิน แต่ว่ามันช่วยให้เข้าใจตัวละคร เข้าใจอารมณ์ของเรื่องมากขึ้น มีการสะท้อนมนุษย์ สะท้อนความรู้สึกภายในออกมาในรวดเดียว บางทีก็ดูเร่งรัด บางทีก็ดูพยายามจนอึดอัด และบางทีก็มากไปนิด



    "Maybe okay will be our always"

                    เรายังไม่เข้าใจ Metaphor และ Rhetorical question ทั้งหมดในหนังสือ (ออกแนวรีบอ่านให้จบๆ พอดีต้องแข่งกับเวลา) แต่ยืนยันได้ว่าเยอะจริง ทั้งสิ่งที่ Hazel คิด สิ่งที่ Augustus คิดสิ่งที่ Peter Van Houten เขียนไว้ใน An Imperial Affliction… พระเจ้า ทำไม John Green ถึงหยิบยกหลายอย่างมายัด orz อันนี้ไม่รู้จะโทษเราที่ตีความไม่แตก โทษภาษาที่อ่านยาก หรือโทษตัวผู้เขียนที่ไม่เห็นใจคนอ่านสักนิดดี

                    John Green กรีดหัวใจเราในทุกๆหน้าเลยสำหรับช่วงท้ายๆ… เราอ่อนไหวกับประเด็นเพื่อนแท้ ฉาก Isaac พูดคำนั้น จะกี่รอบก็ประทับใจ


    ‘But I will say this: When the scientists of the future show up at my house with robot eyes and they tell me to try them on, I will tell the scientists to screw off, because I do not want to see a world without him.'


                    ร้องไห้หนักมากกกกกกกกกกก เราไม่คิดว่าโลกจะโหดร้ายกับ Augustus ได้ขนาดนั้นเหมือนกัน แม้แต่คำสั้นๆอย่าง “It’s not fair” ของ Hazel ยังทำเราน้ำตาไหลได้เลย ใช่ โลกนี้มันโหดร้ายและมักจะพรากคนดีๆจากไปเสมอ นอกจากนี้ก็สอนอีกหลายอย่าง เช่น ไม่มีใครรู้ว่าวันไหนคือวันสุดท้ายของชีวิต ความรักระหว่างพ่อแม่ลูก โลกหลังความตาย ความกว้างใหญ่ของจักรวาล ฯลฯ ทุกอย่างเรียลมากจริงๆ Hazel รู้สึกยังไง เราก็รู้สึกอย่างนั้น เขาบอกเรามักจะร้องไห้ให้กับสิ่งที่เข้าถึงใจเรา เชื่อมโยงกับเรา—นี่ก็ไม่ได้เป็นโรคร้าย ไม่เคยสูญเสียใคร ไม่เคยมีรักแท้ แต่ทำไมถึงรู้สึกอินจัง?



    "I want more numbers than I'm likely to get,

    And God, I want more numbers for Augustus Waters than he got"




                    อีกอย่างที่อยากชื่นชมอย่างไม่มีข้อแม้คือโควทดีมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก เราเป็นคนที่ชอบสะสมประโยคสวยๆ ชอบอ่านชอบเก็บ ชอบเขียน การได้มาอ่าน The fault in our stars คือเปิดโลกเราสู่สวรรค์ของโควท John Green เป็นคนที่ภาษาสวยอยู่แล้ว (นำมาซึ่งการอ่านยาก บางครั้งก็แบบหืมมม จะอารัมภบทอะไรนักหนา) มันเหมือนเป็นตัว Tie the knot ของการดำเนินเรื่อง เราว่าถ้าขาดความสวยงามของภาษา John Green ที่ถ่ายทอดออกมาได้ดี คุณค่าของเรื่องนี้จะลดลงเกือบครึ่ง

                    พูดถึงเรื่องการอ่านเราว่าน่าเบื่อนะ สามารถหลับได้เลย แถมศัพท์ Medical terms เยอะอลัง๕๕๕๕๕๕ Metaphor อีก อ่านแล้วปวดหัว คือเป็นหนังสือเนื้อดีที่ไม่ได้ Entertaining อะ แค่จะได้อะไรกลับไปเยอะ ได้ Involve อย่างแรงกล้า ได้สัมผัสผู้ป่วยโรคมะเร็ง (แม้ John Green จะมาเฉลยภายหลังว่าโรคที่ Hazel เป็นไม่มีอยู่จริง What the fuck! นี่ตกใจแรงมาก) และรู้สึกอยากจะ Live My Best life Today แทนคนที่ไม่มีโอกาสได้ทำ



    "You gave me a forever within the numbered days, and I'm grateful"


    ความรู้สึกส่วนตัว

                    The fault in our stars ก็เหมือนนิยายรักทั่วๆไป มีปมปัญหา มีไคลแม็กซ์ มีการคลายปมที่เรียบง่าย เรื่องดำเนินเป็นเส้นตรง แต่จะมีความล้ำลึกในแง่ของข้อคิดและภาษา ซึ่งเราคิดว่าเรื่องนี้มุ่งสอนปรัชญาที่เยอะและยากกว่าหนังสือเรื่องอื่นๆของ John Green อย่าง Looking for Alaska, An abundance of Katherines, Will Grayson, Wiil Grayson แต่ก็อยู่ในขั้นอ่านง่าย ย่อยง่าย ในแง่ของโทนอารมณ์คือดีมาก แต่เนิบนาบอยู่เหมือนกัน ไม่ค่อยมีความตื่นเต้น ถ้าชอบแนวรอมคอม ชิคลิทเบาๆ จะไม่เหมาะกับเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ถึงกับดาร์ก อ่านจบแล้วรู้สึกตัวเบา มีความหวัง ฟีลกู้ด ถ้าเป็นไปได้ก็น่าจะลองอ่านสักครั้งแหละนะ

                    สุดท้าย ชื่อเรื่องได้ทำการส่งสารไว้หมดสิ้น “The fault in our stars” นั้นได้แรงบันดาลใจจากคำพูดของ Shakespeare ที่กล่าวกับ Brutus ว่า ‘The fault, dear Brutus, is not in our stars, but in ourselves’ หมายถึงโชคชะตาไม่ได้อยู่ในกำมือใคร นอกจากตัวเราและการกระทำของเราเอง ในขณะที่ John Green ตั้งใจจะสะท้อนว่า ไม่เลย บางครั้ง ‘The fault is really in our stars’ มันเป็นความผิดของโชคชะตา เราเลือกเกิดไม่ได้ เราเลือกไม่ได้ที่เป็นโรคมะเร็ง แต่ขณะเดียวกัน ชื่อ The fault in our stars ไม่ได้หมายความว่าให้เรานั่งโทษชะตาชีวิตตนเอง แต่หมายถึงให้ให้เราเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตให้เป็น อยู่ให้ได้ เพราะโชคชะตาไม่ได้กำหนดว่าเราต้องนั่งรอความตาย ความผิดพลาดในโชคชะตาเหล่านั้น ไม่ได้ทำให้เรามีความเป็นคนน้อยลง มีสิทธิใช้ชีวิตน้อยลง

                    ความรัก ความฝัน ครอบครัว ทุกอย่างนั้น ไม่ว่าใครก็คู่ควรที่จะได้รับมัน ไม่เกี่ยวกับโชคชะตาใดๆ

                    ปล.ขอสรุปแบบติ่งอีกที อ่านรีบไปหน่อย ไม่ค่อยดื่มด่ำเลย แต่ยังร้องไห้กับฉากเดิมๆตั้งแต่ Prefuneral เป็นต้นไป หน้าสุดท้ายก็ยังร้องนะ รักเรื่องนี้จัง ;-; แต่หนังสือแอบง่วง ไม่บันเทิงเลยจริงๆนั่นแหละ แต่เก็บรายละเอียดได้ดีระดับที่หนังไม่มีวันทำได้ ดีใจที่ซื้อมา ขอบคุณป๋า John Green สำหรับนิยายดีๆ แฮ่

    - ilysm.



    "Okay?
      Okay."

     



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
minnie1234 (@minnie1234)
เนื้อเรื่องในหนังสือกับในหนังมีความต่างกันมั้ยคะ
Stamp Nirvana (@fb3654947054581)
เพิ่งได้ดูหนังเรื่องนี้ ชอบมากเหมือนกันค่ะ มีข้อคิดให้มากมาย โดยเฉพาะประโยคนี้ เราชอบมากที่สุด “You might not be loved widely. But you are loved deeply. That’s the thing you should be grateful for”
ilysm (@ilysm)
@fb3654947054581 เห็นด้วยมากๆ เลยค่ะ ทำให้รู้สึกมีแรงมีกำลังใจจะใชัชีวิตต่อด้วย