แนะนำไอเดียง่ายๆในการดีไซน์เสื้อผ้า สำหรับคนที่ยังไม่มีความรู้แต่มีใจรัก

        บ้านเมืองไทยสมัยนี้มีแบรนด์เสื้อผ้าเกิดขึ้นมากมาย มากจนหลายคนรู้สึกว่าแบบที่ทำออกมาดูคล้ายกันไปหมดจนแยกไม่ออกว่ามาจากร้านไหน หรือเมื่อมีแบรนด์ออกดีไซน์ใหม่ๆแล้วฮิตขึ้นมา อีกสักสองอาทิตย์ไปเดินตลาดเดินห้างในก็เจอเสื้อผ้าแบบนั้นขายเพียบบบบ! พร้อมรูปประกอบบอกชัดเจนว่าต้นแบบคือแบรนด์ไหน มีใครใส่ไปงานไหน

        ดังนั้นเพื่อสร้างคามยูนีคของเสื้อผ้าเราให้ไม่เหมือนใคร(แต่จะมีใครอยากเหมือนรึเปล่าก็อีกเรื่องนะ) เราจึงรวบรวมไอเดียต่างๆ ทริคง่ายๆ สำหรับหลายๆคนที่อยากลองออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าใส่เองเบื้องต้น เพราะเบื่ออะไรเดิมๆกันค่าาาา






1. หา Inspiration ในการออกแบบ

        แรงบันดาลใจมักจะมาจากสิ่งที่เรากำลังชื่นชอบหลงใหลอยู่ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ เพลง รูปถ่าย งานศิลปะ บลาๆๆ เราสามารถหยิบมันมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังหลงไหลเจ้า'ปิกาจู'จากเรื่องโปเกม่อน เราก็มาดูว่าสีที่ได้หลักๆจาก'ปิกาจู'คือสีอะไร (โอเค เจอละ : เหลือง น้ำตาล แดง) ลายที่ได้จากปิกาจูคือลายไหน (โอเค เจอละ : ลายหยักๆได้มาจากหาง ลายวงกลมได้จากแก้มปิกาจู ลายวงรียาวๆที่ได้จากหลัง) และรูปทรงของเสื้อผ้านี้...ถ้าดูจากตัวปิกาจูละก็... (โอเค เจอละ : มันอ้วนๆกลมๆ อาจจะเป็นเสื้อผ้าที่ไม่รัดรูป Oversize หน่อย) อะไรประมาณนี้

รูปประกอบ: เจ้า'ปิกาจู'จากเรื่องโปเกม่อน โดย jeffersonairship.deviantart


2. คิด Concept ในการออกแบบ

        นึกถึงว่าเสื้อผ้าที่เราทำออกมาว่ามันจะออกมาเป็นแบบไหน จะเป็นเสื้อผ้าสตรีทที่ใส่ได้หญิงทั้งชาย เสื้อผ้าวัยทำงานเรียบหรู เสื้อผ้าที่ได้มาจากยุค 70's เสื้อผ้าออกกำลังกายที่ใส่ไปเที่ยวได้ ยกตัวอย่างเช่น 'เราจะทำชุดเสื้อผ้าสตรีทที่ใส่ได้หญิงทั้งชาย อายุระหว่าง 18 - 30 ปี ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากปิกาจู'

        จากนั้นเราก็มาดูกันว่า เสื้อผ้าสตรีทเป็นแบบไหน? เสื้อผ้าที่เป็นใส่ได้ทั้งหญิงและชายมีอะไรบ้าง? เช่น เสื้อยืดตัวใหญ่ เสื้อเชิ้ต กางเกง หมวก กระเป๋า เสร็จแล้วก็เอาแรงบันดาลใจ(ปิกาจู)ที่ได้มา ใส่ในชุดในเสื้อผ้าที่เราคิดคอนเซปต์ไว้ ก็อาจจะได้เป็นจะเป็น 'กางเกงสีเหลืองที่มีลายวงกลมสีแดง + เสื้อยืดสีน้ำตาลขอบเสื้อสีเหลือง'

 

azimagess

etsy

lyst

3. หาช่างตัดเย็บที่รู้ใจ

        หาช่างนี่ยากกกกยิ่งกว่างมเข็มในคาบมหาสมุทอินเดียตอนใต้เสียอีก แนะนำว่าลองหาหลายๆที่เอาไว้เผื่อฉุกเฉินเพราะช่างส่วนใหญ่ชอบรับงานเกิน เทงาน ดองงาน เราต้องคอยเฝ้าคอยจี้ หรือพลาดที่สุดก็คือตัดเสร็จออกมาแล้วไม่เหมือนแบบที่เราวาดฝันไว้ (คือ อาจจะเป็นเพราะเราออกแบบผิด สื่อสารไม่ดี หรือเพราะพี่ช่างใส่ความเป็นตัวเองเข้าไปมากกว่าเราอีกก็เป็นได้อ่ะ...) นี่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บ้านเรามีเสื้อผ้าแบบเดิมๆเพราะถ้ามีเสื้อแบบนั้นมาให้เลยพี่ช่างจะตัดเป๊ะมาก แต่พอขึ้นแบบชุดใหม่ก็ต้องคอยตามเก็บตามแก้เป็นสิบๆรอบ 

        และ ถ้าสวรรค์บันดาลช่างดีดีมาให้เมื่อไหร่ และเราสงสัยอะไร ก็ถามพี่ช่างเลยให้ละเอียดเพราะช่างเค้าชำนาญกว่าเราแนะนำเราได้ เช่น ใช้ผ้าตัวไหนตัดชุด ต้องใช้ผ้ากี่เมตร


4. เดินจับเนื้อผ้าจนกว่าเราจะมือด้าน

        ผ้ามีหลายชนิด หลายแบบ หลายเนื้อสัมผัส แนะนำว่าให้เราเลือกผ้าที่อยู่ในใจเราก่อนแล้วค่อยไปเดินดูผ้าอื่นๆ เสร็จแล้วให้มาดูว่าชอบแบบไหนมากที่สุด แล้วมาดูว่าเหมาะกับที่เราจะเอาไปตัดมั้ย ถ้าตัดเสื้อจะหนาไปรึเปล่า ถามคนขายให้เค้าแนะนำเราก็ได้ ถามราคา หน้ากว้างของผ้า แหล่งขายผ้าบ้านเราก็จะเป็นพาหุรัด สำเพ็ง วงเวียนใหญ่ ตลาดผ้าวัดสน แนะนำว่าให้ไปดูผ้าชนิดเดียวกันนี่แหละแต่หลายๆร้านเพราะราคามันอาจจะแตกต่างกัน


        เสร็จปุ๊บก็ส่งผ้าให้ช่างขึ้นแบบจนกว่าเราจะพอใจ เมื่อตัวอย่างตรงกับแบบแล้วก็สั่งตัดจริงได้เลย ระหว่างรอเสื้อผ้าเราเสร็จก็หากลุ่มลูกค้า หาพื้นที่จะเราจะขาย อันนี้ก็แล้วแต่ใครจะถนัดแบบไหนนะะะ เอ้อออ ! ถ้าเกิดสมมุติเราว่าเสื้อผ้าเราขายดีฮิตแน่ๆ ให้รีบไปจดลิขสิทธิ์ไว้ก่อนเลยนะ เผื่อเกิดมีคนก๊อปปี้เราขึ้นมาก็สามารถฟ้องได้เอาให้เข็ดเลย :P

        หรือถ้าไม่ฮิต ก็แอบกระซิบให้รู้ว่ามีอีกหลายแบรนด์จากประเทศไทยที่มีความยูนีคและไม่ได้ฮิตตามกระแส บ้างก็แทบจะไม่มีใครรู้จัก : แต่ขายดิบขายดีมากมายในต่างประเทศนะจ๊ะ