เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รวมเคล็ดลับยานยนต์ ข่าวสารวงการยานยนต์ ซื้อขายรถยนต์มือสองKitsadagoodcar
การดูแลรักษาเบรคและการเลือกใช้น้ำมันเบรครถยนต์

  • การดูแลรักษาเบรคและการเลือกใช้น้ำมันเบรค

    น้ำมันเบรค (Brake Fluid) ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งแรงดันเพื่อไปกดผ้าเบรคแล้ว ยังทำหน้าที่หล่อลื่นภายในชุดเบรคอีกด้วย ทุกครั้งที่เราทำการเหยียบเบรค ตัวผ้าเบรคจะจับกับจานเบรคแรงขึ้น สร้างแรงเสียดทาน เพื่อชะลอความเร็ว หรือลดความเร็วจนกว่ารถจะหยุดได้สนิท จนทำให้เกิดความร้อนสะสมที่เกิดจากการเสียดสีที่ผ้าเบรคและ จานเบรค ความร้อนบางส่วนถูกส่งผ่านไปยังน้ำมันเบรค ถ้าความร้อนมีการสะสมมากๆ อาจจะส่งผลต่อจุดเดือดของน้ำมันเบรคที่ใช้อยู่

    บางครั้งเราอาจจะมีความจำเป็นต้องใช้เบรคมากกว่าปกติ อาทิเช่น ขณะลงเขา ขณะลงทางด่วน หรือแม้แต่ในสภาพการจราจรติดขัด ในเมืองใหญ่ การเบรคแต่ละครั้งนั้น นอกจากแป้นเบรค ที่ต้องมารับแรงกดจากเท้าของเรา แม่ปั๊มเบรคส่งแรงดันน้ำมันเบรคไปยังลูกปั๊มเบรค เพื่อสร้างแรงดันให้ผ้าเบรคกดบนจานเบรค และดรัมเบรค เพื่อชะลอและหยุดรถนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการใช้มือหยิบจับสิ่งของ ถ้ามือไม่ลื่นเราก็หยิบได้ง่าย และกล้ามเนื้อเรามีแรงสม่ำเสมอเราก็จะหยิบจับได้อย่างมั่นคง เบรค ก็เป็นเช่นเดียวกัน แรงดันน้ำมันเบรคที่ดี ทำให้ผ้าเบรคจับจานเบรคได้อย่างเต็มที่ หยุดรถได้สนิท

    การดูแลรักษาเบรค

    ถ้าพบว่าระดับน้ำมันเบรคพร่องลงไปจากขีดบอกระดับสูงสุด (Max) เพราะการสึกหรอของผ้าเบรค ก็อาจต้องเติมน้ำมันเบรคจนถึงระดับสูงสูด แต่ถ้าระดับน้ำมันเบรคลดลงมากเกินครึ่งจากระดับสูงสุด ต้องรีบตรวจหาสาเหตุ ซึ่งอาจจะมีจุดรั่วซึม เช่นที่ลูกยางเบรคที่ล้อ ที่ขั้วต่อของท่อเบรคจุดต่างๆ

    แต่ถ้าต้องเปลี่ยนน้ำมันเบรค นอกจากยี่ห้อ ความจุ และราคาน้ำมันเบรคแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดก็คือระดับมาตรฐานของน้ำมันเบรคขวดใหม่ ซึ่งตัวน้ำมันเบรคจะมีการกำหนดค่ามาตรฐานสำหรับน้ำมันเบรคที่เรียกว่า DOT ซึ่งส่วนผสมของสารเคมีที่แตกต่าง ก็จะให้ค่าจุดเดือดที่แตกต่าง ทั้งจุดเดือดแห้งและจุดเดือดเปียก

    มาตรฐานสำหรับน้ำมันเบรค

    มีหน่วยงานที่เข้ามาควบคุมมาตรฐานหลายหน่วยงาน ทั้งสมาคมวิศวกรยานยนต์ในสหรัฐอเมริกา Society of Automotive Engineer หรือ SAE และกรมการขนส่งของสหรัฐอเมริกา Department of Transportation หรือ DOT และสมาคมกำหนดมาตรฐานระหว่างชาติ International Standard Organization หรือ ISO ต่างก็ได้กำหนดมาตรฐานของน้ำมันเบรคที่ใช้ในระบบเบรคของยานพาหนะซึ่งเป็นที่ยอมรับและใช้กันทั่วไป ซึ่งมาตรฐานล่าสุดในขณะนี้ SAE คือ SAE J1704 และ DOT คือมาตรฐาน Federal Motor Vehicle Safety Standard หรือ FMVSS 116 DOT3, DOT4, DOT5 และ DOT5.1 ส่วนมาตรฐานของ ISO คือ ISO 4925

    แต่ที่รู้จักกันดี และเรียกจนติดปาก คือ DOT ได้กำหนดมาตรฐานของน้ำมันเบรค และแบ่งเกรดตามอุณหภูมิจุดเดือดของน้ำมันเบรค ซึ่งจุดเดือดที่ว่านั้นมี 2 อย่างคือ จุดเดือดเมื่อไม่มีความชื้นอยู่เลย (Dry Boiling Point) และจุดเดือดที่มีความชื้นอยู่ในน้ำมัน (Wet Boiling Point)

    • DOT 3 จุดเดือดแห้ง 205 องศาเซลเซียส (205 °C /401 °F) จุดเดือดเปียก 140 องศาเซลเซียส (140 °C /284 °F)
    • DOT 4 จุดเดือดแห้ง 230 องศาเซลเซียส (230 °C /446 °F) จุดเดือดเปียก 155 องศาเซลเซียส (155 °C /311 °F)
    • DOT 5 จุดเดือดแห้ง 260 องศาเซลเซียส (260 °C /500 °F) จุดเดือดเปียก 180 องศาเซลเซียส (180 °C /356 °F)
    • DOT 5.1 จุดเดือดแห้งไม่ต่ำกว่า 260 องศาเซลเซียส (260 °C /500 °F) จุดเดือดเปียก 180 องศาเซลเซียส (180 °C /356 °F)

    จุดเดือดแห้ง วัดจากน้ำมันเบรคใหม่ ที่ไม่มีส่วนผสมของโมเลกุลน้ำ จะให้ค่าจุดเดือดที่สูง และจุดเดือดเปียก วัดจากน้ำมันเบรคนั้นมีโมเลกุลน้ำผสมอยู่ข้างในไม่เกิน 3.7% ซึ่งจุดเดือดของน้ำมันเบรคจะลดลง และส่งผลต่อประสิทธิภาพของการเบรคได้ โดยน้ำมันเบรคที่มีน้ำเกิน 3.7% จะถือว่าเป็นน้ำมันเบรคที่เริ่มเสื่อมสภาพ ถ้าเกิดความร้อนสูงถึงจุดเดือดซ้ำๆ ปริมาณความชื้นเพิ่มมากขึ้น ทำให้จุดเดือดของน้ำมันเบรคต่ำลง และถ้าน้ำเดือดก็จะเกิดไอน้ำภายใน ทําให้แรงดันของน้ำมันเบรคขาดตอนกลายเป็นเบรคต่ำ เบรคหาย เบรคหยุ่นตัวเหมือนกับไล่ลมเบรคไม่หมด

    นอกจากนี้ในการใช้งานโอกาสที่ความชื้นจะเล็ดลอด สู่น้ำมันเบรคในระบบมีได้มากมายหลายทาง เช่น ความชื้นเข้าโดยการหายใจเข้า/ออกของระบบน้ำมันเบรคตรงฝากระปุกเบรค น้ำจากการอัดฉีดล้างเครื่องรถสามารถเข้าสู่กระปุกน้ำมันเบรคได้หากไม่ระมัดระวัง หรือเมื่อขับรถลุยน้ำ ยางกันฝุ่นสึกหรือไม่รัดแน่น น้ำก็สามารถเข้าสู่น้ำมันเบรคได้ตรงลูกสูบเบรคที่ล้อ ดังนั้นน้ำมันเบรคก็จะชื้นมากขึ้นเรื่อยๆ

    รถยนต์ในปัจจุบันเร็วและแรงขึ้น ระบบเบรคยิ่งร้อน โอกาสที่น้ำมันเบรคจะเสื่อมสภาพก็เร็วขึ้น แม้ว่าน้ำมันเบรคเป็นสารสังเคราะห์ทางเคมี แต่น้ำมันเบรคจะดูดความชื้นได้ง่ายและรวดเร็ว ประสิทธิภาพของน้ำมันเบรคจะ เสื่อมสภาพตามความชื้นที่สะสมเอาไว้ การตรวจสภาพน้ำมันเบรค ศูนย์บริการของตัวแทนจําหน่ายรถยนต์ สถานีบริการน้ำมัน อู่ซ่อมรถ จะทําการตรวจสภาพของน้ำมันเบรคโดยใช้เครื่องมืออิเลกทรอนิกส์วัดค่าความชื้นในน้ำมันเบรคและทราบผลได้เลย ว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนน้ำมันเบรคหรือยัง ถ้าไม่ได้ตรวจสภาพน้ำมันเบรคหรือไม่แน่ใจ ควรเปลี่ยนน้ำมันเบรคในระบบทุกๆ 1-2 ปี ไม่ว่ารถจะใช้มากหรือน้อยก็ตาม

    การเลือกใช้น้ำมันเบรค

    สิ่งที่พวกเราควรจะรู้ก็คือ เนื่องจากน้ำมันเบรค DOT 5 ที่มี Selicone Based oil มีคุณสมบัติที่ไม่ดูดความชื้นและแยกตัวออกจากน้ำแตกต่างจากน้ำมันเบรค DOT3, DOT4 ที่มี Glycol based oil ที่ดูดความชื้นง่ายและรวมตัวกับน้ำได้ จึงไม่สามารถผสมปนกันได้ และที่สำคัญคือ น้ำมันเบรค DOT 5 ไม่สามารถใช้ได้กับระบบเบรค ABS จึงมีน้ำมันเบรค DOT 5.1 ที่มีส่วนผสมของ Glycol Ether/Borate Ester สำหรับรถรุ่นใหม่ที่มีระบบเบรค ABS

    รถยนต์โดยส่วนมาก มักจะใช้น้ำมันเบรค DOT 3 หรือ น้ำมันเบรค DOT 4 มากกว่า โดยน้ำมันเบรค DOT3 ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย Polyalkylene Glycol Ether กับ Glycols based oil ส่วน DOT 4 จะผสม Borate Esters เพิ่มเข้าไปด้วย ซึ่งส่งผลให้มีจุดเดือดที่สูงกว่า และ DOT 4 ของผู้ผลิตหลายรายมีจุดเดือดสูงกว่า DOT 5.1

    หากคุณใช้น้ำมันเบรค DOT ไหน ก็ให้ใช้เหมือนเดิมถ้าต้องการประหยัดค่าซ่อมบำรุง เพราะน้ำมันเบรคแต่ละชนิดและแต่ละ DOT ห้ามผสมหรือเจือปนเด็ดขาด เพราะจะส่งผลต่อการลดอายุการใช้งานของระบบเบรคได้ ทางที่ดี หากอยากเปลี่ยนเป็นยี่ห้อใหม่หรือเปลี่ยน DOT ก็ควรถ่ายน้ำมันเบรคของเดิมออกให้หมดก่อน และอย่าลืมจดจำเอาไว้ว่าล่าสุดใช้ยี่ห้ออะไรและ DOT เท่าไหร่ เมื่อต้องเปลี่ยนน้ำมันเบรคจะได้หาซื้อน้ำมันเบรคได้ถูกต้อง

    อ่านเพิ่มเติม >> ระบบ ABS คืออะไร ทำงานอย่างไร

    แต่ถ้าหากผู้อ่านสนใจจะเปลี่ยนรถใหม่ หรือมองหารถยนต์ใช้งานสักคันโดนที่ประหยัดงบ และคุ้มค่าเงินมากที่สุด เราก็ขอแนะนำ รถยนต์มือสอง ถือว่าเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุดในช่วงเศรษฐกิจในตอนนี้ หากท่านผู้อ่านสนใจแล้วละก็ไปดูกันเลยที่ Appleluxycar โชว์รูมรถหรูมือสอง ที่รวบรวม “รถยุโรปมือสอง ไว้อย่างมากมาย รวมไปถึง รถบ้านมือสอง ทุกยี่ห้ออีกด้วย

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in