เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
การจัดการโลจิสติกส์bungbungjk
ประเภท การวัดประสิทธิภาพและจุดเชื่อมต่อเครือข่ายกระจายสินค้า
  • ประเภทของการจัดการโลจิสติกส์

          การจัดการโลจิสติกส์สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆตามลักษณะของบทบาทหน้าที่มหภาคของประเทศได้ดังนี้

    1. การจัดการโลจิสติกส์ด้านการทหาร(MilitaryLogistics Management) หมายถึง การจัดการการจัดส่งกำลังบำรุงด้านการทหารเช่น ยุทโธปกรณ์ ปัจจัยสี่ การรักษาพยาบาลและสารสนเทศเพื่อมุ่งหวังชัยชนะทางทหารเป็นสำคัญ

    2. การจัดการโลจิสติกส์ด้านวิศวกรรม(EngineeringLogistics Management) หมายถึง การจัดการด้านการวิศวกรรมจัดส่งลำเรียงอันได้แก่การสร้าง การบูรณาการและการบำรุงรักษาสาธารณูปการ ทั้งระบบขนส่งทางบกทางน้ำ ทางอากาศ และทางท่อ ระบบการจัดเก็บและระบบสารสนเทศเพื่อมุ่งหวังความพร้อมในระบบการจัดเก็บและการจัดส่งลำเรียงทั้งระบบเป็น สำคัญ

    3. การจัดการโลจิสติกด้านธุรกิจ (BusinessLogistics Management) หมายถึง การจัดการด้านการจัดเก็บและจัดส่งสินค้าคน สัตว์ สิ่งของ จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตามที่มนุษย์ต้องการเพื่อมุ่งหวังความสำเร็จทางธุรกิจเป็นสำคัญ



    การวัดประสิทธิภาพที่เกิดจากการดำเนินการในกิจกรรมโลจิสติกส์

    -ต้นทุนที่ใช้ในกิจกรรมโลจิสติกส์

    -การตอบสนองอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นอัตราการหมุนเวียนสินค้า รอบเวลาในการจัดส่งสินค้า เป็นต้น

    -ความพึงพอใจของลูกค้า

    -ความพึงพอใจของทีมงาน



    • จุดเชื่อมต่อของเครือข่ายกระจายสินค้า

      จุดเชื่อมต่อของเครือข่ายกระจายสินค้าประกอบไปด้วย

       -  โรงงานที่ทำการผลิตหรือประกอบผลิตภัณฑ์

      -   คลังพัสดุหรือที่เก็บสินค้าเป็นความคิดเกี่ยวกับคลังสินค้าแบบมาตรฐานเพื่อที่จะเก็บสินค้า(สินค้าคงคลังระดับสูง)

      -   ศูนย์กระจายสินค้าใช้สำหรับกระบวนการสั่งสินค้าและการเติมเต็มคำสั่งซื้อ (สินค้าคงคลังระดับรองลงมา)และยังใช้สำหรับรับสินค้าที่ถูกตีกลับจากลูกค้าด้วย

      -   จุดโอนย้ายสินค้าเป็นจุดที่มีกิจกรรมการเปลี่ยนถ่ายสินค้าซึ่งอาจจะมีการประกอบสินค้าใหม่ตามตารางการส่งสินค้า (เคลื่อนย้ายสินค้าเท่านั้น)

      -   ร้านขายของชำซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือ ร้านค้าปลีกลูกโซ่สหกรณ์ผู้บริโภค เป็นจุดที่รวมกำลังซื้อของผู้บริโภคและบริษัทย่อยส่วนใหญ่มีบริษัทอื่นเป็นเจ้าของและแฟรนไชส์เป็นเจ้าของจุดขายแม้ว่าจะใช้แบรนด์ของบริษัทอื่น

      ทั้งนี้อาจมีตัวกลางในการดำเนินงานสำหรับตัวแทนระหว่างจุดเชื่อมต่อเช่นตัวแทนขายหรือนายหน้า

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in