เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
out of the silent planetscar.
Sherlock BBC: The Abominable Bride
  • โพสต์ครั้งแรกในเฟสบุ๊คตัวเอง เมื่อปีที่แล้ว



    • กลายเป็นว่า The Abominable Bride เป็นตอนพิเศษของเชอร์ล็อคที่เป็นบทวิจารณ์ของนักเขียน และเป็นตอนที่เฟมินิสต์มากเลยทีเดียว และเพราะว่า Sherlock BBC ดัดแปลงมาจากของเก่าเพื่อให้เข้ากับยุคปัจจุบันอยู่แล้ว เอพิโซดนี้ก็เลยใช้เทคนิคมองสังคมผ่านเลนส์แบบโมเดิร์น โดยให้ตัวละครย้อนกลับไปดูตัวเอง...แบบเมาๆ นี่แหละ 

    • ตอนที่คุณนายฮัดสันบอกว่า "ฉันเป็นเจ้าบ้านของพวกคุณนะ ไม่ใช่เครื่องมือดำเนินเรื่อง (plot device)" อันนี้เหมือนบอกใบ้คนดูอยู่กลายๆ ว่า ตอนพิเศษนี้เป็นเรื่องเล่าซ้อนเรื่องเล่า มีประเด็นสำคัญรองจากการไขคดีแน่นอน

    • ซึ่งประเด็นที่ว่าก็คือแฝงการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นทางสังคมนี่เอง

    • คุณนายฮัดสันยังเป็นหนึ่งในตัวละครที่ลุกขึ้นมาวิจารณ์งานของผู้เขียน แม้ว่าตัวละครทั้งหมดกำลังอยู่ในยุควิคตอเรียน แต่ละครกำลังเล่าผ่านมุมมองของเชอร์ล็อคยุคใหม่ให้ผู้ชมรับรู้ ดังนั้นเราเลยได้เห็นว่าเชอร์ล็อคเข้าข้างคุณนายฮัดสัน เพราะการที่หมอเขียนหนังสือโดยมีอคตินิยมต่อผู้หญิงแบบนั้นมันไม่ดีไง

    • เอพิโซดนี้วัตสันโดนเต็มๆ 555 แม้แต่สาวใช้ในบ้านตัวเองยังวิจารณ์ว่าหมอลิดรอนบทบาทผู้หญิงและบิดเบือนตัวละครหญิง ในตอนนี้คนเดียวที่บอกว่า งานเขียนของหมอก็ดีนะ ชอบๆ คือคนใช้ของไมครอฟท์ ซึ่งเป็นผู้ชาย

    • กระทั่งฮูเปอร์ยังต้องปลอมตัวเพื่อให้ทำหน้าที่ของตัวเองได้และเพื่อเป็นที่ยอมรับในสังคม

    • ที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งคือ เนื่องจากเป็นมุมมองของเชอร์ล็อค แล้วนักสืบช่างสังเกตระดับนี้ละ ไม่น่าเป็นไปได้ที่จะไม่รู้ว่าฮูเปอร์เป็นผู้หญิง แต่เป็นเพราะทั้งในต้นฉบับยุควิคตอเรียนของท่านเซอร์ฯ และฉบับตีความแบบโมเดิร์นของบีบีซี เชอร์ล็อคไม่สนใจ 'เพศสภาพ' ของใครเลยต่างหาก ตราบใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำ

    • ดังนั้นเลยเกิดเป็นภาพคู่ขนาน วิจารณ์ต่อไปอีกว่าในฐานะที่เป็นผู้เขียนและตัวดำเนินเรื่องหลัก วัตสันคือตัวแทนของ 'ผู้ชายปกติ' ในสังคม ที่มักมองข้ามสิทธิคนอื่น (โดยเฉพาะผู้หญิง) โดยไม่รู้ตัว แต่ผู้ชายทั่วไปอย่างวัตสันก็ไม่จำเป็นต้องหัวโบราณ หรือคิดว่าสังคมผู้ชายเป็นใหญ่ตลอดกาลก็ได้ ถ้ามีโอกาสแก้ไข ก็ลองเปลี่ยนมุมมองตัวเองให้เข้ากับสภาพสังคมและยุคสมัยที่เปลี่ยนไปแล้วได้นะ ซึ่งคนเขียนบทก็เลือกให้วัตสันทำแบบนั้นด้วย
     
    • หนึ่งในตัวอย่างเช่น ในฉากยุควิคตอเรียน วัตสันสั่งให้แมรีทำกับข้าวรอที่บ้าน แต่จอห์นยุคใหม่ไม่สั่งอะไรภรรยาทั้งนั้น แถมแมรียังหลุดจาก stereotype ผู้หญิงแบบยุคโบราณด้วยการเป็นคนเดียวที่ตัดสินใจได้ และลงมือทำงานจริงจังในระหว่างที่ผู้ชายทุกคนมัวแต่เถียงกันไปมา

    • ถ้าหากสรุปว่าวัตสันเป็นผู้ชาย 'ปกติ' หรือเฮเทโรฯ ละก็ ตอนที่วัตสันถามโฮล์มส์เรื่องความรัก แล้วโฮล์มส์ตอบว่า "Nothing made me. I made me." เราก็เลยอนุมานว่าคนเขียนบทตั้งใจให้เชอร์ล็อคเวอร์ชันนี้เป็น asexual หรือ aromantic (หรือตามต้นฉบับ คือเป็นพวกแต่งกับงาน)

    • (อันนี้คหสต. แต่เราว่าไม่ควรจะมีผลอะไรกับเหล่าชิปเปอร์ทั้งสิ้น แฟนๆ มโนกันมาร้อยกว่าปีแล้วจงฮึกเหิมต่อไปอย่าได้แคร์ 555 เหมือนออฟฟิเชียลก็ชง JohnLock ตามแบบท่านเซอร์ฯ มากกว่าจะอยากฟันธงไปในทางใดทางหนึ่ง)

    • แน่นอนว่ามอริอาตีคือด้านมืดในใจของเชอร์ล็อค

    • การตีความ Sherlock Holmes นี่เกิดขึ้นบ่อยและหลากหลาย แต่ละเวอร์ชันไม่ได้ตรงกันหมด จะเป็นแบบตรงยุคไปเลยก็ดี ทดลองอ่านโฮล์มส์เป็นแอสเพอร์เกอร์ก็ได้ แบบ RDJ ก็ดูเวิ่นๆ หน่อย แบบหมอเฮาส์ก็ดูเป็นโฮล์มส์แก่ที่ขวางโลกปากร้ายไปอีก ฯลฯ ส่วน Sherlock BBC ถึงจะตีความจัดฉากใหม่แบบโมเดิร์น แต่ในขณะเดียวกันเราว่าก็พยายามคงสปิริตของหนังสือไว้มากทีเดียว

    • อนึ่ง The Abominable Bride เป็นตอนที่ชวนให้เห็นใจคุณพี่นิดๆ เชอร์ล็อคมีปมด้อยที่รู้สึกว่าพี่ชายเก่งกว่า อิพี่ชายก็ชอบทับถมเพราะหลงตัวเองละเกิน ภาพที่สะท้อนผ่านเลนส์ออกมาจึงเป็นภาพของพี่น้องที่แข่งขันเอาชนะกันด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องสุดๆ (เป็นตอนที่ได้เห็นมุมที่รักน้องจริงๆ ของไมครอฟท์ด้วย โดยเฉพาะฉากเกือบสุดท้าย ซึ่งเชอร์ล็อคหันหลังจากไปอย่างไม่รับรู้)



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in