เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บันทึกนักอยากเขียนSooth Suwansakornkul
ความเชื่อ
  • กฎสี่ข้อเรื่องความเชื่อ ของ ผมเอง
    .
    1. คุณจะเป็น อย่างที่คุณเชื่อ แม้คนอื่นไม่เชื่อ อย่างที่คุณเป็น
    2. ความเชื่อของคุณเปลี่ยนความจริงไม่ได้ ต่อให้คุณเชื่อว่าโลกแบน มันก็ยังกลม เว้นแต่คุณจะลงมือ"ทำ"ให้มันเกิดขึ้นจริง
    3. คนเราเปลี่ยนความเชื่อได้ หากความเชื่อใหม่ทำให้เขามีความสุขกว่าความเชื่อเดิม และเขาจะไม่เชื่อถ้าเห็นคนที่เชื่อแบบนั้นไม่มีความสุข ความสุขจึงเป็นเหตุว่าทำไมใครจึงเชื่ออย่างนั้น
    4. เมื่อความเชื่อรวมกลุ่มเข้ามันจะเข้มข้นและมีพลังมากขึ้น ถ้าคุณเจอคนที่คิดเหมือนกันเชื่อเหมือนกันคุณจะรู้สึกว่าความเชื่อเช่นนั้นมีพลังมากขึ้น
    .
    ถ้าเราจะเปลี่ยนพฤติกรรมใคร เราต้องเปลี่ยนความเชื่อเขาก่อน และก่อนหน้านั้นก็มีลำดับขั้นดังนี้
    .
    1. อารมณ์เป็นจุดอ่อนของมนุษย์ส่วนใหญ่ แตะต้องและสัมผัสได้ง่ายที่สุด เมื่อคุณต้องการให้ใครหันมาสนใจสิ่งที่คุณกำลังสื่อ อารมณ์คือเหยื่อชั้นดีชิ้นแรกที่คุณจะวางไว้ล่อพวกเขา
    เมื่อคุณสั่นคลอนอารมณ์ของเขาได้ ก็เท่ากับทำให้เขาหันมามองคุณแล้ว
    2. เหตุผล เมื่ออารณ์ถูกสั่นคลอน เขาจะฟุ้งอยู่สักระยะหนึ่ง ไม่ว่าจะอยู่ในความพึงพอใจหรือไม่ก็ตาม ถ้าอยุ่ในความพึงพอใจ ก็มีแนวโน้มว่าจะเกิดการติด และต้องการเหยื่อชิ้นนั้นอยู่เรื่อย ๆ เท่ากับคุณคุมพฤติกรรมของเขาได้แล้วกลาย ๆ ในกรณีที่ไม่เห้นด้วย เขาก็จะต่อต้าน ดังนั้นถ้าคุณอยากให้เขาต่อต้าน คุณก้ต้องให้เหยื่อที่ตรงข้ามกัน ส่วนเหยื่อชิ้นที่เรียกว่าเหตุผลนี้เอาออกมาใช้เพื่อสั่นคลอนความเชื่อ
    3. คนเราเชื่ออย่างไรก็เป็นแบบนั้น แต่ความเชื่อของคนมันมีทิศทาง คือเชื่อมากขึ้นก็ได้ ไม่เชื่อมากขึ้นก็ได้ เมื่อคุณสั่นคลอนอารณ์ของเขาได้แล้ว คุณก็วางเหตุผลให้กับปลาตัวที่คุณอยากจับ ถ้ามันไม่ชอบเหยื่อมันก็จะไม่ฮุบ เป็นการคัดแยกเบื้องต้น อยากให้เขาต่อต้าน ให้เหตุผลที่เขาไม่เห็นด้วย อยากให้เขาคล้อยตามก็ให้สารที่เขาเห็นด้วย สารที่ทำให้เขาเห้นด้วยจะตอกย้ำให้เขาเชื่อ รู้สึกมีพลังและมั่นใจ จนกระทั่งแสดงออกเป็นพฤติกรรม
    4.พอเขาเชื่อคุณ ตอนนี้ทิศทางพฤติกรรมของเขาก็จะแสดงออกไปในแนวทางที่สอดคล้องกับความเชื่อ
    .
    อาการย้อนแย้ง
    .
    ธรรมดามนุษย์มีสัญชาตญาณในการเอาตัวรอด
    คนที่มีความเป็นสัตว์มากจะมีสัญชาตญาณเอาตัวรอดมาก
    กว่าคนที่มีความเป็นมนุษย์
    .
    อาการย้อนแย้งเกิดจากสัญชาตญาณการปกป้องตัวเองและเอาชีวิตรอด เมื่อรู้สึกถึงอันตรายเราก็จะเบรคตัวเองชั่วขณะเพื่อถอยหลังหรือเดินหน้าต่อ
    .
    ในการสนทนาถกเถียง เราจึงเห็นความย้อนแย้งมากมายจากคนที่ปกป้องตนเองและต้องการเอาตัวรอด
    .
    สัญชาตญาณเช่นนี้เองที่พรานใช้ในการควบคุมพฤติกรรมเหยื่อ ไม่ว่าเหยื่อจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ล้วนอยู่ในการคาดคะเนไว้แล้วของนายพราน
    ...
    แล้วที่พูดมาทั้งหมดมันเกี่ยวอะไรกับ การตั้งศาสนาใหม่
    การมีศาสนาเท่ากับต้องมีศาสดา
    ศาสดาพูดสาวกก็เชื่อว่าดีงามเห็นด้วย จึงมีความรักความศรัทธา เพราะเชื่อแล้วมีความสุข
    การแสดงพฤติกรรมจึงสอดคล้องไปกับความเชื่อทางศาสนา
    .
    การสร้างศาสนาคือการทำให้เชื่อ และไม่เชื่อ
    การหักล้างความเชื่อที่มีอยู่เดิมทำให้คนถอยหลังและเปลี่ยนจากความเชื่อเดิมได้ เช่น "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"
    หากมีคนเชื่อเช่นนั้น แล้วมีคนหักล้างความเชื่อนั้นเสีย
    ด้วยแนวคิด "ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วได้ดี" แล้วลงมือทำให้คนเชื่อแบบนั้น เช่น ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์แล้วได้ทรัพยากร คนที่ได้ประโยชน์ และมีความสุขเมื่อได้ทรัพยากรก็จะลงมือฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
    .
    บางที่ปิศาจก็ให้รางวัลกับคุณ เพื่อให้คุณเชื่อว่ามันเป็นพระเจ้า พอคุณเชื่อฝังหัวและศรัทธามันแล้ว คุณก็กลายเป็นสาวกของมัน
    .
    .
    ถ้าคุณเชื่อ แต่ไม่ลงมือทำ มันก็เป็นแค่จินตนาการลอย ๆ จับต้องไม่ได้ แต่ถ้าคุณเชื่อแล้วลงมือทำ โอกาสเป็นจริงก็จะมีมากขึ้น มากกว่าการไม่ลงมือทำ
    .
    ความเชื่อที่ทำให้คนเชื่อตาย มักไม่ค่อยมีใครเชื่อ
    .
    ความรักกับความศรัทธาต่างกัน
    .
    คุณไม่เชื่อคนที่คุณรักได้ เช่นคุณรักเพื่อน แต่คุณไม่จำเป็นต้องเชื่อเพื่อน
    แต่ความศรัทธานั้น เป็นความเชื่อเพราะรักในสิ่งที่เชื่อว่าดีกว่า
    ใช้ยกสิ่งที่คุณเชื่อให้สูงกว่านั่นเอง เมื่อคนที่คุณศรัทธาพูด คุณก็จะเชื่อก่อน แม้จะยังไม่ได้ลงมือพิสูจน์


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in