เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
TEDxTalkslittlestudyblog
คำตอบในการแก้ปัญหาสภาวะเคว้งคว้าง สับสน ไร้ค่า ในช่วงวิกฤติ Quarter-Life Crisis
  • #แนะนำTEDTalks Refusing to Settle: The Quarter-Life Crisis

    วิกฤติการณ์ของคนวัย 20 ที่กำลังจะเข้าสู่ 20 ตอนปลาย เกี่ยวกับการลงมือทำสิ่งที่ตัวเองอยากทำ ใครก็ตามที่กำลังหาคำตอบให้กับชีวิตมาลองดูวิดีโอนี้กันค่ะ

    ก่อนหน้านี้ Smiley ถือว่าเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง มีงานที่มั่นคง มีหน้ามีตาในสังคม หลายต่อหลายปีเขาทำงานเพื่อไต่ระดับขึ้นไปสู่ขั้นสูงสุดของอาชีพการทำงาน แม้ว่าใครๆ ต่างก็พากันอิจฉาในความสำเร็จของเขา แต่ตัวเขานั้นกลับไม่มีความสุขเลย

    Smiley ทรมานกับสภาวะเคว้งคว้าง สับสน รู้สึก unfulfilled กับงานของตัวเอง เขากลับจากการทำงานมาทุกวันพร้อมกับความรู้สึกเบื่อหน่าย ความหวังลึกๆ ที่มีมานานคือ อยากออกเดินทาง เขียนหนังสือ และช่วยเหลือผู้คน

    ในท้ายที่สุดเขาก็ได้ทิ้งสิ่งที่หลายคนต่างก็แข่งขันกับการ climb the career ladder ไปทำในสิ่งที่เขาต้องการ โดยในทอล์คนี้ จะเป็นสิ่งที่เขาแนะนำให้ใครก็ตามที่รู้สึกแบบเดียวกับตัวเขาเมื่อแต่ก่อน ให้ออกมาทำตามสิ่งที่อยากทำเสียที

    ข้อแรก "อยู่ท่ามกลางผู้คนที่สนับสนุนความฝัน"

    หลังจากเบื่อหน่ายกับคำพูดลดทอนกำลังใจจากคนรอบข้างที่บอกให้เขาปลงกับชีวิตซะ Smiley ก็ได้พาตัวเองเข้าหาพวก Believer ตามงานต่างๆ ซึ่งรวมผู้ประกอบการและทุกคนต่างก็มีโปรเจคของตัวเอง ซึ่งเมื่อเขาได้แชร์สิ่งที่เขาอยากทำกับคนกลุ่มนี้ เหล่า Believer นั้นต่างสนับสนุนให้เขาเริ่มลงมือรับผิดชอบกับความฝันของเขาทันที

    เป้าหมายของพวกที่ Smiley เรียกว่าเหล่า Believer นั้นไม่ได้เกี่ยวกับการจะทำอย่างไรถึงจะทำเงินได้มหาศาลหรือจะไต่ขึ้นไปยังจุดสูงสุดของการทำงานในบริษัทชั้นนำ แต่สนใจในเรื่องการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ หรือจะใช้ทักษะที่ตัวเองมีทั้งหมดให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อช่วยเหลือผู้คนได้อย่างไร

    พวกเขายอมแม้กระทั่งเงินเดือนที่น้อยกว่า เพราะว่าความสำเร็จในความหมายของพวกเขา (หรือที่ Smiley เรียกว่า ของ millennial generation) คือการที่พวกเขาได้ใช้ทักษะทั้งหมดลงแรงทำงานที่มีคุณค่าและความหมายทั้งต่อตัวเขาเองและต่อสังคม

    แล้วเราจะหางานที่มีคุณค่าต่อตัวเองได้อย่างไร?

    Smiley ได้ให้บทเรียนที่สองที่ว่าคือ "การเลิกเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น และเริ่มลงมือทำสิ่งที่คุณคิดว่ามีความหมายต่อตัว คุณ

    แม้แต่เพื่อนๆ ของ Smiley เองที่เขาคิดว่าประสบความสำเร็จในสายตาของสังคม คือได้ทำงานในบริษัทชั้นนำ หรือเป็นทนาย ใช้ชีวิตที่ดูเหมือนจะมีความสุขผ่านเฟสบุ้ค เขาพวกนั้นต่างก็ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำงานไล่ตามอะไรอยู่ด้วยซ้ำ

    ดังนั้นแทนที่จะไปคิดแทนคนอื่น เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น หรือไล่ตามอาชีพที่สังคมยอมรับและยกย่อง ทั้งๆที่ก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองต้องการหรือไม่ ทำไมไม่มาสร้างอาชีพและทำในสิ่งที่มีความหมายที่มีค่าต่อตัวของคุณล่ะ

    ลองถามตัวเองว่า
    1. ทำไมคุณถึงเกิดมาบนโลกนี้
    2. คุณสามารถทำอะไรเพื่อคนอื่นได้บ้าง
    3. คุณสามารถใช้ทักษะพิเศษที่คุณมีอันเป็นของคุณคนเดียวนั้น สร้างงานที่มีความหมายและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกใบนี้ได้อย่างไร


    "งานที่มีความหมาย" นั้นต่างก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ไม่ใช่สิ่งที่เจ้านาย พ่อแม่ หรือเพื่อนในเฟสบุ้คคิดว่ามีความหมาย แต่คือตัวของคุณเอง ลองถามตัวเองว่า "มีสิ่งใดที่ฉันทำแล้วตื่นเต้น หรือเหตุการณ์ไหนที่ได้จุดประกายให้ฉันอยากลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อสังคมบ้าง?"

    ข้อสุดท้ายคือ เมื่อรู้ตัวเองว่าอยากทำอะไรให้ "เริ่มลงมือทำเป็นบ้าเป็นหลังพร้อมตั้งรับมือกับปัญหาทุกอย่างที่จะเข้ามา"

    Key message ของทอล์คนี้ไม่ใช่ให้ฟังแล้วลาออกจากงานทันที แต่ให้ดูว่างานที่ตัวเองทำในปัจจุบันนั้นมีสกิลอะไรบ้างที่จะช่วยในการสร้างโปรเจคที่จะทำในอนาคตและพัฒนามัน

    ลงมือทำสิ่งที่อยากทำเสียตั้งแต่ตอนนี้ ไม่มีคอนเนกชั่นก็สร้างคอนเนกชั่นซะ ออกมาจากคอมฟอร์ตโซน ลงมือเสี่ยง ออกเดินทาง สมัครคลาสที่อยากเรียนมานาน ไปทำงานหรือเป็นจิตอาสาที่ต่างประเทศ เปิดตัวโปรเจคที่ทำมานานเสียเถอะ ถ้าสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่คุณต้องการ ผู้คนที่เห็นคุณได้ทำงานหนักเพื่อสิ่งที่คุณเชื่อมั่นนั้น คุณจะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาและพวกเขาจะสนับสนุนคุณเอง

    ดูวิดีโอแบบเต็มๆ ได้ที่: https://youtu.be/ddek3gQVt9Y


    Let's Connect!!
    ติดตามเราในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
    Facebook: https://www.facebook.com/LittleStudyBlog/
    Instagram: https://www.instagram.com/littlestudyblog/
    Twitter: https://twitter.com/littlestudyblog
    Wordpress: https://littlestudyblog.wordpress.com/author/littlestudyblog/
    Little Study Group: https://www.facebook.com/groups/1776434806005447/?ref=bookmarks

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in