เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
3D PrinterThanpitcha Chachacha
3D Printing
  • หลายๆคนอาจยังมองว่าเครื่องพิมพ์สามมิติหรือ 3D Printing เป็นเรื่องที่ห่างไกลตัว แต่ในปัจจุบันนี้ เครื่องพิมพ์สามสิตินี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากกว่าที่คาดคิด โดยเครื่องพิมพ์สามารถตอบโจทย์กลุ่มคนได้อย่างหลากหลายเช่นกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพ นักเรียน นักศึกษา รวมไปถึงการเรียนการสอนระดับโรงเรียนที่สามารถเข้าถึงได้และราคาไม่แพงมากนัก






    "การผ่านไปของเวลาเป็นสิ่งที่ทำให้เทคโนโลยีก้าวหน้าไปเรื่อยๆ และราคาของเทคโนโลยีต่างๆที่เคยเอื้อมไม่ถึงในอดีตก็ลดต่ำลงทำให้ทุกคนเอื้อมถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น"



    "What's 3D Printing"

    3D Printing มีชื่อเรียกอีกอย่างคือ Additive Manufacturing 

                     คือการขึ้นรูปชิ้นงานโดยการเติมเนื้อวัสดุทีละชั้นๆจนได้ออกมาเป็นวัตถุที่ต้องการกระบวนการผลิตชนิดนี้ได้ฉีกแนวจากวิธีการแบบเดิมๆที่เรียกว่า Subtractive Manufacturing ที่เป็นการสกัดเนื้อวัสดุออกจนได้เป็นรูปร่างของวัตถุที่ต้องการผลิตโดยวิธีการตัด กลึง ไส เจาะ เจียรไน เป็นต้น ดังนั้นการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) นั้นเป็นการสร้างวัตถุ 3 มิติจากไฟล์ 3D CAD โดยตรง ซึ่งมีความกว้าง ยาว ลึก สามารถจับต้องและนำไปใช้งานได้จริง






    "Advantages of 3D Printing"

    3D Printing สามารถก่อประโยชน์ได้อย่างหลากหลายทั้งในด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม การแพทย์คณิตศาสตร์และรวมไปถึงวิทยาศาสตร์ด้วย และสามารถยกตัวอย่างในด้านวิทยาศาสตร์ได้ เช่น





    ราคาต้นทุนที่ควรรู้




    จากข้อมูลทั้งหมดนี้ทำให้ทราบได้ว่าราคาโดยเฉลี่ยต่อเมตรของเส้นพลาสติกคือ1.5 บาทและทำให้คำนวณราคาของโมเดลต่อชิ้นได้เนื่องจากโปรแกรมที่สั่งพิมพ์นั้นบอกระยะเวลาที่ใช้ในการพิมพ์ บอกความยาวที่ใช้ต่อ1โมเดล และบอกไปถึงน้ำหนักของโมเดลชิ้นนั้นๆด้วย  ยกตัวอย่างเช่น


    • การพิมพ์ Test tube rack ที่มีความยาว 16.85 เมตร ใช้เวลาทั้งหมด 5 ชั่วโมง 2 นาที คิดเป็นราคา 25.275 บาท



    แต่ในครั้งแรกที่สั่งพิมพ์นั้นไม่สามารถนำ Test tube rack มาใช้งานได้จริงเนื่องจากมีขนาดเล็กเกินไป จึงต้องทำการขยายขนาดเพื่อให้นำมาใช้งานได้ ซึ่งขนาดที่ทำการขยายใหม่นั้นใช้เวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง 22 นาที (สั่งพิมพ์ข้ามคืน) และใช้ปริมาณพลาสติกด้วยความยาว 63.24 เมตร คิดเป็นเงิน 94.86 บาท



    และหาก Test tube rack ที่พิมพ์เองเป็นไปในราคา 95 บาท เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ Test tube rack ราคาทั่วไปที่ขายกันแล้วนั้นมีความแตกต่างกันไม่มากเท่าไรนัก เพราะในการที่ทำการสั่งพิมพ์เองแม้จะทำให้ประหยัดมากแต่มีราคาส่วนอื่นที่ต้องจ่ายแทนเช่น ค่าไฟ ต้องจ่ายขณะที่ทำการพิมพ์อยู่ตลอด 16 ชั่วโมงที่ทำการพิมพ์ ซึ่งเมื่อคำนวณดีๆแล้วการซื้อสิ่งของทั่วไปอาจดีกว่าการสั่งพิมพ์ ยกเว้นการสั่งพิมพ์แบบโมเดลที่เฉพาะเจาะจง ไม่สามารถหาซื้อได้ เช่น โมเดลโครงสร้างโปรตีนโดยตรงจาก PDB (Protein Data Bank) หรือหากเป็นในทางศิลปะ สถาปัตยกรรม ก็คือการพิมพ์โมเดลเปลนบ้านหรือตัวอย่างที่ต้องการให้เห็นภาพชัดเจน เป็นต้น 

    ดังนั้นในการสั่งพิมพ์แต่ละครั้งต้องมีการตัดสินใจที่ดี รอบคอบ และคำนวณถึงค่าไฟที่ต้องจ่ายด้วย








Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in