เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
In mind. I missed you.NickyWit
Sunshine School 152nd
  • Motto :

    The fear of the LORD is the beginning of wisdom

    เมื่อปีคริสตศักราช 1861 (.. 2404) คณะมิชชันนารีอเมริกา ประกอบด้วย ศาสนาจารย์ เอส.จี.แมคฟาร์แลนด์ (Rev.S.G.Mcfarland) ศาสนาจารย์แดเนียล แมกกิลวารี (Rev.Daniel Mcgilvary) พร้อมด้วยครอบครัวได้เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ พร้อมทั้งวางรากฐานการศึกษาแผนใหม่ให้กับชาวเมืองเพชรบุรีในขณะนั้น เจ้าเมืองเพชรบุรีในสมัยนั้นคือ พระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (ท้วม บุนนาค) ท่านมีความคิดก้าวหน้าและมองการณ์ไกลจึงได้หารือกับผู้ว่าราชการเมืองคือ เจ้าพระยาสุรินทร์ฤๅชัย ได้ทำหนังสือเชิญคณะมิชชันนารีมาช่วยสอนภาษาอังกฤษให้แก่คนเพชรบุรีและบุตรชายของท่านก็เป็นนักเรียนคนแรกของโรงเรียนคริสเตียนในจังหวัดเพชรบุรี

    ปีคริสตศักราช 1865 (.. 2408) ในเดือนเมษายนโรงเรียนราษฎร์สตรีแห่งแรกในประเทศไทยได้กำเนิดขึ้นโดย ศาสนาจารย์ เอส.จี.แมคฟาร์แลนด์ (Rev.S.G.Mcfarland) และแหม่มแมคฟาร์แลนด์ (Mrs.Jane Hays Mcfarland) เป็นเรือนไม้สักมุงจาก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชรฝั่งตะวันตก ข้างวัดไชยสุรินทร์ มีชื่อเรียกว่า “โรงเรียนสตรีฝึกหัดทำการ” หรือ “โรงเรียนการช่างสตรี” (Industiral School) เพราะนอกจากจะสอนวิชาการทั่วไปแล้วยังเน้นการเย็บปักถักร้อยเป็นสำคัญ และแหม่มแมคฟาร์แลนด์เป็นครูคนแรกของโรงเรียน และเป็นผู้นำทำให้เมืองเพชรได้ชื่อว่า “เมืองแห่งจักรเย็บผ้า” (Sewing Machine Town) เพราะเป็นครูที่นำจักรเย็บผ้าเข้ามายังประเทศไทย และใช้สอนกุลสตรีเมืองเพชร ณ สถานศึกษาแห่งนี้

    กิจกรรมของโรงเรียนได้เจริญก้าวหน้าไปมาก มีผู้สนใจและเห็นคุณประโยชน์ของการศึกษาจึงส่งบุตรหลานมาเรียนมาก ทำให้สถานที่ไม่เพียงพอ ศาสนาจารย์เอส.จี.แมคฟาร์แลนด์ (Rev.S.G.Mcfarland) จึงได้ขอเงินจาก คณะกรรมการเพรสไบทีเรียนมิชชั่นในสหรัฐอเมริกา (The Presbyterian Mission board of America) มาสร้างโรงเรียนอาชีวศึกษาของชาวคริสต์ (Christian Vocational School) เป็นตึก 2 ชั้น

    ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนการศึกษาได้พระราชทานเงินส่วนพระองค์ 1,000 ดอลล่าร์ สมทบทุนสร้างโรงเรียนแห่งนี้ด้วย ศาสนาจารย์ เอส.จี.แมคฟาร์แลนด์ (Rev.S.G.Mcfarland) ได้ออกแบบและทำการก่อสร้างตึกเรียนแล้วเสร็จในปีคริสตศักราช 1882 (พ.ศ. 2425) เรียกชื่อโรงเรียนหลังใหม่ว่า เฮาเวอร์ด เมมเมอเรียลสกูล (Howard Memorial School) หรือโรงเรียนสตรีโฮเวอร์ดอนุสรณ์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงศาสนาจารย์วิลเลี่ยม เอ.เฮาเวอร์ด ศิษยาภิบาล ของคริสตจักรที่ได้บริจาคเงินเป็นคนแรกและมีชื่อภาษาไทยว่า “โรงเรียนอรุณสตรี” อาจารย์ฝรั่งคนแรกคือแหม่มแมคฟาร์แลนด์ และครูคนไทยคนแรกคือ นางเสม สุภาพันธ์

  • ปีคริสตศักราช 1916 (.. 2459) ศาสนาจารย์จอห์น เอ เอกิ้น (Rev.John A.Eakin) เห็นการณ์ไกลว่าสมควรขยายกิจการโรงเรียนจึงซื้อที่ดิน แล้วสร้างโรงเรียนชายให้กว้างขึ้นมีชื่อว่า “แรนกิ้น เมมเมอเรียลสกูล” (Rankin Memorial School) เพื่อเป็นที่ระลึกถึงศาสนาจารย์แรนกิ้น ผู้บริจาคเงินในการก่อสร้างมีชื่อภาษาไทยว่า “โรงเรียนประดิษฐวิทยา” (แผนกประถมศึกษาในปัจจุบัน) มีแหม่มเอกิ้น (Mrs.Rose Altha Eakin) เป็นครูใหญ่

    ปีคริสตศักราช 1931 (.. 2474) โรงเรียนสตรีได้ขยายไปอยู่ใกล้คริสตจักรศรีพิมลธรรม โดยการนำของมิสซิส แอนนา รูธเธอร์ฟอร์ด ดิคคีย์     (Mrs.Anna Rutherford Dickey) จึงได้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษว่า “รูธเธอร์ฟอร์ด ดิคคีย์ เมมเมอเรียลสกูล” (Ruthferford dickey Memorial School) ให้ชื่อไทยว่า “โรงเรียนอรุณสตรี” ระหว่าง ค.ศ. 1931 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ศาสนาจารย์อาร์ดับเบิ้ลยูโกสต์ (Rev.R W Goss) ได้เป็นผู้บริหารโรงเรียนชายและส่วนโรงเรียนสตรีนั้นมี มิสเบอร์ซ่า เอ็ม เมอร์เซอร์ (Miss Bertha M Mercer) เป็นผู้บริหาร

    ณ เวลาปัจจุบันโรงเรียนเเห่งนี้มีอายุมากถึง 152 ปี เป็นโรงเรียนที่มีอายุมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ (เป็นรองก็เเค่รร.วัฒนาวิทยาลัยและรร.กรุงเทพคริสเตียนเท่านั้น)

    เเม้ว่าจะผ่านมานาน...แต่ความเก่าแก่ไม่อาจเทียบได้กับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของโรงเรียนเเห่งนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ที่พัฒนาตัวเองให้ทัดเทียมโรงเรียนเเห่งอื่นๆ ไม่หยุดอยู่เเค่อายุที่มากขึ้น

    ปัจจุบันผู้บริหารโรงเรียนแห่งนี้คือดร.วิทยา พัฒนวงศ์ เป็นทั้งผู้จัดการและผู้อำนวยการโรงเรียน แต่เป็นผู้บริหารที่ไม่หยุดคิด ไม่หยุดสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆเพื่อนักเรียน ผู้ปกครองและชาวเพชรบุรีอยู่เสมอ

    สวัสดีปีที่ 152 ...ไปต่อปีที่ 153 ด้วยกันนะ :)

    follow them :

    FB page : https://www.facebook.com/Tairomnonsee/

    Offical website : http://aroonpradit.ac.th/

    Director FB : https://www.facebook.com/Wittaya1964


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in