เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Kiswahili 101ชานชาลาที่ 32
Kiswahili 101 ตอนที่ 1 ทำความรู้จักภาษาสวาฮิลี
  • เรื่องโดย ACN

    ‘Hamjambo?’

    ‘Habari gani?’

    หลายท่านคงสงสัยว่าทั้งสองประโยคข้างต้นแปลว่าอะไรกันแน่และที่สำคัญเป็นภาษาอะไรกันนะ

    ไม่นับภาษาไทยที่เราพูดสื่อสารกันในชีวิตประจำวันภาษาอังกฤษก็คงเป็นภาษาที่สองที่เรามีประสบการณ์ได้ร่ำเรียนเขียนอ่านตั้งแต่สมัยเรียนตลอดจนอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างการดูภาพยนตร์ ฟังเพลง หรืออ่านหนังสือบางท่านอาจจะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในการทำงานในทุกๆวัน ยิ่งไปกว่านั้นหลายท่านอาจจะได้เรียนภาษาที่สามกันมาบ้าง ภาษาที่เป็นที่นิยมคงไม่พ้นภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาจีนหรืออาจกล่าวได้ว่าภาษาที่สามที่เราอาจจะได้มีโอกาสเรียนในไทยนั้นเป็นภาษาที่ใช้กันในเอเชีย หรือในยุโรป บางภาษาอาจเป็นภาษาสากลที่ใช้สื่อสารกันในหลายประเทศ

    สำหรับคนไทยภาษาที่ใช้สื่อสารกันในทวีปแอฟริกา คงจะเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นชินอย่างแน่นอนหรืออย่างน้อย อาจจะได้ยินมาบ้าง เช่น น้า สิเพ่นยา (ขอสะกดตามที่คุ้นหูนะ)’ เนื้อเพลงท่อนแรกของเพลง ‘Circleof Life’ จากเรื่อง ‘The Lion King’ เนื้อเพลงที่พวกเราคุ้นหูนี้เป็นภาษาซูลูซึ่งให้กันอยู่ในแถบตอนใต้ของทวีป


    แล้วสองประโยคข้างต้นนั้นคือภาษาอะไรหรือ? เฉลยก็คือ ภาษา ‘สวาฮิลี (Swahili)

    ภาษาสวาฮิลี เป็นภาษาในตระกูลภาษา บันตู (Bnatu)’ มีจำนวนผู้ใช้ภาษานี้ประมาณห้าสิบล้านคนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่แอฟริกาตะวันออกได้แก่ แทนซาเนีย เคนยา ยูกันดา รวันดา ทางตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC)โคโมรอส ทางตอนเหนือของโมซัมบิค ตอนใต้ของโซมาเลย ตอนเหนือของมาลาวีและตอนเหนือของแซมเบีย โดยประเทศที่ใช้ภาษาสวาฮิลีเป็นภาษาแห่งชาติ (national language)ได้แก่ แทนซาเนีย เคนยา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก


    สำหรับลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของภาษาในตระกูลภาษาบันตูคือ ระบบ Noun classes ซึ่งภาษาสวาฮิลีก็เช่นเดียวกันที่ระบบนี้มีผลต่อการสร้างรูปประโยคอย่างมากและภาษาในตระกูลนี้ไม่มีระบบเพศ (gender) ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้ส่วนคำศัพท์จะมีรากมาจากคำศัพท์ในตระกูลภาษาบันตูและรวมไปถึงการหยิบยืมคำศัพท์จากภาษาอื่น โดยส่วนมาจะมาจากภาษาอาราบิก (Arabic)และตัวอักษรที่ใช้นั้น ใช้ตัวอักษรโรมันเนื่องจากผ่านการ standardisedโดยอิทธิพลจากช่วงอาณานิคมดังนั้นจึงไม่น่าจะใช่เรื่องอยากสำหรับท่านผู้อ่าน

    สำหรับKiswahili 101 จะพาท่านผู้อ่านได้เรียนรู้ทำความรู้จักกับภาษาสวาฮิลีในเบื้องต้นโดยเฉพาะในเรื่องหลักภาษาทั่วไป(อาจจะเข้าใจอยากสักนิด) และรวมไปถึงคำศัพท์พื้นฐาน เผื่อว่าท่านผู้อ่านจะมีโอกาสไปท่องเที่ยวพบปะผู้คนที่ใช้ภาษานี้

    พบกันใหม่ตอนต่อไป...

    อ้างอิง

    Hinnebusch, T. J., & Mirza, S. M. (1997). Swahili: a foundation for speaking, reading and writing (2 ed.). Maryland: University Press of America.

    Mpiranya, F. (2015). Swahili grammar and workbook. London, New York: Routledge.

     




Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in