เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
PARADENTISTRYBenchiro
Plaster of Paris : จากห้องปูนสุดเกรอะกรังสู่เปลวเพลิงคลั่งกลางลอนดอน
  •      สมัย Preclinic ที่อายุสมองของเรายังเอ๊าะๆ คงยังพอจำสิ่งที่อาจารย์ Dent mat เคยสอนได้ว่า ปูน Gypsum นั้น ISO ได้แบ่งเป็น 5 ชนิด

         Type I : Impression plaster
         Type II : Plaster of Paris
         Type III-V : Stone

         แต่เชื่อว่าปูนที่เราลงมือผสมมันเป็นชนิดแรกและใช้มันบ่อยกว่าชนิดใดๆ ย่อมหนีไม่พ้น Plaster of Paris เพราะทุกครั้งที่เราคิดจะ mounting หรือเติมฐาน cast ไม่มือไม้ เสื้อผ้าหรือหน้าผม ที่ใดสักที่จำต้องแปดเปื้อนคราบปูนขาวนวลเนียนที่มีชื่อคุ้นหูว่า Plaster of Paris อยู่ทุกครั้งไป

         แต่รู้ไหมครับว่าเจ้าปูนที่ทำให้เนื้อตัวเราขะมุกขะมอมขนาดนี้ มีที่มาที่ไปที่สามารถสืบย้อนไปได้เกือบ 400 ปี ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุโรปยุคกลางเชียวละครับ

         ก่อนอื่นถ้าใครเคยไป London และไม่พลาดการเดินเลียบชมแม่น้ำ Thames ที่ London bridge (อย่าสับสนกับ Tower bride ที่ชอบอยู่ใน scene ของหนังหลายๆเรื่องนะครับ) คงอาจจะเคยสังเกตเห็นเสาหินสูงสะดุดตาสไตล์ Doric ที่ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของสะพาน เสาหินที่หนึ่งในผู้ออกแบบคือ Robert Hooke นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังแห่งยุคในศตวรรษที่ 17 ผู้ค้นพบ Cell จากจุกไม้ Cork และบัญญัติ Hooke’s law (F = kx) กฎความยืดหยุ่นของสปริงสุดชวนหัวที่เราเรียนกันตอน ม.ต้น (ยังพอจำกันได้มั๊ยครับ)

    ภาพ The Monument to The Great Fire of London
    (www.regencyhistory.net)
         The Monument to The Great Fire of London คือชื่อเต็มของเสาอนุสรณ์แห่งนี้ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงมหาอัคคีภัยครั้งประวัติศาสตร์ของ London ว่ากันว่าเสาหินสูง 202 ฟุต ที่ Londoner เรียกกันอย่างสั้นๆว่า The Monument นี้ หากผลักมันล้มลงไปตามถนน Monument street ปลายของยอดเสาจะชี้ไปยังจุดต้นเพลิงของเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ใน London เมื่อปี คศ. 1666 ได้อย่างพอดิบพอดี หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ The Great Fire of London นั่นเอง

                                                 ภาพวาดเหตุการณ์ The Great Fire of London                                                                                                     (www.historic-uk.com)                                                      
         ร้าน Bakery ของ Mr. Thomas Farriner ในตรอก Pudding lane ใกล้กับถนน Monument street คือจุดเริ่มต้นของมหาเปลวเพลิงที่เผาผลาญกรุง London อยู่นานกว่า 5 วัน หลังเพลิงสงบ ลมไม่เพียงหอบเอากลิ่นซากศพและเขม่าควันที่มอดไหม้จากบ้านไม้มากกว่าหมื่นหลังให้คลุ้งไปทั่ว London แต่ยังพัดความหวาดกลัวผ่านช่องแคบอังกฤษไปถึง Paris อีกด้วย

       ความหวาดกลัวว่าชะตากรรม Paris จะเหมือน London ทำให้ไม่ถึงหนึ่งปีถัดจากนั้น พระเจ้า Louis ที่ 14 ได้มีคำสั่งให้บ้านไม้ทุกหลังใน Paris ฉาบเคลือบผนังด้วย Gypsum plaster เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟไหม้ลุกลามถึงกันได้อย่างที่เกิดเคยใน London คำสั่งนี้เองทำให้เหมือง Gypsum ที่อยู่รอบๆกรุง Paris เพิ่มกำลังการผลิตขึ้นอย่างมหาศาล จนกลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรม Gypsum ที่คึกคักที่สุดในต้นศตวรรษที่ 18  “Paris” จึงถูกเรียกพ่วงไปในส่วนท้ายของชื่อ Plaster เปรียบเสมือนเป็นการระบุแหล่งผลิตคุณภาพดี ที่ครั้งหนึ่งความหวาดกลัวนำมาซึ่งการพัฒนาการผลิต จนนำไปสู่ความรุ่งเรืองของอุตสาหกรรม Gypsum plaster แห่ง Paris ในที่สุด

                                                            ภาพวาดพระเจ้า Louis ที่ 14                                                        (www.biography.com)
         ในปัจจุบันนี้ Plaster ถูกพัฒนากระบวนการผลิตขึ้นไปมาก จนเราสามารถเข้าใจองค์ประกอบและกระบวนแข็งตัวของมันอย่างละเอียด แม้ที่มาของ Plaster of Paris จะมาจากความหวาดกลัว แต่ทุกวันนี้ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าหลายคนก็ยังใช้ Plaster of Paris มา mounting ด้วยความหวาดกลัวเช่นกัน 55555
    หากใครไม่อยากลุ้นตัวโก่งว่าหลัง mount cast แล้ว pin จะลอยไหม ก็คงต้องเริ่มจากผสมด้วย W/P ratio ตามที่บริษัทกำหนดครับ เพราะถ้าเมื่อไหร่เราใส่ส่วนน้ำเยอะเกินไป plaster ก็มีโอกาสเกิด Volumetric change ได้มากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อตอนปูนแข็งแล้ว ก่อนจะนำไปขัดแต่งผ่านน้ำให้เนียน กริ๊บ ก็ต้องรอให้ผ่านช่วง Final set (Carvable phase) ไป 24 ชม. ก่อน เพราะไม่งั้นเนื้อปูนก็จะดูดความชื้นเข้ามา เกิดเป็น Hygroscopic expansion ทำให้ pin ของเราลอยจนต้องเคาะแล้วมา mount ใหม่อีกได้นะครับ :D

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in