เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
PAPAYAH's ARCHIVERocket man
Death Of Heather : The Rise of Thai Shoegazer
  • สัมภาษณ์ & ถ่ายภาพ : กฤษฎ์ พรหมใจรักษ์

                หลายๆ คนอ่านพาดหัวบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้แล้วอาจจะรู้สึกว่ามันฟังดูเวอร์ แต่นี่คือความรู้สึกที่ผมมีต่อ “ไอ้ เต๊ะ-ธนการญจน์ ต่างใจเย็น” ฟรอนต์แมนของ “Death Of Heather” วงดนตรี Shoegaze สัญชาติไทย ที่กำลังมาแรงสุดๆ แห่ง พ.ศ. นี้ ที่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ มันไม่ใช่เพราะความฟลุ๊คหรือโชคช่วย แต่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์และบ่มเพาะตัวตนมากว่าสิบปี ด้วยความที่เราเห็นการเติบโตของเต๊ะและผองเพื่อนมาตลอด เราก็อดไม่ได้ที่จะยินดีไปความสำเร็จของพวกเขา ที่โดยส่วนตัวเราคิดว่ามันควรได้รับสิ่งเหล่านี้มาตั้งนานแล้ว ไปด้วย และเนื่องในโอกาสที่พวกทั้งสี่กำลังจะปล่อยอัลบั้มเต็มชุดแรกในช่วงปลายเดือนนี้ ผู้สัมภาษณ์จึงชวนเต๊ะมานั่งพูดคุยในแบบเจาะลึก ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับผลงาน masterpiece ชิ้นดังกล่าว และชีวิตส่วนตัว รวมไปถึงบทวิเคราะห์ถอดรหัสศาสตร์และศิลป์กับแนวดนตรีที่เรียกว่า Shoegaze บทเพลงของเหล่านักจ้องเกือก   



      


    นอกจากการบทบาทในฐานะฟรอนต์แมนของ “Death Of Heather” และ “Anti-Pants” ผู้บริหารและเจ้าของค่ายเพลงอินดี้เล็กๆ ที่ชื่อ “BRAND NEW ME RECORD” ยังมีอีกบทบาทหนึ่งที่คนไม่ค่อยรู้กันอย่างกว้างขวางเท่าไหร่คือตัวคุณในฐานะมิวสิกโปรดิวเซอร์ 


    เต๊ะ : มันเริ่มจากว่าพี่อะ (FYI : ผลงานการโปรดิวซ์ครั้งแรกของเต๊ะคือ อัลบั้ม “The Journey To The Moon” ของ Krit Promjairux แนวเพลง Alternative Folk เผยแพร่สู่สาธารณะครั้งแรกเมื่อปี 2015)  อยากทำ ละผมก็มีอุปกรณ์ ละตอนนั้นเราแม่งก็ร้อนความรู้ เรามีความรู้เรื่องมิวสิกโปรดักชั่นอยู่นิดหน่อย เราก็เลยอยากลองทำ พอฟังเดโม่ของพี่แล้วเรารู้สึกว่ามันไม่ได้ยากเกินที่ผมจะทำได้ มีแค่กีต้าร์อคูสติกหนึ่งตัวกับเสียงร้อง แล้วก็ไม่มี reference ด้วย ถึงการเขียนเพลงของพี่มันอาจจะมี  reference ได้รับอิทธิพลจากสิ่งที่พี่ฟังสะสมมา แต่เรื่องการบันทึกเสียง เรื่องซาวด์ มันไม่มีเลย เหมือนมาทดลองด้วยกัน ผมก็ไม่เคยมีประสบการณ์ตรงนี้มาก่อน จะมีประสบกาณ์จากตอนที่ทำ “Anti-Pants” แต่อันนั้นเราก็แค่อัดกีต้าร์ผ่าน audio interface เข้าไปในแลปท๊อป แต่สำหรับผม การอัดกีต้าร์อคูสติกมันเป็นอะไรใหม่มากๆ ก็เหมือนได้ลอง ไอ้เหี้ยแม่งอัดร้องกันในตู้เสื้อผ้าอะไรยังงี้ มันเหมือนการเริ่มต้นมากกว่า ไม่ใช่ว่าผมทำเก่ง ทำเป็นอยู่แล้ว มันก็เริ่มมาจากแบบนั้นแหละ เป็นการทดลอง





    คือมันเริ่มจากแค่ตอนนั้นคุณไปซื้อและมีไมค์คอนเดนเซอร์ของตัวเองเป็นครั้งแรก


    เต๊ะ : ใช่ ที่เราไปซื้อด้วยกันเลย ของพี่คือเจิมไมค์ผมคนแรกเลย เพราะตอนนั้นผมไม่เคยอัดเหมือนกัน เป็นการทดลองว่าเราทำอะไรกับมันได้บ้าง ละมันก็ไม่ได้ออกมาแย่ มันเป็นจุดเริ่มต้นมากกว่า


    แล้วหลังจากนั้นได้โปรดิวซ์ให้ใครอีกบ้าง


    เต๊ะ : มีของวง “Telever” เป็นวงน้องๆ ในค่าย “BRAND NEW ME RECORD” ทั้งอีพีชุดแรก “Have A Good Health” แล้วก็ชุดใหม่ที่วงกำลังทำอยู่ด้วย อย่างชุดแรกคือทำทั้งชุด มิกซ์-มาสเตอริ่งให้เองด้วย พูดถึงซาวด์ของ “Telever” เราอยากให้มันซาวด์ที่ออกมามันมีความดิบแบบตอนที่พวกมันเล่นสดกันนี่แหละ ผมก็เลยพยายามทำให้ซาวน์มันไปในทิศทางนั้น มิกซ์-มาสเตอร์ ดูทุกอย่าง แต่ชุดใหม่ที่วงกำลังทำอยู่นี่คือ ไอ้นาย (นาย-ภาคภูมิ แหทอง มือกีต้าร์ของวง “Death Of Heather”ละเจ้าของสตูดิโอบันทึกเสียง “Nine Studio”) เป็นคนมิกซ์-มาสเตอร์ แล้วก็ส่งให้ผมเช็คเรื่อยๆ (ผู้สัมภาษณ์ : ในฐานะโปรดิวเซอร์ในอัลบั้มนี้คุณทำอะไรบ้าง) อย่างเพลง “Always” ที่น้องๆ เขาเพิ่งปล่อยกันไป ก็ดูทุกพาร์ท กลอง กีต้าร์ เบส ว่ามันควรเป็นยังไง ควรจะเล่นยังไง จะมีเทคนิคอะไรที่ควรเพิ่ม เพราะน้องเขามีแค่โครงเพลงมา ส่วนผมก็เป็นคนมาเกลาให้ ตบให้อีกที มีบางเพลงที่กึ่งๆ คิดริฟฟ์กีต้าร์ช่วยด้วย บางเพลงแค่แบบแนะว่า ต้องเล่นยังไงมันถึงจะได้เสียงในแบบที่เขาต้องการ แล้วก็เรื่องการปรับเอฟเฟคปรับอะไรให้มันได้ซาวน์ที่ถูกต้องแบบที่เราอยากจะได้ยิน อย่างน้องๆ ชอบวง “NOTHING” เราอยากให้ซาวน์มันเป็นแบบนี้เราต้องปรับยังไง ผมก็ทำให้มันถูกต้อง เรื่องเสียงร้อง การดั๊บ โอเวอร์ดั๊บ การร้องอ็อกเทฟอัดยังไง อัดกี่ไลน์ ผมคุมทุกอย่าง





    คือเหมือนเอาประสบการณ์ที่เรามีมาสอนเขา


    เต๊ะ : ใช่ เอาประสบการณ์จากที่เราทำ “Death Of Heather” นี่แหละ (ผู้สัมภาษณ์ : ละที่พูดว่าวงเขามีมาแค่โครงเพลงนี่คือโครงขนาดไหน) เขาจะทำมาก่อนแล้วประมาณ 90% มันยังเหลือริฟฟ์กีต้าร์ที่ยังไม่เรียบร้อยบ้าง แล้วก็ในส่วนของเทคนิคการเล่น เราก็ปล่อยให้มันอัดในแบบที่มันอยากอัดนั่นแหละ เราก็จะเป็นคนคอยนั่งฟัง อันไหนที่เรารู้สึกว่ามันไม่ได้ เราก็จะแนะประมาณว่าท่อนนี้ควรเล่นยังงี้นะ ต้องใส่เทคนิคนี้เข้าไป มันต้องวางเชนเอฟเฟคแบบนี้นะ เอาเอฟเฟคก้อนนี้วางไว้ข้างหน้าข้างหลังยังงี้ สำหรับดนตรีแนว Shoegaze มันจะมีแพทเทิร์นการลำดับเอฟเฟคกีต้าร์ต่างจากวงร๊อกทั่วไป เราจะวาง Reverb กับ Delay ข้างหน้าไปเลย เพื่อจะได้ซาวน์แบบที่เราอยากจะได้ยิน


    คุณไปเรียนรู้เรื่องเหล่านี้มาจากไหน

    เต๊ะ : ลองเอง ลองผิดลองถูกจากวงเก่า แล้วก็ศึกษาจากศิลปินที่เราชอบ เราชอบไปดู Pedal board ของวงต่างประเทศ คือวงแนว Shogaze มันไม่ได้วางเอฟเฟคเหมือนวงทั่วไป ตำแหน่งของเอฟเฟคบนบอร์ดมีผลกับซาวน์มาก เรื่องการเลือกใช้เอฟเฟคก้อนไหนด้วย อย่างเช่นมันจะมีก้อนบางก้อนที่พอเขาเอามาเล่นปุ๊ปละมันไม่ได้ ผมก็เอาก้อนของผมไปเสริมให้ มันเป็นเนเจอร์ของแนวนี้เลย 


    วงดนตรีแนว “Shoegaze” มีวิธีจัดบอร์ดเอฟเฟคแปลกๆ ทุกวงเลยไหม


    เต๊ะ : เกือบทุกวง อย่าง “My Bloody Valentine” เขาจะเอา Reverb วางไว้หน้าสุดเลย เขาลอยมาตั้งแต่หัวโน้ตเลย คือมันจะมั่วฟังไม่รู้เรื่องเลย ส่วน “Slowdive” จะวางเชนคล้ายๆ ปกติ แต่ว่า Delay ตอนท้ายๆ บอร์ดของเขาแม่งจะเยอะมาก คือถ้าอยากให้ซาวน์มันออก Shoegaze จริงๆ มันต้องวางให้มันถูกต้อง





    แล้วอย่างของ “Death Of Heather” เองล่ะ 


    เต๊ะ : เราไปเรียนรู้มาก่อนผสมกับการลองผิดลองถูกด้วย เวลาตอนไปบันทึกเสียง ผมเคยพยายามไปใช้แบบคนทั่วไป แม่งไม่ได้ เราก็เลยสลับ ผมบอก “เอ้ย นาย ลองสูตรกู” เรามีไอเดียอยู่ในหัวเราอยู่แล้ว ผมไปเรียนรู้มา ถ้าไปดูรูปที่มีคนถ่ายบอร์ดเอฟเฟคผมหลายๆ รูปก็จะเห็นว่าผมจะวาง Reverb ไว้ข้างหน้าหมดเลย Reverb>Delay> เสียงแตก แล้วก็มี Delay>Reverb ต่อข้างหลังไปอีก เสียงแตกอยู่ตรงกลาง Reverb และะปิดด้วย Delay อีกประมาณ 2-3 ตัว (ผู้สัมภาษณ์ : ซาวน์ของDeath Of Heather” จะเน้นไปที่เสียง Delay ) Delay จะหนัก คือ Reverb มันก็สำคัญแต่ว่าถ้าจะให้ Reverb มันยาวมันจะต้องใช้เอฟเฟค Delay เสริมเข้าไปด้วย



    snap by Thamonwan Kuaha


    คือแสดงว่า หัวใจของซาวด์ดนตรีแบบ “Shoegaze” คือจะต้องมีเสียง “Reverb” และ “Delay” อยู่ด้วยเสมอ


    เต๊ะ : ฉ่ำเลย น้องเขาก็อยากได้แบบนี้ผมก็ไปดูมาให้ ลองวางกัน โปรดิวซ์ การวางเอฟเฟค รวมไปถึงเทคนิคการเล่น บางทีมันเล่นนิ่งๆ ทื่อๆ แล้วมันไม่ได้อารมณ์ ผมก็จะแนะว่า เออ มึงลองใช้เทคนิคนี้ดู ลองเปลี่ยนจากตรงนี้มาเล่นตรงนี้ดู pick up ใช้ตรงไหน แอมป์ใช้ตู้ไหน โทนควรเป็นยังไง ไม่งั้นโทนมันจะไม่ได้ออกมาเป็นอย่างที่ได้ยินตอนนี้ ถ้ามันทำกันเองโทนก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง แต่มันไว้ใจผม มันว่า เออ ให้พี่ทำ แต่ว่ามันก็เล่นของมัน แล้วผมก็คอยบอกและวางทุกอย่างให้แม่ง


    ตรงนี้น่าสนใจ คือดนตรีแนวนี้มันต้องคิดตั้งแต่การวางเอฟเฟคเลย แล้ววีธีการเล่นเกี่ยวเยอะไหม


    เต๊ะ : วิธีการเล่นมันก็เกี่ยว แต่สำคัญที่สุดคือ เอฟเฟค เพราะว่า ตัวเพลงแนวนี้หลักๆ Reverb กับ Delay มันเยอะอยู่แล้ว มันหลักที่สุดแล้ว มันคือหัวใจหลักของเพลง การวางมันต้องวางไว้ข้างหน้า (ผู้สัมภาษณ์ : แล้วถ้าสมมุติว่าวันนึงกูอยากเปลี่ยนมาเล่นชูเกจแต่กูไม่มีรีเวิร์บสักก้อนเลย มันทำได้ปะ) ได้ แต่ขอให้มี Delay แทน (ผู้สัมภาษณ์ : คือถ้าไม่มีสองอันนี้หรืออันใดอันหนึ่งมันจะไม่สามารถเรียกว่าเป็นเพลง Shoegaze ) ผมว่ามันไม่เป็น แต่ว่ามันจะเป็น Shoegaze ในอีกสไตล์นึง มันจะเหมือน “My Bloody Valentine” ชุดแรก ของจะไม่ใช้ Reverb กับ Delay เยอะ เขาจะใช้เสียงจาก “Big Muff” เป็นหลัก เสียงแตกพร่าๆ จะเป็นเสียง FUZZ แล้วก็ร้องสไตล์ Shoegaze ลอยๆ ละมันอยู่กับการเรียงแทร๊ค ตอนแทร๊คกิ้งด้วย แล้วมันก็ไม่ได้อยู่แค่ว่า ใช้อุปกรณ์เหล่านี้แล้วมันจะเป็น Shoegaze นะ วิธีการคิดเพลง วิธีการการเขียนเพลงของเขาด้วยมันต้องเป็นไปในแนวทางนี้ด้วย ถึงไม่ได้มีเอฟเฟคเยอะขนาดนั้นแต่มันก็ทำได้


    แสดงว่านอกจากเอฟเฟคแล้วการทำเพลง “Shoegaze” มันเกี่ยวกับการวางโครงสร้างและทำนองด้วย


    เต๊ะ : ใช่ๆ มันจะร้องน้อยๆ หน่อย ร้องไม่เยอะ เนื้อเพลงจะซ้ำกันเยอะๆ ท่อนเพลงไม่ซับซ้อน (ผู้สัมภาษณ์ : วงอย่าง “Deftones” มีความเป็นชูเกจไหม) “Deftones” ผมมองว่าบางเพลงมีความเป็น Shoegaze บางเพลง อย่างเช่นเพลง “Sextape” ยังงี้ ที่มันมีความลอยๆของมันหน่อย เพราะตัวของ “Chino Moreno” เขาก็ชอบ Shoegaze (ผู้สัมภาษณ์ : ศิลปินไทยอย่าง “Desktop Error” ล่ะ) บางเพลง อย่างเพลง “น้ำค้าง” นี่เป็น Shoegaze





    คือก่อนหน้านี้เรารู้สึกว่าดนตรีแนวนี้แม่งไม่ค่อยมีอะไรเท่าไหร่นอกจากความฟุ้ง แต่พอได้มาฟังคุณพูดเรื่องนี้ให้ฟังแล้วรู้สึกว่า เออ จริงๆ มันถือเป็นศาสตร์ที่น่าสนใจและต้องคิดหลายชั้นเหมือนกัน


    เต๊ะ : หลักๆ คือการใช้เอฟเฟค รองลงมาก็คือการวางโครงเพลง จะต้องทำให้มัน Shoegaze ด้วย ถ้าเอฟเฟคไม่มี แต่เขียนเพลงด้วยวิธีคิดแบบ Shoegaze เพลงมันก็ออกมาเป็นแบบอื้่น คือผมอธิบายไม่ถูกเหมือนกัน ต้องลองฟังเยอะๆ แล้วเราจะจับจุดได้ว่า Shoegaze แม่งต้องแต่งเพลงยังงี้ มันมีศาสตร์ของมันอยู่ (ผู้สัมภาษณ์ : คืออย่าง มายบลัดดี้ มันก็ไม่ได้เป็นโพสพังก์ขนาดนั้น) “My Bloody Valentine” คือ Shoegaze 100% รองลงมาก็จะเป็น “Slowdive” ที่เป็นอีกแบบนึง “My Bloody Valentine” คือจะหลอนๆ หน่อย เทคนิคที่เป็นเอกลักษณ์ที่เขาใช้อย่างนึงคือการที่จะใช้คันโยก เวลาเขาเล่นกีต้าร์ เขาอาจจะเล่นคอร์ดปกติ แต่พอมีคันโยกเข้ามา ความ Vibrato มันจะวืบๆ วืบขึ้นประกอบกับที่เขาใช้เอฟเฟคตัวหนึ่งที่เรียกว่า “Reverse Reverb” ไว้ข้างหน้าของเชน พอเราเล่นไปปุ๊ปมันจะย้อนกลับ มันจะเหมือนเสียงจากเทปสมัยก่อน ที่มันแบบว่าย้วยๆ อะ คือมันจะหมุนแล้วมันจะย้วย อึ๋ออออึ้อออ จะเหมือนกับเทปยานๆ แล้วมันต้องเล่นงี้ทั้งเพลง อันนี้ของ “My Bloody Valentine” เพราะเขาใช้คันโยกตลอดทั้งเพลง แล้วก็ใช้เอฟเฟค “Reverse Reverb” รีเวิสกลับ แล้วก็เป็นรีเวิร์บด้วย มันจะเป็นยังงั้น เทคนิคการเล่นด้วย การวางท่อนเพลงด้วย





    สำหรับคุณเองที่ก่อนหน้านี้คุณผ่านแนวดนตรีมาแล้วทั้ง “Brutal Death” และ “Pop Punk” มา ทำไมถึงหันเหมาทางนี้


    เต๊ะ : ปกติผมเป็นคนฟังเพลงหลายแนวในเวลาเดียวกันอยู่แล้ว แล้วเราเบื่อ อย่างช่วงที่ทำพังก์ เราก็จะฟังสายลอยอยู่แล้ว ชาวฮาร์ดคอร์เขาจะชอบฟังโพสร๊อก พวกอะไรลอยๆ เพื่อล้างหู เราเองก็ไม่รู้ว่ามันเป็นศาสตร์ที่มันใกล้เคียงกันหรือยังไง รู้แต่ว่ามันเป็นนิสัยหรือเทรนด์ในช่วงนั้นด้วยที่คนจะฟังเพลงลอยคู่กับเพลงหนักไปด้วย แล้วผมก็เสือกแบบ ลึกอะ ไปเรียนรู้ ไม่รู้ดิ อธิบายไม่ถูก คือ ในเวลาที่ผมทำเพลง ผมจะฟังเพลงเยอะ คนอื่นในวงก็เหมือนกัน ไม่ได้ฟังแนวเดียว เราจะฟังเยอะมาก นั่นแหละที่มันทำให้เกิดความรู้สึกว่า อยากลองเล่นแบบนี้บ้าง ซึ่งผมก็ได้แค่เล่นอยู่ในห้อง ดูในยูทิวป์ ฟัง แกะ เพลงพวกเขาเล่นทั้งๆ ที่วงเรามันไม่ได้เล่นแนวนั้น เราก็เล่นของเราอยู่อย่างงั้นอะ จนวันหนึ่งเรารู้สึกว่า เราก็สามารถคิดเพลงสไตล์แบบนี้ได้นะ ก็อัดเป็นเดโม่ ทำไว้ คือเราไม่ได้เก่งหรืออยากเอาตรงนี้ไปเล่นที่ไหน เราแค่ชอบฟังแล้วก็อยากเล่นอยู่ในห้องแบบ จับกีต้าร์มาแล้วเปิดเพลงเล่นคลอไปด้วย ให้มันได้ ให้มันคล้ายที่สุด เหมือนอารมณ์จอยๆ ของเรา มันก็จะมีอารมณ์ที่แบบ….ผมไม่ใช่ประเภทที่แบบอยู่ดีๆ หยิบกีต้าร์ขึ้นมาตีคอร์ดร้องเพลงอยู่ในห้อง เข้าใจใช่ไหม (ผู้สัมภาษณ์ : ไม่ใช่แบบว่า หยิบกีต้าร์ขึ้นมาแล้วก็ “เกิดมาไม่เคยเจอใครเหมือนเธอ”) ใช่ ไม่ทำเลย ผมไม่เคยทำเลย สมัยตอนมีแฟน อยู่กับแฟน แฟนบอกให้ร้องเพลงให้ฟังหน่อย ผมก็ไม่ทำ ผมจะชอบใส่หูฟัง เสียบซาวน์การ์ด ซ้อมกีต้าร์ ชอบเพลงนี้ นั่งแกะเล่น เอ็นจอย แต่ว่าเวลาทำวงก็เล่นเพลงวง แค่นั้นเอง แต่จุดเริ่มต้นก็คือ พอเราแกะเล่นเยอะๆ ฟังเยอะๆ มันทำให้มีไอเดียที่จะทำเพลงของเรา อยากเล่นโน้ตเดียว ตอดยาวๆ ดีเลย์ รีเวิร์บเยอะๆ ก็ไปหาซื้ออุปกรณ์มาลองเล่น แค่นั้นเอง อย่างชุดแรกที่จูนสายแปลกๆ นี่คือได้มาจาก “Sonic Youth” ! (ทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์พูดชื่อวงนี้พร้อมกัน) คือมันจูนสายเหี้ยอะไรก็ไม่รู้ แต่คือผมไม่ได้ไปลอก “Sonic Youth” ผมแค่คิดว่าถ้าเขาทำได้ ผมก็ทำได้ ผมคิดเอง ผมว่าไม่มีใครใช้แบบผม ซึ่งตอนนี้ผมจำไม่ได้ละ ในชุดปัจจุบันนี่คือกลับมาเล่น E standard แต่ในชุด “DEMO l” คือจูนสายแบบนั้นเลย แต่ผมจำไม่ได้ว่ามันจูนอะไร เพราะผมจะใช้วิธีเอาเทปกาวแปะละเขียนไว้ที่หลังหัวกีต้าร์ ก็ใช้มาตลอด ไม่จำ จำไม่ได้ แล้วเราก็ทดลองไปด้วยเวลาอยู่ที่ห้อง เพลงหลายๆ เพลงก็มาจากทดลอง จากการตั้งสายมั่วๆ นี่แหละ แล้วการวางนิ้วบนเฟร็ตของเรา เราก็วางแบบปกตินะ แต่มันจะได้อีกเสียงนึง คือมันไม่ใช่คอร์ดธรรมดาแล้ว อย่างเวลาเราจับคอร์ด C มันกลายเป็นอีกเสียงหนึ่ง อีกแบบหนึ่ง มันก็ได้ไอเดีย ทั้งทีเราก็จับธรรมดา แต่พอจูนสายแบบของเรามันก็ได้อีกซาวน์นึงเลย เลยทำให้เพลงมันมีเอกลักษณ์


    แล้วในตอนนั้นเราคิดไว้อยู่แล้วเลยไหมว่าสักวันนึงจะเอาเพลงเซ็ทนี้ออกมาเล่นสด


    เต๊ะ : คิดสิ คิดอยู่แล้ว ถึงไม่ได้เล่นเปิดให้วง METZ” ( “Death Of Heather” ปรากฎตัวต่อสาธารณชนเป็นครั้งในฐานะหนึ่งในวงเปิดให้กับ “METZ” สุดยอดวงกรันจ์สามชิ้นจากประแคนาดาที่หลายคนต่างยกย่องพวกว่าคือ “Nirvana” กลับชาติมาเกิด ในโชว์ของวงที่กรุงเทพเมื่อปี 2018) ผมก็คิดไว้อยู่แล้วว่าผมต้องทำแล้วคงต้องปล่อยเอง แต่ว่ามันพอดีที่มีงานของพี่เลยกลายเป็นว่าจังหวะมันพอดีกัน เพราะผมรู้ในใจเลยว่างานที่ไปเล่นขอนแก่นด้วยกันกับ “Brandnew Sunset” คราวนั้นจะเป็นงานสุดท้ายของวง “Anti-Pants” ผมรู้อยู่แก่ใจเลย เพราะผมไม่เอาแล้ว ผมว่าผมพอแล้ว พอดี แล้ว “Wildest Youth” ก็ชวนเราไปเล่นเปิดให้ “METZ” พอดี ผมก็เลยพัก “Anti-Pants” เลย ไอ้เหี้ยแม่งเล่นแต่เพลงเดิมๆ น่าเบื่อว่ะ การเล่นอะไรซ้ำๆ เดิมๆ แม่งน่าเบื่อ ผมเลยรู้สึกว่าเราต้องเอาเพลงพวกนี้มาเล่นบ้าง ละเพื่อนพวกนี้มันก็ชอบอะไรแปลกๆ อยู่แล้ว มันก็เอาด้วย มันไม่ค่อยค้านผม ขอแค่มันได้เล่นดนตรี





    คือเราอิ่มตัวกับป๊อปพังก์แล้วเหรอ หรือว่าเราแค่เบื่อเพลงเก่าๆ


    เต๊ะ : ผมไม่ได้อิ่มตัว ทุกวันนี้ผมก็ยังฟังแม่งอยู่ ยังฟังตลอด เพียงแต่ว่า เราเบื่อกับการเล่นเพลงเก่าของตัวเอง (ผู้สัมภาษณ์ : ถ้าอย่างนั้นทำไมไม่ทำเพลงใหม่ล่ะ) มันทำไม่ได้ เพราะว่าการฟังเพลงของเราตอนนั้นเต็มไปด้วยเหี้ยอะไรไม่รู้ มันมีหลายปัจจัย แล้วเราเสือกทำอันนี้มันได้ รู้สึก flow กว่าการที่เราทำป๊อปพังก์ เพราะเราฟังอันนี้เยอะมากช่วงนั้น แต่เราก็ยังฟังป๊อปพังก์นะ แต่เวลาลงมือเขียนเพลง เราแม่ง flow กับด้านนี้มากกว่า เราเอ็นจอยกับการตั้งสายแปลกๆ การทำเหี้ยอะไรที่แปลกใหม่ไปแล้ว สุดท้ายก็ทำออกมาแล้วเสือกได้ดิบได้ดีเฉย




    ตอนที่เราเริ่มทำ “Death Of Heather” คุณรู้สึก ณ ตอนนั้นเลยไหมว่ามันจะไปได้ไกล


    เต๊ะ : ไม่เลย ตอนแรกผมเอาฮาด้วยซ้ำ ทำเป็นแค่ side-project ผมยังบอกทุกคนเสมอว่า “Anti-Pants” ก็ยังทำอยู่ แต่วงนั้นคืออยู่ในช่วงพักวง ผมไม่เคยคิดว่ามันจะมาได้ขนาดนี้


    แล้ววันนี้ วินาทีนี้ ล่ะ คุณยังมองว่า “Death Of Heather” ยังเป็นแค่ side project อยู่ไหม


    เต๊ะ : ตอนแรกคือว่าเป็นแค่ side project แต่ตอนนี้คงต้องไปคิดใหม่อีกทีหนึ่ง ต้องจริงจังกับแม่ง ตอนนี้ผมว่าผมคงซีเรียสวงนี้เป็นวงแรกละ “Anti-Pants” มันมีเปอร์เซ็นต์อยู่แต่มันน้อย ตรงนี้หมายถึงความว่างของสมาชิกวง อย่าง พี่ต้น มือกีต้าร์ ช่วงนี้แกก็ไม่ว่างเลย การรวมตัวทำเพลงกันก็ยาก  แต่การทำ “Death Of Heather” เนี่ยมันดูจะไปได้ระยะยาวกว่า  แต่เอาจริงๆ คือเราให้ความสำคัญกับทั้งสองวงเท่ากัน แต่ตอนนี้เราอินกับตรงนี้อยู่ เราเชื่อว่าเดี๋ยวมันคงจะมีช่วงที่แบบว่า มันเหนื่อย หรือว่ามันเล่นเพลงพวกนี้พอแล้ว มันต้องมีสักวันที่เราจะรู้สึกว่า เบื่อที่จะเล่นแล้วอะ ผมก็คงกลับไปทำอะไรเดิมๆ บ้าง หลักๆ คือตอนนี้อินตรงนี้มากกว่า ส่วนเรื่องไปได้ไกลกว่ามันก็มีส่วนอยู่ ผมว่าพออินแล้วมันรู้สึก flow กว่าเวลาทำเพลง มันกลายเป็นโปรเจคที่ผมซีเรียสกับมันจริงๆ เพราะ “Anti-Pants” คือทำสบายๆ แต่เป็นวงหลัก แต่พอมีวงใหม่ปุ๊ป มันก็เกิดคำถามกับตัวเองว่าเราซีเรียสกับมันไหม คำตอบตือ ไอ้เหี้ย เราซีเรียสกับตรงนี้กว่าด้วยซ้ำ เรื่องซาวน์ เรื่องแต่งเพลง เราคิดมาก ในห้องอัดเรา ระบบแบบ ไอ้เหี้ยแม่งซีเรียสกว่าวงหลักจริงๆ คือเอาอันนี้เป็นหลักแล้วแหละ แต่วงนั้นก็ไม่ได้แตก เราไม่ได้บอกว่าเรายุบ เราไม่ได้ break up แค่แบบ พัก มันแค่รอวันที่เรารู้สึกพร้อมที่จะกับไปเล่นจริงๆ แต่ถามว่าฟังไหม แม่งฟังอยู่ทุกวัน ป๊อปพังก์เนี่ย





    คำถามนี้เห็นแฟนเพลงที่ตามมาดูตามที่ต่างๆ ถามบ่อย เลยขอถามหน่อย ทำไมถึงเลือกมาอยู่ “Yell Recordz”


    เต๊ะ : คือตอนที่คุยกับค่ายก่อนตกลง เขาพูดมาประโยคหนึ่ง “ที่คิดว่ามันไม่มีรายได้ เดี๋ยวเราจะช่วยทำให้มันมีรายได้ให้ได้” ซึ่งผมก็เชื่อมั่น เขากล้าลงทุนกับเรา เขาซัพพอร์ตเรา 100% ผมทำอะไรฟรีตลอด ทั้งสตูดิโอ ค่าโปรดักชั่นต่างๆ จ่ายให้หมด ผมไปอัด podcast เมื่อกี้ ค่าข้าว ค่าเบียร์ เขาก็จ่ายให้หมด


    พูดถึงอัลบั้มเต็มชุดแรกของวงที่กำลังจะปล่อยเร็วๆนี้ ได้ข่าวมาว่าเป็นคอนเซ็ปต์อัลบั้ม


    เต๊ะ : เรื่องราวมันต่อกันโดยบังเอิญ คือถ้าไปฟังในอัลบั้ม การเรียงแทร๊คจะเป็นคอนเซ็ปต์อัลบั้มได้เลย เพราะผมเรียงแทร๊คแบบชัดเจนมาก เราปล่อยซิงเกิ้ลไปแค่ 3 ตัว “I Can Tell”, “Mind” แล้วก็ “In Me” กับอัลบั้มใหม่เราปล่อยออกมาแค่ “Hard To Cure” แล้วก็จะปล่อยอัลบั้มเลย ช่วงพรี-ออเดอร์จะอีกเพลงหนึ่งปล่อยออกมาชื่อ “Living Slow Disaster” ก็แค่นั้น มีเพลงใหม่อีก 5 เพลง  


    เนื้อหาในอัลบั้มมันเล่าเกี่ยวกับอะไร


    เต๊ะ : เรื่องเกี่ยวกับตัวผม เรื่องชีวิตส่วนตัว เรื่องที่แบบ...เรื่องงี่เง่าอะ เรื่องผู้หญิงบ้าง เรื่องมึนเมา เรื่องเชี่ยหลายๆ อย่าง มันเป็นอัลบั้มที่ capture ชีวิตเราในช่วงปี 2018-2020 แต่เพลงพวกนี้มันไม่ใช่เพลงใหม่ที่เพิ่งมาแต่งนะ มันเป็นเพลงที่ทำเสร็จมาแล้ว แต่มันโดนทิ้ง ไอ้พวก “Hard To Cure” อะไรยังงี้ มันเพิ่งมาถูกเรียบเรียง บันทึกเสียง ปล่อย แต่จริงๆ เราแต่งเสร็จตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว แล้วทางค่ายแจ้งมาว่าเราต้องทำอัลบั้มเต็มให้เสร็จได้แล้วนะ ผมก็ไปรื้อ ซึ่งตอนนั้นผมอกหัก ผมทำเหี้ยอะไรไม่ได้ ผมยอมรับว่าผมทำเหี้ยอะไรไม่ได้เลย แล้วเขาเร่ง เราต้องเสร็จเดโม่แล้วน่ะ เราจะต้องเข้าห้องอัดแล้ว เขาว่างให้เราแค่นี้ ผมไปรื้ออันเก่ามาอันที่เพื่อนทิ้ง ที่เราเคยเปิดให้มันฟังแล้วมันไม่เอา ไปรื้อมาแล้วก็เอามา re-arrange ใหม่ เขียนเนื้อ พอเอามาให้เพื่อนมาฟังใหม่ ก็ผ่าน ซึ่งมันเป็นเพลงที่เขียนในช่วงเวลานั้นหมด แค่ผ่านมาการเรียบเรียงใหม่ มันเพลงที่ผมวางไว้หมดแล้ว ไม่ได้มีอะไรใหม่ คนฟังอาจจะรู้สึกใหม่เพราะว่าเราไม่เคยเอาไปเล่นสดและมันเพิ่งจะมาปล่อยในตอนนี้เฉยๆ มันก็เป็นอัลบั้มอยู่แล้ว มันถูกเก็บไว้อยู่แล้ว พอถึงเวลาหนึ่งเราเลือกที่จะหยิบมันมาใช้ มันไม่ได้เป็นอะไรที่ใหม่สำหรับผม ซึ่งอะไรใหม่ๆ ในหัวผมมี แต่เพื่อนๆ บอกว่า อยากจะสโคป capture ไว้ว่า มันต้องประมาณนี้





    แล้วเพลงในอัลบั้มเต็มชุดนี้มีความเป็นปัจจุบันขนาดไหน


    เต๊ะ : สำหรับผมเอง มันไม่ปัจจุบันขนาดนั้น เพื่อนในวงก็รู้ว่ามันไม่ใช่ปัจจุบัน ผมมีอะไรที่มันมากกว่านี้แล้ว คือถ้าเอาตัวเรา ณ ตอนนี้ เลย มันจะหลุดธีม เราไม่รู้สึกใหม่กับมันเพราะเราฟังแม่งมานาน แล้วจริงๆ ตอนนี้ผมเริ่มเขียนเพลงสำหรับอัลบั้มที่ 2 ไว้บ้างแล้วนะ มันอาจจะไม่ได้เอามาใช้ตอนนี้หรอก อย่างตอนนี้เราอาจจะรู้สึกโอเคกับเพลงพวกนี้ แต่พอถึงวันนั้นเราอาจจะรู้สึกว่ามันใช้ไม่ได้ก็ได้ เหมือนเขียนเก็บไว้ พอถึงเวลาค่อยเอาไป re-arrange ใหม่ มันเหมือนกับเพลงที่ทำในอัลบั้มนี้แหละ คือไม่ได้มีอะไรใหม่ในส่วนตัวของวงเลย แต่คนฟังคงจะรู้สึกแปลกใหม่เพราะผมก็ใส่ความเป็นปัจจุบันของผมลงไปด้วยนิดหน่อย แต่ไม่ให้มันหลุดเกินคอนเซ็ปต์ของอัลบั้มเกินไป เราปูมาตั้งแต่ “I Can Tell”, “Mind”, In Me” จะให้มันหลุดไปกว่านี้คงจะไม่ได้ เพราะช่วงนี้ผมก็ไม่ได้ฟังเพลงแบบที่ฟังตอนนั้นแล้ว เราเติบโตเรื่อยมาไกลจากตรงนั้นไปแล้ว


    เท่าที่คุยกันมา บทเพลงของ “Death Of Heather” แทบจะมาจากหัวของคุณทั้งหมด อยากทราบเพื่อนๆ ในวงโอเคกับตรงนี้ขนาดไหน


    เต๊ะ : โชคดีที่สมาชิกทุกคนของ “Death Of Heather” การเห็นต่างแม่งน้อยมาก พวกเราแม่งเสือกเป็นคนคล้ายๆ กัน แล้วพวกมันก็เป็นฝ่ายที่ยอมผม เพราะผมแม่งเป็นคนทำแทบทุกอย่าง เพื่อนแค่จะฟังแล้วบอกว่า ชอบไม่ชอบเท่านั้น แต่ถ้ามันเห็นต่าง มันจะบอกว่า “เก็บไว้ก่อน เหี้ยแม่ง ไม่ได้ว่ะ” แค่นั้น แล้วผมก็จะคิดมาใหม่ คิดมาใหม่เรื่อยๆ บางทีก็จะเริ่มจากแค่ก้อนๆ หนึ่ง ท่อนๆ หนึ่งที่ผมคิดมาก่อนจะเอาไปต่อกันในห้องซ้อม เป็นการแจมกันแล้ว เพื่อนในวงจะมีส่วนในการเพิ่มเติม แต่ผมจะเป็นคนออกไอเดียหลัก ผมโชคดีที่วงผมแม่งฟังผม แม่งยอมอะ มึงจะทำอะไรมึงก็ทำ กูแม่งก็เล่นกับมึง แต่ถ้าอะไรมันไม่ดีมันก็จะบอก ไอ้เชี่ย กูมามันยังไม่ได้ เอาตรงนี้ขึ้นไหม เราก็ฟังมัน เพราะมันคือวง ถ้ามึงไม่แฮปปี้ที่จะเล่น กูก็ไม่เอา อันนี้เป็นความโชคดีของผม เราไม่ได้ทะเลาะกัน แต่ด่าก็ด่ากันปกติ ด่าให้เพลงมันดี ไม่ได้ด่าให้มันทะเลาะกัน 



    จากซ้ายไปขวา : นน-ภัทรนน โดดเสมอ (กลอง), ธง-บุญประดิษ เกียรติชาย (เบส), นาย-ภาคภูมิ แหทอง (กีต้าร์) และ เต๊ะ-ธนกาญจน์ ต่างใจเย็น (ร้องนำ/กีต้าร์)


    แล้วคิดว่ามันจะเป็นแบบนี้ตลอดไปเลยไหม


    เต๊ะ : แน่นอน ผมคิดว่ามันยากมากที่สมาชิกที่เหลือในวงจะเข้าห้องซ้อมโดดๆ อะมีอะไรใส่กันเลย มันไม่ได้ มันต้องมีคนขึ้นมาก่อนซึ่งเป็นผม แล้วคือเราต้องขึ้นอยู่แล้วเพราะเราเป็นฟรอนต์แมน


    มาที่ตัวเพลงบ้าง ภาคการร้องสำคัญขนาดไหนในเพลงของ “Death Of Heather”


    เต๊ะ : อ่อนมาก การร้องมันก็เหมือนเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่ง อย่างที่ผมบอก คือไม่ได้คิดว่าแม่งต้องเด่น ต้องเหี้ยอะไร ภาคร้องทำนองเนื้อเพลง ไม่ได้สำคัญไปกว่าภาคดนตรี มันต้องฟังไปด้วยกัน เนื้อเพลงของผมหลายเพลง เรารู้สึกว่าบางทีมันไม่มีความหมายด้วยซ้ำ อย่างเพลง “Hard To Cure” เอาจริงๆ ตอนผมเขียนออกมาผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเนื้อเพลงมันพูดถึงอะไร คำไหนมันลงล๊อคกับเมโลดี้ผมก็ร้องไป แล้วคนเขาก็เอาไปตีความ ไปทำมิวสิกวีดีโอทำอะไร (ผู้สัมภาษณ์ : แต่สำหรับเราในฐานะคนฟัง เราฟังรู้เรื่องนะ) แต่ผมไม่รู้ ผมไม่รู้มันคืออะไร เราร้องแล้ว เชี่ย มันกลืน มันกลมกับดนตรีพอดี คนอื่นแม่งเอาไปตีความ อย่างตอนที่ผู้กำกับเอ็มวีขอเนื้อเพลงไปแล้วเขามาเล่าเรื่องคอนเซปต์เอ็มวีตัวนี้ให้ฟัง เราแบบ อ๋อ เนื้อหาเพลงมันคือประมาณนี้เหรอ ซึ่งตอนแต่งผมไม่รู้ความหมายมัน ส่วนเพลงที่มีความมึนที่สุดในอัลบั้มน่าจะเป็นเพลง “Brighter” มึนมาก มีไปเกี่ยวสิ่งมึนเมาบ้างก็มี (ผู้สัมภาษณ์ : เหรอ ไปเสพอะไรมาล่ะ) มันก็เกี่ยวกับกัญชา ทั่วไป มัน “Brighter” อะ มันอะไรสักอย่าง มันสปาร์ค 





    หรือว่าจริงๆ แล้ว คนเราไม่ได้ต้องการความ make sense ทางภาษาขนาดนั้น หมายถึงว่า คุณเขียนเนื้อเพลงออกมาแบบไม่ได้กรอง ไม่ได้เรียบเรียงให้มันเป็นภาษาคนให้เข้าใจได้ด้วยซ้ำ รู้สึกอะไรก็ร้องมาตรงๆเลย แต่คนฟังก็ยังเข้าใจสิ่งที่จิตใต้สำนึกของคุณพยายามจะสื่อสารมันออกมาได้


    เต๊ะ : ใช่ จะมีแค่เพลง “Mind” ที่ตั้งใจเขียนที่สุด เป็นคำที่แบบรู้เรื่องจริงๆ ส่วน “In Me” มันเป็นประโยคคำถามง่ายๆ ไม่กี่ประโยคแค่นั้นเอง แต่ว่าสำหรับ “Hard To Cure” มันคือการที่ผมพูดไม่รู้เรื่องจริงๆ อย่างที่ไปสัมภาษณ์ลง podcast วันนี้ผมก็บอกเขาว่าผมไม่รู้เหมือนว่ามันพูดถึงอะไร ผมตอบเขาประมาณนี้ ไอ้เหี้ยกูชอบ “The Cure” เลยอยากให้มีคำว่า “Cure” อยู่ในชื่อเพลง แค่นั้นเอง ไม่มีอะไร แล้วมันบังเอิญที่ฟังทุกเพลงรวมกัน ถ้าฟังสะเปสะปะไม่รู้เรื่องหรอก แต่ฟังไล่แทร๊ค เชี่ยแม่ง นี่มันชีวิตกูเลย แทร๊คแรกของอัลบั้มมีชื่อว่า “New Town” อารมณ์แบบหนี หนึจากทุกอย่าง หนีจากเมืองเก่า อยากไปเมืองใหม่ หนีคนเดิมๆ หนีจากอำเภอ น้ำพอง ขอนแก่น จาก มหาสารคาม มากรุงเทพ เพื่อจะได้มาเจอสังคมใหม่ๆ เพลงที่ 2 “Hard To Cure” เราไปเจอกับผู้หญิงคนนึงแล้วมันก็เกิดอาการ “Hard To Cure” คุยกันไม่รู้เรื่อง แทร๊คที่ 3  “Mind” คือการกลับไปคิดถึงคนที่เราจากเขามาจากในแทร๊คแรก ส่วนแทร๊คที่ 4 ชื่อ  “Moments” เป็น interlude อันนี้คือเหตุการณ์วันที่ผมได้เจอแฟนคนล่าสุด (ปัจจุบันเลิกกันแล้ว) ของผมครั้งแรกที่ Speakerbox แทร๊คที่ “In Me” ต่อจาก interlude เป็นเรื่องผมกับแฟนคนนั้น ถัดจากเพลงก็จะเป็นเพลงที่ 6 “Brighter” ซึ่งใครจะเอาไปตีความเป็นเรื่อง ยาเสพติดก็ได้ หรือความสัมพันธ์ก็ได้ ก่อนจะต่อด้วย “I Can Tell” เกี่ยวกับความชอบในชีวิตกลางคืน แล้วเข้ามาที่ “Penny” เป็น interlude อีก แล้วก็มา “Living Slow Disaster” ก่อนจะปิดด้วย “Drown” เป็นแทร๊คสุดท้ายที่มันพังทุกอย่าง


    “Livig Slow Disaster” เป็นเพลงเกี่ยวกับอะไร


    เต๊ะ : เพลงนี้เป็นเพลงที่ตั้งใจเขียน เขียนตอนช่วงโควิด เรารอเจอกับแฟน อารมณ์แบบว่าเรารอพบเจอเธอนะ แต่สุดท้ายทุกอย่างแม่งพัง พอทุกอย่างมันพังลงเรารู้สึกว่าชีวิตเราตอนนั้นเหมือนอยู่ไปวันๆ รอเวลาให้โลกใบนี้ดับสูญไป รอให้เราหายจากโลกนี้ไปในสักวัน ตอนเรา lockdown เราไม่ได้เจอแฟน เราเฝ้ารอที่จะได้เจอเขา แล้วสุดท้ายเรามาเลิกกัน ทุกอย่างคือ พัง แล้วสิ่งที่กูรอมาตลอดหลายๆ อย่าง มันกลับไปเป็นศูนย์แล้ว ชีวิตที่เราใช้ ณ ตอนนี้ มันเหมือนไม่เหลืออะไรแล้วอะ เราไม่ต้องรอแล้ว เราแค่มีชีวิตไปเรื่อยๆ “Living Slow Disaster” เป็นเพลงที่เกี่ยวความสัมพันธ์ที่แตกสลาย สำหรับเรา อัลบั้มนี้มันไม่ใช่อัลบั้มที่ฟังแล้วมันหวือหวา มี ไดนามิก ขึ้นๆ ลงๆ ตอนสุดท้ายก็หนักเลย  “Drown” 8 เพลง + 2 interlude ถ้าฟังเรียงต่อกันทั้งอัลบั้มน่าจะเข้าใจ





    คุณคาดหวังว่าคนฟังจะได้อะไรจากการฟังอัลบั้มชุดนี้


    เต๊ะ : ถ้าถามว่าคุณจะได้อะไรจากการอัลบั้มชุดนี้เหรอ คุณจะได้รู้ว่า วงดนตรีวงนี้ มันไม่ได้มีแค่เพลงช้า ไม่ได้มีแต่เพลงดาวน์ๆ ผมหวังว่าเพลงในอัลบั้มของผมมันจะเป็นซาวน์แทร๊คประกอบชีวิตของใครสักคนได้ สำหรับคนที่แบบ….ต้องลองฟังดูอะ หวังว่าทุกคนจะได้รู้ว่า Shoegaze ไทยแม่งยังมีอยู่ ถึงเราไม่ได้เรียกตัวเองว่าเป็นวง Shoegaze แบบ 100% เป็นวงอัลเทอร์เนทีฟร๊อกธรรมดา แต่ว่าเราใช้อิทธิพลที่ได้จากการฟังเพลง  Shoegaze จาก Dream Pop และเราก็พยายามเต็มที่มากที่จะเอาสิ่งที่เราชอบมาผสมผสานใส่ลงไปในเพลงของพวกเรา เราคิดว่าถ้าคนที่ชอบฟังเพลงแนวนี้จะต้องชอบ ไม่มากก็น้อย เพราะขนาดตัวผมเองในฐานะที่เป็นคนฟังเพลง ผมก็ยังรู้สึกว่าผมชอบเพลงวงผม คนที่ฟังแนวนี้ถ้าเขาได้มาฟังอัลบั้มนี้เขาจะไม่ผิดหวัง คนที่ยังไม่เคยฟังก็อยากให้ลองฟัง ไม่ต้องไปตั้งใจนั่งฟังอะไรขนาดนั้นก็ได้ ทำอะไรก็ได้ในชีวิตประจำวันปกติ นั่งรถนั่งอะไร เปิดเพลงผมเข้าไป เพลงของ “Death Of Heather” เหมาะการฟังระหว่างเดินทางมาก ถ้ามีรถ อยากให้ลองขับรถไปแล้วฟังอัลบั้มชุดนี้ไปเรื่อยๆ มันเหมาะกับการเดินทางมากๆ หรือว่าถ้าอยากจะลองตั้งใจนั่งฟังจริงๆ มันก็ได้ คุณก็จะได้รู้ว่าคอนเซ็ปต์และเรื่องราวในอัลบั้มนี้มันเป็นยังไง ทั้งๆ ที่มันไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นคอนเซ็ปต์หรอก แต่นบังเอิญที่แบบว่า มันเป็นเรื่องราวของแต่ละเพลงมันต่อกันจริงๆ แล้วพอเราเอามาเรียงเป็นอัลบั้มแล้วเสือกเป็นคอนเซ็ปต์ ถ้าอยากนั่งตั้งใจฟังมันก็ได้ แต่ถ้าฟังเพลินๆ ก็เพลินแน่นอน เป็นอัลบั้มที่เป็น Music For Cars อัลบั้มหนึ่งเลย แต่อย่าง่วงก็พอเท่านั้นเอง (หัวเราะ) มันหลับได้ ลองคิดภาพขับรถบนทางด่วน ไฟสลัวๆ แล้วเปิดเพลงของ “Death Of Heather” ตอนนั้นคงจะเหยียบ 120 ไปแล้วพอถึงเพลงช้าก็เริ่มขับช้าลงมองไฟถนน มันเป็นเพลงที่เหมาะแก่ฟังบนรถ ไปๆ มาๆ ผมจะตั้งชื่ออัลบั้มนี้ว่า “Music For Cars” ซะละ (หัวเราะ) ไอ้เหี้ยแม่ง The 1975


    จากที่เล่นดนตรีมาเป็นสิบปี ไม่มีคนสนใจ พอวันนึงมันมีคนมารักมาชอบงานเราขนาดนี้มันรู้สึกยังไง


    เต๊ะ : มันเปลี่ยนชีวิตผมเลยนะ ไอ้เหี้ย เราเล่นดนตรีมาเป็นสิบปี จากที่เราไม่เคยจับต้องอะไรได้จากสิ่งที่เราทำ คือ “Anti-Pants” มันอาจจะมีแฟนเพลง มีคนติดตามในซีนพังก์บ้างเล็กน้อย แต่สำหรับ “Death Of Heather” มันจับต้องได้ชัดเจน ทั้งในรูปแบบ ยอดขาย ยอดฟัง เราเริ่มหารายได้จากการไปเล่นดนตรีได้ วงดนตรีวงนี้น่าจะเป็นวงแรกที่ผมเล่นดนตรีแล้วผมได้เงิน เรามีทัวร์ของตัวเอง เราได้เล่นกับซีนอินดี้จริงๆ เราได้เข้าไปอยู่ในซีนดนตรีอินดี้ของเมืองไทยช่วงหนึ่ง (คือ ช่วงนี้) ที่แม่งบูม มันมีชื่อเรา กลายเป็นว่ามันเปลี่ยนชีวิตเรา เรามีตัวตนขึ้นมาในสังคม จากช่วงที่ทำวงพังก์ เราเป็นแค่เด็กที่ชอบเล่นเฟสบุ๊กคนนึงแล้วเวลามีงานปาร์ตี้พังก์ผมก็ไปเล่นดนตรีพังก์ คนมาฟังแม่งก็เป็นคนกลุ่มเดิมๆ เป็นกลุ่มนักดนตรีที่เราเจอกันตลอด แต่การทำตรงนี้...มันโตขึ้น มันพาเราไปเจออะไรใหม่ๆ เราได้เจอคนแปลกหน้า ใครก็ไม่รู้ ไอ้เชี่ยแม่งมันมาตามกู มาทักทายกู เรารู้สึกว่าเรามีอิทธิพลต่อชีวิตเขา เขามาซัพพอร์ต มาซื้อนู่นซื้อนี่จากเรา เขาเคยบอกว่าเพลงเราเคยทำให้เขาชอบผู้ชายคนนึงได้ เปลี่ยนชีวิตเขาได้ เปลี่ยนเหี้ยอะไรวะ ผมก็ไม่รู้ เปลี่ยนชีวิตการฟังเพลงหรือออะไร แล้วพวกไม่ได้เป็นวงที่มันใหญ่ แต่ผมรู้สึกว่ามันเปลี่ยนชีวิต จากที่เป็นวงป๊อปพังก์รากหญ้า เหมือนว่ามันให้เราจับจุดเจอที่เราจะเป็นนักดนตรีจริงๆ ได้ขึ้นมา มันเริ่มมองเห็นแล้วว่า เออว่ะ เรามีตัวตนในซีน จากที่เมื่อก่อน ก็ไม่มีคนสนใจอะ เราไปเล่น เราก็ดูกันเอง ในฐานะนักดนตรี เราเริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เชี่ยได้ไปเล่นเฟสติเวิลที่อยากเล่น เล่นงานแคท ได้ไปเล่นต่างประเทศ เรา ได้ไปอยู่จุดที่แบบนั้น “Wildest Youth” ก็มีส่วนช่วยด้วยเราก็เริ่มมีตัวตนขึ้นมาจากการไปเล่นงานที่พี่จัด แล้วคนเขาก็ฟังเพลงเรากันจริงๆ 





    แต่เราก็ยังใช้ชีวิตเหมือนเดิมแหละ ผมยังเป็นคนเดิมเหมือนตอนที่ผมทำ “Anti-Pants” แดกลาบข้างทาง ปกติ ดื่มเมาจนเช้าที่ “Moonshine Bar” เหมือนเดิม ไม่ได้มีความรู้สึกตื่นเต้นหรือว่าหลงระเริงที่มีคนมาชอบ เหมือนที่คนเขาชอบเตือนว่า เวลามึงดัง มีคนติดตามเยอะๆ แล้วมึงอย่าเหลิงนะ กูอยากจะบอกว่า กูไม่เหลิง กูไม่ได้ทำตัวรุ่นใหญ่ กูทำตัวปกติของกูเหมือนเดิม แต่ถามว่ารู้สึกดีไหมมันก็รู้สึกดี เพลงเรามันได้รับการยอมรับและการรับฟังอย่างซีเรียสจริงๆ  รู้สึกขอบคุณ คนที่ตามไปดูวงผมเล่นสดประจำเขาก็จะรู้ว่า ระหว่างแฟนเพลงกับวงผมจะมีความรู้สึกเหมือนเป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้องกัน ก็อยากขอจะพูดแบบ Bodyslam อะ  ถ้าไม่มีคุณก็ไม่มี “Death Of Heather” คำนี้แม่งจริง มันเป็นคำที่แบบน้ำเน่าแต่ไอ้เหี้ย ของจริง คุณฟังเพลงผม ผมก็จะเล่นดนตรีให้คุณฟังอย่างตั้งใจ ผมต้องขอบคุณพวกเขา ต้องให้ความสนใจ เพราะถ้าไม่มีเขาผมก็คงยังต้องเป็นง่อยๆ เหมือนเดิม พวกเขาแม่งเปลี่ยนไม่ใช่แค่ผม แต่คือ ทุกคนในวง ถ้าไม่มีพวกคุณผมคงรู้สึกว่าตัวเป็นไอ้ขี้แพ้ไปแล้วล่ะ กูทำอะไรก็ไม่ขึ้น เรารู้สึกว่ามันไม่ขึ้นอะตอน “Anti-Pants” ทำเชี่ยไรแม่งก็ นิ่ง พี่เอาพวกผมไปเล่นแรกๆ พยายามดัน มันไม่มีเชี่ยไร ปล่อยอีพี แม่งเหี้ยอะไร แล้วพอกูทำ “Death Of Heather” มันโดดไปเลย เราขอบคุณที่ฟัง ขอบคุณที่ติดตามจริงๆ ขอบคุณที่ฟังเราแล้วอินไปกับเรา สิ่งที่พวกคุณมอบให้กับพวกเราแม่งโคตรยิ่งใหญ่ มึงตามกูจริงๆ มึงตามชีวิตกูเนี่ยนะ การที่คุณชอบผลงานผมแล้วมาติดตามชีวิตผม รู้ว่าผมกำลังทำอะไร ติดตามวงผมกำลังเคลื่อนอะไรยังไง ตามไปดูเราเล่นสด แค่นี้ผมก็รู้สึกว่า ขอบคุณมากๆ แล้ว มันเปลี่ยนชีวิต ทำให้ชีวิตเรามีจุดหมาย ถ้าวันหนึ่งพอพอถึงเวลาที่เราแก่ตัวไปแล้วมองย้อนกลับมา เราคงไม่มีวันลืมช่วงเวลานี้ของชีวิต







    ทุกท่านติดตามผลงานและความเคลื่อนไหวของ “Death Of Heather” ผ่านทาง facebook https://www.facebook.com/deathofheather , Instragram @deathofheather__ 






    _____________________________________________________________________________

    Death Of Heather : NOV-DEC 2020

    7 NOVEMBER 2020

    เล่นเพลงจากอัลบั้มเต็มแบบเต็มๆ สดๆ ครั้งแรก ที่งานนี้ Ticket : bit.ly/37thBuH


    14 NOVEMBER 2020

    งาน Listening Party เปิดอัลบั้มของ "Death Of Heather" ร่วมฟังเพลง กิน ดื่ม และชมโชว์อคูสติกสุดพิเศษจากพวกเขา กดบัตรได้ที่ https://www.facebook.com/yellrecordz


    26 December 2020
    ฮองเฮียน เฟสติวัล เทศกาลดนตรีอินดี้ประจำปีของจังหวัด "ศรีสะเกษ" จำหน่ายบัตรแล้ววันนี้ https://www.facebook.com/hongianfestival
     



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in