เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
JJ'S THAI DIALECTS DIARYjjjaypc
[หน้า 16] ศึกษาภาษาถิ่นในภูมินาม
  • ภูมินามวิทยา (toponymy) คือ ศาสตร์ทางด้านภาษา ที่ศึกษาความหมายหรือนัยสำคัญ ของชื่อสถานที่ต่างๆ ที่ตั้งขึ้น ว่าสื่อสัมพันธ์หรือสำแดงลักษณะเฉพาะอะไรที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มภาษา พืชพันธุ์ สัตว์ สิ่งปลูกสร้าง ทรัพยากร รวมไปถึง ลักษณะภูมิประเทศที่ถิ่นฐานนั้นตั้งอยู่ ตัวอย่างเช่น เช่น บ้านไทรงาม อาจหมายถึงมีต้นไทรอยู่มากมายในอดีต บ้านพุน้ำร้อนบ่งบอกว่าน่าจะมีแหล่งน้ำพุร้อนอยู่ในพื้นที่ บ้านเขาเหล็ก อาจหมายถึงมีภูเขาและมีแร่เหล็กบนเขาลูกนั้น เป็นต้น เพื่อที่จะศึกษาความสัมพันธ์ของภูมิบ้านนาเมือง ที่สื่อถึงภูมิประเทศในประเทศไทย งานวิจัยนี้เลือกกลุ่มคำตัวอย่างที่สื่อถึงพื้นที่สูงในละแวก ซึ่งคนโบราณส่วนใหญ่นิยมเลือกเป็นที่อยู่อาศัยในอดีต ได้แก่ เนิน โนน โพน โคก ดอน ควน ผ่านการมีอยู่ในองค์ประกอบของชื่อหมู่บ้านทั้งประเทศ เพื่อที่จะสังเคราะห์ว่า แต่ละคำที่กล่าวมา ถูกใช้อย่างไร ทั้งในมิติการกระจายตัวของภาษา หรือ ภูมินามวิทยา (toponymy) และในมิติของ ภูมิลักษณ์ (landform) รูปร่างของภูมิประเทศดังกล่าว

    เรามาดูรูปต่อไปนี้กัน
    จากรูปประกอบนี้จะเห็นได้ว่า ชื่อหมู่บ้านที่มีคำว่า ภู กระจายทั่วทุกภาค ตามความสูงของพื้นที่อีกด้วย คำว่า ควน พบเฉพาะภาคใต้ เป็นคำเรียกพื้นที่สูง เนินหรือเขาดิน คำว่า กุด พบเฉพาะภาคอีสาน เป็นคำเรียกลำน้ำโค้งปลายด้วน
    ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
    ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
    ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
    ที่มา https://web.facebook.com/mitrearth/posts/pfbid02gxiF6yLE9TFgHM4Xw88PuG8KvhF4GLPLT7VRvcLcui4aDp6xVobiyKBky6QMbyuyl)
    http://www.mitrearth.org/24-77-toponymy-non-pon-kok/
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in