เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
I AM WHAT I WATCHSCHLENDERN
Jackie : ความพังทลายของหน้าฉากในเสี้ยววินาที
  • นี้เขียนหลังจากดู Jackie ได้อาทิตย์กว่าแทนที่เราจะรู้สึกประทับใจกับการเล่าเรื่องที่พาไปสำรวจความล่มสลายของผู้หญิงคนหนางที่สามีตายไปต่อหน้าต่อตาการแสดงของนาตาลี พอร์ตแมนที่แทบจะ copy paste อดีตสตรีหมายเลข1 มาทุกกระเบียดนิ้วตั้งแต่สำเนียงยันท่าทาง แต่พออกจากโรงมาดันทำให้เรานึกถึงทฤษฎีสมัยเรียนมาซะอย่างนั้นแถมเป็นทฤษฎีที่เราเองก็ไม่ค่อยซื้อหรือชอบมันเสียเท่าไหร่แต่ก็นั้นแหละอย่างไรมันก็นึกถึงไปแล้ว และนี่ก็เรียกว่ารีวิวหนังก็คงไม่ถูกเสียเท่าไหร่แต่จะเป็นการหยิบหนังมาพูดถึงกันในอีกมุมหนึ่งมากกว่า


    เรื่องย่อ

    Jackie เป็นหนังอัตชีวประวัติของแจคเกอรีน เคเนดีตั้งแต่จอห์น เฟ เคเนดี สามีและประธานาธิปดีถูกลอบสังหารโดยเนื้อเรื่องไม่ได้เน้นไปที่ตัวมร.เคเนดี้หรือคนลอบสังหารอย่างที่เคยทำมาในครั้งก่อน ๆ แต่หนังจะพาไปสำรวจสารพัดอย่างในตัว Jackie ตั้งแต่วินาทีที่มร.เคเนดี้ถูกลอบสังหารจนกระทั้งถึงพิธิศพและพาไปได้ไกลกว่า Jackie ผู้เป็นสตรีหมายเลขหนึ่งหรือผู้นำแฟชั่นในยุคนั้น


    ***SPOILER ALERT***



    หน้าฉาก หลังฉากของ Goffman กับ ความเป็น Jackie

    Goffman เป็นนักสังคมวิทยาชาวอเมริกันมีชีวิตช่วงพีคก็ราว ๆ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนตีพิมพ์ ThePresentation of Self in Everyday Life ในปี 1956 เป็นก่อนอื่นต้องปูพื้นกันเรื่องตัวตน (self) ของ Erving Goffman ว่า Goffman เองมองว่า self ไม่ได้ตายตัวแต่เปลี่ยนไปแต่ละสถานการณ์ (พื้นที่ เวลา ตัวบุคคล ประสบการณ์) และขึ้นอยู่กับเราว่าจะประเมินสถานการณ์ตอนนั้นอย่างไรและเลือกตัวตนแบบไหนออกมาใช้เพื่อให้คู่สนทนาหรือสังคมยอมรับ

    ซึ่งตรงนี้ Goffmanจะเปรียบว่าเป็นเหมือนละครเวทีมีหน้าฉากที่เล่นตามบทบาทที่คนดูคาดหวังและในหลังฉากก็ถอดบทบาทนั้นทิ้งไปแต่หน้าฉากนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นการใส่หน้ากากเข้าหากันหรือทิ้งความเป็นตัวเองทิ้งไป ว่ากันง่าย ๆ คือไม่ได้หมายความว่าเมื่อตอนเราอยู่หน้าฉากเราจะสร้างตัวตนปลอม ๆ ขึ้นมามาหลอกคนอื่นแต่ที่เราแสดงออกมานั้นมันก็เป็นตัวตนของเราจริง ๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นหน้าฉากหรือหลังฉาก แต่การแสดงออกในหน้าฉากนั้นเป็นการจัดการตัวเองให้คนอื่นรู้ว่าตัวเราเป็นใคร กำลังทำอะไรในเวลาอันสั้นเพื่อให้เกิดความไหลลื่นและสามารถคอนโทรลสถานการณ์นั้นได้

    ตรงนี้เราจะเห็นว่า Jackie ต้องพยายามอย่างมากในการสร้างตัวตนใหม่กับทุก ๆ คนรอบตัวตั้งแต่การเป็นสตรีหมายเลข 1 ต่อไปกับคนในสังคมจนจบพิธีศพ การเลิกเป็นสตรีหมายเลขหนึ่งกับคนสนิทอย่างแนนซี่ที่ถึงกับย้ำจนเป็นโควทเท่ ๆ ในหนังอย่าง I’m not first lady anymore, you can call me Jackie การกลายเป็นแม่เลี้ยงเดียวกับลูกอีกสองคนแถมยังต้องพยามบอกลูกทั้งสองว่าพ่อตายแล้วโดยไม่พูดว่าตายอีก รวมถึงกลายสัญลักษณ์บางอย่างเพื่อสื่อถึงคนที่ลอบสังหารอย่างการไม่ยอมเปลี่ยนชุดที่เต็มไปด้วยคราบเลือดของสามีตัวเองและทุกสิ่งที่แสดงออกยังคงต้องออกมาเป็นตัวตนของ Jackie ในทุกบทบาทในทุกหน้าที่ที่ตัวเองแบกรับอยู่ซึ่งเมื่อออกไปหลังฉาก Jackie ยังคงเป็นคนเดิมทั้งใคร่ครวญทุกอย่างทุกช่วงเวลาของเหตุการณ์ที่เกิดเพียงแค่ไม่ต้องแสดงออกกับใครเท่านั้น


     ตัวตนการสร้างประวัติศาสตร์และการพังทลายตัวตนของ Jackie

    การสร้างตัวตนและเล่น role play ของ Jackie ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงระดับบุคคลอย่างหัวข้อก่อนแต่ลามไปถึงการเล่นกับสังคมจนถึงการเมืองระหว่างประเทศและการสร้างตัวตนให้กับจอห์น เอฟ เคเนดี้ ด้วยทั้งระหว่างมีชีวิตและเสียชีวิต ทำให้ Jackie เองพิถีพิถันตั้งแต่การเลือกเสื้อผ้าในการสร้างตัวตน และตัว Jackie เองในการเขียนตัวเองในประวัติศาสตร์นั้นกลับกลายเป็นว่าต้องสร้างตัวตนในบทบาทสตรีหมายเลขหนึ่ง นำขึ้นมาก่อนและเฉลี่ยไปเป็นเมียและแม่ 

    โดยการสร้างตัวตนนี้ Jackie เองก็เลือกที่จะสร้างด้วยการช่วยในการยืนยันในการสร้างความยิ่งใหญ่ของจอห์นเอฟ เคเนดี้ให้เท่ากับอับราฮัม ลินคอล์น โดยในหนังเราจะเห็นการสร้างตรงนี้ตั้งแต่การไล่ซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่มีสตอรี่ของอดีตปธน.ที่ฉายในตอนตอนออกรายการ“A Tour of the White House with Mrs. John F. Kennedy” รวมถึงโควทระดับคำคมที่สมควรโดนขโมยไปใช้อย่าง “Objects and artifacts survive for far longer than people, they represent history, identity, and beauty


    ซึ่งดูเหมือนว่า Jackie จะสร้างตัวตนให้ทั้งกับสามีและบ้าน(มร.เคเนดี้กับไวท์ เฮ้าส์) แต่จริง ๆ แล้วเป็นการเล่นในบทบาทสตรีหมายเลขหนึ่งคล้าย ๆ กับการเป็นหลังบ้านที่ดี ที่แม้แต่ตัว Jackie เองก็ไม่ได้มีความมั่นใจมาตั้งแต่ต้น (ช่วงก่อนถ่ายทำรายการออกอาการอย่างเห็นได้ชัดและนั่นเป็นหน้าฉากเดียวที่เป็นการเล่นละครอย่างเต็มตัว) เมื่อถึงช่วงจัดงานศพยิ่งตอกย้ำภาพเหล่านี้ให้ชัดขึ้นไปอีกและยังคงเต็มไปด้วยความเคลือบแคลงใจอยู่ตลอดเวลาด้วยกันว่าตัวเองทำถูกต้องหรือเปล่าในการจัดงานนี้เพราะเป็นการตีกันระหว่างตัวตนของแม่และตัวตนของสตรีหมายเลข1 รวมถึงตัวตนของสะใภ้บ้านเคเนดี้

    หลายคนอาจจะมองว่าการเจ้ากี้เจ้าการนี้เป็นหน้ากากในการสร้างความยิ่งใหญ่ให้มร.เคเนดี้แต่จริงๆ แล้วหากมองไปยังตัวละครอื่นในตระกูลจะเห็นว่าตรงความเจ้ากี้เจ้าการ ความ perfectionist ที่แทบจะตลอดเวลานี้เป็นเหมือนตนตัวของตระกูลเคเนดี้มากที่สุดทั้งเพลง Camelot เพลงโปรดของมร.เคเนดี ความยิ่งใหญ่ความต้องให้ตระกูลถูกจดจำและความอย่ามายุ่งกับเรื่องภายในบ้านที่แสดงออกผ่านในบทของบ็อบบี้เคเนดี้ น้องชายของมร.เคเนดี้ซึ่งประสบการณ์และการปรับตัวของ Jackie ในการเป็นสะใภ้บ้านนี้ก็ถูกแสดงออกมาอย่างเต็มที่เมื่อก้าวมาแป็นสตรีหมายเลขหนึ่ง

    เมื่อตัวตนที่ป็นมาตลอดของ Jackie ในช่วงเวลาเป็นปี ๆ กลับพังทลาย เราจะเห็นส่วนนี้ถูกใส่ลงมาตั้งแต่ฉากการสาบานตนของลินดอน บีจอห์นสัน บนเครื่องบินและมาขมวดจบในซีนที่คุยกับบาทหลวงก่อนจะไปทำพิธีที่สุสาน ซึ่งทั้งหมดนั้น Jackie ก็ยอมรับออกมาเองว่าที่ทำทั้งหมดนั้นไม่แน่ใจแล้วว่าเพื่อใครหรืออะไรกันแน่ ซึ่งความตายของมร.เคเนดี้ก็เป็นปัญหาให้กับ Jackie มากกว่าการเป็นหม้ายเพราะตัวตนที่คุ้นเคยในทุกด้านกลับพังทลายลงในเพียงไม่กี่วินาทีหลังจากกระสุนเจาะกระโหลกเข้าไปจนถึงหลังการคลานไปเก็บเศษกระโหลกที่เปิดออกที่กระจายไปอยู่บนกระโปรงท้ายรถ (ทำไมพออธิบายแล้วมันดูโหดกว่าในหนังอีก) 

    ภาพขณะที่ Jacqueline Kennedy ลุกเอื้อมไปเก็บเศษกระโหลกของสามีทันทีหลังกระสุนเจาะเข้าที่หัวเพียงเพราะต้องการช่วยเหลือเพื่อสามารถช่วยชีวิตสามี

    การจะเล่นหน้าฉากใหม่ ๆ ของตัว Jackie นั้นยากและทรมานเกินกว่าจะทำให้ไหลลื่นเหมือนปกติได้โดยคนอื่นไม่สังเกตเห็นความพังทลายตรงนี้ที่เกิดกับ Jackie โดยเฉพาะตลอดเวลาที่หนังตัดไปในซีนที่ต้องถูกสัมภาษณ์โดยทีโอดอร์ เอช. ไวท์เพื่อนำไปลงยัง นิตยสาร LIFE

     ช่วงเวลาตรงนี้เองระหว่างการถูกสัมภาษณ์ก็ได้กลายเป็นกระบวนการการทบทวนตัวเองอีกครั้งในตนตัวทั้งหมดทั้งสิ้นของตัว Jackie เอง ไม่ว่าจะเป็น อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งคนนี้ยังต้องเติมเต็มบทบาทของสามีที่จากไปทั้งจากการทำพิธีศพและการพรูฟบทสัมภาษณ์ การโดนล้วงลึกลงไปในบทบาทอื่น ๆ ที่ต้องเปลี่ยนสภาพไป 

    และที่สำคัญการเขียนประวัติศาสตร์ครั้งนี้ลงนิตยสารที่มีอิทธิพลสูงลำดับต้น ๆ ซึ่งน่าจะเป็นครั้งเดียวในหนังที่ Jackie สร้างหน้าฉากได้สมบูรณ์เพราะนักข่าวจะต้องเขียนในขอบเขตหรือใช้คำตามที่เธออนุญาตเท่านั้นและที่สมบูรณ์ได้เพราะที่สร้างนั้นไม่ได้สร้างตัวตนเธอเองจริง ๆ แต่เป็นตัวตนในเทพนิยาย อย่างที่ Jackie กล่าว

    "People like to believe in fairy tales.....I believe the characters we read about on the page end up being more real than the men who stand beside us"


     

     

                    

                  

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in