เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บริหารการเงินแบบใสใสตาโต B.E.
บทที่ 2 การลดหย่อนภาษีด้วย LTF, RMF, ประกันชีวิต
  • Q:  ต้องการเปรียบเทียบระหว่างการลดหย่อนภาษีด้วย LTF, RMF, ประกันชีวิต กับ
          การชำระภาษีเต็มจำนวนค่ะ

    A :  ผมขออธิบายแบบนี้ก่อนครับ
          การลดหย่อนภาษีด้วย LTF ,RMF ,ประกันชีวิต เหมือนการซื้อของที่ได้ส่วนลดครับ
          ดังนั้น ถ้าเรามีความจำเป็นต้องซื้อของ เราก็ควรใช้สิทธิส่วนลด
          แต่ถ้าไม่ได้อยากซื้อของ เราก็ไม่ต้องใช้สิทธิส่วนลดนั้น

          ทีนี้ย้อนกลับมาที่ LTF RMF ประกันชีวิตครับ
          1. ประกันชีวิต มีหลักอยู่ว่า ถ้าทำไปแล้ว ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรยกเลิก
              เพราะจะเสียผลประโยชน์เปล่าๆ ครับ
          2. RMF ถ้าซื้อไปแล้ว จะติดเงื่อนไขว่าต้องซื้อทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปี
              ขั้นต่ำ ประมาณปีละ 5,000 บาทครับ
          3. LTF ไม่มีเงื่อนไขเรื่องการซื้อต่อเนื่อง มีเงื่อนไขเดียวคือ ห้ามขายก่อนเวลาที่กำหนด
               ปัจจุบัน เงื่อนไขอยู่ที่ 7 ปี ปฏิทิน

    Q:  ขอบคุณนะคะ แล้วถ้าขอให้ช่วยแนะนำหลักการเลือกกองทุน LTF และ
          วิธีการซื้อ ซื้อเฉลี่ยทั้งปี รึซื้อตอนปลายปี ด้วยจะได้มั้ยคะ

    A:  สำหรับหลักการเลือกกองทุน LTF
         หากต้องการศึกษากองทุนแต่ละกอง ควรเริ่มจาก นโยบายการลงทุน ความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้
         และสุดท้าย ถ้าต้องการเปรียบเทียบความสามารถในการบริหารกองทุนแต่ละกองจริงๆ 
         ควรดูจากค่า Sharpe ratio เป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ
            "Sharpe ratio เป็นค่าที่วัดความสามารถในการสร้างผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยง"

          เช่น กองทุน 2 กอง มีนโยบายการลงทุนเหมือนกันทุกอย่าง แต่มีพอร์ทหุ้นไม่เหมือนกัน
          กองทุนกองแรก ได้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 100% แต่มีความเสี่ยงของพอร์ท 1000%
          กับอีกกองทุน ได้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี 50% แต่มีความเสี่ยงของพอร์ท 10%
          เราควรเลือกกองทุนกองหลังมากกว่าครับ (ตัวเลขสมมติมาเว่อร์ๆ ให้เห็นภาพง่ายๆ ครับ)

         หรือถ้าอยากเลือกที่ง่ายกว่านั้น ก็หาเวปที่เค้าจัดอันดับกองทุนให้ เช่น 
         http://www.wealthmagik.com/MScreener/BasicScreener.aspx
        


  • A:  สำหรับวิธีการซื้อ มีแนะนำ 3 แบบ เลือกแบบใดแบบหนึ่งก็ได้นะครับ
         
         1. DCA (Dollar-Cost averaging) หมายถึง การซื้อด้วยมูลค่าเท่าๆกันทุกเดือน 
             โดยคุณแจ้งกับ บลจ. เลยว่า จะสั่งซื้อเดือนละกี่บาทในวันที่เท่าไหร่ของเดือน
            
             มีข้อดี คือ สะดวก ง่าย และผลตอบแทนในเกณฑ์มาตรฐานใกล้เคียงกับผลตอบแทนตลาด
             เช่น ปี 2560 คุณต้องการซื้อ 12,000 บาท คุณสั่ง บลจ. ได้เลยว่า ให้ตัดเดือนละ 1,000 บาท 
             ในวันที่ 7 ของทุกเดือน (สมมตินะครับ)

         2. VA (Value averaging) หมายถึง การซื้อเพื่อให้พอร์ทของเรามีมูลค่าตามที่กำหนดไว้ทุกเดือน
             เช่น ปี 2560 คุณต้องการให้แต่ละเดือน พอร์ทคุณมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเดือนละ 1,000 บาท
                                                                          และเมื่อปลายปี มีมูลค่า 12,000 บาท
             คุณก็สั่งซื้อเลย เดือนแรก 1,000 บาท >> พอร์ท 1,000 บาท 
             ต่อพอถึงเดือนที่ 2 หุ้นขึ้นเป็น 1,300 คุณก็ซื้อเพิ่มแค่ 700 บาท >> พอร์ท 2,000 บาท 
             พอถึงเดือนที่ 3 หุ้นลงเป็น 1,500 บาท คุณก็ซื้อเพิ่ม 1,500 บาท >> พอร์ท 3,000 บาท 
             ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงสิ้นปี

             ข้อดี คือ ต้นทุนจะถูกกว่าแบบแรก
             (ราคาแพงไม่ซื้อ รอซื้อเมื่อราคาถูก ต้นทุนถูก ผลตอบแทนเพิ่ม)
             แต่มีข้อเสีย คือ มีความซับซ้อนมากกว่าแบบแรก

         3. การลงทุนแบบ Active เป็นการจับจังหวะตลาด 
             เมื่อหุ้นลง ซื้อ เมื่อหุ้นขึ้น ไม่ซื้อ วิธีการแบบนี้แหละที่ทำให้หลายคนมาซื้อหุ้นกันปลายปี
             โดยที่ไม่รู้เลยว่า หุ้นถูกที่สุดจะอยู่ที่จุดไหน อาจจะอยู่ที่เดือนเมษายน หรือ พฤศจิกายนก็ได้
     
             วิธีที่ 3 สามารถสร้างผลตอบแทนได้มาก แต่ก็มีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนน้อยที่สุดก็ได้เหมือนกัน

              สำหรับ มือใหม่ แนะนำว่าใช้วิธีที่ 1 ก่อนดีกว่า พอคล่องแล้วค่อยขยับเป็น 2 
              แล้วค่อย แบ่ง 50/50  (50% ใช้วิธีที่ 1 หรือ 2 และอีก 50% ใช้วิธีที่ 3)

              หวังว่า คงเป็นข้อมูลได้นะครับ ถ้าสนใจเรื่องไหนอีกลองถามมาได้นะครับ

    Q :  ขอบคุณมากนะคะ ได้ความรู้มากเลย เดี๋ยวขอทำความเข้าใจก่อน แล้วขอถามอีกนะคะ



    หากท่านใดมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามเกี่ยวกับเรื่องการวางแผนการเงิน
    ทั้งเรื่อง การวางแผนภาษี การวางแผนเกษียณ ทุนการศึกษาบุตร 
    สามารถติดต่อได้ที่ Inbox


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in