เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บริหารการเงินแบบใสใสตาโต B.E.
บทที่ 8 การวางแผนทุนการศึกษาลูก แบบขั้นเทพ
  • วันนี้เปลี่ยนบรรยากาศ เรามาคุยเรื่อง การวางแผนทุนการศึกษาลูก แบบขั้นเทพ กัน

    เนื่องจากผมยังไม่มีลูก หลายคนอาจจะคิดว่า ผมคงไม่เข้าใจความยากลำบากของคุณพ่อคุณแม่
    แต่ผมก็จำได้ว่า สมัยเด็ก ผมมีทางเลือกในการเรียนน้อย 
    นั่นคือ ผมจำเป็นต้องเข้าเรียนโรงเรียน/มหาวิทยาลัยของรัฐให้ได้
    เพื่อที่จะสามารถเบิกค่าเทอมจากสิทธิข้าราชการของคุณแม่ได้ (ให้มีส่วนต่างให้น้อยที่สุด)
    เพราะถึงแม้คุณแม่จะเป็นคนที่เก็บเงินเก่งมากและพยายามในการเก็บ/เตรียมเงินไว้ให้ผมได้เรียน
    แต่หากต้องไปเรียนโรงเรียนเอกชน ก็คงต้องกระเบียดกระเสียรมากกว่านี้อีกมาก

    เอาล่ะ ... กลับมาเข้าบทความของเรากันต่อดีกว่า
    .... เรามาเริ่มกันเลย

    ทำไมจึงต้องวางแผนทุนการศึกษาลูก
    เพราะเราทุกคน รู้กันดี อยู่แล้วว่า การศึกษาเป็นหนึ่งในมรดกเพียงไม่กี่อย่าง 
    ที่สามารถส่งต่อให้ลูกได้ และมั่นใจว่าลูกของเราจะไม่ทำมันหายไป
    หากเขาได้รับการศึกษาที่เหมาะที่สมควร เขาก็น่าจะสามารถที่จะเอาวิชาไปหาเลี้ยงชีพต่อไปได้

     - นิสัย วินัย การศึกษา และประสบการณ์ เป็นสิ่งที่จะอยู่ติดตัวเสมอ -

    ทำไมจึงต้องวางแผนทุนการศึกษาลูก แบบขั้นเทพ
    เพราะการวางแผนที่ดี ควรเผื่อทางหนีทีไล่ ทั้ง "Plan A" + "Plan B"
    หากเราเตรียมเฉพาะ "Plan A" แต่เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน ก็คงจะลำบากไม่ใช่น้อย
    คำว่า ขั้นเทพของเรา ก็มาจากการวางแผน "Plan A" + "Plan B" นี่แหละ

    Plan A  คือ การเตรียมเงินให้เพียงพอสำหรับการศึกษาในระดับสูงที่สุดที่คาดว่าจะส่งลูกเรียน
    เช่น ในบทความนี้ สมมติว่าเป็นระดับปริญญาตรี

    Plan B  คือ การเตรียมเงินให้เพียงพอในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อโอกาสในการศึกษาต่อของลูกเราได้

    โดย Product ที่จะนำมาใช้ในการวางแผนครั้งนี้ คือ ประกันชีวิต นั่นเอง



    4 ขั้นตอนในการวางแผนทุนการศึกษาลูก แบบขั้นเทพ
    1. คำนวณ  "Plan A" 
    โดยประมาณการจำนวนเงินที่ต้องใช้เป็นทุนการศึกษาลูกในระดับชั้นปริญญาตรี

    2. คำนวณ  "Plan B" โดยประมาณการจำนวนเงินที่ต้องใช้เป็นทุนการศึกษาลูก ตั้งแต่
    - ระดับชั้นอนุบาล
    - ระดับชั้นประถมศึกษา
    - ระดับชั้นมัธยมต้น
    - ระดับชั้นมัธยมปลาย หรือ ปวช.
    - ระดับชั้นปริญญาตรี

    3. คำนวณ "จำนวนปี" ระยะเวลาในการวางแผนทุนการศึกษาลูกในระดับปริญญาตรี
    เช่น ปัจจุบันลูกอายุ 2 ขวบ และคาดว่าลูกจะเริ่มเรียนระดับปริญญาตรี เมื่ออายุ 18 ปี
    ดังนั้น จะได้ว่า ระยะเวลาในการวางแผน คือ 18-2-1 = 15 ปี นั่นเอง 

    4. นำผลลัพธ์ที่ได้จากข้อที่ 1-2-3 มา Match กัน โดยกำหนดให้
    จำนวนเงินที่ได้จาก "Plan A" หารด้วย "จำนวนปี" คือ เบี้ยประกันที่เหมาะสมในแต่ละปี
    จำนวนเงินที่ได้จาก "Plan B" คือ ทุนประกันขั้นต่ำที่ควรมี
    "จำนวนปี" ที่ได้ คือ อายุสิ้นสุดกรมธรรม์พร้อมรับเงินคืน


    ทีนี้ เรามาลองดูตัวอย่างกันสักกรณีดีกว่า


    มีต่อหน้า 2


  • สมมติ
    1. ปัจจุบันลูกอายุ 2 ขวบ และคาดว่าลูกจะเริ่มเรียนระดับปริญญาตรี เมื่ออายุ 18 ปี
    2. ประมาณการจำนวนเงินที่ต้องใช้เป็นทุนการศึกษาลูกในระดับชั้นปริญญาตรี 
    จาก ค่าเทอม เทอมละ 50,000 บาท ปีละ 2 เทอม เรียนทั้งหมด 4 ปี 
    3. ประมาณการจำนวนเงินที่ต้องใช้เป็นทุนการศึกษาลูกตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับชั้นปริญญาตรี
    จาก ค่าเทอม เทอมละ 50,000 บาท ปีละ 2 เทอม เรียนทั้งหมด 15 ปี

    ดังนั้นจะคำนวณได้ว่า
    "Plan A" = 50,000 * 2 * 4 = 400,000 บาท
    "Plan B" = 50,000 * 2 * 15 = 1,500,000 บาท
    "จำนวนปี" = 18-2-1 = 15 ปี

    สรุปว่า หากต้องการวางแผนทุนการศึกษาลูก แบบขั้นเทพ ด้วย Plan A และ Plan B 
    เราควรเลือกกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองขั้นต่ำ 1,500,000 บาท
    และต้องมีเงินคืนเพื่อให้พร้อมสำหรับลูกเข้าเรียนปริญญาตรี เมื่อ ลูกอายุ 18 ปี
    ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท นั่นเอง


    หากท่านใดมีข้อสงสัย
    ต้องการสอบถามเกี่ยวกับเรื่องการวางแผนการเงินส่วนบุคคล
    ทั้งเรื่อง การวางแผนภาษี การวางแผนเกษียณ การเตรียมทุนการศึกษาบุตร
    สามารถติดต่อได้ที่ Inbox

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in