เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ตั้งอยู่ในที่โล่งChonnajak Bk
ความสมจริงในหนัง
  • หนัง-ละคร ต่างก็มีความจริงในโลกของมัน ความสมจริงหรือไม่สมจริงก็พูดกันในพื้นฐานโลกนั้นๆ ซึ่งถ้าจะเกี่ยวโยงกับโลกความเป็นจริงแล้วดันไม่สมจริงก็ไม่เป็นไร เว้นแต่จะเคลมว่ามันเป็นข้อมูลของโลกจริงเช่นประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ต้องรับผิดชอบโดยทำการบ้านให้มาก ผิดไม่ได้ บางครั้งหนังฮอลลีวู้ดจะเลี่ยงโดยใช้การ Based on หรือวางเรื่องให้มันเลี่ยงได้ อย่างจูราสิคพาร์คภาคแรกเคลมว่าใช้ข้อมูลไดโนเสาร์ที่ศึกษามาเป็นอย่างดี แต่ผลศึกษาจริงยืนยันว่าไดโนเสาร์ไม่ได้ร้องเสียงแบบนั้น ก็เลี่ยงว่ามันเป็นการตัดต่อพันธุกรรมในภายหลัง


    ละครเวที Realism ในช่วงศตวรรษที่ 18 นิยมแข่งกันทำฉากให้เหมือนของจริง เช่นก็อกก็ต้องมีน้ำไหล คนมาดูก็เพลินกับการจับตาว่าฉากจะเหมือนจริงขนาดไหน ทำให้เนื้อหากลายเป็นเรื่องรอง เหมือนปัจจุบันที่การทำ CG หนังสวยๆแรกๆคนก็ว้าวและสนใจความสวยของมัน พอคนดูเริ่มชินเรื่องสนุกคือการจับผิดว่าตรงไหนไม่เหมือน ทั้งสองแบบก็ทำให้เนื้อหากลายเป็นเรื่องรอง บางคนก็สนุกกับแบบนี้ บางคนก็สนุกกับเนื้อเรื่อง ทั้งหมดก็อยู่ที่ผู้สร้างว่าอยากได้แบบไหน ถ้าเน้นสวยก็ต้องสวยขึ้นให้ตลอดรอดฝั่ง งบ CG ก็เพิ่มขึ้น ถ้าว่าตามประวัติศาสตร์เดี๋ยวมันจะมีอะไรที่ anti ของเก่าออกมาเอง

    คำวิจารณ์ที่ดีควรจะบอกได้ว่าอยู่บนพื้นฐานของอะไร มันจะบอกได้ถึงคุณภาพของหนังและตัวคำวิจารณ์เอง บางครั้งการบิดความจริงในหนังก็เกิดขึ้นเพื่อเหตุผลบางอย่างเช่น เพื่อความสะดวกในการถ่ายทำ ลดต้นทุน เพื่อเน้นให้เห็นหรือรู้สึกบางอย่าง หรือการไม่ปราณีตบางอย่างก็ยังพอรับได้ถ้าภาพรวมไม่เสียหายอะไร แต่ถ้าชุ่ยหรือมั่วก็ต้องรับคำวิจารณ์แง่ลบไป

    ที่มาของความคิดในเรื่องนี้

    ไม่ได้ติดตามละครเรื่องนี้ แต่โดยส่วนตัวทำกราฟิกและสนใจเป็นพิเศษกับเรื่องตัวอักษร ก็ไม่คิดว่าตรงนี้เป็นจุดสำคัญในการจะตัดสินคุณภาพละคร


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in