เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เขียนเรื่อยเปื่อยChaisak Paiboonwanichakul
พม่าเสียเมือง2
  • ถึงไม่อยากทำสงครามแต่อังกฤษแสดงความอ่อนแอออกมามิได้ ยอมให้พม่าแล้ว บ.อีสต์อินเดียจะปกครองอินเดียยังไง เพราะฉะนั้นสงครามกับพม่าจึงเริ่มต้นด้วยเอวังประการละฉะนี้

    สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 1 พ.ศ.2367/1824 

    สงครามช่วงนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกพระเจ้าบายีดอมีรับสั่งให้ มหาพันธุละ( Maha Bandula) ยกทหาร 60,000 คนเข้าตีมณีปุระในปี 1822 มหาบันดูลาจู่โจมแบบสายฟ้าแลบเข้ายึดมณีปุระและเลยไปเมือง Cachar ในมณฑลอัสสัีม เจ้าเมือง Cachar สู้ไม่ได้หนีเตลิดเข้าไปในมณฑลอัสสัมส่วนของอังกฤษและขอให้อังกฤษช่วย ซึ่งเวลานั้นกองทัพพม่าอยู่ในฐานะที่จะคุกคามเมืองแถบนั้น

    การที่กองทัพพม่าโผล่มาที่มณฑลอัสสัม ก่อให้เกิดปัญหากับอังกฤษโดยเฉพาะปัญหาผู้ลี้ภัยที่หนีการกวาดต้อนของพม่าเข้าไปในเขตอังกฤษ ....อังกฤษจึงเข้าแทรกแซงกองทัพพม่าตามตีต่อจึงมีการปะทะกับทหารอังกฤษ การรบได้ผลดีกองทัพพม่าตีกองทหารเล็กๆของอังกฤษในมณฑลอัสสัมแตกกระเจิง พร้อมที่จะรุกคืบหน้าต่อ การรบครั้งนี้พม่าได้เปรียบเพราะมีกำลังมากกว่า และชำนาญพื้นที่กว่า
    อนุสาวรีย์มหาพันธุละ

    ฝ่ายอังกฤษเห็นท่าไม่ดีขืนรบต่อเจ๊งแน่ เพราะชายแดนอาระกัน-อัสสัม นั้นเป็นเทือกเขาสูงและเป็นป่ารกทึบแม้ในปัจจุบันการส่งกำลังขนาดใหญ่ยังเป็นเรื่องลำบาก แถมกองทัพเรืออันเกรียงไกรก็ไม่ได้ทำงานด้วย อังกฤษต้องหาสมรภูมิใหม่
    ภาพทหารอังกฤษรบในป่าในพม่า

    ทางฝ่ายอังกฤษจึงวางแผนใหม่เกณฑ์ทหารเท่าที่มีประมาณ 11,000 คน พร้อมกองทัพเรือคราวนี้บ่ายหน้าทางเมืองท่าแถบลุ่มน้ำอิระวดี พร้อมกับเผื่อเหนียวส่ง ร้อยตรีเฮนรี่ เบอร์นี่ (หรือที่ไทยเรียก หันตรี บารนี)เข้ามาทำสัญญากับไทย เพื่อหวังให้ไทยเข้าร่วมรบด้วย เพื่ออาศัยสัตว์พาหนะของไทย ในการลำเลียงยุทธปัจจัยฝ่ายไทยเมื่อเซ็นสัญญาแล้วจึงให้พระยาชุมพร คุมพล 10,000 คนเข้าตีหัวเมืองมอญที่ติดกับไทย 

    ฝั่งพม่าก็พอทราบข่าวจึงให้ เกณฑ์พลเพิ่มเติมได้มา 60,000 คน ส่งลงไปป้องกันที่ร่างกุ้ง พร้อมเรียกตัวมหาพันธุละกลับมา มหาพันธุละดำเนินการป้องกันโดยตั้งค่าย 2 ฝั่งแม่น้ำกลางแม่น้ำปักรอไว้ แถมในค่าย 2 ฝั่งแม่น้ำตั้งปืนใหญ่ไว้ ตามตำราพิชัยสงครามที่รบกับไทยสมัยเสียกรุงเปะๆ

    แต่ด้วยเทคโนโลยีสงครามต่างกันเกินไปกล่าวคือปืนใหญ่พม่าเป็นปืนสมัยควีนอลิซาเบธที่1 ประมาณศตวรรตที่ 15 ส่วนปืนของอังกฤษนั้นเป็นปืนสมัยนโปเลียน ประมาณศตวรรตที่ 18 ยิงไกลกว่าเยอะ แถมกองทัพอังกฤษยังได้นำปืนครกมาใช้ แล้วยิ่งคุณภาพทหารผิดกัน ถึงแม้ทหารพม่าจะห้าวหาญแค่ไหน แต่ก็สู้ลูกปืนไม่ได้ 

    ผลค่าย 2 ฝั่งแม่น้ำโดนทำลายราบ ทหาร 60,000 คนแตกกระจาย มหาพันธุละตายในที่รบ  แต่ฝ่ายอังกฤษก็ยังมีกำลังและยุทธปัจจัยน้อยเกินกว่าที่จะรุกขึ้นเหนือ 
    การรบที่ร่างกุ้ง


    เพราะกองทัพไทยที่เข้าตีเขตหัวเมืองมอญทางด้านใต้แล้วนำทัพไปสมทบกับอังกฤษที่ปากแม่น้ำอิรวดีหวังอาศัยกำลังคนและสัตว์พาหนะของไทยมาใช้ในการลำเลียงยุทธปัจจัย 

    แต่กองทัพของพระยาชุมพรตีทัพพม่าที่รักษาเมืองแตกกวาดต้อนครัวเรือนกลับเข้าฝั่งไทยตามประเพณีสงครามสมัยก่อน ฝ่ายอังกฤษจึงไม่พอใจที่ฝ่ายไทยทำเกินหน้าที่ที่ตนต้องการ จึงปะทะกับกองทัพไทย กองทัพของพระยาชุมพรแตกพ่ายหนีกลับฝั่งไทย เมื่อร.3 ทราบเรื่องจึงสั่งจำพระยาชุมพรไว้ฐานที่ทำให้เสียเกียรติภูมิ และให้เลิกทัพกลับเพราะเห็นว่าจริงๆอังกฤษไม่ได้ต้องการให้ไทยช่วยรบ แค่ต้องการกุลีช่วยขนยุทธปัจจัย

    ฝ่ายอังกฤษเมื่อตีทัพพม่าที่ร่างกุ้งแตกแต่ไม่มีกำลังเสริมและยุทธปัจจัยเพียงพอสงครามจึงยืดเยื้อไปอีก 2 ปีเมื่อยึดเมืองแปรได้พม่าจึงยอมสงบศึก

    ภายใต้สัญญาสงบศึกพม่าต้องยกแคว้นอาระกัน(ยะไข่)และมณทลเทสซาริม(ตะนาวศรี)ให้อังกฤษ ซึ่งการยกดินแดนครั้งนี้อังกฤษได้เชิญฝ่ายไทยมาปักปันเขตแดนและให้ชี้ว่าเดิมเมืองไหนเป็นของไทยก็จะคืนให้ 

    แต่ร.3 เห็นแล้วว่าเมืองที่อังกฤษจะคืนให้ล้วนเป็นหัวเมืองตอนในไม่ใช่หัวเมืองชายฝั่งทะเลครั้นจะเอามาก็เป็นภาระดูแลเปล่าๆจึงยกให้อังกฤษทั้งหมด

    สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งแรกจึงจบลง ด้วยประการละฉะนี้

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in