เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ภัยโควิดวิกฤติโคโรนา: โรคอุบัติใหม่ในมิติสังคม By โกมาตร, นฤพนธ์ บก.
  • รีวิวเว้ย (840) "เชื่อหมอ ไม่เชื่อหมา" คำพูดที่เป็นกระแสอยู่พักหนึ่งเกิดขึ้นมาจากนักแสดงางอายุ ที่ไปฉีดวัคซีนที่จัดหามาโดยรัฐบาล และได้มีการให้สัมภาษณ์สื่อว่า "เชื่อหมอ ไม่เชื่อหมา" ซึ่งถ้าใครไม่คิดอะไรก็อาจจะขำ ๆ กับคำพูดดังกล่าว และบางคนก็อาจจะเห็นดีเห็นงามว่าคำพูดดังกล่าวเป็นความจริง หากการมองว่าเชื่อหมอไม่เชื่อหมาเป็นสิ่งที่ดีและจริง ปัญหาของการมองแบบนี้จะตัดโอกาสของ "การพัฒนา" ออกไปจากประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เพราะในปัจจุบัน (ที่จริงก็อาจจะเกือบ 100 ปี มาแล้ว) ที่องค์ความรู้ของสาขาอื่น ๆ จำเป็นจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันเพื่อพัฒนาและสร้างสิ่งใหม่ในรูปแบบของนวัตกรรม แต่การเชื่อว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดลอยอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างโดดเดียว คนที่มองโลกในลักษณะนี้จึงอาจจะเรียกได้ว่า "เป็นอันตรายต่อการวิวัตรของโลก" อย่างในกรณีของโรคระบาดโควิด-19 หากเราเชื่อแต่หมอ และไม่สนใจศาสตร์ องค์ความรู้อื่น ๆ เลย สถานการณ์การระบาดทั่วโลกอาจจะยิ่งแย่ไปกว่าที่เป็น อย่างในกรณีของประเทศไทยใจขนาดนี้ก็เกิดขึ้นจาก "ความเชื่อมั่นที่มากเกินไป" และมีการให้อำนาจการบริหารจัดการแก่ตัวแสดงและกลุ่มคนที่คับแคบ อาจจะด้วยการมองโลกผ่านกรอบคิดและทฤษฎีที่ตัวเองเชื่อมั่น ทำให้การระบาดรอบที่ 4 ในประเทศไทยนับตั้งแต่เมษายน 2564 มีตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นใกล้ 1 ล้านคน และผู้เสียชีวิตใกล้ 1 หมื่นคน (20/08/64) ความผิดพลาดทั้งหมดนี้เป็นผลโดยตรงต่อการเชื่อมั่นบางองค์ความรู้จนเกินไป ผระกอบกับความย่ำแย่ของการบริหารราชการ ระบบการเมือง ผู้ร้ำทางการเมือง และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก เพราะมั่วแต่ "เชื่อรัฐ" ความฉิบหายถึงได้มากขนาดนี้ มันก็ไม่ต่างอะไรกับคำที่บอกว่า "เชื่อหมอ ไม่เชื่อหมา"
    หนังสือ : ภัยโควิดวิกฤติโคโรนา: โรคอุบัติใหม่ในมิติสังคม
    โดย : โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ บรรณาธิการ
    จำนวน : 376 หน้า
    ราคา : 300 บาท

    "ภัยโควิดวิกฤติโคโรนา: โรคอุบัติใหม่ในมิติสังคม" หนังสือที่รยมเอา 8 บทความด้านสังคมศาสตร์ ที่มองเรื่องเดียวกันก็คือการระบาดของโควิด-19 แต่มองกันด้วยแว่นตาคนละชุด ไม่ว่าจะเป็นมุมมองทางด้านประวัติศาสตร์ผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการระบาดของโรคระบาด มุมมองทางด้านกฎหมายกับกับจัดการและควบคุมโรค มุมมองทางด้านข้อมูลข่าวสารที่ถูกผูกขาดโดยอำนาจของรัฐ และการสร้างกลไกการควบคุมความจริงผ่านการควบคุมข่าวสารและข้อมูลที่ปรากฎในเรื่องของโควิด-19 และยังมีเรื่องราวของคนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์และตัวแสดงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคและการระบาดของโควิด-19 ทั้งในฐานะของผู้ตกที่นั่งลำบากในการเผชิญชะตากรรมทางด้านผลกระทบที่เกิดจากการระบาด หรือกระทั่งเรื่องของความมีมนุษยธรรมต่อการช่วยเหลือ บริหาร และการจัดการสังคมในสภาวะของโรคระบาด

    "ภัยโควิดวิกฤติโคโรนา: โรคอุบัติใหม่ในมิติสังคม" แสดงให้เห็นว่า ที่จริงแล้วองค์ความรู้ของสิ่งหรือศาสตร ที่มีความหลากหลายช่วยให้เรามองเห็นความแตกต่างของวิธีและกระบวนการในการ ทำความเข้าใจ เรียนรู้ และหาแนวทางในการรับมือต่อโรคระบาดได้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะเอาเข้าจริงแล้วการสืบหา แก้ไข ทำความเข้าใจโรคระบาด มันไม่อาจดำเนินไปด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง อาทิ การสืบหาความเชื่อมโยงของผู้ติดเชื่อก็ไม่อาจทำด้วยเครื่องมือทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว การออกนโยบาย การกำหนดทิศทางการบริหารการเงิน การจัดการความจริง (ข่าว) และการสื่อสาร หากไม่อาศัยผู้เชี่ยวชาญ การจัดการโรคระบาดก็จะออกมาเละเทะในแบบที่รัฐไทยกำลังทำอยู่ในการีบมือการระบาดของโควิด-19 อนาถใจที่คนบอกว่าชอบอ่านหนังสือแต่หนังสือภาษาไทยดี ๆ ที่คอยบอก คอยเตือน คอยแนะนำ ในการรับมือกับโรคระบาดมีเยอะแยะ แต่ไม่รู้จักอ่าน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in