เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
คเณศวิทยา By คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
  • รีวิวเว้ย (837) ก่อนสยาม สยาม ไทย การเดินทางของช่วงเวลาประวัติศาสตร์จากก่อนสยามถึงไทยความเชื่อและประเพณีปฏิบัติของคนในย่านนี้นับแต่ครั้งอดีตผูกโยงอยู่กับคติในเรื่องของ "ผี" ไม่ว่สจะในลักษณะของผีเจ้าที่ ผีป่า ผีฟ้า ผีแทน ล้วนเป็นภาพแทนของชุเความเชื่อในเรื่องผีที่อยู่คู่กับสังคมแห่งนี้มาเนินนาน หากลดขอบเขตลงมาอีกหน่อยก็จะพบ "ผีพื้นที่" อย่างผีบ้าน ผีเมือง ผีเจ้าที่ ผีบรรพบุรุษ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวยังคงปรากฎอยู่เสมอนับตั้งแต่ยุคอดีกระทั่งปัจจุบันที่พุทธศาสนาเข้ามาเป็นส่วนสำคัญของสังคมแห่งนี้ แต่ศาสนาพุทธแบบไทยก็ไม่ใช้ศาสนาพุทธของสมณโคดมหากแต่เป็นการรวมกันระหว่างศาสตร์ผี ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ (หลากหลายนิกาย) ที่เราสามารถพบได้จากพิธีกรรม สถาปัตยกรรม และรูปเคารพบูชาต่าง ๆ ที่หลายครั้งเราจะพบว่าในวัดหรือศาสนสถานบางแห่งมีพระพุทธรูปเป็นองค์ประทานของสถานที่ ด้านซ้ายมีเทพเจ้าของศาสนนพราหมณ์ ถัดออกไปด้านนอกมีศาลพระเสื้อเมือง (เสื้อวัด) ถัดไปฝั่งตรงข้ามกับวัดมีศาลหลักเมือง และขยับออกมาอีกสักนิดจะพบคนทรงเจ้าดูดวงอยู่รวมกันในบริเวณวัด ลักษณะดังกล่าวคือลักษณะร่วมของ "ศาสนาไทย" ที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็น "พหุศาสนา" และ "พหุเทพเจ้า" มาร่วมกันลงแขกทางความเชื่อเพื่อคนไทยในสถานที่เดียวกัน
    หนังสือ : คเณศวิทยา
    โดย : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
    จำนวน : 111 หน้า
    ราคา : 120 บาท

    พระพิฆเนศ นับเป็นหนึ่งในเทพของศาสนาอื่นที่ไม่ใช่พุทธ แต่ถูกทำให้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนาและความเชื่อในแบบของศาสนาไทย ที่หลายครั้งเราจะพบว่าพระในศาสนาพุทธไทยคือผู้ปลุกเสกพระพิฆเนศ และในวัดหลาย ๆ แห่งก็มีจุดขายของวัดอยู่ที่องค์พระพิฆเนศ หรือบางเมืองก็มีเสาหลักเมืองเป็นรูปของพระพิฆเนศ นั่นเป็นการยืนยันให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของเทพในต่างศาสนาที่ถูกทำให้เป็นเนื้อเดียวกันกับความเชื่อของศาสนาไทย เมื่อเป็นเช่นนั้นการเรียนรู้และทำความรู้จักกับเทพต่างศาสนาที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเทพในศาสนาไทยจึงเป็นเรื่องเหมาะควร และหนังสือ "คเณศวิทยา" ก็ทำหน้าที่นั้นได้อย่างดี

    "คเณศวิทยา" ถ้าให้นิยามหนังสือเล่มนี้เราจะขอนิยามมันว่า "คเณศวิทยา 101" เพราะเป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับพีะพิฆเนศในมุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่มา ความเชื่อ และปางค์ต่าง ๆ ของพระพิฆเนศที่ปรากฎอยู่ในความเชื่อของสังคมอินเดีย อีกทั้งหนังสือ "คเณศวิทยา" ยังได้รวบรวมความเชื่อในเรื่องของพระพิฆเนศนอกประเทศอินเดียรวมเอาไว้ด้วย นอกจากนี้ "คเณศวิทยา" ยังรวบรวมเอาคาถาในการบูชาพระพิฆเนศมารวมไว้ในเล่ม เลยทำให้เรานิยาม "คเณศวิทยา" ว่าเป็น 101 ในเรื่องของพระพิฆเนศ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in