เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ฝึกตัวเองให้เป็นคนที่ทิ้งเป็น By ชิฮาระ ทากาชิ แปล สกล โสภิตอาชาศักดิ์
  • รีวิวเว้ย (819) ไลฟ์โค้ช (Life Coach) ส่วนใหญ่มักจะมีคำพูดปลุกใจที่ติดปากและเป็นจุดขายของตัวเอง แต่โดยมากแล้วคำพูดปลุกใจหรือจุดขายเหล่านั้นจะมีลักษณะที่คล้ายหรือใกล้เคียงกันอาจจะเปลี่ยนแค่รูปประโยค กรรมของประโยค คำวิเศษในประโยค แต่เป้าหมายท้ายที่สุดของการสื่อสารน่าจะเป็นเว้นทางเดียวกันนั่นคือ "การหลุดพ้น" หรือภาษาพระอาจจะเรียกว่า "นิพพาน (Nirvana)" แต่นิพพานในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายรวมแค่การหลุดพ้นในแบบของพระพุทธเจ้า หากแต่การหลุดพ้นของเหล่าไลฟ์โค้ชจะเป็นการหลุดพ้นออกจากสิ่งที่ไม่เป็นตัวเราเอง หรือหลุดออกจากกรอบที่สังคมกำหนดเอาไว้ (ซึ่งก็ไม่เห็นมีไลฟ์โค้ชคนไหนในไทยทำได้สักคน ที่จะทะลุกรอบของสังคมแห่งนี้ออกมา) หรืออยากมากที่สุดก็คือการขอให้คนลุกออกจาก "พื้นที่แห่งความคุ้นเคย (comfort zone)" แต่วิธีการพูดหรือการแนะนำของไลฟ์โค้ชเหล่านั้นพอลองมานั่งฟังให้ดี ๆ เราจะพบว่าวิธีการหรือคำแนะนำของหลาย ๆ คน มันดูหลุดจากกรอบของความเป็นจริงในลักษณะของคำแนะนำแบบสุดขีด (extreme) เกินไปสักหน่อย โดยที่หลายครั้งคำแนะนำก็จะดูข้ามความเป็นจริงบางประการของโลกและสังคมไปอย่างหน้าตาเฉย เว้นเสียแต่ว่าคุณจะเป็นคนรวย หรือเป็น 1% ของสังคมหนึ่ง ๆ
    หนังสือ : ฝึกตัวเองให้เป็นคนที่ทิ้งเป็น
    โดย : ชิฮาระ ทากาชิ แปล สกล โสภิตอาชาศักดิ์
    จำนวน : 208 หน้า
    ราคา : 239 บาท

    "ฝึกตัวเองให้เป็นคนที่ทิ้งเป็น" ตอนที่สั่งหนังสือเล่มนี้มาอ่าน เอาเข้าจริงก็ไม่ได้ตั้งใจจะอ่านมันตั้งแต่แรก เพราะตอนที่กดซื้อตั้งใจซื้อหนังสืออีกเล่มหนึ่งและกดเล่มนี้เพิ่มเข้ามาเพียงเพราะหวังว่าจะได้ส่วนลดและการส่งฟรี (ซึ่งแม่งถูกกว่าค่าหนังสือเล่มที่กดเพิ่มเข้ามา)

    แต่พอลองอ่าน "ฝึกตัวเองให้เป็นคนที่ทิ้งเป็น" ดี ๆ ก็พบว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มีความน่าสนใจ โดยเพราะเรื่องของการบอกเล่าเรื่องราวของการ "ออกจากพื้นที่ปลอดภัย" ของผู้เขียน โดยที่ผู้เขียนให้นิยามกับการออกจากพื้นที่ปลอดภัยว่า "การทิ้ง" ซึ่งมันรวมเอาความหมายของการทิ้งสิ่งที่เราเคบชิน ทิ้งความสะดวกสบาย ทิ้งสิ่งที่คาดเดาได้ และทิ้งความปลอดภัยบางประการ เพื่อให้เราได้เติบโต แต่วิธีการทิ้งและเลือกที่จะทิ้งที่เขียนเอาไว้ใน "ฝึกตัวเองให้เป็นคนที่ทิ้งเป็น" คือการเลือกที่จะทิ้งจริง ๆ ของผู้เขียน และเป็นการเลือกที่จะทิ้งในสิ่งที่มันคือเรื่องปกติในชีวิตของเรา ที่เราทุกคนต้องเคยพบเจอ เคยเผชิญ หรือกำลังเผชิญกับมันอยู่ในทุกวัน

    โดยหลังการง่าย ๆ ของหนังสือเล่มนี้คือการบอกกับผู้อ่านว่าให้เรา "ฝึกตัวเองให้เป็นคนที่ทิ้งเป็น" โดยที่ไม่จำเป็นว่าเมื่อเราเลือกทิ้งสิ่งหนึ่งแล้ว แล้วเราจะได้สิ่งอื่นตอบแทนมาทันที หากแต่สิ่งตอบแทนเหล่านั้นอาจจะเป็นแค่ความสบายใจของตัวเราเอง หรือแค่เราได้ทำในสิ่งที่เคยหวังหรือเป็นความทรงจำของช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ของเราในชีวิต "ฝึกตัวเองให้เป็นคนที่ทิ้งเป็น" ไม่มีส่วนไหนที่พูดถึงเรื่องของอิสระทางการเงิน การเกษียณก่อนวัย หรือการมีรายรับที่แม้ไม่ต้องทำงานก็มีเงินกินใช้ไปตลอดชีวิต หากแต่หนังสือเล่มนี้มุ่งไปที่จุดเพียงจุดเดียวของหนังสือคือ "ฝึกตัวเองให้เป็นคนที่ทิ้งเป็น" เอาเข้าจริงก็อาจจะคล้ายกันกับแนวคิดของ "คนโด มาริเอะ" ในเรื่องของการ "จุดประกายความสุข (Spark Joy)" หากแต่ "ฝึกตัวเองให้เป็นคนที่ทิ้งเป็น" กำลังบอกเราว่าลอง Spark Joy กับชีวิตดูบ้างไหมละเผื่อมันจะดีขึ้น อย่างน้อยดีขึ้นบ้างนิดนึงก็ยังดี

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in