เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
บทสำรวจความคิดทางการเมืองของ อันโตนิโอ กรัมชี่ By วัชรพล พุทธรักษา
  • รีวิวเว้ย (700) เป็นที่แน่นอนว่าในช่วงปีที่ผ่านมาหลายคนน่าจะเคยเห็นหรือได้ยินคำว่า "อำนาจนำ" (hegemony) มาบ้างไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะเมื่ออ่านเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน ก็มักจะพบคำว่าอำนาจนำปรากฎขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งถ้าให้อธิบายความหมายของคำว่า "อำนาจนำ" ในที่นี้นั้นเราอาจจะไม่มีความสามารถที่จะอธิบายมันได้ดีพอ เช่นนั้นใคร่ขอให้ทุกท่านที่สนใจลองไปกด google หรือซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านเสีย ก็จะเข้าใจได้ว่า "อำนาจนำ" มันคืออะไร เพราะนอกจากจะเป็นหนึ่งในแนวคิดของ "อันโตนิโอ กรัมชี่" ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้ในการอธิบายปรากฎการณ์หลาย ๆ อย่างในสังคมทั้งไทยและเทศแล้ว ในการศึกษาการเมืองงานวิชาการหลายชิ้นก็อธิบายการเมืองทั้งไทยและเทศผ่านมิติและวิธีคิดในเรื่องของ "อำนาจนำ" เช่นกัน โดยเฉพาะงานศึกษาที่เกี่ยวโยงกับการเมืองไทยและสถาบันหลายชิ้นก็หยิบเอาเรื่องของ "อำนาจนำ" มาเป็นแกนหลักของการศึกษา 
    หนังสือ : บทสำรวจความคิดทางการเมืองของ อันโตนิโอ กรัมชี่
    โดย : วัชรพล พุทธรักษา
    จำนวน : 240 หน้า
    ราคา : 250 บาท 

    แต่นอกเหนือไปจากเรื่องของ "อำนาจนำ" (hegemony) แล้ว อันโตนิโอ กรัมชี่ ยังคงมีงานอีกหลายชิ้นให้เราได้ทำความเข้าใจ หยิบใช้ และนำมาเป็นเครื่องมือในการศึกษาสังคมได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสังคมไทยหรือสังคมต่างประเทศก็ตามแต่ และหนังสือ "บทสำรวจความคิดทางการเมืองของ อันโตนิโอ กรัมชี่" เล่มนี้ก็ได้พยายามนำพาผู้อ่านไปทำความรู้จักแนวคิดบางประการของกรัมชี่ ผ่านการสำรวจความคิดทางการเมืองของกรัมชี่ 

    หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ก็อาจมีข้อสงสัยว่า "สำรวจความคิดทางการเมือง" มันหมายความว่าอย่างไร หากให้อธิบายง่าย ๆ ก็คือการกลับไปดูว่าคนหนึ่งคน เติบโตมาอย่างไร ถูกเลี้ยงดูมาเช่นใด และเขามีประสบการณ์ชีวิตเช่นไรในช่วงเวลาที่ผ่านมา ก่อนที่จะมาเป็นเขาอย่างที่เขาเป็นอยู่ใยทุกวันนี้ เพื่อศึกษาถึงรากฐานที่มาของแนวคิดและวิธีการมองโลก 

    เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว "บทสำรวจความคิดทางการเมืองของ อันโตนิโอ กรัมชี่" ก็นับเป็นหนังสือที่พาเรากลับไปย้อนดูชีวิตของกรัมชี่ ว่าในอดีตที่ผ่านมาชีวิตของเขาเป็นเช่นใด และอะไรทำให้เขาสร้างแนวคิดและทฤษฎีการศึกษาอย่าง "อำนาจนำ" (hegemony) และแนวคิดอื่น ๆ ขึ้นมาได้ ซึ่งนอกเหนือไปจากการพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับความคิดทางการเมืองของกรัมชี่แล้ว หนังสือเล่มนี้ยังพาไปทบทวนถึงชิ้นงานศึกษาที่ส่งอิทธิพลที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีของกรัมชี่ด้วย โดยเฉพาะในงานวิชาการภาษาไทยที่ใช้แนวคิดของกรัมชี่ในการศึกษา มีหลายชิ้นที่เหมาะแก่การหยิบมาอ่าน เพื่อทำวามเข้าใจสังคมไทยในห่วงเวลาแบบนี้เป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้นว่างานวิชาการหลาย ๆ ชิ้นจะถูกสร้างขึ้นเมื่อนานมาแล้ว แต่หลายชิ้นก็ยังสามารถอธิบายบริบทของสังคมไทยแห่งนี้ได้อย่างน่าฉงนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะแนวคิดเรื่อง "อำนาจนำ" (hegemony) ของกรัมชี่ ที่หากใครอ่านแล้วลองใช้กรอบของมันมองสังคมไทยในช่วงนี้ เราจะพบตัวอย่างสำคัญของทฤษฎีการศึกษาดังกล่างปรากฎขึ้นอย่างชัดแจ้ง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in