เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ขนมแม่เอ๊ย By ส. พลายน้อย
  • รีวิวเว้ย (612) "นี่คือของไทย" วลีสั้น ๆ ที่หลายครั้งมันเกือบสร้างสงครามระหว่างประเทศมาแล้วไม่น้อย ทั้งสงครามในความหมายของการใช้กำลัง และสงครามน้ำลายในความหมายของการต่อสู้กันผ่าน "ตัวอักษร" บนโลกเสมือนหรือที่หลายคนเรียกมันว่า "โลกออนไลน์" การสร้างความเป็นไทย การยกระดับของความเป็นไทย และความภูมิใจในความเป็นไทย ของรัฐไทย โดยเฉพาะเมื่อความเป็นไทยเหล่านั้นถูกผลิตซ้ำ เน้นย้ำ และขยายความโดยรัฐไทยผ่านกลไกลของกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาธิการ หลายครั้งความเป็นไทยในมิติเหล่านั้นมันคือการสร้างความเป็นไทยในมิติของการ "ลอยลงมาจากฟากฟ้า" และตัดขาดความสัมพันธ์ของบริบทอื่น ๆ โดยรอบ และด้วยวิธีการในลักษณะนี้เองที่หลายครั้งมันนำพาไปสู่การประทะกันทั้งในโลกเสมือนและในโลกจริง โดยการประทะกันในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะรัฐไทยกับเพื่อนบ้าน แต่มันยังเกิดกับแทบทุกรัฐที่ "ประวัติศาสตร์" ถูกเขียนขึ้นโดย "ตัดขาด" จากบริบทอื่น ๆ โดยรอบ และปัญหาคลาสสิคอย่างหนึ่งของการประทะกันคือเรื่องของ "อาหารหรือขนม" ที่หลายครั้งเราจะเห็นได้ว่าการต่อสู้กันเกิดขึ้นเพียงเพราะต้องการชัยชนะเหนือเมนูอาหารบางรายการที่แปะอยู่ตามข้างฝาของร้านขายอาหารก็เท่านั้นเอง
    หนังสือ : ขนมแม่เอ๊ย
    โดย : ส. พลายน้อย
    จำนวน : 160 หน้า
    ราคา : 150 บาท

    "ขนมแม่เอ๊ย" หนังสือที่เลียนเสียงการเรียกลูกค้าเพื่อขายของของแม่ค้าขายขนมในครั้งอดีต ที่ตอนเราเห็นเด็กเรายังพอได้ยินการเรียกขายในลักษณะของ "ขนมแม่เอ๊ย" ให้ได้ยินอยู่บางในบางจังหวะเมื่อเราเดินทางไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดในช่วงปิดเทอม

    "ขนมแม่เอ๊ย" คือความพยายามในการบอกเล่าเรื่องราวของ "ขนมโบราณ" ที่เคยปรากฎขึ้นในประเทศไทย ที่บางเมนูยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันและบางเมนูก็หายไปแล้วจากตลาดและความรับรู้ของผู้บริโภค โดยที่การบอกเล่าเรื่องราวในเล่มของ "ขนมแม่เอ๊ย" มุ่งเน้นไปที่การหาคำตอบของที่มาของขนมในแต่ละรูปแบบ ว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไร มีหน้าตาและองค์ประกอบของเครื่องเคราในการทำอย่างไร และขนมแต่ละรูปแบบนั้นเป็นขนมของใคร เริ่มต้นขึ้นมาและปรากฏขึ้นมาในประเทศไทย (สยาม สุโขทัย อยุธยา) ตั้งแต่เมื่อไหร่กัน

    อาจจะเรียกได้ว่าความสนุกอย่างหนึ่งของ "ขนมแม่เอ๊ย" คือการที่เราได้มีโอกาสในการทบทวนถึงความทรงจำ "วัยหวาน" ในวานวันที่เรามีโอกาสได้ลองลิ้มชิมรสของขนมแต่ละรูปแบบ และในหลาย ๆ เมนูในเล่ม "ขนมแม่เอ๊ย" มันช่วนให้เราคิดถึงช่วงเวลาและเรื่องราวที่ประกอบสร้างในความรับรู้ของเราที่มาพร้อมกับเรื่องราวและรสชาติของขนมแต่ละชนิด อย่างตัวของเราเองที่เติบโตมากับย่าที่ชอบทำขนมหลาย ๆ ชนิดที่ปรากฏใน "ขนมแม่เอ๊ย" ให้ได้ลองกิน เมื่ออ่านถึงขนมแต่ละชนิดที่ย่าเคยทำ ความทรงจำเกี่ยวกับย่ามันจะย้อนกลับมาให้เราได้คิดถึงอีกครั้งหนึ่งเป็นอย่างน้อย

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in