เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
จวบจันทร์แจ่มฟ้านภาผ่อง By ธนาวิ โชติประดิษฐ
  • รีวิวเว้ย (572) เวลาที่เราพูดถึงงานศิลปะ เรามักจะมองมันในสภาวะของคสามเป็น "ศิลปะ" ที่ลอยตัวอยู่เหนือนทุกองค์ประกอบข้างเคียง หลายครั้งเรามองมันในฐานะของชิ้นงานศิลปะที่ตัดขาดซึ่งทุกสิ่งอย่าง ไม่สนแม้กระทั่งใครคือผู้สร้างงานศิลปะชิ้นนั้นขึ้นมา หลักการสำคัญของการเรียนวิชาศิลปะในระดับที่กระทรวงศึกษาพึงใจ คือ การเข้าใจว่าศิลปะมีความหมายว่าอะไรตามการให้นิยามของรัฐไทย ทฤษฎีแม่สีและการผสมสีต่าง ๆ ควรใช้สีแบบไหนผสมกัน และการเลือกคู่สีแบบโทนร้อนและโทนเย็นควรให้มันเข้าคู่กับแบบได้ และจุดหมายสูงสุดของกระทรวงศึกษาสำหรับวิชาศิลปะคือการให้ผู้เรียนวาดเส้นให้ตรงโดยไม่ต้องใช้ไม้บรรทัด และวาดวงให้กลมโดยไม่ต้องใช้วงเวียน เมื่อมานั่งย้อนคิดถึงวิชาศิลปะในสมัยที่เราเรียนในโรงเรียนแล้ว เราคงไม่ได้อะไรที่มันจะมากกว่าสิ่งที่ได้กล่าวไปใบเบื้องแรก ทั้งที่จริง ๆ แล้ววิชาศิลปะมีสิ่งที่น่าหลงไหล และช่วยให้ตั้งคำถาม แสวงหาคำตอบ และชวนให้ตกตะลึงได้อยู่เยอะแยะมากมาย แต่ในรายวิชาของกระทรวงศึกษาเขาคงต้องการแค่นั้นจริง ๆ เพราะรัฐอาจจะคิดถึงว่าวิชาศิลปะเปลี่ยนโลกและเปลี่ยนผู้เรียนได้ หรือแท้จริงรัฐอาจจะไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับวิชาศิลปะนอกจากการจับคู่สี ลากเส้น และวาดรูปทรง
    หนังสือ : จวบจันทร์แจ่มฟ้านภาผ่อง
    โดย : ธนาวิ โชติประดิษฐ
    จำนวน : 240 หน้า
    ราคา : 400 บาท

    "จวบจันทร์แจ่มฟ้านภาผ่อง" เป็นหนังสือเล่มที่ 4 ในชุดหนังสือชื่อว่า "หนังสือชุดกษัตริย์ศึกษา" ที่จัดพิมพ์ขึ้นมาโดยสำนักพิมพ์ฟ้สเดียวกัน โดยในหนังสือเล่มที่ 4 อย่าง "จวบจันทร์แจ่มฟ้านภาผ่อง" จะว่าด้วยเรื่องราวของงานศิลปะและการนำเอาศิลปะมาสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐ และการฉวยใช้ศิลปะในการสภาปนาความนิยมให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านชิ้นงานศิลปะในรูปแบบของงานศิลปะ "เฉลิมพระเกียรติ"

    ซึ่งนอกเหนือไปจากงานศิลปะในรูปแบบภาพวาดและงานปั้นต่าง ๆ แล้ว "จวบจันทร์แจ่มฟ้านภาผ่อง" ยังแสดงให้เห็นถึงการนำเอารูปแบบของศิลปะในแต่ละช่วงเวชามาสร้างความนิยมให้กับทั้งรัฐและตองค์พระมหากษัตริย์ อย่างเรื่องของการสร้างอนุสาวรีย์ในเรื่องของการปราบคอมมิวนิสต์ที่มีการใช้รูปแบบและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในทางศิลปะเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างชิ้นงาน ทั้งการแฝงนัยของการสื่อความหมายต่าง ๆ และรวมไปถึงสภาวะของการจำลองความเป็นสูงสุดของของบางสิ่งให้เกิดขึ้นผ่านตัวชิ้นงานศิลปะด้วยในเวลาเดียวกัน

    "จวบจันทร์แจ่มฟ้านภาผ่อง" ยังฉายภาพของการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนสถานะของพระมหากษัตริย์ผู้ปกครอง ทั้งเรื่องของการสร้างงานศิลปะแนวเฉลิมพระเกียรติยศ การสร้างหรือจัดมหกรรมการแสดงศิลปะเพื่อเฉลิมพระเกียรติซึ่งเป็นสิ่งที่ "เพิ่มสร้าง" ขึ้นมาให้ในสังคมไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง และรวมไปถึงเรื่องของการสร้างสถานะบางอย่างผ่านงานมหกรรมศิลปะรัดับชาติที่จัดขึ้นกันเป็นประจำในช่วงหลัง พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา

    นอกจากนี้ "จวบจันทร์แจ่มฟ้านภาผ่อง" ยังบอกเล่าถึงความเป็นมาที่น่าสนใจของงานศิลปะแต่ละรูปแบบที่ถูกบอกเล่าเอาไว้ในหนังสือเล่มนี้ทั้งวิธีการสร้างงาน บริบทของช่วงเวชาในการจัดสร้าง และนัยยะแฝงที่ถูกซ่อนสารเอาไว้ในตัวชิ้นงานแต่ละชิ้น "จวบจันทร์แจ่มฟ้านภาผ่อง" แสดงให้เราเห็นว่าแท้จริงแล้ววิชา "ศิลปะ" ให้อะไรกับเราได้มากกว่าการที่กระทรวงศึกษาจัดการศึกษาให้เราเสียอีก อาจจะเป็นไปได้ว่างานศิลปะคือพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้สร้าง สร้างและใส่อะไรลงไปในตัวงานก็ได้ จนกระทั่งหลายครั้งชิ้นงานที่ถูกสร้างขึ้นมาอาจจะส่งความหมายในรูปแบบที่ไม่มีใครคาดถึงก็เป็นได้ อย่างงานของศิลปินยุคใหม่ ๆ อย่าง Banksy หรืออาจจะเป็นอย่างรูปของสิตางค์ส้มหยุด หรือแม้กระทั่งภาพมารผจญที่ปรากฎหน้าของคนบางคนบนภาพในฐานะของมารและสิ่งชั่วร้าย นี่เป็นความทรงพลังอย่างหนึ่งของการสร้างงานศิลปะ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in