เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรีผู้ซื่อสัตย์ By ส. พลายน้อย
  • รีวิวเว้ย (529) เวลาที่เราพูดถึงเรื่องของ "ความทรงจำ" เรามักจะมองมันออกเป็น 2 นัยยะ คือ (1) ความทรงจำที่ดี คู่ควรแก่การสร้างความทรงจำและเก็บรักษามันเอาไว้ และ (2) ความทรงจำที่เลวร้าย ความทรงจำลักษณะนี้ พึงถูกทำลายให้มลายสิ้นไปเสีย เพราะเก็บไว้ก็มีแต่จะสร้างบาดแผลให้กับผู้ถือครองความทรงจำดังกล่าว แต่ในช่วงหลายปีมานี้ สังคมไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายในเรื่องของ "ความทรงจำ" เป๋นอย่างมาก โดยเราอาจจะจำแนกออกมาเป็นความทรงจำนัยยะที่ (3) ก็คงจะได้ เพราะความทรงจำในลักษณะนี้ เป็นความทรงจำที่ "บางคนอยากจำ และบางคนก็อยากให้ลืม" โดยเฉพาะเมื่อเป็นความทรงจำ "ทางการเมือง" อย่างมรดกของ "คณะราษฎร" กลุ่มคนที่สร้างความเปลี่ยนแปลง อย่าง "การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475" ให้เกิดมีขึ้นในสยาม กระทั่งสยามสมัยนั้นกลายมาเป็นไทยในปัจจุบัน แต่ก็แน่นอนว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา "ความทรงจำ" ในเรื่องดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ของการต่อสู้แย่งชิง จากหลากฝ่ายหลายตัวแสดงที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อไม่นานมานี้ที่ "หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ (หมุดคณะราษฎร)" ถูกทำให้หายไปจากที่ที่หมุดเคยฝังเอาไว้ และอนุสาวรีย์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวกำลังค่อย ๆ ถูกทำลายลงอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่องเสียจนใคร ๆ ก็น่าจะดูออกว่ามันคือความ "ตั้งใจ" ในการจะลบเลือนความทรงจำบางประการของคณะราษฎรออกไปจากความรับรู้ของสังคมไทย และการลบทำลายเหล่านี้มิใช่ของใหม่แต่ประการใด หากแต่มีคำเรียกการกระทำดังกล่าวเอาไว้อย่างเป็นกิจลักษณะว่า "Iconoclasm การทำลายรูปสัญลักษณ์" โดยที่ Wiki ไทยได้เขียนเกี่ยวกับ Iconoclasm เอาไว้ดังนี้ ... "“Iconoclasm” เป็นภาษากรีกที่แปลว่า “การทำลายรูปลักษณ์” เป็นการทำลายรูปสัญลักษณ์ทางศาสนาหรือรูปสัญลักษณ์อื่นๆ หรือ อนุสาวรีย์อย่างจงใจภายในวัฒนธรรมในสังคมของผู้ทำลายเอง ทั้งนี้เนื่องมาจากวัตถุประสงค์ที่มีแรงจูงใจทางการเมืองหรือทางศาสนา ผู้ที่ร่วมการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุหรือผู้ที่สนับสนุน ลัทธินิยม ในการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุเรียกกันว่า “นักทำลายรูปสัญลักษณ์” หรือ “นักทำลายรูปเคารพ” (Iconoclasts) ซึ่งความหมายแปลงมาใช้กับผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความเชื่อหรือการปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ความหมายตรงกันข้ามของผู้ทำลายรูปเคารพ คือ ผู้ที่มีความเชื่อในการนับถือบูชาและสักการะรูปสัญลักษณ์หรือสัญลักษณ์ทางศาสนาที่เรียกว่า “นักบูชารูปเคารพ” หรือ “นักบูชารูปสัญลักษณ์” หรือ Idolators ในสมัยไบเซนไทน์เมื่อกล่าวถึง ลัทธิบูชารูปสัญลักษณ์ หรือ ลัทธิบูชารูปเคารพ ก็จะใช้คำว่า Iconodules หรือ Iconophiles" ..... ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้นั้นไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นความพยายามครั้งใหม่ในการจะลบเบือนอะไรบางอย่างออกไปเพื่อเหตุผลทาง "การเมืองของความทรงจำ"
    หนังสือ : พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรีผู้ซื่อสัตย์
    โดย : ส. พลายน้อย
    จำนวน : 140 หน้า
    ราคา : 145 บาท

    "พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรีผู้ซื่อสัตย์" หนังสือขนาดกระชับจำนวน 140 หน้าที่ว่าด้วยเรื่องของประวัติของอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย และเป็นผู้ก่อการของคณะราษฎรที่นำการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินมาสู้สยามประเทศ เมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 อีกทั้งยังเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ที่มีข้อความสำคัญหลายถ้อยความในประกาศดังกล่าว รวมถึงประกาศคณะราษฎรฉบับนี้ยังเป็นการประกาศเจตนาในการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตย (อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข)

    ในช่วงที่ผ่านมา เราอาจจะได้ยินข่าวในเรื่องของการทำลายความทรงจำของคณะราษฎร ที่ล่าสุดมีกรณีของการถอดป้ายที่มีชื่อของผู้นำคณะราษฎรออกจากหน่วยงานราชการหลาย ๆ หน่วย มีความพยายามในการย้ายอนุสาวรีย์ของผู้นำคณะราษฎรสายทหาร ทั้งในค่ายทหารและในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความมั่นคงของประเทศชาติ น่าแปลกที่คสามพยายามเหล่านี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นภายหลังจากการหายไปของ "หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ" (หมุดคณะราษฎร), อนุสาวรีย์ปราบกบฎ (อนุสาวรีย์หลักสี่) และอนุสาวรีย์พระยาพหลฯ เป็นผลงานชิ้นล่าสุดที่ถูกทำให้หายไป

    หากย้อนกลับไปดูนิยามความหมายของ "Iconoclasm" เราก็จะพบว่าการกระทำดังกล่าวมิใช่เรื่องบังเอิญ บังเอิญ บังเอิญ บังเอิญ (ใส่ทำนองของ อัสนี-วสันต์ เข้าไปด้วย) แต่การเลือกกระทำดังกล่าว เป็นความพยายามที่จะลบความทรงจำของคณะราษฎรออกจากคสามทรงจำของคนในประเทศให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่บางครั้งความทรงจำเหล่านี้ได้ถูกปลูกฝังลงไปแล้วในความทรงจำของสังคม และการกวนตะกอนความทรงจำด้วยการทำลาย กลับเป็นการเรียกเอาความทรงจำที่นอนสงบนิ่งอยู่ให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง แทนที่สังคมจะลืมเลือนกลับกลายเป็นว่าสังคมได้รับรู้เรื่องดังกล่าวขึ้นมาอีกครั้งเสียอย่างนั้นไป

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in