เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
คิมจียองเกิดปี 82 By Cho Nam Joo แปล ตรองสิริ ทองคำใส
  • รีวิวเว้ย (504) บทบาทของผู้ชายและผู้หญิงในสังคมโลก ในยุคปัจจุบัน อาจจะเรียกได้ว่ามันดีขึ้นบ้างเมื่อเทียบเคียงกับครั้งอดีตที่ผ่านมา ในปัจจุบันนี้ความเท่าเทียมทางเพศ คือ เรื่องที่ถูกพูดถึงและเป็นที่ยอมรับของคนแทบทั้งโลก จะมีอยู่ก็แค่เพียงคนบางกลุ่ม วัฒนธรรมสังคมบางแบบ และความเชื่อบางประการเท่านั้นที่ยังคงทำหน้าที่ในการกีดกันและแบ่งแยกเพศ ออกเป็นเพศเพียงแค่ 2 เพศ คือ ชาย-หญิง กีดกันเพศอื่น ๆ ออกไปจากความรับรู้ และกดดันดูถูกเพศหลักอย่างเพศหญิงให้อยู่ในสถานะและสภาวะที่ต่ำกว่าตนเสมอ ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่ากลไกดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นจากการเป็นมรดกตกทอดมาจากครั้งอดีตกาล และมาจากลัทธิความเชื่อทางศาสนาที่แบ่งแยกบทบาทและสถานะระหว่างเพศออกจากกัน ในปัจจุบันเองประเด็นดังกล่าวลดความเข้มข้นลงมากแต่ก็ใช่ว่าจะขาดหายไปเสียเลยจากสังคมหนึ่ง ๆ เรายังคงสามารถพบปัญหาในเรื่องของการกีดกันทางเพศภายใต้บริบทสังคมแบบ "ชายเป็นใหญ่" ได้เสมอในสังคมบางสังคม อย่างเช่น สังคมเกาหลีใต้และสังคมมุสลิม เป็นต้น
    หนังสือ : คิมจียองเกิดปี 82
    โดย : Cho Nam Joo แปล ตรองสิริ ทองคำใส
    จำนวน : 191 หน้า
    ราคา : 190 บาท

    "คิมจียองเกิดปี 82" เป็นนิยายที่สะท้อนภาพของสังคมชายเป็นใหญ่ ในประเทศเกาหลีใต้ได้อย่างน่าสนใจ โดยที่หนังสือเล่มนี้ได้บอกเล่าถึงเรื่องราวชีวิตของ "คิมจียอม" ภาพแทนของผู้หญิงในสังคมเกาหลีใต้ที่มีวัฒนธรรมแบบนิยมชายหรือชายเป็นใหญ่ โดยเฉพาะการหยิบเอาช่วงเวลาของสังคมเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 1982 มาเป็นจุดสำคัญของการเดินเรื่องและสะท้อนถึงสังคมเกาหลีใต้สมัยใหม่ ที่วัฒนธรรมของการกดทับเพศหญิงเอาไว้ภายใต้วัฒนธรรมแบบชายเป็นใหญ่ยังคงฉายชัดอยู่ในสังคม

    "คิมจียองเกิดปี 82" ได้สะท้อนให้เห็นปัญหาของสังคมนิยมชายของสังคมเกาหลีใต้ และความพยายามในการต่อต้านและตั้งคำถามของผู้หญิงในสังคม แต่หลายครั้งการพยาบามต่อต้านและตั้งคำถามกลายเป็นว่ามันเป็นเพียงความพยายามที่ถูกมองว่าไร้สาระและเป็นเรื่องน่าขบขันสำหรับผู้ชาย กระทั่งการกระทำของคิมจียองถูกมองเป็นอาการทางจิตที่ต้องได้รับการรักษาและเยียวยา

    ที่สำคัญผู้เขียน "คิมจียองเกิดปี 82" ยังได้ทิ้งท้ายให้เราได้คิดตามว่าในท้ายที่สุดแล้วความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม จะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่มีพลังและเป็นพลวัตรสำคัญที่จะนำพาความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมเกาหลีใต้ได้จริง ๆ หรือว่าในท้ายที่สุดแล้ววัฒนธรรมแบบชายเป็นใหญ่จะยังคงเป็นวัฒนธรรมสำคัญที่ขับเคลื่อนสังคมไปเช่นนี้อีกตราบนานแสนนาน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in