เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
AYUTTHAYA UNDER GROUND By พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ บรรณาธิการ
  • รีวิวเว้ย (455) ช่วงเวลา 4-5 ปีหลังมานี้ อยุธยาวนเวียนกลับเข้ามาอยู่ในบทสนทนาของใครหลายคนอยู่บ่อยครั้ง อย่างเราเองบทสนทนาในเรื่องของอยุธยา มักวนเวียนกลับมาทุกครั้งในวงอาหาร โดยเฉพาะเมื่อใครสักคนเปิดหรือปิดท้ายการสั่งเมนูด้วย "กุ้งเผา" ภายหลังเสียงทวนเมนูของผู้รับออเดอร์จบลง คำถามและข้อคิดเห็นในรื่องของประวัติศาสตร์อยุธยาจะแสะเวียนมาหาแทบทุกครั้ง โดยบทเปิดของบทสนทนามักเริ่มที่ "ใครเผาอยุธยาวะ (?)" และชั่วอึกใจคนทั้งโต๊ะจะพร้อมใจกันตอบว่า "กุ้งเผาอยุธยา" นี่เป็นการแสดงทัศนะของการหยอกเอินให้เห็นว่าประวัติศาสตร์บาดแผล ในเรื่องของความทรงจำเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของ "การเผากรุงศรีฯ" ยังคนวนเวียนอยู่ในการรับรู้ของใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะการรับรู้ประวัติศาสตร์ในเรื่องที่ "พม่าเผากรุงศรีฯ" เมื่อปี 2310 จนวายวอก ทำให้ภายหลังการกู้กรุงฯ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ต้องย้ายเมืองหลวงจากอยุธยามาที่ธนบุรีในภายหลัง แน่นอนว่าทัศนะและการรับรู้ในทางประวัติศาสตร์ในเรื่องของการเสียกรุงฯ การเผาบ้านเผาเมืองยังคงลอยวนอยู่ในความทรงจำของใครหลาย ๆ คนผ่าน "แบบเรียนชาตินิยม" ซึ่งทั้งที่จริง ๆ แล้วงานศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ในยุคหลัง ๆ ก็ยืนยันให้เห็นแล้วว่าพม่าไม่ได้เผากรุงศรีฯ เสียจนวายวอดจนไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ หากแต่ความวายวอดของกรุงศรีฯ ส่วนหนึ่งเกิดมาจากภายหลังการสถาปนากรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เป็นสำคัญ แน่นอนว่าพม่าเผากรุงศรี ส่วนหนึ่งเผาแน่ ๆ เพราะต้เกณฑ์ไพร่พลไปกับพวกตนด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่คนไทยไม่ค่อยรับรู้คือเมื่อเรายกทัพไปตีลาวกองทัพของเราเองก็เผาหลวงพระบางจะวายวอดมาแล้วเช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าจะ "กุ้งเผาอยุธยา" หรือ "พม่าเผาอยุธยา" ก็ตามแต่ ท้ายที่สุดวิธีคิดในเรื่องทั้งเดียวกันอย่างการเผากุ้งและเผากรุง มันถูกผลิตซ้ำอยู่บ่อยครั้งด้วยวิธีคิดแบบชาตินิยม โดยเฉพาะการอาศัยกลไกของ "ชาตินิยมในแบบเรียน" 
    หนังสือ : AYUTTHAYA UNDER GROUND
    โดย : พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ บรรณาธิการ
    จำนวน : 480 หน้า
    ราคา : 525 บาท

    "AYUTTHAYA UNDER GROUND" ในชื่อภาษาไทยที่ว่า "ประวัติศาสตร์อยุธยาวัด วัง ชั้นดิน และสิ่งของ" เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องราวของ "อยุธยา" ในครั้งอดีต ที่ถูกทำการศึกษาในปัจจุบัน ผ่านวิธีการทางด้านการขุดค้นทางโบราณคดี ทั้งการขุดค้นลงไปในหน้าดินเพื่อสำรวจดินชั้นต่าง ๆ ตามโบราณสถานในพื้นที่อยุธยา เพื่อศึกษาถึงการตั้งบ้านเรืองในพื้นทีต่าง ๆ และรวมไปถึงการศึกษากาซ้อนทับกันของบริบททางประวัติศาสตร์ของอยุธยา (และทุกที่) ที่เมื่อกาลเวลาผ่านไป การสร้างบ้านเรืองหรือที่อาศัยใหม่ ๆ มักจะมีการถามดินทับของเก่าหรืออารยธรรมเดิม เพื่อปรับหน้าดินให้สูงขึ้นและมั่นคงขึ้น เปรียบไปก็คงคล้ายคลึงกับการถมที่เพื่อสร้างบ้านในสมัยปัจจุบัน ที่การถมที่มีส่วนสำคัญเป็นลำดับต้นของการปลูกบ้านสร้างเรือน ทั้งเพื่อให้มีฐานรากที่มั่นคง และเพื่อป้องกันก่รเกิดน้ำท่วมอันเนื่องมาจากความต่ำของระดับผิวดินในพื้นที่

    แน่นอนว่าเมื่อการถมดีเกิดขึ้น สิ่งต่าง ๆ ที่เคยอยู่บนผืนดินก่อนหน้าก็จะถูกกลบฝังลงไปเพื่อทำให้ฐานรากของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใหม่ ๆ มีความมั่นคงและแข็งแรง แหล่งโบราณสถานในพื้นที่ของอยุธยาเองก็เช่นกัน "ประวัติศาสตร์อยุธยาวัด วัง ชั้นดิน และสิ่งของ" แสดงให้เห็นถึงชั้นดินชั้นต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์สำคัญของช่วงเวลาแต่ละช่วงเวลาของพื้นที่นั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งเรื่องของการใช้ชีวิต วิถีชีวิต สิ่งปลุกสร้างเดิม หรือแม้กระทั่งหลักฐานในเรื่องของการเผากรุงศรีก็มีบันทึกอยู่ในชั้นดินที่ได้จากการขุดค้นด้วยเช่นกัน (แต่ถ้าอยากรู้ว่าพม่าเผากรุงศรีจริงหรือไม่ (?) แนะนำว่าให้ไปซื้อมาอ่านเอง)

    นอกจากเรื่องราวของชั้นดินและการขุดค้นแล้ว "ประวัติศาสตร์อยุธยาวัด วัง ชั้นดิน และสิ่งของ" ยังขุดค้นลงไปในเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งหลักฐานที่เป็นตัวอักษรจากบันทึกพงศาวดารและบันทึกของต่างประเทศต่าง ๆ รวมถึงการขุดค้นลงไปในเรื่องราวของเครื่องปั้นดินเผา และแหล่งชุมชน ที่เป็นอีกหนึ่งแหล้งบรรจุหลักฐานสำคัญในเรื่องของประวัติศาสตร์ ที่ "ประวัติศาสตร์อยุธยาวัด วัง ชั้นดิน และสิ่งของ" ได้ขุดค้นความจริงที่ถูกค้นพบขึ้นมาใหม่ให้เราได้เห็นและได้เข้าใจในบริบทและคำถามในเรื่องของประวัติศาสตร์ ที่ตัดทอนเอาคสามเป็นชาตินิยมออกไป หรืออาจจะทำให้เหลือความเป็นชาตินิยมน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะ "ประวัติศาสตร์อยุธยาวัด วัง ชั้นดิน และสิ่งของ" ให้สิ่งของเป็นตัวนำในการบอกเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์ แทนที่การใช้ความรู้สึกเป็นตัวนำ ซึ่งมันจะสร้างความรับรู้ในเรื่องของประวัติศาสตร์อยุธยาและสยามในมุมมองที่แตกต่างออกไปจากเดิม

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in