เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ตะลุยบางปะกง By ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
  • รีวิวเว้ย (452) ตอนที่อ่านหนังสือเล่มนี้ไปได้ครึ่งทาง (เล่ม) อยู่ดี ๆ ในหัวก็คิดขึ้นมาว่า หนังสือเล่มนี้ควรเปิดหัวของการรีวิวด้วยเพลงติดหูกระชากวิณญานอย่าง "ชิพกะเดลนี่สองพี่น้อง ขายของในคลอง ในกองเรามีแต่ถั่วดี ๆ เพิ่งเด็ดสด ๆ มากินให้หมด" เพราะดู ๆ แล้วเนื้อหาของหนังสือกับเนื้อหาของเพลงก็ดูจะไปได้ดีในทิศทางเดียวกัน ลองคิดภาพตามว่าถ้า อปรญ. (อาจารย์ปริญญา) พายเรือและร้องเพลงชิพกะเดท ก็ดูจะเป็นอะไรที่คนน่าจะคาดไม่ถึง หนังจากที่ อปรญ. หันมาให้ความสนใจจนได้รับการขนานนามว่า "ปริญญารักษ์โลก" ก็ดูแกจะสนุกกับการทำอะไรไปในแนวทางนี้ตลอดเวลา นับตั้งแต่หนังสือพายเรือเล่มแรกอย่าง "พจญภัยคลองท่าลาด" ออกมาเมื่อ 2-3 ปีก่อน ในฐานะของผู้ที่เคยเรียนและทำกิจกรรมร่วมกับ อปรญ. มาหลากหลายขนาน เราก็เฝ่าคอยติดตามผลงานของแกอยู่ห่าง ๆ แต่ก็รับรู้อยู่ตลอดเวลาว่าช่วงนี้แกทำอะไร หลังจากการปีนผาจำลองที่เอาจริงเอาจังมาก ๆ อยู่ช่วงหนึ่ง การหันมาพายเรือและสร้างความยั่งยืนให้กับโลกและธรรมศาสตร์ก็ดูจะกลายเป็นเป้าประสงค์หลักในชีวิตของ อปรญ. นี่ถ้าไม่นึกย้อนให้ดี ๆ หลายครั้งเราเองก็มักคิกว่า อปรญ. ไม่ได้สอนวิชา "นิติศาสตร์" จากกิจกรรมที่แกทำมันชวนให้นึกไปเสียไกลว่า อปรญ. เรียนจบมาทางด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน 
    หนังสือ : ตะลุยบางปะกง
    โดย : ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
    จำนวน : 448 หน้า
    ราคา : 320 บาท

    กลับมาที่หนังสือเล่มล่าสุดในเรื่องของการพายเรือของ อปรญ. อย่าง "ตะลุยบางปะกง" อาจจะเรียกได้ว่าเป็นภาคต่อของหนังสือเล่นก่อนหน้าอย่างผจญภัยคลองท่าลาด ที่หลังจากการทำภารกิจในครั้งก่อนเสร็จสิ้นลง การพายเรือในคลองที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น "บ้านเกิด" ของ อปรญ. นั้นก็ขยับขยายมาสู่การพายเรือตามเส้นทางของ "สายน้ำบ้านเกิด" อย่างแม่น้ำบางปะกง ที่การเดินทางในครั้งนี้เริ่มต้นที่จุดกำเนิดของสายน้ำบางปะกงและบางประกง กระทั่งไปสิ่งสุดลงที่ทางออกปากแม่น้ำที่เป็นเขตแดนระหว่างน้ำจืดและน้ำทะเล

    ตลอดระยะทางความยาว 448 หน้าของ "ตะลุยบางปะกง" ได้บอกเล่าเรื่องราวและบันทึกความทรงจำในแต่ละช่วงเวลาของกว่า 300 กิโลเมตร จากการพายเรือตลอดลำน้ำนับตั้งแต่แก่งหินเพลิงกระทั่งถึงทางออกอ่าวไทย

    "ตะลุยบางปะกง" ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่การบรรยายถึงบรรยากาศของการพายเรือตามลำน้ำเพียงอย่างเดียวไม่ หากแต่ "ตะลุยบางปะกง" ยังช่วยลอกเล่าเรื่องราวของสายน้ำบางปะกง วิถีชีวิตของคนในพื้นที่และร่วมถึงวิถีชีวิตของคนไทยที่ผู้โยงอยู่กัลสายน้ำเป็นสำคัญในครั้งอดีต อย่างการบอกเล่าเรื่องราวของบ้านเรือน วัด ชุมชน (โบราณ) ที่ต่างตั้งตนหันหน้าเข้าหาแม่น้ำและลำคอง รวมไปถึงการฉายภาพความเปลี่ยนแปลงของสายน้ำและวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงไปของ คน โลก และสังคม ที่ยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ (ชีวิต) ไปอย่างมาก จากหน้าบ้านกลายเป็นที่ทิ้งขยะ จากแหละสัญจรกลายเป็นส่วนเกิดของชีวิตกระทั่งถูกทำลายเพื่อนำไปสร้างหนทางใหม่ ๆ (ดูดสร้ายแม่น้ำไปก่อสร้าง) และยังมีความเปลี่ยนแปลงอีกมากมายที่เกิดขึ้นกับสายน้ำแห่งชีวิตของใครหลาย ๆ คน

    นานมาแล้วที่เราเคยพึ่งพาสายน้ำนับตั้งแต่เกิดกระทั่งตาย และก็นานมากแล้วเช่นกัน ที่เราหลงลืมไปว่าตัวเราเองยังคงพึ่งพาสายน้ำตั้งแต่เกิดกระทั่งถึงลมหายใจสุดท้ายของชีวิตเช่นเดิม หากแต่การระลึกถึงความสำคัญและความสัมพันธุ์ของมนุษย์ที่มีกับส่ยน้ำได้เหือดหายไป อาจเป็นเพราะเราลงลืมความสำคัญของสายน้ำ ทำให้เราเลือกที่จะละเลยการดูแลและเอาใจใส่มันอย่างจริงจัง ทั้ง ๆ ที่สายน้ำทุกสาย คือ "ต้นกำเนิดชีวิตของทุกสรรพสิ่ง"

    เมื่อหน้าสุดท้ายของฝีพายเดินทางมาถึง "ตะลุยบางปะกง" ช่วยกระตุ้นเตือนเราอีกครั้งว่า "สายน้ำแห่งชีวิต" กำลังค่อย ๆ แห้งเหือดลงหากเราไม่ลงมือทำอะไรสักอย่าง เพื่อรักษาสายน้ำเหล่านั้นเอาไว้ให้กับคยรุ่นต่อ ๆ ไปในภายหน้า

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in