เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ซึมเศร้า...เล่าได้ By หลินอวี๋เหิง และ ไป๋หลิน แปล อังค์วรา กุลวรรณวิจิตร
  • รีวิวเว้ย (417) "โรคซึมเศร้าเป็นโรคใหม่ เป็นโรคตามกระแส เป็นโรควัยรุ่น เป็นโรคสมัยนิยม" และอีกหลากหลายความคิดเห็นของผู้ใหญ่ที่มีต่อ "โรคซึมเศร้า" และต่อคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ปัญหาหนึ่งของโรคซึมเศร้าที่เรารู้ ๆ กันในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ คือ มันเป็นโรคที่คนหลายคนมองว่ามัน "ไม่ใช่โรค" ทั้ง ๆ ที่มันเป็นโรค และเป็นโรคที่ปรากฏขึ้นและเป็นที่รับรู้มาเนินนานตั้งแต่สมัยของ "ฮิโปเคติส" ซึ่งแสดงให้เห็นว่า "โรคซึมเศร้า" มีความเป็นมาที่ยาวนานกว่าพันปีผ่าน และมันเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการและแพร่หลายในช่วงปี ค.ศ.1970 แต่ที่น่าประหลาดใจเป็นที่สุดคือ โรคที่มีความเป็นมายาวนานกับไม่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย ทั้ง ๆ ที่เราเองก็มีพัฒนาการทางด้านการแพทย์ที่ดีไม่แพ้ชาติพัฒนาแล้วด้วยซ้ำไป แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ สังคมไทยเพิ่งจะรับรู้การมีอยู่ของโรคซึมเศร้าเอาจริง ๆ จัง ๆ ก็เมืองสัก 10 ปีที่ผ่านมา ยิ่งช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ที่ข่าวเริ่มออกว่าการฆ่าตัวตายของใครหลาย ๆ คน เป็นผลมาจากอาการของ "โรคซึมเศร้า" นั่นเท่ากับเป็นการเปิดศักราชของการทพความรู้จักโรคซึมเศร้าในสังคมไทยอย่างแท้จริง แต่ปัญหาประการต่อมาคือ คนไทยหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้หลักผู้ใหญ่มีตรรกะของความเข้าใจในโรคซึมเศร้าที่ว่า "โรคซึมเศร้า=โรคจิต=บ้า" เชร็ดโด่นี่เป็นตัวอย่างของปัญหาการรับรู้ประการสำคัญของสังคมไทย โดยเฉพาะเมื่อเอาโรคทางจิตมาผู้เข้ากับความ "บ้า" นั่นยิ่งทำให้ทัศนคติของทั้งคนป่วยและคนไม่ป่วย มองว่าโรคซึมเศร้าคือโรคของ "คนจิต" ที่ถูกผนวกรวมเข้ากับ "ความบ้า" นี่เองกระมังที่ทำให้โรคซึมเศร้าและการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในสังคมไทยดูจะเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากปกปิด และอยากเก็บซอนมันให้พ้นจากคนทุกคน กระทั่งมันทำร้ายและทำลายผู้ป่วย จนหาหนทางยุติปัญหาด้วยการ "ฆ่าตัวตาย" ทั้ง ๆ ที่โรคซึมเศร้าเองสามารถรับมือ รักษาและจัดการให้ทุกคนอยู่ร่วมกับมันได้อย่างเป็นปกติสุข และไม่เป็นการลำบากจนเกินไปนัก
    หนังสือ : ซึมเศร้า...เล่าได้
    โดย : หลินอวี๋เหิง และ ไป๋หลิน แปล อังค์วรา กุลวรรณวิจิตร
    จำนวน : 200 หน้า
    ราคา : 225 บาท 

    "ซึมเศร้า...เล่าได้" จัดเป็นหนังสือเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่ดีที่สุดในบรรดาหนังสือที่เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่เราเคยอ่านมา อาจจะเรียกได้ว่ามันเป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของ "โรคซึมเศร้า 101" โดยที่ "ซึมเศร้า...เล่าได้" ทำหน้าที่เป็นคู่มือในการบอกเล่า แนะนำ และชี้แจ้งถึงสิ่งที่ถูกเรียกว่า "โรคซึมเศร้า" ตั้งแต่เรื่องของที่มาที่ไป ใครเคยเป็นและยังเป็นอยู่แล้วเขาอยู่กับพวกมันอย่างไร หรือใช้พวกมันเป็นแรงผลักดันในการทำงานหรืออยู่ในสังคมไทยอย่างไร 

    นอกจากนี้ "ซึมเศร้า...เล่าได้" ยังบอกเล่าถึงอาการของโรค สาเหตุ การจำแนกโรคและรวมถึงการเกิดโรคที่ไม่ใช่เกิดแค่ในคนวัยหนึ่งวัยใดเท่านั้น หากแต่โรคนี้สามารถเป็นได้ตั้งแต่เด็กเล็ก (อนุบาล) กระทั่งถึงคนแก่อายุเหยียบ 100 ก็เป็นโรคนี้ได้ ซึ่งนอกจากจะบอกอาการแล้ว "ซึมเศร้า...เล่าได้" ยังบอกวิธีการปรพเมินตัวเองเบื้องต้นถึงคสามเสี่ยงของการป่วยเป็นโรค และบอกเล่าถึงวิธีการรับมือ รักษา ทั้งในบทบาทของผู้ป่วยและบทบาทของผู้ที่ต้องรับมือและช่วยผู้ป่วยในการจัดการกับโรคดังกล่าว

    เอาเข้าจริงโรคซึมเศร้าจัดอยู่ในกลุ่มของอาการทาง "จิต" แต่เราต้องทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า โรคที่จัดอยู่ในกลุ่มอาการทางจิตนั้น "ไม่เท่ากันกับโรคบ้า" ถ้าเราเปลี่ยนแปลงทัศนคติเบื้องต้นของทั้งตัวเองและของสังคมได้ เราจะมองโรคซึมเศร้าได้อย่างเข้าใจ และพร้อมที่จะเปิดใจยอมรับและเรียนรู้มันมากขึ้น ซึ่งนั่นจะทำให้เราอยู่กับมัน (โรค) และรับมือกับมันได้เป็นอย่างดี รวมถึงการเปิดใจยอมรับ จะทำให้คนป่วยกล้าที่จะเปิดตัวเองและพร้อมรับการรักษาไปพร้อม ๆ กับสังคมที่เข้าใจและดรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาของโรคซึมเศร้าไปพร้อม ๆ กัน เชื่อสิว่า"ซึมเศร้า...เล่าได้" และเรียนรู้ที่จะอยู่รวมถึงรักษามันได้เช่นกัน 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in