เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
การออกแบบมาตรการไม่ในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ By ทวิดา กมลเวชช
  • รีวิวเว้ย (373) หลายคนมองว่าเรื่องของ "ภัยพิบัติ" เป็นเรื่องไกลตัว เพราะเรามักคาดว่าประเทศไทยสงบ สันติและปลอดภัยพอที่จะไม่มีภัยพิบัติร้ายแรงตามธรรมชาติ อย่างมากก็แค่น้ำท่วม อาจจะสูงบ้างสัก 4-5 เมตร แต่แน่นอนว่าน้ำท่วมมีเวลาให้หลายคนได้เตรียมตัว (แต่ก็ไม่เคยพอ) และที่สำคัญมันเกิดขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ครั้งโบราณกาลเก่ามา อาจจะด้วยความเคยชินหรืออะไรก็ตามแต่ ยังผลให้น้ำท่วมกับสังคมไทยและคนไทยเป็นเรื่องอะไรที่อยู่ร่วมกันได้แบบไม่เดือดร้อน แต่มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ หรือ (?) ที่ว่าประเทศเราปลอดภัยและห่างไกลจากเรื่องของภัยพิบัติ อย่างเมื่อไม่นานมานี้ทางภาคเหนือของไทยเผชิญกับภัยแผ่นดินไหวในระดับที่อาจจะเรียกได้ว่าสามารถสร้างความรับรู้ได้ในระดับหนึ่งกับสังคมไทย แต่เอาเข้าจริงแล้วประเทศไทยเองมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ในระดับที่น่าหวาดหวั่นพอสมควร เพราะเราเองอยู่ไม่ไกลจากรอยเลื่อนขนาดใหญ่เท่าใดนัก และรอยเลื่อนดังกล่าวยังมีความสามารถที่จะปลดปล่อยพลังงานออกมาได้ทุกเมื่อ และเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นแล้วสภาพพื้นดินบริเวณภาคกลางและกรุงเทพฯ ก็เอื้อต่อการส่งต่อแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว เนื่องจากสภาพทางธรณีวิทยาของเราเป็นลักษณะของแอ่งดินเหนียวขนาดใหญ่ที่จะช่วยทำหน้าที่ในการขยายแรงสั่งสะเทือน (https://www.witcastthailand.com/witthai-s02e05/) แล้วการรับมือของเรามีความพร้อมในการรับมือเรื่องดังกล่าวแค่ไหน อย่างไร รวมถึงเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเราจะรอความช่วยเหลือให้เข้ามาถึงเราเมื่อภัยเกิด หรือแท้จริงแล้วเราควรเอาตัวเองให้รอดก่อน เพื่อรอความช่วยเหลือที่อาจจะมาไม่ถึง
    หนังสือ : การออกแบบมาตรการไม่ใช่เชิงโครงสร้างในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติแผ่นดินไหวและอาคารถล่มสำหรับประเทศไทย
    โดย : ทวิดา กมลเวชช และคณะ
    จำนวน : 232 หน้า
    ราคา : ... บาท

    หนังสือ "การออกแบบมาตรการไม่ใช่เชิงโครงสร้างในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติแผ่นดินไหวและอาคารถล่มสำหรับประเทศไทย" ปรับปรุงมาจากงานวิจัยขนาดยาวที่ยาวเท่ากับชื่อหัวข้อวิจัย "การออกแบบมาตรการไม่ใช่เชิงโครงสร้างในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติแผ่นดินไหวและอาคารถล่มสำหรับประเทศไทย" ตอนที่ฟังชื่องานวิจัยจากอาจารย์ครั้งแรกตั้งแต่เริ่มเปิดโครงการ จนถึงวันที่แล้วเสร็จออกมาเป็นเล่ม เราเองก็ยังจำชื่อเต็ม ๆ ของงานวิจัยไม่ได้อยู่ดี

    หนังสือเล่มนี้ "การออกแบบมาตรการไม่ใช่เชิงโครงสร้างในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติแผ่นดินไหวและอาคารถล่มสำหรับประเทศไทย" พยายามพูดถึงการรับมือกับภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย ที่อาจจะไม่ได้รับความสนใจมากนักหากบอกว่างานวิจัยมุ่งศึกษาถึงกลไกในการจัดการอาคารถล่มจากภัยแผ่นดินไหว ดังนั้นทีมวิจัยจึงได้ดำเนินการเพิ่มเติมในส่วนของภัยอาคารถล่มที่อาจจะเกิดจากแผ่นดินไหวและอัคคีภัยเข้าไป เพื่อให้ภัยดังกล่าวดูใกล้ตัวคนไทยมากยิ่งขึ้น (เรื่องไม่ใกล้เราไม่ทำ-ไทยแท้)

    โดยเนื้อหาภายในหนังสือได้บอกเล่าถึงเรื่องราวของการจัดการรับมืออาคารถล่มจากอัคคีภัยและภัยแผ่นดินไหว ผ่านเครื่องมือสำคัญ 4 ชิ้น คือ (1) กฎหมาย (2) ภาษี-กองทุน (3) การมีส่วนร่วมของประชาชน และ (4) กลไกการบริการจัดการ โดยแนวทางทั้ง 4 ได้พูดถึงกลไกในการจัดการรับมือภัยพิบัติในระยะก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัยและหลังเกิดภัยเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ

    ซึ่งสำหรับหนังสือเล่มนี้ "การออกแบบมาตรการไม่ใช่เชิงโครงสร้างในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติแผ่นดินไหวและอาคารถล่มสำหรับประเทศไทย" กลไกที่ได้จากการศึกษาเครื่องมือทั้ง 4 ชิ้น คือ การออกแบบนโยบายและจัดทำเครื่องมือในการจัดการเรื่องของอาคารถล่มจากกลไกทั้ง 4 เพื่อให้มีการเตรียมพร้อมและเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทของสังคมที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป

    หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้ (และทำงานวิจัยชิ้นนี้) จบลง เราเองพบว่าทัศนะคติที่เรามีต่อเรื่องของภัยพิบัตินั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งเรื่องของการจัดการ ก่อน ระหว่าง หลังการเกิดภัย รวมไปถึงข้อสรุปสำคัญต่อการรับมือภัยพิบัติทุกรูปแบบที่อาจเกิดขึ้น คือ "เราควรเริ่มจากการจัดการและรับผิดชอบตัวเองให้ได้ก่อน (ในกรณีของคนที่ไม่ใช่กลุ่มเปราะบาง) เพื่อที่จะลดภาระการช่วยเหลือของรัฐเพื่อให้รัฐนำเอาทรัพยากรที่จำกัดไปช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางก่อน และการรับมือภัยพิบัติที่ดีที่สุด คือ การเตรียมพร้อมรับมือก่อนการเกิดภัย (ด้วยตัวเอง/ให้ช่วยเหลือตัวเองได้)" รวมถึงในหลายครั้งการรับมือภัยพิบัติก็บอกกับเราว่า "ประชาธิปไตย อาจจะไม่ใช่คำตอบขอลทึกเหตุการณ์ โดยเฉพราะในเรื่องของการรับมือภัยพิบัติ" (การจัดการภัยพิบัติไม่เป็นประชาธิปไตย)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in