เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
วานนี้ที่สุขุมวิท By ธงทอง จันทรางศุ
  • รีวิวเว้ย (327) สุขุมวิทเป็ยชื่อถนนและชื่อยานที่หลายคนน่าจะคุ้นหู โดยเฉพาะชีวิตของมนุษย์เงินเดือนและทำงานภาคเอกชนส่วนใหญ่น่าจะคุ้นหูกับชื่อยานสุขุมวิท เพราะย่านดังกล่าวเป็นทั้งย่านสถานที่ทำงานและเป็นย่านที่อยู่อาศัยที่สำคัญ แต่ใครจะเชื่อว่าเมื่อ 50 ปีก่อน บริเวณย่านดัวกล่าวยังเป็นพื้นที่ว่างเปล่าและบางพื้นที่เป็นเพียงร่องสวน ที่ในอีก 50 ปีต่อมาแทบจะไม่มีใครจำสภาพจริงของพื้นที่ได้เลย จะเว้นก็แต่ อาจารย์ธงทอง จันทรางศุ แห่งคณะนิติศาสตร์จุฬาฯ ที่ได้หยิบเอาเรื่องราวของบ้านเรือนและย่านเก่าบริเวณสุขุมวิทยมาบอกเล่าให้เราได้เห็นภาพและรับรู้สภาพของพื้นที่ในครั้ววันวาน
    หนังสือ : วานนี้ที่สุขุมวิท
    โดย : ธงทอง จันทรางศุ
    จำนวน : 272 หน้า
    ราคา : 240 บาท

    "วานนี้ที่สุขุมวิท" ว่าด้วยเรื่องของย่านเก่าอย่างสุขุมวิท ในครั้งวันวานที่เมื่อก่อนนี้เป็นเพียงพื้นที่ว่าเปล่าและร่องสวน กาลเวลาพัฒนาพื้นที่ ย่าน และบริเวณดัวกล่าวให้สลัดภาพของอดีตหายไปอย่างที่ไม่มีใครแทบจำจำได้ หลายครั้งเรามักตั้งคำถามว่าเหตุใดเราจึงต้องศึกษาอดีต โดยเฉพาะอดีตของสถานที่หรืออดีตของสิ่งที่ดูไม่สลักสำคัญ อย่างเรื่องของอาคารบ้านเรือนที่เป็นของคนทั่วไป รวมถึงเรื่องของประวัติศาสตร์ชุมชนที่หบ่ยครั้งทางราชการเองก็มองว่าไม่มีความสลักสำคัญ และไม่ควรได้รับการให้ความสำคัญเพราะรัฐมักมองว่าเรื่องเหล่านี้ขาดซึ่งความสำคัญใด ๆ ต่อประวัติศาสตร์ของรัฐ

    "วานนี้ที่สุขุมวิท" เป็นหนึ่งในงานที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงแนวคิดของราชกาลหรือคนกลุ่มที่กำหนดค่าคสามสำคัญของสิ่งที่เราขนานนามมันว่า "ประวัติศาสตร์แห่งรัฐ" หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องของย่านสุขุมวิทและพื้นที่ข้างเคียง รวมถึงประวัติศาสตร์ของบางพื้นที่ในกรุงเทพฯ

    "วานนี้ที่สุขุมวิท" ช่วยสร้างความทรงจำและวาดภาพของพื้นที่ย่านสุขมวิทผ่านภาพความทรงจำของ อาจารย์ธงทอง ที่เดินเรื่องผ่านเส้นเรื่องแห่งความทรงจำ ภาพจำของอาจารย์ต่อย่านสุขุมวิทและบางย่านในกรุงเทพฯ ช่วยทำให้เราเห็นสภาพของพื้นที่ในครั้วอดีต และเข้าใจถึงบริบทในการพัฒนาของพื้นที่ รวมถึงช่วยให้เราเห็นภาพของความสัมพันธ์ของอำนาจราชการและอำนาจของกลุ่มทุนในครั้งอดีตที่ส่งผลต่อการปักปันพื้นที่ และแสดงให้เห็นถึงบทบาทของตัวแสดงหลักบางตัวในสังคม ณ ช่วงเวลานั้น

    หลายคนอาจจะยังตั้งคำถามว่าเหตุใดเราจึงต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ของชุมชนและประวัติศาสตร์ของสังคมที่ไม่มีความยึดโยงกับประวัติศาสตร์ของรัฐกระแสหลัก หนังสือ "วานนี้ที่สุขุมวิท" อาจจะช่วยตอบคำถามดังกล่าวได้บางในบางช่วงตอนของความสงสัย แต่ที่แน่ ๆ หนังสือเล่มนี้ช่วยตอกย้ำความคิดของนักอนุรักษ์ชาวญี่ปุ่นที่ว่า "สังคมใดที่รักษาประวัติศาสตร์ของชุมชนเอาไว้ได้ สังคมนั้นมักเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับทุกคนอย่างเท่าเทียม และเป็นสังคมที่จะไม่มีวันละทิ้งสิ่งใดเอาไว้ข้างหลังในขณะที่ก้าวไปข้างหน้า"

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in