เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เสียงจากเด็กยุค 90's โจทย์ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ความคาดหวังของสังคม และความเป็นไปได้ในยุคแห่งการแข่งขันanuchartmaskul
เสียงจากเด็กยุค 90's กับโจทย์ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา
  • ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนครับว่าการที่ผมมาเขียนกระทู้นี้ไม่ได้เป็นการบอกว่า เด็กที่เกิดในยุค90โชคร้ายที่ต้องเกิดมาพบกับความยากลำบาก หดหู่ หรือผิดหวังเพียงแต่อยากแจกแจงและแชร์ประสบการณ์กับเพื่อนๆที่เป็นเด็กยุคเดียวกันถึงโจทย์ที่เราได้รับจากสังคมผมเขียนกระทู้นี้ด้วยความรู้สึก ไม่ได้อ้างอิงจากงานวิชาการ หรืองานวิจัยเพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้ เป็นเพียงมุมมองของคนคนหนึ่ง อาจจะมีผิดบ้างถูกบ้าง ถือว่าเป็นการแชร์การคุยกันในกลุ่มเพื่อนก็แล้วกันครับหากผู้อ่านมีงานวิชาการใด หรือหลักฐานใดๆที่น่าเชื่อถือ จะมาสนับสนุน หรือแย้งกระทู้นี้ ผมยินดีที่จะมีส่วนร่วมในการดิสคัส ครับ

    ต้องท้าวความไปถึงข้อเท็จจริงของการเปลี่ยนผ่านสู่สมัยใหม่ซึ่งหลายครั้งในงานเขียนหลายต่อหลายชิ้น การจบลงของสงครามโลกครั้งที่2มักมีบทบาทเป็นหมุดที่ใช้กำหนดการเข้าสู่ยุคสมัยใหม่แน่นอนว่า เจเนอเรชั่นของเด็กที่เกิดจากประชากรที่มีชีวิตในยุคสงครามโลกครั้งที่สองถูกเรียกว่า Baby Boomers ไอเดียของชื่อนี้คือการบูมของอัตราการเกิดเด็กทารก ประชากรหลายล้านตายไปในสงคราม ทั้งทหารและพลเรือนจึงมีความจำเป็นต้อง"ผลิต"มนุษย์ขึ้นมาทดแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกทุกท่านอาจจะเคยได้ยินคนในยุคนั้น มีลูก5-10คนซึ่งผมมองว่าเป็นการเกิดมาด้วยการ Mass Production คือการผลิตเน้นปริมาณไม่ได้สนใจคุณภาพชีวิตของเด็กที่เกิดมา ซึ่งสอดรับกับข้อเท็จจริงที่ว่าเด็กในยุคนั้นมีอัตราการตายสูง ทั้งเพราะโรคระบาด สุขอนามัย และอุบัติเหตุจากการมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำ

    พ่อแม่ของเด็กยุค 90คือคนกลุ่มนี้นั่นเองคือผลผลิตของคนที่ผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง(ไทยเองแม้ไม่ได้สัมผัสกับสงครามโลกแบบเต็มรูปแบบแต่ก็ได้รับผลกระทบจากการขับเคี่ยวกันระหว่างสองขั้วอำนาจการเป็นเป้าหมายของการทิ้งระเบิด ภาวะขาดแคลนอาหารและทรัพยากร)สิ่งเหล่านี้นี่เองแม้หลงเหลือเป็นเพียงประสบการณ์แต่มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผ่านมายัง เหล่า Baby Boomers

    จากความคิดเห็นของผมเอง ผมมองว่า Baby Boomers เป็นเจเนอเรชั่นที่ "รอดพ้น"จากความโหดร้ายของสงคราม พ่อแม่ของเจเนอเรชั่นนี้ (คือรุ่นปู่ย่าตายายของเรา)ให้ความสำคัญกับการมีชีวิตรอดจากการขาดแคลนอาหาร และเงิน

    Baby Boomers เกิดมาท่ามกลางการมีพี่น้องที่เสียชีวิตเพราะโรคระบาดผมมองว่าพวกเขาอาจจะรู้สึกว่า เขาโชคดีที่ได้มีชีวิตรอด

    อีกประการหนึ่ง เมื่อสงครามโลกจบลงเศรษฐกิจก็ได้รับการฟื้นฟู มีทุนต่างชาติเข้ามาในเมืองไทย

    จะเห็นได้ว่าหลายๆบริษัทยักษ์ใหญ่ก็ก่อตั้งในยุคนี้ผมมองว่า Baby Boomers แม้จะเกิดมาในสภาวะยากลำบากมีข้อจำกัดหลายๆด้าน แต่ก็เป็นยุคที่เปี่ยมไปด้วยความหวังซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อจิตใจมนุษย์ในการมีชีวิตอยู่ พวกเขาหวังว่าชีวิตจะดีขึ้นเรื่อยๆเศรษฐกิจที่ขยาย สอดรับกับการเปิดประเทศของยักษ์ใหญ่อย่างจีนในช่วงที่พวกเขาเป็นเด็ก ยิ่งเป็นการเปิดกว้างโอกาสในการค้าของคนในยุคนี้

    ผมขอถือวิสาสะสรุปว่า Baby Boomers แม้จะเกิดมาในช่วงที่สังคมยังบกพร่องข้าวยังกินอิ่มบ้าง ไม่อิ่มบ้าง ของเล่นมีชิ้นสองชิ้นบ้างแต่ก็เป็นเจเนอเรชั่นที่มองว่า ตนเอง "โชคดี" แค่ไหนแล้วที่มีชีวิตอยู่อีกทั้งก็ยังมองเห็นเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นฟู มองเห็นผู้คนมากมายประสบความสำเร็จการเปิดประเทศของจีน และยุคของทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาในประเทศไทย พวกเขามี"ความหวัง" ว่าชีวิตในอนาคตเขาต้องดีขึ้น ถ้าพวกเขาไม่ย่อท้ออนาคตของเขามัน Promising

    Baby Boomers เริ่มตั้งตัวได้ในยุค 90ซึ่งเป็นยุคที่พวกเขาเริ่มคิดจะสร้างครอบครัวการล่มสลายของขั้วอำนาจคอมมิวนิสต์อย่างโซเวียตทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นขั้วอำนาจเดี่ยวในการนำกระแสโลกยิ่งตอกย้ำไอเดียของประชาธิปไตยและการค้าเสรี ทั้งนี้เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ การเข้ามาของเพจเจอร์โทรศัพท์รุ่นกระดูกหมา Baby Boomers มองว่าลูกของพวกเขา "โชคดี"ที่ไม่ต้องเกิดมาในยุคที่ยากลำบาก มีชีวิตที่เพียบพร้อม อยากได้อะไรก็ได้สิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่ล้วนแล้วจะมีมากขึ้นและพัฒนาประสิทธิภาพมากขึ้น

    ผม และ "พวกเรา" คือผลผลิตแห่งยุค90

    พวกเราเกิดมาท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีจากโทรศัพท์กระดูกหมามาสู่สมาร์ทโฟน

    แต่นั่นไม่ใช่สิ่งใหม่สิ่งเดียวที่เด็กยุค90ต้องเผชิญเด็กยุค90 เติบโตมาพร้อม "ความคาดหวัง"

    บริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้มีสงครามหรือโรคระบาดให้ต้องลุ้นว่าเราจะตายเมื่อไร

    เด็กรุ่นนี้ไม่ได้เห็นตัวอย่างของการตายของพี่น้องหรือเพื่อนรุ่นเดียวกันจากโรคระบาด

    ไม่มีปัจจัยของการขาดแคลนเงิน หรือ อาหารพวกเขาก็ท้องอิ่มได้ทุกวันโดยไม่ต้องทำอะไร

    พ่อแม่ประคบประหงม อยากได้อะไรก็ต้องได้

    แต่นั่นก็เป็นเหมือนแพคเกจที่มาพร้อมกับ"ความคาดหวัง" ที่สูงลิ่ว

    จากข้อเท็จจริงที่เด็กยุค90ไม่ต้องกังวลเรื่องใดเลย ความสนใจทั้งหมดมุ่งตรงไปที่ "การเรียน"

    Baby Boomers เป็นเจเนอเรชั่นที่ผ่านความไม่พร้อมและปัจจัยภายนอกต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน

    ที่บ้านเงินไม่พอต้องออกมาทำงานเสริมบ้างต้องช่วยงานที่บ้านบ้าง

    การเรียนของพวกเขามีอุปสรรคทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ

    เมื่อมีลูก Baby Boomers ก็มองว่าเมื่อลูกๆของเขาไม่มีอุปสรรคจากปัจจัยภายนอกอะไรเลย ก็ควรที่จะทำหน้าที่"เพียงประการเดียว" ของพวกเขาให้ดี และคำว่าดีคือดีกว่าที่พวกเขาทำ(เพราะพวกเขาทำมันทั้งๆที่มีอุปสรรค)

    นี่เป็นผลที่โรงเรียนกวดวิชาบูมมากในยุคของพวกเรา

    เกิด Mindset และค่านิยมต่างๆต้องเป็นหมอนะ ต้องเป็นวิศวะนะ ต่อไปต้องเข้ามหาลัยxxxนะ

    ในขณะที่เด็กยุค90เกิดมาพร้อมความเพียบพร้อมทางกายภาพแต่ถูกกดดันในจิตใจ

    คนทุกคนไม่ได้เก่งไปซะทุกอย่างเราถูกประเมินค่าด้วยการเรียน ได้วิทย์คะแนนเท่าไร ได้เลขคะแนนเท่าไร

    ต่อไปต้องเป็นหมอนะ ต่อไปต้องเป็นวิศวะนะ

    ไม่ว่าคุณจะทำดีสักแค่ไหนจะมีคนทำได้ดีกว่าคุณเสมอ และคนที่ทำได้ดีที่สุดเท่านั้นควรจะได้รับคำชม

    พวกเราเติบโตมาในยุคแห่งการเปรียบเทียบทั้งกับเพื่อนๆ ญาติๆ ด้วยความสามารถทางการเรียน(ซึ่งไม่ใช่ทุกอย่างในโลกแห่งความเป็นจริง)

    นี่เป็นสิ่งที่ทำให้คำจำกัดความของคำว่า"คุณค่า"ของเด็กในยุคนี้เปลี่ยนไปคุณค่าของพวกเขาคือสิ่งที่สามารถแสดงเป็นตัวเลขได้

    และแตกต่างกับคนในยุคก่อนๆ เขาไม่ได้รู้สึกถึง"ความโชคดี"ของการมีชีวิตอยู่ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ทุกคนได้มาอย่างง่ายๆและไม่ต้องทำอะไร

    แต่กลับโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า พวกเขาเกิดมาแล้ว"มีอะไร" ในเชิงวัตถุมากกว่า

    นอกจากความคาดหวังของพ่อแม่ในการเรียนแล้วเด็กยุค90ขาด"ความหวัง"ว่าชีวิตของเขาต้องดีขึ้นวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียในปี 2540ทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยและหลายๆประเทศถดถอย สิ่งที่เคยได้ เคยมี กลับไม่มีซึ่งแตกต่างกับยุคของพ่อแม่พวกเขา ที่มีความหวังว่าชีวิตจะต้องดีขึ้นเรื่อยๆ

    และนั่นก็สอดรับกับการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนจะแสดงด้านดีๆของตัวเองในโลกโซเชียล ทำให้พวกเขามองว่าชีวิตของเขาแย่ ไม่มีความหวัง และน่าหดหู่

    สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดของการวัดคุณค่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวเลขคือ ยอดไลค์ พวกเขาทำทุกอย่างเพื่อจะได้ยอดไลค์มากๆซึ่งเป็นเสมือนมาตรวัดคุณค่าของคนหนึ่งคน

    ในวันนี้ เด็กยุค90คือ น้องใหม่ในที่ทำงาน คือ เด็กที่กำลังศึกษาต่อในต่างประเทศภายใต้ฉากหน้าว่ามีชีวิตที่มีความสุขในเฟสบุ๊คและอินสตาแกรม พวกเขาเหงาและโดดเดี่ยวยิ่งกว่าใครๆ

    เขาเจอกับโจทย์เดิมๆเช่นการแข่งขันกันในที่ทำงาน ในการเรียน การเซตความฝันไว้สูงแต่ก็ยังทำไม่ได้สักที ทำแล้วก็ล้มเหลว ลุกขึ้นใหม่ เพื่อจะล้มเหลวอีกครั้ง

    ภายใต้ความเพียบพร้อมของรูปโปรไฟล์เฟสบุ๊คที่เป็นรูปตอนไปเที่ยวยุโรป แต่พวกเขากลับไม่มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี

    เขาไม่ได้พอใจการมีชีวิตอยู่เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ทุกคนมี และได้มาง่าย

    แต่เขามองว่า การมีชีวิตอยู่นั้น เป็นชีวิตที่"มี" อะไร "ได้"อะไรและสิ่งที่"ได้"ที่"มี"คือสิ่งที่วัดคุณค่า ถ้าไม่"ได้" ไม่"มี" คุณค่านั้นก็ไม่มีอยู่

    พวกเขาไม่ได้ appreciate สิ่งที่ตนมีเท่าใดนักเนื่องจากเป็นคนตั้งความหวังไว้สูง เมื่อทำได้อย่างหนึ่ง ก็จะบอกว่อีกอย่างที่สูงกว่านั้น ฉันยังทำไม่ได้

    ในขณะที่พวกเขาถีบตัวเองไปข้างหน้าขึ้นเรื่อยๆก็เหมือนกับหมาไล่ฟัดหางตัวเองไม่มีวันสิ้นสุด

    แต่สิ่งที่ได้มากลับเป็นความ"ผิดหวัง" ว่าฉันยังทำได้ไม่ดีพอ ฉันควรทำดีกว่านี้

    และนี่คือโจทย์ของเด็กยุค90ที่กำลังทำงานและกำลังจะเริ่มทำงาน

    อยากให้เข้าใจพวกเรากันด้วยนะครับ

    พวกเราไม่ใช่คนที่โชคดีขนาดนั้น

    และความอุ่นใจ สบายใจ ในการทำอะไรเป็นสิ่งที่พวกเราให้ความสำคัญมาก

    ไม่ต้องการการบังคับ แม้จะแลกมาด้วยเงิน

    และคำชมเล็กๆน้อยๆ มีความหมายกับพวกเรามากครับ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Nightnight (@yourNightmare)
คิดว่าอยู่ในช่วงวัยเดียวกัน เพื่อนร่วมรุ่นตอนนี้เครียดๆกันเยอะ เรากดดันด้วยความคิดและความคาดหวังกันมากกว่าแรงกดดันจากภายนอกเสียอีก

บางครั้งเราอาจพยายามที่จะวางมันลง แต่ก็ไม่ได้วางได้ทุกครั้ง มันอยู่ที่ว่าเวลานั้นใจเราจะเปิดรับอะไรเข้ามาก่อนกันระหว่างความกดดันกับความสุข-(ขนาดจะเปิดใจรับอะไรมาก่อน เรายังเลือกเองไม่ได้เลย) ก็เลยเหมือนจะเข้าใจว่า เฮ้ย โลกมันไม่ได้เป็นอย่างที่เราอยากให้เป็นหรอกนะ ไม่ว่าจะเกิดในยุคสมัยไหน โลกก็เหี้ยของมันแบบนั้น ไม่มีอะไรได้ดั่งใจ และบางครั้งเราก็ไม่ได้ดั่งใจในตัวเองด้วย สิ่งเดียวที่เราพอจะทำได้ก็คือทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้าให้เต็มที่ที่สุด แล้วเราก็เชื่อว่าคุณน่าจะทำดีมากแล้วนะทุกวันนี้ ? ถือเป็นคำชมเล็กๆจาก random internet person แล้วกันค่ะ
ยุพิน (@fb1015581586098)
อ่านแล้วเห็นด้วยค่ะ การที่เราไม่มีความเป็นตัวของตัวเองตั้งแต่เรื่องการเรียน มีผลกับชีวิตการเป็นผู้ใหญ่ของเรามาก รู้สึกเสียดายเวลาที่เรียนอะไรที่ไม่ได้ชอบหรือ ไม่ได้เอามาใช้ประโยชน์เลยกับชีวิตจริง. โรงเรียนที่ดีที่สุดคือสนามเด็กเล่นตอนเด็กๆต่างหาก