เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Look a Breathe (Series 1 - 2)nimon
ผู้ดี [ดอกไม้สด]
  • ณ ห้องสมุด เดือนผู้ดี



         คุณได้เลือกหนังสือเล่มนี้ออกมาจากชั้นวางหนังสือและทางร้านเราปรุงรสอาหารเมนูสุดพิเศษนี้เพื่อคุณคนเดียว และเมนูพิเศษประจำหนังสือเล่มนี้คือ “ข้าวผัดผัก ซุปฟักทอง และอโวคาโดปั่น” 


         หลังจากนี้ ทางร้านเราขอเชิญคุณเข้าสู่บ้านเห็ดหลังขวาสุดเพื่อเตรียมพร้อมรออาหารสุดพิเศษนี้ ชมสวนไปพรางๆและอ่านหนังสือไปก่อน เพื่อรออาหารมื้อพิเศษนี้


    “ผู้ดี มีอยู่ จริงหรือไม่

    ผู้ดี ค้นหา ได้ที่ไหน

    ผู้ดี แบบไหน และเป็นใคร

    ผู้ดี เป็นไร แบบคนดี”



    เรื่องราวของผู้ดี

         “ผู้ดี” คือ หนังสืออ่านนอกเวลาที่ใช้เรียนตอนมัธยมต้นและเป็นหนังสือที่ทำให้สอบได้คะแนนเต็มด้วยค่ะ เพราะสงสัยว่า เราจะมีความเป็นผู้ดีมากล้น (เราพูดเล่นค่ะ) แต่จริงๆแล้ว เพราะเป็นหนังสือที่แต่งออกมาได้ดีและทำให้เห็นภาพของความเป็น “ผู้ดี” ออกมาได้ดีที่สุดเลยค่ะ


    ข้อสอบเรื่อง “ผู้ดี”


    {คำถามของการสอบ คือ “ผู้ดี คืออะไร”}

         ผู้ดี คือ คำสองคำรวมกัน ได้แก่ คำว่า “ผู้” ที่แปลว่า “บุคคล” และ “ดี” ที่แปลว่า “ความดี” เมื่อรวมกัน “ผู้ดี” แปลว่า “บุคคลผู้ดำรงตนอยู่ในความดี” โดยบุคคลผู้นั้น มีความเป็นหิริ (ความละอายแก่ใจหรือความละอายต่อบาป)และโอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อบาป) ด้วยสติ (ความระลึกรู้) และสัมปชัญญะ (ความรู้สึกตัว) 


    คำชมจากครู จากข้อสอบเรื่อง “ผู้ดี”


    {ดีมาก}

         คุณครูบอกว่า “ตอบสั้นแต่ได้ใจความที่ถูกต้องของเรื่องราว” และ “เป็นคำตอบที่ตอบมาจากใจที่ลึกซึ้งและตอบถูกตามหนังสือที่ต้องการ”



    เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้เริ่มต้น


         วิมลเป็นลูกสาวของพระยาอมรรัตน์ ราชสุภิชา ผู้เพียบพร้อมทุกอย่าง และวิมลเป็นบุตรที่บิดารักใคร่และภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ไม่ว่า

           ๑. รูปทรัพย์ (ทรัพย์ภายนอก)

           ๒. ทรัพย์ศฤงคาร

           ๓. บริวารดี

           ๔. ตระกูลดี

           ๕. ทรัพย์ภายใน

         แต่พ่อของเธอเป็นคนเจ้าชู้ มีภรรยาจำนวนมาก จนแม่ของวิมลเอือมระอาและหนีไป ส่วนวิมลก็อาศัยอยู่กับแม่เลี้ยงที่คือ “คุณแส” ซึ่งคุณแสสอนให้เธอเป็น “ผู้ดี” ที่ดีทั้งทรัพย์ภายนอกและทรัพย์ภายใน คุณแสสอนให้วิมลรักนวลสงวนตัว


         ขณะที่พี่ชายวิมลไปศึกษาต่อต่างประเทศ และคุณแสก็ทนไม่ไหวกับพฤติกรรมความเจ้าชู้ของพ่อเธอ จนคุณแสตัดสินใจหนีไป และอยู่ดีๆ วันหนึ่ง พระยาอมรรัตน์ พ่อของวิมลได้ถึงแก่กรรมและทิ้งภาระให้กับวิมลอย่างมาก ไม่ว่า

           ๑. ภรรยามากมาย

           ๒. บ่าวรับใช้

           ๓. ลูกจำนวนมาก

         ถึงวิมลจะยากจนอย่างยิ่ง ไม่เหลืออะไรแม้แต่นิดเดียว แต่เธอก็ยังคิดว่า “เธอโชคดีที่ยังมีตึกซึ่งเป็นบ้านและทรัพย์สินสุดท้าย” วิมลตัดสินใจใช้ความโชคดีที่เหลืออยู่เพียงสิ่งเดียว เปิดเช่าให้กับคนทั่วไป และเธอได้คนเช่าที่ดีอย่างพระยาพลวัตรมาเช่าตึกของเธอ 


         ส่วนตัววิมลที่ยากจนก็พาภรรยาและลูกจำนวนมากมาอยู่เรือนคนใช้ และลดจำนวนบ่าวไพร่ลง งานบ้านหรืองานอะไรที่เธอทำด้วยตัวเองได้ เธอก็ทำด้วยตัวเอง โดยที่เธอไม่เคยขอร้องให้ใครช่วย 


         และเธอรับเงินค่าเช่าจากพระยาพลวัตร ผู้ชายที่เป็นคนดีอย่างเพียบพร้อม โดยเธอนำเงินส่งไปให้พี่ชายของเธอเรียนต่อจนจบ และพี่ชายของเธอก็กลับมา ส่วนวิมลกับพระยาพลวัตจะได้รักกันหรือไม่ ควรอ่านในเล่มนี้เลยค่ะ


    {วิมล คือ น้องสาวผู้ที่ยอมลำบาก

    และเหนื่อยเพื่อพี่ชายอย่างแท้จริง}

     

    ยกตัวอย่างบางตอนในหนังสือ


    บทที่ ๑ คุณแม่แสเขียนจดหมายถึงวิมล


    {ข้อแรก}


         “ไม่ว่าจะทำอะไร อย่าทำด้วยความหลง ไม่ว่าจะพูด จะทำ จะคิด ให้ตรองเสียก่อนว่านี่ เราพูดเพราะอะไร เพราะรักหรือเพราะเกลียด หรือโกรธหรืออิจฉาหรืออยากได้หรืออวดดี เวลาจะทำก็ตรองเสียงอย่างนี้ เวลาคิดก็เหมือนกัน ถ้าได้ตรองเสียก่อนแล้วทำลงไป เรียกว่าทำด้วยสติอย่างนี้ ไม่เรียกว่าทำด้วยความหลง เวลาเช่นนั้นก็จะไม่ค่อยพลาดให้ผู้รู้ติเตียนได้”


    {ข้อสอง}


          “เป็นผู้ใหญ่ต้องทำตัวเป็นหลัก ให้สมกับคำที่เขาเรียกว่าผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ที่เป็นหลักที่แปลว่า ผู้ที่ใครๆในบ้านเกรงกลัว ต้องเป็นคนเด็ดขาด เท่ากับยุติธรรม คือว่าต้องเป็นคนมีระเบียบ วางกฎเกณฑ์ให้ผู้น้อยประพฤติอย่างไร ตัวเองอยู่ในเกณฑ์นั้นด้วย”


    {ข้อสุดท้าย}


         “คนที่จะบังคับคนอื่นได้ดี ต้องหัดบังคับให้ตัวเองดีเสียก่อน”


    บทที่ ๗ พุทธศาสนสุภาษิต

         ผู้ใดชมคนที่ควรติ หรือติคนที่ควรชม ผู้นั้นชื่อว่าก่อความร้ายด้วยปาก เพราะความร้ายนั้น เขาก็ไม่ได้ความสุข 


    บทที่ ๑๕ พระยาพลวัตคิดถึงเรื่อง “อนุโมทนากุศล”


    {- ๑ -}


         “อนุโมทนาด้วยใจ คือยอมรับรู้ โดยปราศจากความลำเอียงหรืออิจฉา ซึ่งการกระทำดีของบุคคลว่าดีจริง อนุโมทนาด้วยวาจา คือกล่าวสรรเสริญต่อหน้าและลับหลัง ซึ่งการกระทำอันดีของบุคคลหรือตัวผู้กระทำดี เมื่ออนุโมทนาแล้วก็ประกอบกิจส่งเสริมหรือช่วยโดยตรง ซึ่งการกระทำดีของบุคคลให้ง่ายขึ้นหรือสะดวกขึ้นหรือได้ผลเร็ว”


    {- ๒ -}


         “ความดีเป็นสิ่งที่ชนทั้งหลายทำได้ยาก เพราะความยาก ชนทั้งหลายจึงท้อถอย อ่อนระอาในการที่จะประกอบความดี อนึ่ง ชนทั้งหลายที่ยังเป็นปุถุชน ประกอบความดีด้วยหวังผลตอบแทนความยาก ผลดีปรากฎมากเพียงไรย่อมเป็นปัจจัยให้ผู้ประกอบเข้มแข็งมากขึ้นเพียงนั้น การอนุโมทนาด้วยใจและวาจา จึงเป็นกุศลกิจที่ผู้เห็นแก่ประโยชน์แห่งชนหมู่มาก ควรตามประพฤติเป็นนิจกาล”



    ความสำคัญต่อผู้ดี


         ผู้ดีทำได้โดยยาก ผู้ชั่วทำได้โดยง่าย เพราะการประพฤติที่ดีนั้นทำได้โดยยากและต้องใช้ใจเท่านั้นที่ทำให้สำเร็จ แต่สำหรับการประพฤติชั่วมันเป็นการทำง่าย เพราะมันมีกลิ่นหอมอบอวลให้เราอยากทำ แต่อย่าลืมว่า กลิ่นหอมอบอวนนี้แฝงด้วยกลิ่นเน่าเหม็น และเมื่อคนทำชั่วไปเรื่อยๆ คนก็แฝงไปด้วยกลิ่นเน่าเหม็นขึ้นทุกวัน และเป็นผู้ดีจริงๆ ไม่ใช่ผู้ดีอย่างที่กล่าวข้างใต้


    {ผู้ดีตีนแดง ตะแคงตีนเดิน หมายความว่า

    คนที่ไม่คุ้นชินกับการทำงานหนัก

    และเป็นคำประชด ประชัน โดยแนวเชิงเสียดสี}


    [หนูอยากบอกผู้ดีว่า “หนูจะตั้งใจทำความดีต่อไป ถึงแม้คนจะไม่เห็นก็ตาม”]


    LOOK A BREATHE

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in