เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
My First Storywnxxnn
การฟังที่ยิ่งใหญ่ไม่ใช่แค่การฟังด้วยหู?
  • ทุกวันนี้เคยลองสังเกตตัวเองดูมั้ยคะ ว่าเรามักเป็นผู้ฟังเพียงเพื่อจะตอบโต้เท่านั้น ซึ่งการฟังเพื่อตอบโต้อย่างเดียว อาจทำให้เราละเลยใจความสำคัญ หรือทำให้ความรู้สึกของผู้พูดถูกทิ้งให้ตกหล่นหายไประหว่างการสนทนา ดังนั้นการฟังที่ดีจึงไม่ใช่แค่การฟังด้วยหูเพียงอย่างเดียว แต่ต้องใช้หัวใจ และใช้สมองให้มากขึ้นด้วย

    วันนี้เรามาเรียนรู้การฟังด้วยใจผ่านรูปวาดสีน้ำน่ารักๆ เพื่อไม่ให้คนสำคัญของเราที่กำลังเผชิญกับความเศร้า ต้องรู้สึกโดดเดี่ยวกันเถอะ :)

    ขอบคุณข้อมูลและภาพวาดจากเพจ Sanctuary Spa Thailand ค่ะ 
    ทริคการรับฟังด้วยใจ ฟังอย่างเอาใจใส่เพื่อคนสำคัญของเรา <3
    ผู้ที่อยู่ในภาวะเครียด หรือแม้กระทั่งผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า พวกเขากำลังต้องการการรับฟังเพื่อจะก้าวผ่านช่วงเวลาที่แย่ที่สุดของชีวิต
    หลายครั้งที่การฟังด้วยเหตุผลอาจใช้ไม่ได้ในช่วงภาวะอารมณ์เปราะบาง เพราะเป็นช่วงที่ความรู้สึกดันอยู่เหนือเหตุผล และดันมีอิทธิพลกับการใช้ชีวิตมากๆ
    และเมื่อเป็นการฟังและพูดคุยกันด้วยเหตุผล แน่นอนว่าความรู้สึกย่อมกลายเป็นรอง บาดแผลในใจจึงถูกลดความสำคัญลงไป

    แล้วถ้าเราเปลี่ยนจากการฟังด้วยหู ใช้เหตุผลเป็นสำคัญ มาเป็นการรับฟังด้วยใจดูล่ะ....จะมีวิธีอย่างไรบ้างนะ?
    สังเกตท่าทาง และน้ำเสียงในระหว่างการสนทนา เปิดพื้นที่และให้เวลาคนตรงหน้าของเราได้พูดสิ่งที่เขาอยากพูดออกมา
    สังเกตท่าทาง และน้ำเสียงในระหว่างการสนทนา เปิดพื้นที่และให้เวลาคนตรงหน้าของเราได้พูดสิ่งที่เขาอยากพูดออกมา
    เปิดใจรับฟัง เรื่องที่ผู้พูดกำลังพูด โดยที่เราจะไม่ด่วนโต้ตอบกลับ ไม่ตัดสิน ไม่ขัด ไม่ถาม ไม่แทรก จนกว่าเขาจะพูดจบ
    ผู้ฟังควรมีความอดทน ทั้งการอดทนฟังให้พูดจบ ไม่เผลอพูดขัด ตั้งคำถาม คำแนะนำของเราแม้เกิดจากความหวังดี แต่อาจปิดกั้นความเข้าใจ และคามรู้สึกของกันและกัน เราต้องระลึกอยู่เสมอว่าเป็นผู้ฟัง และควรให้เวลาแก่ผู้พูดให้เขาได้เรียบเรียงความคิด ความรู้สึกของตนเอง
    อย่ารีบตัดสินสิ่งที่พูดว่าผิดหรือถูก และอดทนให้เวลากับผู้พูด ให้เขามั่นใจว่าเขามีเราที่พร้อมจะฟังและอยู่เคียงข้างเขา
    เลือกใช้น้ำเสียง ที่สุภาพ เห็นใจ ต้อนรับ ไม่รีบร้อน พูดชัด สงบ ไม่แสดงอาการลังเล ปรับระดับเสียงและความเร็วอย่างเหมาะสม
    ระลึกถึงความค่อยเป็นค่อยไปอยู่เสมอ ไม่รีบร้อน แต่ชัดเจนเพื่อให้ผู้พูดได้รู้สึกว่าเราสามารถพึ่งพาได้ในยามที่เขาทุกข์ใจ
    อีกหนึ่งความค่อยเป็นค่อยไป คือการให้เวลาผู้พูดได้เรียบเรียงความคิดและคำพูดรวมถึงความรู้สึกของตนเอง โดยคอยรับฟังอย่างใจเย็น

    เมื่อผู้พูดเปิดใจให้เราสามารถเข้าไปอยู่ในโลกของเขาได้ จะทำให้เขาสามารถได้ยินเสียงของตัวเองมากขึ้น และช่วยดึงสติของเขาให้กลับมาอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น
    ผู้ฟังควรทบทวนความเข้าใจให้ตรงกัน เพราะประสบการณ์ที่ต่างกัน อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันได้
    การพูดย้ำในสิ่งที่ได้ยินเป็นเทคนิคหนึ่งของการฟัง ที่ช่วยให้ผู้พูดฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าจะทำตามสิ่งที่ต้นพูดออกมาได้หรือไม่

    เช่น ทบทวนคำพูดกลับมา “ที่คุณพูดว่าทุกข์มากและอยากตาย หมายถึงคุณคิดว่าอยากจะฆ่าตัวตายใช่ไหม”

    ผู้พูดอาจอยู่ในภาวะอารมณ์ที่สับสน ผู้ฟังจึงจำเป็นต้องมีสติไม่เอนเอียงตามความรู้สึกนั้น แต่ควรคิดและติดตามเรื่องราวในเชิงบวก

    ใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้พูดมีโอกาสได้อธิบายเรื่องราวที่เกิดขึ้น และขยายเรื่องราวที่ตัวเองต้องการอธิบาย

    จับใจความสำคัญเรื่องที่ผู้พูดอาจเล่าวกไปวนมา หรือออกนอกประเด็น ด้วยการย้ำถึงเป้าหมายเพื่อให้กลับเข้าประเด็นต่อ

    การช่วยดึงให้ผู้พูดสามารถกลับเข้าประเด็นได้ จะช่วยให้ผู้พูดสามารถหาทางออกจากปัญหาที่เผชิญอยู่ได้ด้วยตัวเองมากขึ้น

    การฟังด้วยใจก็คือการใส่ใจและไม่ปล่อยให้ความรู้สึกของคนสำคัญถูกทิ้งขว้าง ดังนั้นมาเริ่มต้นการฟังด้วยใจ ตอบโต้น้อยลง รับฟังและทำความเข้าใจให้มากขึ้นกันนะคะ

    #Thebiglisten













Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in