เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Dear, DiaryYour writer
ตกผลึกจากข่าวลัลลาเบล
  • เราเพิ่งเห็นข่าวลัลลาเบลจากทวิตเตอร์เมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมาค่ะ พออ่านไปได้สักพักก็เจอความเห็นที่แตกต่างมากมาย จึงคิดว่า อยากจะเขียนอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้สักหน่อย

    ในความคิดของเรา ไม่ว่า คุณลัลลาเบล จะประกอบอาชีพอะไร หรือ มีภูมิหลังเป็นเช่นไร ก็ไม่มีเหตุผลอันสมควรใดใด ให้เขาต้องมาจบชีวิตเช่นนี้ไม่ใช่หรือคะ?
    เราไม่เข้าใจจริงๆว่า ผู้คนที่กล่าวถึงเหยื่อในแง่ร้ายนั้น กำลังใช้ตรรกะอะไรในการมองเรื่องนี้
    ข้อมูลภูมิหลัง พื้นเพ ที่มาที่ไปต่างๆ (ซึ่งส่วนมากจะเป็นแง่ลบ) ที่เราควรขุดกันไม่ครเป็นของเหยื่อ 
    หากควรเป็นของผู้ต้องสงสัยเสียด้วยซ้ำ

    ประเด็นนี้ ทำให้เรานึกถึงแคมเปญ #DontTellMeHowtoDress ของคุณซินดี้
    เราเองก็ถูกสอนมาตั้งแต่เล็กว่า อย่างแต่งตัวโป๊ (ถึงขนาดที่ว่า ถ้าไปเดินเล่นที่พัทยา คุณแม่จะไม่ให้ใส่กางเกงขาสั้นเลยค่ะ) ซึ่งอย่างที่กล่าวไปข้างต้น การแต่งตัวมิดชิดเป็นการป้องกันตัวเอง แต่ผู้ไม่หวังดีนั้น มีอยู่ทุกที่ไป เราอาจกลายเป็นผู้โชคร้ายเมื่อไรก็ได้

    แม้การป้องกันตัวเอง ไม่พาตัวเองไปอยู่ในความเสี่ยงจะเป็นเรื่องที่ผู้หญิง (และปุถุชนคนทั่วไปทุกคน) ควรกระทำ แต่ทุกคนล้วนมีเสรีภาพที่จะกระทำการใดใดก็ได้ ตราบเท่าที่ยังอยู่ภายใต้กฎหมายมิใช่หรือ? ดังนั้นแล้ว สิ่งที่สังคมควรให้ความสนใจและร่วมกันวิพากษ์อาจไม่ใช่ 'เรื่องส่วนบุคคลของเหยื่อ' 
    หากแต่เป็นจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นอีก

    อย่างไรก็ตาม บางครั้ง รูปร่าง หน้าตา การแต่งตัวของเหยื่ออาจไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการก่อคดี ดังจะเห็นได้จากคดีที่ผู้ร้ายข่มขืนคุณยายวัยชรา (ซึ่งไม่ได้หมายถึงคุณยายไม่ sexy) หรือกระทั่งสัตว์ 
    ในความเป็นจริง ก็แค่การกระทำชั่วๆ จากสันดานของตัวคนร้ายเอง

    ในบริบทของกรณีคุณลัลลาเบล 'การประกอบอาชีพพริตตี้' และรับงานเช่นนี้ ก็เปรียบเหมือน 'การแต่งตัวล่อแหลม' ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ทำให้อัตราเสี่ยงในการเผชิญเหตุการณ์เช่นนี้เพิ่มขึ้น แต่หากเรานำจุดนี้มาคิดในการตัดสิน   มันเหมาะสมแล้วจริงหรือคะ? 
    แม้จะไม่สามารถมองข้ามจุดนี้ เพื่อโยงเหตุการณ์ แต่ก็ไม่ควรเอามาเป็นประเด็นสลักสำคัญในการพูดถึงผู้ตายเสียด้วยซ้ำ หากจะพูดให้เห็นภาพ ก็เหมือนเวลาคุณเข้าผับ นุ่งสั้นห่มน้อย แล้วมีผู้ชายมาจับก้น แล้วคุณมีสิทธิ์โกรธ  รวมถึงกล่าวหาเขา ข้อหาลวนลาม นั่นแหละค่ะ เหยื่อเองก็ควรได้รับสิทธิ์นั้นเช่นกัน

    คนเรามีสิทธิ์ที่จะเลือกอาชีพสุจริตที่พึงใจ ซึ่งเราคิดว่า การเป็นพริตตี้ก็ไม่ได้ผิดอะไร รวมถึง การรับงานเสริมดังกล่าว ก็เป็นสิทธิ์ของเขา ความผิดตามกฎหมายจะเกิดก็ต่อเมื่อเหยื่อค้าประเวณี ซึ่งพิจารณาจากข่าวแล้ว เหยื่อไม่น่าจะประกอบอาชีพผู้หญิงโคมเขียวร่วมด้วย และสมมติเหยื่อจะขายจริง นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลอันสมควรให้สัตว์นรกตัวใดไปพรากชีวิตเขาอยู่ดีมิใช่หรือ?

    สำหรับ ประเด็น 'ใครเป็นคนร้าย?' แน่นอน ต้องจับคนร้ายให้ได้! แต่มันเป็นหน้าที่ของตำรวจ ประชาชนอย่างเราคงทำได้เพียงติดตาม และไม่ปล่อยให้เรื่องเงียบหายไป
    แต่เมื่อทราบตัวคนร้ายแล้ว ก็ควรนำคนร้ายมาวิเคราะห์ ว่าเหตุจูงใจ คือ อะไร มีภูมิหลังและพื้นฐานครอบครัวแบบไหน และอีกเช่นเคย ทุกครั้งที่อ่านข่าวเช่นนี้ เราจะเกิดข้อสงสัยว่า 'ต้องเป็นคนยังไง? ถึงกระทำเรื่องเลวทรามขนาดนี้ได้' 'พ่อแม่เลี้ยงมายังไงให้โตมาเหี้ยอ่ะ?' #ขออภัยที่หยาบคาย

    ในกรณีนี้ ไม่ว่า น้ำอุ่นจะเป็นคนร้ายหรือไม่? 
    ข้อแรก คือ สันนิษฐานได้เบื้องต้นว่า เขาไม่ตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม ดังจะเห็นได้จากแชท เขาและกลุ่มเพื่อนเห็นความเดือดร้อนของผู้อื่นเป็นเรื่องสนุก เห็นผู้หญิงเป็นเครื่องระบายตัณหา สิ่งที่สอง
    ข้อที่สอง เหล่าผู้คนที่มีจิตใจบิดเบี้ยวเช่นนี้ ถูกเลี้ยงดูมาโดยบุพการีแบบไหน เติบโตภายใต้สาพแวดล้อมเช่นไร 
    ข้อสุดท้าย พ่อแม่ของน้ำอุ่นกล่าวอ้างว่า 'ลูกตนเป็นคนดี' เพียงแต่พิจารณาเรื่องในข้อแรก น้ำอุ่นก็ห่างไกลคำว่า 'คนดี' ที่สังคมทั่วไปยอมรับแล้ว

    ใดใดก็ตาม ยังไม่แน่ชัดว่า คดีนี้ เป็นการข่มขืนแล้วฆ่า หรือ ฆ่าแล้วข่มขืน ซึ่งทั้งสองกรณีจะมีโทษหนักเบาแตกต่างกัน จะไม่เป็นการดีกว่าหรือ หากทุกคนร่วมมือร่วมใจกัน ผลักดันแผนป้องกันและรับมือเหตุการณ์ในลักษณะนี้ อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับให้กำลังใจคนรอบตัวของเหยื่อไปด้วย

    คุณผู้อ่านลองคิดดูสักนิด ประเทศเรามีคดีข่มขืนแล้วฆ่า ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันคดี หากมีการทำวิจัยเก็บเป็นสถิติ รวบรวมเป็นฐานข้อมูลไว้แล้ว เอามาต่อยอด ไม่ให้ซ้ำรอยเดิม จะดีขึ้นเพียงใด
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in